องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนแถลงประณามรัฐบาล รัฐมนตรี ตัวการปลุกเร้ายุยงนำขบวนนปช.ใช้ความรุนแรงทำร้ายม็อบพันธมิตรฯ สร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายเพื่อสร้างความชอบธรรมในการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ย้ำจุดยืนไม่เห็นด้วยเพราะเป็นกม.ลิดรอนสิทธิเสรีภาพประชาชน คุกคามสื่อ ปิดกั้นการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ขัดต่อหลักนิติธรรมและรัฐธรรมนูญ ซึ่งจะนำไปสู่ความรุนแรงยิ่งขึ้น จี้สมัครยกเลิกประกาศฉุกเฉินทันที
วานนี้ (2 ก.ย.) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ออกแถลงการณ์หลังรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ความว่า ตามที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.ดังกล่าว เมื่อช่วงเช้าวันอังคารที่ 2 ก.ย. 2551 โดยมีเนื้อหามุ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หลายประการ
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้ประชุมหารือกันแล้ว มีความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้
1) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.ดังกล่าว เนื่องจากพ.ร.ก.ฉบับนี้ มิได้ตราขึ้นโดยหลักนิติธรรม และมีเนื้อหาขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550โดยชัดแจ้ง นอกจากนี้ กระบวนการตรากฎหมายที่ใช้รูปแบบของการออกพ.ร.ก. ไม่ใช่กระบวนการตรากฎหมายตามปกติ ทั้งยังรวบรัดและมุ่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
2) แม้ว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เหตุผลและที่มาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ถือว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะขณะนี้ สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น คลี่คลายลงจนอยู่ในขั้นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องอำนาจประกาศสถานฉุกเฉินฯ และควรยกเลิกประกาศนี้ในทันที
3) เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยสื่อมวลชนต่างๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์เมื่อกลางดึกคืนวันจันทร์ที่ 1 ก.ย. 2551 ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถยืนยันชัดเจนได้ว่า แกนนำ รวมทั้งรัฐมนตรีบางคนของพรรครัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าและนำขบวนกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถือเป็นการสร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายและสร้างความชอบธรรมในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน จึงขอประณามการกระทำดังกล่าว
4) การที่เนื้อหาบางส่วนในการประกาศใช้ข้อกำหนดตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ดังกล่าว ให้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกข้อกำหนดห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือการทำให้เผยแพร่ ซึ่งหนังสือพิม์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นั้น ถือเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน ตามบทบัญญัติมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 อย่างชัดแจ้ง
อีกยังจะกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน อันจะนำไปสู่ความรุนแรงยิ่งขึ้นของสถานการณ์ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อสื่อมวลชนถูกปิดกั้นการเสนอข่าวสาร
5) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ใช้ความอดทนอดกลั้นและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบไม่ว่ากรณีใดๆ รวมทั้งการพยายามยั่วยุประชาชนให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง การประกาศของแกนนำผู้ชุมนุม และการใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือโดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว
6) ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังอยู่ในภาวะวิกฤตที่นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว อำนาจในการจัดการสถานการณ์ความไม่สงบถูกส่งผ่านไปยังกองทัพบกคง ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงควรใช้อำนาจที่มีอยู่ด้วยความระมัดระวัง ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองและไม่ฉกฉวยสถานการณ์เช่นนี้ ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เพราะบทเรียนในอดีตที่ผ่านมา ยืนยันแล้วว่า การรัฐประหารไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ แต่ยิ่งกลับทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้ง 5 องค์กรมีความเชื่อมั่นว่า สถานการณ์วิกฤตของประเทศไทยในขณะนี้ ยังมีทางออกโดยใช้กระบวนการสันติวิธี และขณะนี้ ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอทางออกต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันอย่างเข้มข้น
องค์กรสื่อมวลชนต่างๆ ที่มีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร จึงควรยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างเคร่งครัด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประชาชนก็จะสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างถูกต้องในที่สุด
วานนี้ (2 ก.ย.) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ออกแถลงการณ์หลังรัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ความว่า ตามที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.ดังกล่าว เมื่อช่วงเช้าวันอังคารที่ 2 ก.ย. 2551 โดยมีเนื้อหามุ่งจำกัดสิทธิเสรีภาพของชนชาวไทยตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 หลายประการ
