ผู้จัดการรายวัน - “จำลอง” ตอกหน้านายกฯ มั่วสั่ง ป.ป.ช.ตรวจสอบการออกอากาศเอเอสทีวีไม่ได้ ชี้เป็นของภาคเอกชน ดีเดย์แผนดาวกระจายตบเท้ายื่นหนังสถานทูตอังกฤษวันนี้ ย้ำชุมนุมสันติวิธี เผยปัญหาใหญ่ของเอเอสทีวี คือ เงินสนับสนุน ด้าน"สนธิ" เสนอแนวคิดจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคหารายได้เลี้ยงตัวเองระยะยาว ประเดิม "ข้าวสารเอเอสทีวี" ย้ำแสดงพลังหน้าสถานทูตอังกฤษเพื่อทวงผู้ต้องหาโกงชาติกลับประเทศ เตือน "อนุพงษ์" ตัดสินใจผิดพลาดที่สุดในชีวิตที่ไปรับใช้คนอย่าง "สมัคร" ส่วน"พิภพ" ปลุกต่อมสำนึกรัฐบาล คำถึงถึงมิติทางวัฒนธรรม อย่าดันทุรังสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ บุกสถานทูตอังกฤษวันนี้ ขอคำตอบมาตรฐานกฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวตอบโต้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กรณีกล่าวในรายการสนทนาประสาสมัคร ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ตรวจสอบสถานีโทรทัศน์ ASTV เช่นเดียวกับที่ดำเนินการกับรายการ “ความจริงวันนี้” ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีว่า ป.ป.ช.ไม่สามารถตรวจสอบ ASTV ได้ เนื่องจากเป็นของเอกชน แต่สามารถดำเนินการกับเอ็นบีทีได้เพราะเป็นของประชาชน ซึ่งกระทำการและใช้อำนาจโดยมิชอบ
อย่างไรก็ตาม พล.ต.จำลอง ย้ำว่า พันธมิตรฯ จะเดินทางไปที่สถานทูตอังกฤษในวันพรุ่งนี้ (19 ส.ค.) โดยจะไปอย่างสงบไม่มีเหตุรุนแรง และรวมกันบริเวณแยกราชประสงค์ ในเวลาประมาณ 10.00 น.
ทั้งนี้ พันธมิตรฯ ยังได้มีมติเตรียมเดินทางไปให้กำลังใจครูและนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ รวมถึงเหล่าทหารที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ในวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ด้วย
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ขึ้นเวทีกล่าวถึง เรื่องการหาทางลงของพันธมิตรฯ ว่า การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้น ไม่มีทางลงแต่อย่างใดเพราะพันธมิตรฯไม่ได้มีการขึ้นไปไหน จึงไม่จำเป็นที่จะต้องหาทางลงแต่อย่างใด แต่เรื่องของการหาทางลงนั้น ต้องใช้กับคนที่พยายามตะเกียกตะกายอยากขึ้นไปสู่ที่สูงเท่านั้น และคนเหล่านี้ที่พยายามจะขึ้นที่สูงนั้น มักจะมีทางลงไม่สวย แตกต่างจากพันธมิตรฯ เมื่อได้ชัยชนะแล้วก็กลับบ้านกัน
ทั้งนี้ ยังกล่าวถึงเรื่องของการชุมนุม ว่า การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้น เป็นการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการชุมนุม คือ สถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี ที่มีการถ่ายทอดสด ซึ่งหากขาดเอเอสทีวีแล้ว การชุมนุมจะไม่ได้รับชนะอย่างแน่นอน แต่ขณะเดียวกัน เอเอสทีวี นั้นประสบกับปัญหา 3 ประการ คือ การที่รัฐบาลพยายามกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง โดยกรณีของเอเอสทีวีนั้น ศาลปกครองได้ตัดสินให้ เอเอสทีวี ชนะคดีที่กรมประชาสัมพันธ์ยื่นฟ้อง ประการต่อมา คือ การที่รัฐบาลพยายามก่อกวน โดยใช้คลื่นความถี่รบกวนสัญญาณการถ่ายทอด
