เดลิเมล์ - นักวิจัยอังกฤษปฏิวัติความเชื่อเดิมๆ ชี้การกินไข่วันละสองฟอง ช่วยลดน้ำหนักและลดระดับคลอเรสเตอรอล
ก่อนหน้านี้ มีความเชื่อกันว่าการกินอาหารคลอเรสเตอรอลสูง เช่น ไข่ เชื่อมโยงโดยตรงกับการเพิ่มขึ้นของระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
แต่ในการวิจัยของดร.บรูซ กริฟฟิน จากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ อังกฤษ ที่ตีพิมพ์อยู่ในยูโรเปียน เจอร์นัล ออฟ นิวทริชัน กลับพบว่าคนที่กินไข่วันละสองฟองขณะควบคุมอาหาร ไม่เพียงทำให้น้ำหนักลดลงเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือดด้วย
ทีมนักวิจัยภายใต้การนำของดร.กริฟฟินจัดให้อาสาสมัครน้ำหนักเกินเกือบ 50 คนกินไข่วันละสองฟองนาน 12 สัปดาห์ ขณะที่อาสาสมัครอีกลุ่มไม่ได้กินไข่ และทั้งหมดกินอาหารจำกัดแคลอรีตามที่มูลนิธิหัวใจอังกฤษแนะนำ
ผลปรากฏว่า ทั้งสองกลุ่มน้ำหนักลดลงเช่นเดียวกับระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
ดร.กริฟฟินระบุว่า ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงการเพิ่มขึ้นของคลอเรสเตอรอลหรือการกินไข่กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในทางตรงข้าม ไข่ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและมีปริมาณแคลอรี่ต่ำ
ทั้งนี้ เชื่อว่าการกินไข่มื้อเช้าช่วยลดน้ำหนักเนื่องจากทำให้อิ่มท้องนาน
การวิจัยนี้ช่วยยืนยันฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า ไขมันอิ่มตัวที่พบในแป้ง เนื้อแปรรูป บิสกิต และเค้ก เป็นต้นเหตุที่ทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูงมากกว่าอาหารอุดมด้วยคลอเรสเตอรอลอย่างไข่ ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวต่ำ
ก่อนหน้านี้ มีความเชื่อกันว่าการกินอาหารคลอเรสเตอรอลสูง เช่น ไข่ เชื่อมโยงโดยตรงกับการเพิ่มขึ้นของระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มขึ้น
แต่ในการวิจัยของดร.บรูซ กริฟฟิน จากมหาวิทยาลัยเซอร์เรย์ อังกฤษ ที่ตีพิมพ์อยู่ในยูโรเปียน เจอร์นัล ออฟ นิวทริชัน กลับพบว่าคนที่กินไข่วันละสองฟองขณะควบคุมอาหาร ไม่เพียงทำให้น้ำหนักลดลงเร็วขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยลดคลอเรสเตอรอลในเลือดด้วย
ทีมนักวิจัยภายใต้การนำของดร.กริฟฟินจัดให้อาสาสมัครน้ำหนักเกินเกือบ 50 คนกินไข่วันละสองฟองนาน 12 สัปดาห์ ขณะที่อาสาสมัครอีกลุ่มไม่ได้กินไข่ และทั้งหมดกินอาหารจำกัดแคลอรีตามที่มูลนิธิหัวใจอังกฤษแนะนำ
ผลปรากฏว่า ทั้งสองกลุ่มน้ำหนักลดลงเช่นเดียวกับระดับคลอเรสเตอรอลในเลือด
ดร.กริฟฟินระบุว่า ไม่มีหลักฐานเชื่อมโยงการเพิ่มขึ้นของคลอเรสเตอรอลหรือการกินไข่กับโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ในทางตรงข้าม ไข่ให้สารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพและมีปริมาณแคลอรี่ต่ำ
ทั้งนี้ เชื่อว่าการกินไข่มื้อเช้าช่วยลดน้ำหนักเนื่องจากทำให้อิ่มท้องนาน
การวิจัยนี้ช่วยยืนยันฉันทามติทางวิทยาศาสตร์ที่ว่า ไขมันอิ่มตัวที่พบในแป้ง เนื้อแปรรูป บิสกิต และเค้ก เป็นต้นเหตุที่ทำให้คลอเรสเตอรอลในเลือดสูงมากกว่าอาหารอุดมด้วยคลอเรสเตอรอลอย่างไข่ ซึ่งมีไขมันอิ่มตัวต่ำ