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ประกอบด้วย สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ, สมาพันธ์นักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และสมาคมเคเบิลทีวีแห่งประเทศไทย ได้ประชุมหารือกันแล้ว มีความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นดังต่อไปนี้
1) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพ.ร.ก.ดังกล่าว เนื่องจากพ.ร.ก.ฉบับนี้ มิได้ตราขึ้นโดยหลักนิติธรรม และมีเนื้อหาขัดต่อบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550โดยชัดแจ้ง นอกจากนี้ กระบวนการตรากฎหมายที่ใช้รูปแบบของการออกพ.ร.ก. ไม่ใช่กระบวนการตรากฎหมายตามปกติ ทั้งยังรวบรัดและมุ่งจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเป็นสำคัญ
2) แม้ว่า พ.ร.ก. ฉบับนี้ จะให้อำนาจนายกรัฐมนตรี ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน แต่เหตุผลและที่มาในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว ถือว่าไม่สมเหตุสมผล เพราะขณะนี้ สถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้น คลี่คลายลงจนอยู่ในขั้นที่เจ้าหน้าที่ของรัฐที่เกี่ยวข้องสามารถควบคุมไม่ให้เกิดความรุนแรงได้แล้ว จึงไม่มีความจำเป็นต้องอำนาจประกาศสถานฉุกเฉินฯ และควรยกเลิกประกาศนี้ในทันที
3) เป็นที่ประจักษ์ชัดโดยสื่อมวลชนต่างๆ ที่อยู่ในเหตุการณ์เมื่อกลางดึกคืนวันจันทร์ที่ 1 ก.ย. 2551 ประกอบกับการให้สัมภาษณ์ของรองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สามารถยืนยันชัดเจนได้ว่า แกนนำ รวมทั้งรัฐมนตรีบางคนของพรรครัฐบาลมีบทบาทสำคัญในการปลุกเร้าและนำขบวนกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จนก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ถือเป็นการสร้างสถานการณ์ให้เลวร้ายและสร้างความชอบธรรมในการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังนั้น องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน จึงขอประณามการกระทำดังกล่าว
4) การที่เนื้อหาบางส่วนในการประกาศใช้ข้อกำหนดตามมาตรา 9 ของพ.ร.ก.ดังกล่าว ให้นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินออกข้อกำหนดห้ามการเสนอข่าว การจำหน่าย หรือการทำให้เผยแพร่ ซึ่งหนังสือพิม์ สิ่งพิมพ์ หรือสื่ออื่นใดที่มีข้อความอันอาจทำให้ประชาชนเกิดความหวาดกลัว หรือเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสาร ทำให้เกิดความเข้าใจผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน จนกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ หรือความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นั้น ถือเป็นการขัดต่อสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารของสื่อมวลชน ตามบทบัญญัติมาตรา 45 ของรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ.2550 อย่างชัดแจ้ง
อีกยังจะกระทบต่อสิทธิการรับรู้ข่าวสารของประชาชน อันจะนำไปสู่ความรุนแรงยิ่งขึ้นของสถานการณ์ ดังที่เคยเกิดขึ้นมาหลายครั้งในประวัติศาสตร์ทางการเมืองเมื่อสื่อมวลชนถูกปิดกั้นการเสนอข่าวสาร
5) องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนขอเรียกร้องให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ใช้ความอดทนอดกลั้นและหลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบไม่ว่ากรณีใดๆ รวมทั้งการพยายามยั่วยุประชาชนให้ใช้ความรุนแรงต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นการแถลงข่าวของนายกรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้อง การประกาศของแกนนำผู้ชุมนุม และการใช้สื่อของรัฐเป็นเครื่องมือโดยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารจากรัฐบาลเพียงฝ่ายเดียว
6) ในสถานการณ์ความขัดแย้งที่ยังอยู่ในภาวะวิกฤตที่นำไปสู่การประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว อำนาจในการจัดการสถานการณ์ความไม่สงบถูกส่งผ่านไปยังกองทัพบกคง ดังนั้น ผู้บัญชาการทหารบกจึงควรใช้อำนาจที่มีอยู่ด้วยความระมัดระวัง ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายการเมืองและไม่ฉกฉวยสถานการณ์เช่นนี้ ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองแผ่นดิน เพราะบทเรียนในอดีตที่ผ่านมา ยืนยันแล้วว่า การรัฐประหารไม่สามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งได้ แต่ยิ่งกลับทำให้ปัญหาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น
องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนทั้ง 5 องค์กรมีความเชื่อมั่นว่า สถานการณ์วิกฤตของประเทศไทยในขณะนี้ ยังมีทางออกโดยใช้กระบวนการสันติวิธี และขณะนี้ ภาคส่วนต่างๆ ของสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอทางออกต่อวิกฤตการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันอย่างเข้มข้น
องค์กรสื่อมวลชนต่างๆ ที่มีหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร จึงควรยึดมั่นในจริยธรรมแห่งวิชาชีพสื่อมวลชนอย่างเคร่งครัด ด้วยการนำเสนอข้อมูลข่าวสารอย่างรอบด้าน ไม่ตกเป็นเครื่องมือของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ประชาชนก็จะสามารถมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางการเมืองได้อย่างถูกต้องในที่สุด