แต่ในขณะนี้ เอเอสทีวีได้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เพื่อกำจัดคลื่นรบกวนเหล่านั้นแล้ว และประการสุดท้าย คือ เรื่อง ค่าใช้จ่ายของทางสถานีที่ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เงินเดือนของพนักงานเอเอสทีวี จะยังไม่ออกอย่างแน่นอน ขณะที่ในส่วนของรัฐบาลนั้น ได้มีการใช้อำนาจบังคับให้บริษัทที่โฆษณาให้กับเอเอสทีวี ทำการถอดโฆษณาออก จึงเหลืออยู่ไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่ยังลงโฆษณาอยู่ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจขนาดเล็ก
ทั้งนี้ พล.ต.จำลอง ได้ขอร้องให้พี่น้องพันธมิตรฯ ช่วยเหลือเอเอสทีวี โดยส่งเงินบริจาคมาที่ตน เพื่อนำไปมอบให้เอเอสทีวี ซึ่ง พล.ต.จำลองได้เปิดตู้ ปณ.ไว้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ราชดำเนิน ในชื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ตู้ ปณ.100 ปณ.ราชดำเนิน เพื่อรับบริจาคเป็นเช็คขีดคร่อมหรือตั๋วแลกเงินก็ได้
นอกจากนี้ พล.ต.จำลอง ยังกล่าวถึงเรื่อง การสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ที่ชุมนุมเกียกกาย ว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นกองกำลังทหารม้าแห่งแรก ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ขอพระราชทานสร้างโรงเรียนโยธินบูรณะขึ้นที่นี่ เพื่อให้ลูกหลานของบรรดาทหารได้เรียนหนังสือกัน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจะสร้างรัฐสภาที่นั้น ทำไมทหารชั้นผู้ใหญ่ ถึงไม่ออกมาคัดค้าน เพราะคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ก็มีความสุขกันดีอยู่แล้ว
เอเอสทีวีเตรียมขายข้าวสาร
เมื่อเวลา 21.30 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวขอบคุณพี่น้องประชาชนในภาคตะวันออกที่ไปให้กำลังใจหลายร้อยคนขณะเดินทางไปขึ้นศาลที่จังหวัดระยองเมื่อตอนบ่าย
จากนั้น นายสนธิ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเอเอสทีวี ได้กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯอีกคนที่รับรู้ถึงความยากลำบากของเอเอสทีวีที่มีปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายและได้ขอรับความช่วยเหลือจากพี่น้องเพื่อให้เอเอสทีวีได้อยู่ต่อไปและได้นำเสนอความจริงกับพี่น้องประชาชนต่อไปนั้น นายสนธิ กล่าวว่า ที่จริงไม่อยากจะพูดเรื่องส่วนตัวมากนัก แต่เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และที่สำคัญก็คือเวลานี้เอเอสทีวีก็เป็นของพี่น้องประชาชนไปแล้ว เพราะในช่วงระยะที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม ค่าใช้จ่ายของเอเอสทีวีมาจากเงินบริจาคของพี่น้องประชาชนแทบทั้งสิ้น
“ที่ผ่านมามีผู้หวังดีได้เสนอทางช่วยเหลือกันหลายรูปแบบ แต่อยากเสนอเป็นความเห็นให้ช่วยกันคิดดู นั่นคือการแก้ปัญหาการหารายได้ระยะยาวด้วยการจำหน่ายข้าวสารยี่ห้อเอเอสทีวี ด้วยความคิดง่ายๆคือทุกคนต้องกินข้าว โดยวิธีการจะรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้วจ้างโรงสีสีข้าวและบรรจุถุงโดยไม่มีคนกลาง ขณะที่มีการวางจำหน่ายตามร้ายค้าโชห่วยหรือตามห้างร้านทั่วไปที่สนับสนุนโดยมีการจ่ายเปอร์เซ็นต์ตามปกติ”
