เดลิเมล์ - นักวิจัยยันลูกเป็ดขี้เหร่ย่อมเป็นลูกเป็ดขี้เหร่วันยังค่ำ ไม่ว่าจะมีดีขนาดไหน เพราะธรรมชาติของมนุษย์มักให้ความสำคัญกับรูปร่างหน้าตามากกว่ารอยหยักในสมอง
การศึกษารายการตอบปัญหาชิงรางวัลที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับรายการวีกเคสลิงก์ หรือเกมกำจัดจุดอ่อน แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาขี้ริ้วมีแนวโน้มมากขึ้นถึงสองเท่าที่จะถูกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นกำจัด แม้ตอบคำถามได้มากกว่าคนหน้าตาดีก็ตาม
อย่างไรก็ดี การให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์มากกว่าสติปัญญา ทำให้ผู้เข้าแข่งขันพลาดเงินรางวัลนับร้อยปอนด์ไปอย่างน่าเสียดาย
งานวิจัยที่อยู่ในวารสารนิวไซเอนทิสต์ประจำสัปดาห์ที่แล้ว อาจช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดหนุ่มหล่อสาวสวยจึงมีภาษีกว่าคนหน้าตาไปวัดไปวาไม่ได้
นอกจากจะป๊อปปูลาร์และประสบความสำเร็จมากกว่าแล้ว คนหน้าตาดียังมีรายได้มากกว่าถึง 15% ซึ่งดูเหมือนว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เป็นเพราะความสำเร็จที่เกิดจากการดูแลเอาใจใส่รูปลักษณ์ของตัวเอง หรือว่าคนดูดีมีเสน่ห์มักมั่นใจในตัวเอง แต่เกิดจากอคติที่โน้มเอียงให้ความสำคัญกับความสวยความหล่อ
เวนคาทารามาน บาสการ์ จากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน ศึกษาปรากฏการณ์นี้จากเกมโชว์แดนกังหันลม ‘แชฟต์’ นับสิบตอน โดยกติกาของเกมนี้คือ ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนมากที่สุดจะมีสิทธิ์ไล่ผู้เล่นหนึ่งคนออกในแต่ละรอบ
แม้ไม่ได้ทำคะแนนเลวร้ายกว่าคนอื่น เผลอๆ ยังอาจทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ แต่ผลปรากฏว่าผู้แข่งขันที่มีเสน่ห์ดึงดูดน้อยที่สุดมีแนวโน้มถูกคัดออกเมื่อจบรอบแรกมากกว่าคนอื่นถึงสองเท่า
แม้ผลการศึกษานี้ครอบคลุมทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ผู้ชายมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเทใจให้สาวทรงเสน่ห์ และในทางกลับกัน ผู้หญิงมักเข้าข้างหนุ่มหล่อออกนอกหน้า
นอกจากนั้น ผู้เข้าแข่งขันยังสับสนระหว่างเสน่ห์ดึงดูดกับการร่วมมือ
ในรอบสุดท้ายของการแข่งขัน ผู้เล่นที่มีคะแนนนำจะต้องเลือกผู้เล่น 1 ใน 2 รายที่เหลืออยู่เพื่อร่วมกันตอบปัญหาชิงเงินรางวัล โดยสามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งรางวัลกัน หรือเก็บรางวัลไว้คนเดียว
หากตกลงแบ่งเงินกัน ผู้เข้าแข่งขันทั้งคู่มักกลับบ้านมือเปล่า เพราะผู้เล่นสนใจที่จะเลือกคนที่เห็นประโยชน์ในการร่วมมือกัน
ผลศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ชนะมักเลือกเล่นเกมรอบที่เหลือกับผู้แข่งขันที่ดูดีมีเสน่ห์ที่สุด โดยในเกมโชว์ 13 ตอน ผู้ชนะเลือกคนที่ได้คะแนนต่ำทำให้ชวดเงินรางวัลที่ควรจะได้ไปหลายร้อยปอนด์
