วานนี้ (3 ก.ย.) ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ได้มีการ
พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม
นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ
รายงานว่า การพิจารณาจาก งบประมาณที่ตั้งไว้ 1,835,000,000,000 บาท คณะกรรมาธิการฯได้ปรับ
ลดลง 45,009,585,700 บาท จากงบประมาณ ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภารกิจที่มีเป้า
หมายไม่ชัด และการดำเนินการไม่ประหยัด เช่น ค่าอบรม สัมมนา จ้างเหมา วิจัย และค่าที่ปรึกษา
การดำเนินการไม่น่าทันเวลาปีงบประมาณ งบค่าครุภัณฑ์ และโครงการที่ใช้เงินจากแหล่งอื่นได้
ส่วนที่ปรับเพิ่ม 45,009,585,700 บาท แบ่งเป็นประมาณ 2.9 หมื่นล้านสำหรับโครงการ
ของหน่วยราชการที่เพิ่มขึ้น และ ประมาณ 1.5 หมื่นล้าน สำหรับเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
**ส.ส.รุมยำ เกณฑ์ปรับลดไร้มาตรฐาน
ทั้งนี้ สมาชิก ที่สงวนคำแปรญัตติได้อภิปรายกันกว้างขวาง รายมาตรา โดย เริ่มจาก
มาตรา 3 ยอดรวมงบประมาณ มีกรรมาธิการที่สงวนความเห็น และส.ส.ที่สงวนคำแปรญัตติ
อภิปรายหลากหลายในประเด็น การไม่มีหลักเกณฑ์การปรับลด และไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาให้กับ
ประชาชนอย่างแท้จริง อาทิ นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ขอสงวนความเห็น
ให้ตัดงบประมาณลง 25 % โดยระบุว่า รายจ่ายประจำ จำนวน 72.8 % ของงบประมาณ ถือว่าสูงมาก
จะไม่มีงบแหลือไปพัฒนาประเทศ ดังนั้นการที่รัฐบาลจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการน่าทำเป็นงบช่วย
เหลือคาครองชีพในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจะดีกว่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับรายจ่ายประจำ นอกจากนี้
งบดำเนินการที่สูงขึ้นจากเดิมถึง 40 % พบว่าบางครั้งหน่วยราชการจ้างเหมาเอกชนเข้ามาดำเนิน
การกลับใช้งบสูงกว่ารายจ่ายประจำของหน่วยงาน
นาย เทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ สงวนคำแปรญัตติขอ
ปรับงบส่วนนี้ออกทั้งหมด และให้นำไปให้ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นผู้ดูแล เพราะ
รัฐบาลไม่มีความชอบธรรม และไม่ไว้ใจรัฐบาลจนถูกผู้ชุมนุมยึดที่ทำงาน และยังตั้งรัฐมนตรี ที่ศาล
วินิจฉัยว่า ขาดคุณสมบัติ กลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรี มีการบีบรายการคนหน้า 4 หลีกทางให้ 3 คน หัว
กลม ที่อีกหน่อยจะเป็นสามเกลอหัวขาด
**เสนอตัดงบ สตช.เหตุผลงานห่วย
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง อภิปรายขอให้ตัดงบประมาณของกระทรวงการต่าง
ประเทศ กระทรวงกลาโหม เนื่องจากการทำงานที่ผ่านมา ไม่มีจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของ
ประเทศ โดยเฉพาะกรณีปราสาทเขาพระวิหาร และขอให้ตัดงบสำนักงานอัยการสูงสุด เพราะไม่มี
มาตรฐานในการวินิจฉัยคดีต่างๆ
ส่วนนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา อภิปรายว่า ขอปรับลดงบของทุกหน่วยงานลง 20 %
โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ที่ตั้งงบไว้ 69,000 ล้านบาท แต่กรรมาธิการปรับลดเพียง
46 ล้านบาท ขณะที่การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม
ประชาชนในกทม. ที่ขณะนี้ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ถูกย้ายออกจาก บชน.ไปประจำที่
สตช. เพราะไม่สนองนโยบายของผู้มีอำนาจ รวมถึงเหตุปะทะกันเมื่อคืนวันที่ 1 ก.ย. ตำรวจจงใจให้
กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปช. เผชิญหน้ากัน เพื่อเป็นเหตุให้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่การ
เคลื่อนม็อบจากสนามหลวงมายังสะพานมัฆวาน ใช้เวลาเป็นชั่วโมง มีเวลาสามารถสกัดกั้นหรือขอ
กำลังเสริมได้ นอกจากนี้ มีปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคดีสำคัญหลายคดี อาทิ คดียาเสพติด
กรณีการจับกุม เล่าต๋า สมุนขุนส่า ที่มีพล.ต.อ. เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร. เป็นผู้รับผิดชอบ
คดีขณะนั้น โดยคดีนี้ทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ยกฟ้อง แต่กลับมีตำรวจระดับนายพล
ได้รับชั้นยศที่สูงขึ้น
สำหรับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สตช. มีมาตรฐานการพิจารณาคดีที่แตกต่างกันมาก
ตั้งแต่คดี "ดา ตอปิโด" ที่ใช้เวลาพิจารณา 14 วัน คดีนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรค
ประชาธิปัตย์ 7 วัน แต่คดีของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึง
วันนี้ไม่ทราบคดีไปถึงไหนแล้ว นอกจากนี้ยังมีกรณีเว็บไซต์ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกกว่า 30
เว็บไซต์ ที่ สตช.ยังไม่จัดการให้เรียบร้อย และยังมีคดีการเมืองต่างๆ ที่ยังไม่มีความคืบหน้า อาทิ
ม็อบอุดรธานี บุรีรัมย์ และมหาสารคาม คดีปุ๋ยปลอม รุกป่า คดีอุ้มฆ่าตัดตอน โดยเฉพาะคดีอุ้ม นาย
สมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และคดีอุ้มฆ่าอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่า สต
ช.ไม่มีคุณภาพแลประสิทธิภาพในการทำงานเพียงพอที่จะให้งบประมาณไปใช้ได้ อย่างไรก็ตาม
หลังจากสมาชิกใช้เวลาอภิปรายในมาตรา 3 นานกว่า 7 ชั่วโมง เสียงส่วนใหญ๋มีมติเห็นชอบตาม
กรรมาธิการฯ
**จับตาตั้งงบกว่า4 พันล้านสร้างรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงบประมาณที่น่าสนใจ ในรายงานการพิจารณาของคณะ
กรรมาธิการ คือ กรณีที่คณะกรรมาธิการมีมติให้เพิ่มงบประมาณหน่วยงานรัฐสภาขึ้นอีก
4,170,454,600 บาท จากที่เดิมตั้งไว้ 3,843,536,100 บาท แยกเป็นเพิ่มให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
จำนวน162,254,600 บาท เพื่อนำไปเป็นงบช่วยเหลือค่าครองชีพข้าราชการระดับต้น จ้างอัตราใหม่
และซื้อคอมพิวเตอร์ ในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้งบประมาณเพิ่ม
ถึง4,008,200,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ค่าชดเชยที่ดิน 266 ล้าน
บาท ค่ารื้อถอนและก่อสร้างให้กรุงเทพมหานคร 100ล้านบาท ให้กระทรวงกลาโหม 785 ล้านบาท
ให้โรงเรียนบูรณะโยธิน 200 ล้านบาท และก่อสร้างบ้านพักให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 150 ล้าน
บาท ที่เหลืออีก 2,506 ล้านบาทนั้น เป็นการตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารัฐสภาแห่งใหม่
โดยได้ให้เหตุผลความจำเป็นไว้ท้ายงบประมาณด้วยว่า เป็นรายการที่ต้องดำเนินการตามมติครม.จึง
ต้องตั้งงบผูกพันข้ามปีไว้ 4 รายการรวมตั้งแต่ปี 2552 จำนวน 2,506,400,000 บาท ปี 2553 ผูกพัน
งบประมาณ 3,008,400,000 บาท ปี 2554 ผูกพันงบประมาณ 3,008,400,000 บาท และปี 2555
ผูกพันงบประมาณ 3,788,400บาท รวม ผูกพัก4 ปี เป็นเงิน ประมาณ1.2 หมื่นล้าน
**จวกเพิ่มงบกลางรับเลือกตั้งใหม่
สำหรับการพิจารณาใน มาตรา 4 งบกลางจำนวน 2.4 แสนล้านบาทนั้น นายพิเชษฐ์ พันธุ์
วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า งบสำรองฉุกเฉินตามมาตรา
4(5) ซึ่งเป็นงบเฉพาะของนายกรัฐมนตรี จำนวน 48,000 ล้านบาทได้เติบโตขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง งบ
ส่วนนี้ตั้งเอาไว้สูงทุกปี โดยปีที่แล้วการใช้จ่ายจนถึงเดือนส.ค. ยังเหลือถึง 20,000 ล้านบาท จากนั้น
ก็มาเร่งใช้จ่ายใน 4 เดือน ที่เหลือ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการพิจารณาวาระแรกนั้น ได้มีผู้มาชี้แจงได้ของบประมาณ
ส่วนนี้เพิ่มเติม 6,000 ล้านบาท โดยเหตุผลที่จะเพิ่มเนื่องจากกลัวว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็วๆนี้
ดังนั้นงบนี้เป็นงบน่ากลัว เพราะขาดการตรวจสอบ นอกจากนั้นในส่วนของค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล
ที่เป็นส่วนหนึ่งของงบส่วนนี้ถูกใช้เกือบหมดรายหัวต่อปี 8,000-9,000 บาท ตรงนี้ควรพิจารณาให้
เข้มงวดเพราะมีการเบิกจ่ายกันเกินจริงเพราะไปเที่ยวพักโรงแรมก็เอามาเบิกเป็นค่าห้องพยาบาล
เป็นต้น
นอกจากนี้ เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ ที่งบในการใช้เป็นค่าชดเชยเออลี่ รีไทร์ ปรากฎว่า
ผู้ที่เออลี่ฯได้เงินเสร็จกลับถูกว่าจ้างกลับมา ในอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว รวมทั้งเงินปรับวุฒิ
ข้าราชการที่ไปกระจุกตัวอยู่กับข้าราชการซี9-11 เท่านั้น นอกจากนั้นยิ่งใกล้ที่จะมีการเลือกตั้งก็มี
การขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการประจำ กำนันและผู้ใหญ่บ้านด้วย ซึ่งงบกลางได้กินงบประมาณทั้ง
หมดไปถึง 16%แสดงให้เห็นว่าไม่มีวินัยทางการคลังและได้เบียดบังงบประมาณแผ่นดินไปมาก
พิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2552 ซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญ
พิจารณาเสร็จแล้ว โดยมีนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธานการประชุม
นพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ในฐานะประธานกรรมาธิการฯ
รายงานว่า การพิจารณาจาก งบประมาณที่ตั้งไว้ 1,835,000,000,000 บาท คณะกรรมาธิการฯได้ปรับ
ลดลง 45,009,585,700 บาท จากงบประมาณ ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ภารกิจที่มีเป้า
หมายไม่ชัด และการดำเนินการไม่ประหยัด เช่น ค่าอบรม สัมมนา จ้างเหมา วิจัย และค่าที่ปรึกษา
การดำเนินการไม่น่าทันเวลาปีงบประมาณ งบค่าครุภัณฑ์ และโครงการที่ใช้เงินจากแหล่งอื่นได้
ส่วนที่ปรับเพิ่ม 45,009,585,700 บาท แบ่งเป็นประมาณ 2.9 หมื่นล้านสำหรับโครงการ
ของหน่วยราชการที่เพิ่มขึ้น และ ประมาณ 1.5 หมื่นล้าน สำหรับเงินอุดหนุนองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
**ส.ส.รุมยำ เกณฑ์ปรับลดไร้มาตรฐาน
ทั้งนี้ สมาชิก ที่สงวนคำแปรญัตติได้อภิปรายกันกว้างขวาง รายมาตรา โดย เริ่มจาก
มาตรา 3 ยอดรวมงบประมาณ มีกรรมาธิการที่สงวนความเห็น และส.ส.ที่สงวนคำแปรญัตติ
อภิปรายหลากหลายในประเด็น การไม่มีหลักเกณฑ์การปรับลด และไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาให้กับ
ประชาชนอย่างแท้จริง อาทิ นายจุติ ไกรฤกษ์ ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ ขอสงวนความเห็น
ให้ตัดงบประมาณลง 25 % โดยระบุว่า รายจ่ายประจำ จำนวน 72.8 % ของงบประมาณ ถือว่าสูงมาก
จะไม่มีงบแหลือไปพัฒนาประเทศ ดังนั้นการที่รัฐบาลจะขึ้นเงินเดือนข้าราชการน่าทำเป็นงบช่วย
เหลือคาครองชีพในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจจะดีกว่า เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับรายจ่ายประจำ นอกจากนี้
งบดำเนินการที่สูงขึ้นจากเดิมถึง 40 % พบว่าบางครั้งหน่วยราชการจ้างเหมาเอกชนเข้ามาดำเนิน
การกลับใช้งบสูงกว่ารายจ่ายประจำของหน่วยงาน
นาย เทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ สงวนคำแปรญัตติขอ
ปรับงบส่วนนี้ออกทั้งหมด และให้นำไปให้ พล.อ. อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. เป็นผู้ดูแล เพราะ
รัฐบาลไม่มีความชอบธรรม และไม่ไว้ใจรัฐบาลจนถูกผู้ชุมนุมยึดที่ทำงาน และยังตั้งรัฐมนตรี ที่ศาล
วินิจฉัยว่า ขาดคุณสมบัติ กลับเข้ามาเป็นรัฐมนตรี มีการบีบรายการคนหน้า 4 หลีกทางให้ 3 คน หัว
กลม ที่อีกหน่อยจะเป็นสามเกลอหัวขาด
**เสนอตัดงบ สตช.เหตุผลงานห่วย
นายนิพิฎฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง อภิปรายขอให้ตัดงบประมาณของกระทรวงการต่าง
ประเทศ กระทรวงกลาโหม เนื่องจากการทำงานที่ผ่านมา ไม่มีจุดยืนในการรักษาผลประโยชน์ของ
ประเทศ โดยเฉพาะกรณีปราสาทเขาพระวิหาร และขอให้ตัดงบสำนักงานอัยการสูงสุด เพราะไม่มี
มาตรฐานในการวินิจฉัยคดีต่างๆ
ส่วนนายวิรัตน์ กัลยาศิริ ส.ส.สงขลา อภิปรายว่า ขอปรับลดงบของทุกหน่วยงานลง 20 %
โดยเฉพาะสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ที่ตั้งงบไว้ 69,000 ล้านบาท แต่กรรมาธิการปรับลดเพียง
46 ล้านบาท ขณะที่การทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาการชุมนุมประท้วงของกลุ่ม
ประชาชนในกทม. ที่ขณะนี้ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ผบช.น. ถูกย้ายออกจาก บชน.ไปประจำที่
สตช. เพราะไม่สนองนโยบายของผู้มีอำนาจ รวมถึงเหตุปะทะกันเมื่อคืนวันที่ 1 ก.ย. ตำรวจจงใจให้
กลุ่มพันธมิตรฯ และกลุ่ม นปช. เผชิญหน้ากัน เพื่อเป็นเหตุให้ประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ทั้งที่การ
เคลื่อนม็อบจากสนามหลวงมายังสะพานมัฆวาน ใช้เวลาเป็นชั่วโมง มีเวลาสามารถสกัดกั้นหรือขอ
กำลังเสริมได้ นอกจากนี้ มีปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และคดีสำคัญหลายคดี อาทิ คดียาเสพติด
กรณีการจับกุม เล่าต๋า สมุนขุนส่า ที่มีพล.ต.อ. เพรียวพันธุ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร. เป็นผู้รับผิดชอบ
คดีขณะนั้น โดยคดีนี้ทั้งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ยกฟ้อง แต่กลับมีตำรวจระดับนายพล
ได้รับชั้นยศที่สูงขึ้น
สำหรับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ สตช. มีมาตรฐานการพิจารณาคดีที่แตกต่างกันมาก
ตั้งแต่คดี "ดา ตอปิโด" ที่ใช้เวลาพิจารณา 14 วัน คดีนายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ ส.ส.สัดส่วน พรรค
ประชาธิปัตย์ 7 วัน แต่คดีของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี จนถึง
วันนี้ไม่ทราบคดีไปถึงไหนแล้ว นอกจากนี้ยังมีกรณีเว็บไซต์ หมิ่นพระบรมเดชานุภาพอีกกว่า 30
เว็บไซต์ ที่ สตช.ยังไม่จัดการให้เรียบร้อย และยังมีคดีการเมืองต่างๆ ที่ยังไม่มีความคืบหน้า อาทิ
ม็อบอุดรธานี บุรีรัมย์ และมหาสารคาม คดีปุ๋ยปลอม รุกป่า คดีอุ้มฆ่าตัดตอน โดยเฉพาะคดีอุ้ม นาย
สมชาย นีละไพจิตร อดีตประธานชมรมนักกฎหมายมุสลิม และคดีอุ้มฆ่าอื่นๆ ที่แสดงให้เห็นว่า สต
ช.ไม่มีคุณภาพแลประสิทธิภาพในการทำงานเพียงพอที่จะให้งบประมาณไปใช้ได้ อย่างไรก็ตาม