นายสนธิ กล่าวว่า ถ้าพี่น้องที่ดูเอเอสทีวีจำนวนอย่างน้อย 1-2 แสนครอบครัวช่วยกันอุดหนุนข้าวสารเอเอสทีวีอย่างน้อยครอบครัวละ 5-10 กิโลกรัมเชื่อว่าจะมีเงินเหลือมาดำเนินการได้อย่างไม่ติดขัด ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ในอนาคตเราก็ไม่ต้องพึ่งโฆษณา ไม่ต้องง้อใคร และจะเป็นสถานีแรกที่ทำแบบนี้ (ทั้งนี้นายสนธิ ได้ขอเสียงสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนด้วยการส่งเสียงและปรบมือปรากฎว่าได้รับเสียงสนับสนุนดังกึกก้อง)
"เราไปซื้อข้าวจากชาวนาให้ราคาสูง เพราะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ลำบากและยังเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว" นายสนธิ ระบุและว่า แม้ว่ารัฐบาลหอกหักชุดนี้ได้พ้นไปแล้วก็ต้องมีเอเอสทีวีอยู่คู่กับสังคมไทย
"ต่อไปเราจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปอีก เราจะบอกได้ทุกอย่างว่าสิ่งไหนดีเลว ทุกอย่างตั้งแต่นักการเมืองไปจนถึงสินค้าว่าอย่างไหนดีไม่ดี" นายสนธิ ย้ำและว่าพี่น้องจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสื่อเสรีที่สุด และรับใช้สังคม รับใช้ชาติอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์สินค้าก็เป็นตัวพิสูจน์ถ้าผิดอุดมการณ์สินค้าไม่มีคุณภาพก็ไม่ต้องไปอุดหนุน
จากนั้น นายสนธิ ได้ย้ำถึงกำหนดการไปเดินทางไปสถานทูตอังกฤษในวันนี้(19 ส.ค.) โดยเรียกร้องให้ไปแสดงพลังกันให้มากๆ ซึ่งที่ผ่านมาพวกเราเคยไปมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้จะไปทวงผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
นายสนธิ ยังได้กล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลในการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกายว่า ในยุคของ นายอุทัย พิมพ์ใจชนเป็นประธานรัฐสภาและพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล จนกระทั่งพ้นไป ในสมัยนั้นที่เกียกกายก็เคยเป็นหนึ่งในสถานที่เสนอเข้ามา แต่ทางกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมไม่ยินยอม โดยอ้างเหตุผลเรื่องมีหน่วยทหารหลายแห่ง มีโรงเรียนมีชุมนุม ถนนก็แคบ ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง และที่สำคัญหากมีการสร้างอาคารรัฐสภาซึ่งต้องสร้างเป็นอาคารสูง ก็จะสามารถส่องกล้องสืบราชการลับไปยังหน่วยทหารสำคัญ และที่สำคัญกว่านั้นสามารถส่องกล้องเข้าในตำหนักสวนจิตรลดาอีกด้วย
ในยุคที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก ไม่เข้าใจว่าในยุคนี้ทำไมถึงได้ละเลยเหตุผลในเรื่องเหล่านี้ไป
"ผมอยากพูดว่า พล.อ.อนุพงษ์ กำลังตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตที่ไปรับใช้ นายสมัคร" นายสนธิ กล่าว
ถามหามาตรฐานของอังกฤษ
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นกล่าวบนเวทีสะพานมัฆวานว่า พลังของพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นหลังจากได้ฟังความจริงผ่านเอเอสทีวี และทำให้หันมาให้ความสนใจปัญหาบ้านเมือง และเศรษฐกิจมากขึ้นด้วย ซึ่งเอเอสทีวีถือว่ามีความสำคัญ เพราะเราไม่มีทีวีเป็นของประชาชนโดยตรง รัฐบาลเองเอาภาษีประชาชนไปทำทีวี แต่นำไปใช้ในกิจการของรัฐ แล้วทำตัวเป็นเจ้าของ อย่างเช่นช่อง 11 โดยเฉพาะรายการของ 3 คนที่ออกมานั่งให้ข้อมูลด้านเดียว โดยใช้เงินภาษีของพี่น้องประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลไม่มีหน้าที่สนับสนุนคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่หากจะถามว่าแล้วทำไมเอเอสทีวีทำได้ นั่นก็เพราะเป็นของประชาชน เราเอาข้อมูลหลากหลาย เอาคนมาอยู่ให้ข้อมูล ดังนั้น เราต้องช่วยกันทำให้เอเอสทีวีอยู่รอด