“เราพบว่าผู้ชนะยินดีเสียสละเงิน 275 ปอนด์โดยเฉลี่ยเพื่อเลือกคนหน้าตาดีเป็นคู่หู” ศาสตราจารย์บาสการ์สรุป
ทั้งนี้ เชื่อกันว่าการมีใจฝักใฝ่ในความสวยความงามหยั่งรากลึกอยู่ในกระบวนการของวิวัฒนาการ โดยคู่ที่ดูดีมักมีลูกแข็งแรงสมบูรณ์ และถ่ายทอดพันธุกรรมไปยังลูกหลานต่อไป
การศึกษารายการตอบปัญหาชิงรางวัลที่มีรูปแบบใกล้เคียงกับรายการวีกเคสลิงก์ หรือเกมกำจัดจุดอ่อน แสดงให้เห็นว่าคนที่หน้าตาขี้ริ้วมีแนวโน้มมากขึ้นถึงสองเท่าที่จะถูกผู้เข้าแข่งขันคนอื่นกำจัด แม้ตอบคำถามได้มากกว่าคนหน้าตาดีก็ตาม
อย่างไรก็ดี การให้ความสำคัญกับรูปลักษณ์มากกว่าสติปัญญา ทำให้ผู้เข้าแข่งขันพลาดเงินรางวัลนับร้อยปอนด์ไปอย่างน่าเสียดาย
งานวิจัยที่อยู่ในวารสารนิวไซเอนทิสต์ประจำสัปดาห์ที่แล้ว อาจช่วยอธิบายได้ว่าเหตุใดหนุ่มหล่อสาวสวยจึงมีภาษีกว่าคนหน้าตาไปวัดไปวาไม่ได้
นอกจากจะป๊อปปูลาร์และประสบความสำเร็จมากกว่าแล้ว คนหน้าตาดียังมีรายได้มากกว่าถึง 15% ซึ่งดูเหมือนว่าปรากฏการณ์นี้ไม่ได้เป็นเพราะความสำเร็จที่เกิดจากการดูแลเอาใจใส่รูปลักษณ์ของตัวเอง หรือว่าคนดูดีมีเสน่ห์มักมั่นใจในตัวเอง แต่เกิดจากอคติที่โน้มเอียงให้ความสำคัญกับความสวยความหล่อ
เวนคาทารามาน บาสการ์ จากยูนิเวอร์ซิตี้ คอลเลจ ลอนดอน ศึกษาปรากฏการณ์นี้จากเกมโชว์แดนกังหันลม ‘แชฟต์’ นับสิบตอน โดยกติกาของเกมนี้คือ ผู้แข่งขันที่ได้คะแนนมากที่สุดจะมีสิทธิ์ไล่ผู้เล่นหนึ่งคนออกในแต่ละรอบ
แม้ไม่ได้ทำคะแนนเลวร้ายกว่าคนอื่น เผลอๆ ยังอาจทำได้ดีกว่าด้วยซ้ำ แต่ผลปรากฏว่าผู้แข่งขันที่มีเสน่ห์ดึงดูดน้อยที่สุดมีแนวโน้มถูกคัดออกเมื่อจบรอบแรกมากกว่าคนอื่นถึงสองเท่า
แม้ผลการศึกษานี้ครอบคลุมทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ผู้ชายมีแนวโน้มมากกว่าที่จะเทใจให้สาวทรงเสน่ห์ และในทางกลับกัน ผู้หญิงมักเข้าข้างหนุ่มหล่อออกนอกหน้า
นอกจากนั้น ผู้เข้าแข่งขันยังสับสนระหว่างเสน่ห์ดึงดูดกับการร่วมมือ
ในรอบสุดท้ายของการแข่งขัน ผู้เล่นที่มีคะแนนนำจะต้องเลือกผู้เล่น 1 ใน 2 รายที่เหลืออยู่เพื่อร่วมกันตอบปัญหาชิงเงินรางวัล โดยสามารถเลือกได้ว่าจะแบ่งรางวัลกัน หรือเก็บรางวัลไว้คนเดียว
หากตกลงแบ่งเงินกัน ผู้เข้าแข่งขันทั้งคู่มักกลับบ้านมือเปล่า เพราะผู้เล่นสนใจที่จะเลือกคนที่เห็นประโยชน์ในการร่วมมือกัน
ผลศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ชนะมักเลือกเล่นเกมรอบที่เหลือกับผู้แข่งขันที่ดูดีมีเสน่ห์ที่สุด โดยในเกมโชว์ 13 ตอน ผู้ชนะเลือกคนที่ได้คะแนนต่ำทำให้ชวดเงินรางวัลที่ควรจะได้ไปหลายร้อยปอนด์
“เราพบว่าผู้ชนะยินดีเสียสละเงิน 275 ปอนด์โดยเฉลี่ยเพื่อเลือกคนหน้าตาดีเป็นคู่หู” ศาสตราจารย์บาสการ์สรุป
ทั้งนี้ เชื่อกันว่าการมีใจฝักใฝ่ในความสวยความงามหยั่งรากลึกอยู่ในกระบวนการของวิวัฒนาการ โดยคู่ที่ดูดีมักมีลูกแข็งแรงสมบูรณ์ และถ่ายทอดพันธุกรรมไปยังลูกหลานต่อไป