หลังจากสมาชิกใช้เวลาอภิปรายในมาตรา 3 นานกว่า 7 ชั่วโมง เสียงส่วนใหญ๋มีมติเห็นชอบตาม
กรรมาธิการฯ
**จับตาตั้งงบกว่า4 พันล้านสร้างรัฐสภา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับงบประมาณที่น่าสนใจ ในรายงานการพิจารณาของคณะ
กรรมาธิการ คือ กรณีที่คณะกรรมาธิการมีมติให้เพิ่มงบประมาณหน่วยงานรัฐสภาขึ้นอีก
4,170,454,600 บาท จากที่เดิมตั้งไว้ 3,843,536,100 บาท แยกเป็นเพิ่มให้สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
จำนวน162,254,600 บาท เพื่อนำไปเป็นงบช่วยเหลือค่าครองชีพข้าราชการระดับต้น จ้างอัตราใหม่
และซื้อคอมพิวเตอร์ ในส่วนของสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรได้งบประมาณเพิ่ม
ถึง4,008,200,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายโครงการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ค่าชดเชยที่ดิน 266 ล้าน
บาท ค่ารื้อถอนและก่อสร้างให้กรุงเทพมหานคร 100ล้านบาท ให้กระทรวงกลาโหม 785 ล้านบาท
ให้โรงเรียนบูรณะโยธิน 200 ล้านบาท และก่อสร้างบ้านพักให้องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ 150 ล้าน
บาท ที่เหลืออีก 2,506 ล้านบาทนั้น เป็นการตั้งงบประมาณเพื่อเป็นค่าก่อสร้างอาคารัฐสภาแห่งใหม่
โดยได้ให้เหตุผลความจำเป็นไว้ท้ายงบประมาณด้วยว่า เป็นรายการที่ต้องดำเนินการตามมติครม.จึง
ต้องตั้งงบผูกพันข้ามปีไว้ 4 รายการรวมตั้งแต่ปี 2552 จำนวน 2,506,400,000 บาท ปี 2553 ผูกพัน
งบประมาณ 3,008,400,000 บาท ปี 2554 ผูกพันงบประมาณ 3,008,400,000 บาท และปี 2555
ผูกพันงบประมาณ 3,788,400บาท รวม ผูกพัก4 ปี เป็นเงิน ประมาณ1.2 หมื่นล้าน
**จวกเพิ่มงบกลางรับเลือกตั้งใหม่
สำหรับการพิจารณาใน มาตรา 4 งบกลางจำนวน 2.4 แสนล้านบาทนั้น นายพิเชษฐ์ พันธุ์
วิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะกรรมาธิการฯ กล่าวว่า งบสำรองฉุกเฉินตามมาตรา
4(5) ซึ่งเป็นงบเฉพาะของนายกรัฐมนตรี จำนวน 48,000 ล้านบาทได้เติบโตขึ้นอย่างน่าเป็นห่วง งบ
ส่วนนี้ตั้งเอาไว้สูงทุกปี โดยปีที่แล้วการใช้จ่ายจนถึงเดือนส.ค. ยังเหลือถึง 20,000 ล้านบาท จากนั้น
ก็มาเร่งใช้จ่ายใน 4 เดือน ที่เหลือ
อย่างไรก็ตาม ในระหว่างการพิจารณาวาระแรกนั้น ได้มีผู้มาชี้แจงได้ของบประมาณ
ส่วนนี้เพิ่มเติม 6,000 ล้านบาท โดยเหตุผลที่จะเพิ่มเนื่องจากกลัวว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ในเร็วๆนี้
ดังนั้นงบนี้เป็นงบน่ากลัว เพราะขาดการตรวจสอบ นอกจากนั้นในส่วนของค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาล
ที่เป็นส่วนหนึ่งของงบส่วนนี้ถูกใช้เกือบหมดรายหัวต่อปี 8,000-9,000 บาท ตรงนี้ควรพิจารณาให้
เข้มงวดเพราะมีการเบิกจ่ายกันเกินจริงเพราะไปเที่ยวพักโรงแรมก็เอามาเบิกเป็นค่าห้องพยาบาล
เป็นต้น
นอกจากนี้ เงินเบี้ยหวัดบำเหน็จบำนาญ ที่งบในการใช้เป็นค่าชดเชยเออลี่ รีไทร์ ปรากฎว่า
ผู้ที่เออลี่ฯได้เงินเสร็จกลับถูกว่าจ้างกลับมา ในอัตราเงินเดือนที่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว รวมทั้งเงินปรับวุฒิ
ข้าราชการที่ไปกระจุกตัวอยู่กับข้าราชการซี9-11 เท่านั้น นอกจากนั้นยิ่งใกล้ที่จะมีการเลือกตั้งก็มี
การขึ้นเงินเดือนให้ข้าราชการประจำ กำนันและผู้ใหญ่บ้านด้วย ซึ่งงบกลางได้กินงบประมาณทั้ง
หมดไปถึง 16%แสดงให้เห็นว่าไม่มีวินัยทางการคลังและได้เบียดบังงบประมาณแผ่นดินไปมาก