"ถ้าเราไม่มีพลังของพันธมิตร เราก็จะอ่อนลง ดังนั้นต้องช่วยกันระดมทุนเพื่อเอเอสทีวี ถ้าจะช่วยกันจริงๆ ในระยะยาวให้เอเอสทีวีเป็นทีวีของประชาชนอยู่ต่อไป เริ่มต้นออมคนละบาทตั้งแต่วันนี้ ถือเป็นการเสียภาษีให้กับเอเอสทีวี จัดรายการเพื่อประชาชนและให้อยู่ต่อไปได้ ไม่เช่นนั้น เราจะตาบอดจากการดูฟรีทีวีทุกวันนี้ ซึ่งจากการสำรวจ มีจำนวนจานเอเอสทีวี 3 ล้านจาน ซึ่งประเมินคร่าวได้คนดูมาประมาณ 15 ล้านคน ยังรวมถึงคนที่ดูอินเทอร์เนตอีก แค่นี้เพียงแค่ล้านคน คนละบาทเอเอสทีวีก็อยู่ได้" นายพิภพกล่าว
ส่วนกรณีโรงเรียนโยธินบูรณะ ที่รัฐบาลยืนยันว่าจะต้องย้าย เพราะได้สร้างโรงเรียนที่ดีกว่าให้ โดยไม่ได้ถามว่าเด็กนักเรียนเขาอยากย้ายหรือไม่ นายพิภพกล่าวว่า ชุมชนเกียกกาย ถือเป็นชุมชนที่อยู่มาเป็นร้อยปี จึงสามารถสร้างเป็นชุมชนที่มีความผูกพันธ์ในปัจจุบันได้ ถึงแม้จะบอกว่ามีที่ใหม่ที่ดีกว่า แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของการสูญสลายของชุมชน ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงมีกฏหมายปกป้องชุมชนเอาไว้
"ชุมชนเกียกกาย ถือเป็นชุมชนดั้งเดิมต้องเก็บไว้ เพราะต่อไปจะเป็นชุมชนวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยว ขอเตือนรัฐบาลว่า อย่าเอาความสมัยใหม่มาจนลืมรากเหง้าของชุมชนไป เพราะมันไม่ใช่เรื่องถูกผิดทางกฏหมายอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องคุณธรรม การปกป้องวัฒนธรรมดั่งเดิมของเราเอาไว้ด้วย ที่สำคัญเรื่องนี้ ต้องมองถึงมิติการมองชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงมิติทางวัฒนธรรมด้วย" นายพิภพ กล่าว
ส่วนการที่เราจะเดินทางไปสถานฑูตอังกฤษในวันนี้มีความหมาย เพราะรัฐบาลอังกฤษมักจะมี 2 มาตรฐานในเรื่องกฏหมาย ซึ่งที่ผ่านมาเขาเอาเปรียบประเทศไทยพอสมควร โดยเรื่องการก่ออาชญากรรมของทักษิณ ใช่ว่าเขาจะไม่รู้ แต่เขามี 2 มาตรฐานในเรื่องกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน รู้ทั้งรู้ว่าทักษิณหนีศาล แต่รัฐบาลอังกฤษกลับละเลย และพยายามที่จะปกป้อง ในขณะเดียวกัน กรณีที่ทักษิณตั้งประเด็นว่า กระบวนการยุติธรรมมีปัญหา และชี้ไปที่อำนาจของ คตส. ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงต่างประเทศต้องชี้ให้เห็นว่า คตส. อยู่ในฐานะอะไรและชี้แจงให้เขาใจประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ การที่คดีที่ดินรัชดาฯ ถูกเปิดออกมาอีกครั้ง เพราะความต้องการของทักษิณเอง โดยหลังจากสามารถตั้งรัฐบาลสมัครได้แล้ว ก็เข้ามาต่อสู้คดีเพื่อหวังจะแทรกแซงและต่อยอดไปถึงคดีอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้น ก็เข้ามาดูแล ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย แต่หลังจากเปิดคดีแล้ว ถึงจุดหนึ่งพอรู้ว่าแทรกแซงไม่ได้ ก็เลยหนีต้องออกต่างประเทศไป แถมยังไปไม่ไปเปล่า ยังกล่าวกระบวนการยุติธรรมด้วย
โดยการกระทำของรัฐบาลอังกฤษเอง เป็นการดูถูกศาลไทยเช่นกัน เพราะไม่ส่งคนที่ถูกตัดสินแล้วหนีคดีกลับมาดำเนินคดี ซึ่งเรื่องนี้เราจะไปถามเขาว่าเขาใช้มาตรฐานอะไร ในทางกลับกัน คนที่เข้ามาทำความผิดในประเทศไทย เราส่งกลับไปให้เขาหมด แต่ของเรากลับไม่ส่งเลย ดังนั้น เราจะไปถามว่าประเทศอังกฤษใช้มาตรฐานอะไร
"คตส. ไม่ใช่องค์กรศาล แต่เป็นคนรวมรวมหลักฐานส่งให้ศาลตัดสิน ซึ่งเรื่องนี้ทักษิณสามารถตั้งทนายสู้ได้เต็มที่ แล้วจะบอกว่าไม่ยุติธรรมได้ไง ซึ่งการชุมนุมพรุ่งนี้ เราจะใช้สันติวิธีตามรัฐธรรมนูญ นักการเมืองผิดกฎหมายอะไรก็ต้องบอกให้สังคมโลกรับรู้ว่าสังคมไทยเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับกรณีโรงเรียนโยธินบูรณะ ไม่ใช่ว่าจะมารังแกใครได้ง่ายๆ ดังนั้น วันพรุ่งนี้ และวันศุกร์จึงเป็นวันที่มีความหมายทั้งสองวัน" นายพิภพกล่าว
สภาฯ ร้อนก้นร่อนเอกสารแจง
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกระแสคัดค้านการก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ที่เกียกกาย ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ ไม่ใช่ว่าจะไม่รับฟังความเห็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ ยินดีที่จะรับฟังทุกฝ่าย ไม่ถึงขั้นที่จะทำขัดรัฐธรรมนูญ เมื่อถามว่าเรื่องนี้มีการลงนามในเอ็มโอยู และมีการอนุมัติงบประมาณแล้ว นายประสพสุข กล่าวว่า การลงนามเอ็มโอยู เป็นการที่หน่วยงานต่างๆ ยินยอมที่จะรื้อถอนออกจากพื้นที่เท่านั้น เท่าที่ตนได้อ่านเอกสารทั้งหมด มีการริเริ่มที่จะสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่มานาน ซึ่งบริเวณดังกล่าวถือว่า มีความเหมาะสมที่สุด ทุกฝ่ายก็เห็นด้วยเหมาะกว่าอีก 2 แห่ง การขยับขยายก็ต้องดีกว่าเก่า
ในวันเดียวกันนี้ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ได้แจกเอกสารชี้แจงกรณีที่เกิดความไม่เข้าใจโครงการก่อสร้างรัฐสภาใหม่ บนพื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต ซึ่งมีหน่วยงานราชการได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้าง จำนวน 8 หน่วยงานว่า รัฐสภาได้แก้ปัญหาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว โดยในส่วนของโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ขนาด 16 ไร่ ใหญ่กว่าเดิม 1 เท่าตัว และรัฐสภาจะจ่ายค่ารื้อย้าย และก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 1 พันล้านบาท โดยดำเนินการให้เสร็จภายใน 2 ปี ส่วนผลกระทบต่อการเดินทางของนักเรียน คงมีไม่มากนัก เพราะอยู่ห่างจากที่เดิมเพียง 1.7 กม. หรือ ประมาณ 5-6 ป้ายรถเมล์เท่านั้น จึงขอวิงวอนให้ผู้ที่คัดค้าน คำนึงถึงประโยชน์ในระยะยาวที่โรงเรียนจะได้รับด้วย
พ.อ.อภิวันท์ ยังระบุในเอกสารอีกว่า ในส่วนของหน่วยราชการอื่นที่ได้รับผลกระทบ ก็ได้มีการจัดที่ดินรองรับไว้แล้ว เช่น ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ชุมชนตระกูลดิษฐ์ 132 ครอบครัว จะย้ายไปอยู่ในที่ดินราชพัสดุ แผนกซ่อมบำรุงเรือ เนื้อที่ 4 ไร่ กรมราชองครักษ์ ย้ายไปอยู่ที่ดินราชพัสดุ แขวงบางซื่อ กทม. เนื้อที่ 7 ไร่ โดยรัฐสภาจ่ายค่าชดเชยให้กรมราชองครักษ์ จำนวน 2 ล้านบาท ส่วนโรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก กองร้อยขนส่งเรือ แผนกซ่อมบำรุงเรือ และบ้านพักของข้าราชการทหาร สังกัดกองทัพบก จะย้ายไปอยู่ในพื้นที่ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก นนทบุรี เนื้อที่ 265 ไร่ โดยรัฐสภาจะจ่ายค่าชดเชยที่ดิน และสิ่งก่อสร้างจำนวน 3,925 ล้านบาท
สำหรับบ้านพักข้าราชการ กรมอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รัฐบาลจะจัดซื้อที่ดินใกล้ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จำนวนเกือบ 4 ไร่ และจะจ่ายค่าก่อสร้างแฟลต กรมการอุตสาหกรรมทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 40 ครอบครัว จำนวน 100 ล้านบาทด้วย
ส่วนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) รัฐสภาจะซื้อที่ดินของ อ.อ.ป. พร้อมจ่ายค่ารื้อถอนโรงงาน และขนย้ายครอบครัวพนักงาน 30 ครอบครัวของ อ.อ.ป.ไปอยู่ที่ใหม่จำนวน 400 ล้านบาท (โดยรัฐสภาจะจ่ายค่ารื้อถอนโรงงาน และขนย้ายครอบครัวพนักงาน 30 ครอบครัวก่อน จำนวน 50 ล้านบาท)
เครือข่ายสลัมอัด "สมัคร"
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (18ส.ค.) นางประทิน เวคะวากยานนท์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค นำสมาชิกเครือข่ายประมาณ 100 คน เดินทางมาชุมนุมที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล โดยการชุมนุมครั้งนี้ มีการนำสมาชิกเครือข่ายที่เป็นผู้หญิงและเด็กแต่งหน้า เขียนหนวดเหมือนแมว โดยมีป้ายผ้าเขียนข้อความว่า "รักแมว ชอบจ่ายตลาด แต่ขาดความเข้าใจวิถีคนจน" นอกจากนี้ ยังมีป้ายผ้าข้อความว่า "นายกฯสมัคร รังเกียจคนจน คิดย้ายสลัมออกนอกเมือง" " คนสลัมเป็นแรงงานในการพัฒนาเมืองเขาไม่ใช่พลเมืองชั้นสอง" เป็นต้น
ทั้งนี้เครือข่ายสลัมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ประชาชน เรียกร้องให้นายสมัคร ทบทวนวิสัยทัศน์ที่ได้แสดงในการประชุมประจำปี ของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา ในเรื่องของการพัฒนาที่ว่าด้วยการย้ายสลัมที่อยู่ในกทม. จำนวน 1.7 พันแห่งออกไปนอกเมือง โดยหนังสือร้องเรียนระบุว่า เป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่เข้าใจรากเหง้าของปัญหา และไม่เห็นหัวคนจน โดยเสนอให้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในรูปแบบโครงการบ้านมั่นคง รวมถึงนโยบายสนับสนุนงบประมาณด้านสาธารณูปโภค และงบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ชาวชุมชนแออัด อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายจะกลับมาติดตามข้อเรียกร้องในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เนื่องจากเป็นวันที่อยู่อาศัยสากล
นางประทิน กล่าวว่า หากนายสมัคร จะเดินหน้าดำเนินการตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวถือว่าจะขัดกับนโยบายของรัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 46 ที่อนุมัติโครงการบ้านมั่นคงที่เน้นให้ชุมชนแออัดปรับปรุงชุมชน หรือสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยมีนโยบายให้หน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของที่ดินจัดที่ดินให้ชุมชนเช่าปรับปรุงที่อยู่อาศัยระยะยาว ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำบ้านมั่นคงร่วมกันระหว่างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และชาวชุมชนแออัดในแบบที่ไม่ต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองกว่า 5 หมื่นหลังคาเรือน
นางประทิน กล่าวถึงรากเหง้าของปัญหาว่า เป็นเพราะการพัฒนาประเทศที่นำเอาชาวชนบทเข้ามาทำงานในกทม. มาเป็นแรงงานราคาถูก ทั้งที่จริงคนจนไม่ได้อยากเข้ามา แต่เนื่องจากประชาชนในชนบทไม่ได้รับการสนับสนุนภาคการเกษตร ซ้ำยังต้องเป็นหนี้สิน แต่เมื่อเข้ามาทำงานก่อสร้าง พัฒนาบ้านเมืองก็ไม่ได้รับการดูแล รวมทั้งทะเบียนบ้านก็ไม่มี และเมื่อไม่มีทะเบียนบ้านก็เกี่ยวโยงเมื่อเรื่องการติดตั้งไฟฟ้า น้ำประปา
นอกจากนี้การแก้ปัญหาแบบไม่ต้องย้ายคนไปนอกเมือง ยังเป็นนโยบายระดับสากล เพราะองค์การสหประชาชาติได้รณรงค์คำขวัญเมืองที่ปราศจากสลัมมาตั้งแต่ปี 44 หมายความว่า ให้ประชาชาติมีนโยบายปรับปรุงชุมชนให้พ้นจากความเป็นสลัม มิได้หมายถึงการรื้อย้ายสลัมออกไปนอกเมือง
ด้าน นายพงษ์อนันต์ ช่วงธรรม ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัมฯ กล่าวว่า ขอให้นายสมัคร ในฐานะผู้บริหารประเทศทบทวนคำพูด และตนไม่ทราบว่านายสมัครนำแนวคิดนี้มาจากไหน เพราะตามนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทย ก็ปฏิบัติไว้ชัดเจน ที่ต้องการปรับปรุงให้พ้นจากความเป็นสลัม นำงบประมาณลงไปสร้างที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีสัญญาเช่าถูกต้องกับเจ้าของที่ดินที่เป็นรัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ ทำให้มีถนนหนทางมีไฟฟ้า น้ำประปา แต่นายสมัคร กลับออกมาประกาศสวนทางกับพรรคที่นายสมัครอ้างว่าเป็นนอมินี ดังนั้นขอให้นายสมัครไปถาม ส.ส.กทม พรรคพลังประชาชน และพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และเจ้าของนโยบาย ว่านโยบายของนายสมัคร ที่จะรื้อย้ายสลัมออกไปนอกเมือง ยังจะดำเนินการต่อหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ยังมีแกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาคบางคน ระบุว่า นายสมัคร นายสมัครมีนโยบายที่จะกำจัดชาวสลัมออกจากเมืองมาตั้งแต่สมัยเป็นผู้ว่าฯกทม. ที่มีความคิดจะสร้างแฟลตฝักข้าวโพด แต่ตอนนี้มาเป็นนายกฯ เป็นเบอร์1 ของประเทศ ก็เห็นคนจนเป็นอะไร จะผลักไสไล่ส่งไปอยู่นอกเมืองหรือว่า วิสัยทัศน์ของนายสมัคร กับคนจนมีเพียงแค่นี้จริงๆ หรือว่านายสมัครไม่เห็นคุณค่าและย่ำยีศักดิ์ศรีของคนจน และไหนนายสมัครบอกว่า จะเข้ามาสร้างความสมานฉันท์
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวตอบโต้นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กรณีกล่าวในรายการสนทนาประสาสมัคร ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช.ตรวจสอบสถานีโทรทัศน์ ASTV เช่นเดียวกับที่ดำเนินการกับรายการ “ความจริงวันนี้” ทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีทีว่า ป.ป.ช.ไม่สามารถตรวจสอบ ASTV ได้ เนื่องจากเป็นของเอกชน แต่สามารถดำเนินการกับเอ็นบีทีได้เพราะเป็นของประชาชน ซึ่งกระทำการและใช้อำนาจโดยมิชอบ
อย่างไรก็ตาม พล.ต.จำลอง ย้ำว่า พันธมิตรฯ จะเดินทางไปที่สถานทูตอังกฤษในวันพรุ่งนี้ (19 ส.ค.) โดยจะไปอย่างสงบไม่มีเหตุรุนแรง และรวมกันบริเวณแยกราชประสงค์ ในเวลาประมาณ 10.00 น.
ทั้งนี้ พันธมิตรฯ ยังได้มีมติเตรียมเดินทางไปให้กำลังใจครูและนักเรียนโรงเรียนโยธินบูรณะ รวมถึงเหล่าทหารที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ในวันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ด้วย
พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯ ขึ้นเวทีกล่าวถึง เรื่องการหาทางลงของพันธมิตรฯ ว่า การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้น ไม่มีทางลงแต่อย่างใดเพราะพันธมิตรฯไม่ได้มีการขึ้นไปไหน จึงไม่จำเป็นที่จะต้องหาทางลงแต่อย่างใด แต่เรื่องของการหาทางลงนั้น ต้องใช้กับคนที่พยายามตะเกียกตะกายอยากขึ้นไปสู่ที่สูงเท่านั้น และคนเหล่านี้ที่พยายามจะขึ้นที่สูงนั้น มักจะมีทางลงไม่สวย แตกต่างจากพันธมิตรฯ เมื่อได้ชัยชนะแล้วก็กลับบ้านกัน
ทั้งนี้ ยังกล่าวถึงเรื่องของการชุมนุม ว่า การชุมนุมของพันธมิตรฯนั้น เป็นการชุมนุมที่ยิ่งใหญ่ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในการชุมนุม คือ สถานีโทรทัศน์ เอเอสทีวี ที่มีการถ่ายทอดสด ซึ่งหากขาดเอเอสทีวีแล้ว การชุมนุมจะไม่ได้รับชนะอย่างแน่นอน แต่ขณะเดียวกัน เอเอสทีวี นั้นประสบกับปัญหา 3 ประการ คือ การที่รัฐบาลพยายามกลั่นแกล้งทุกวิถีทาง โดยกรณีของเอเอสทีวีนั้น ศาลปกครองได้ตัดสินให้ เอเอสทีวี ชนะคดีที่กรมประชาสัมพันธ์ยื่นฟ้อง ประการต่อมา คือ การที่รัฐบาลพยายามก่อกวน โดยใช้คลื่นความถี่รบกวนสัญญาณการถ่ายทอด
แต่ในขณะนี้ เอเอสทีวีได้ใช้เงินจำนวนหนึ่ง เพื่อกำจัดคลื่นรบกวนเหล่านั้นแล้ว และประการสุดท้าย คือ เรื่อง ค่าใช้จ่ายของทางสถานีที่ต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ซึ่งเป็นที่แน่นอนแล้วว่าสิ้นเดือนสิงหาคมนี้ เงินเดือนของพนักงานเอเอสทีวี จะยังไม่ออกอย่างแน่นอน ขณะที่ในส่วนของรัฐบาลนั้น ได้มีการใช้อำนาจบังคับให้บริษัทที่โฆษณาให้กับเอเอสทีวี ทำการถอดโฆษณาออก จึงเหลืออยู่ไม่กี่บริษัทเท่านั้นที่ยังลงโฆษณาอยู่ แต่ส่วนใหญ่ก็เป็นธุรกิจขนาดเล็ก
ทั้งนี้ พล.ต.จำลอง ได้ขอร้องให้พี่น้องพันธมิตรฯ ช่วยเหลือเอเอสทีวี โดยส่งเงินบริจาคมาที่ตน เพื่อนำไปมอบให้เอเอสทีวี ซึ่ง พล.ต.จำลองได้เปิดตู้ ปณ.ไว้ที่ที่ทำการไปรษณีย์ราชดำเนิน ในชื่อ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ตู้ ปณ.100 ปณ.ราชดำเนิน เพื่อรับบริจาคเป็นเช็คขีดคร่อมหรือตั๋วแลกเงินก็ได้
นอกจากนี้ พล.ต.จำลอง ยังกล่าวถึงเรื่อง การสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ ที่ชุมนุมเกียกกาย ว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นกองกำลังทหารม้าแห่งแรก ที่ตั้งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 และต่อมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ขอพระราชทานสร้างโรงเรียนโยธินบูรณะขึ้นที่นี่ เพื่อให้ลูกหลานของบรรดาทหารได้เรียนหนังสือกัน ดังนั้น เมื่อรัฐบาลจะสร้างรัฐสภาที่นั้น ทำไมทหารชั้นผู้ใหญ่ ถึงไม่ออกมาคัดค้าน เพราะคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนแห่งนี้ก็มีความสุขกันดีอยู่แล้ว
เอเอสทีวีเตรียมขายข้าวสาร
เมื่อเวลา 21.30 น. นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้กล่าวขอบคุณพี่น้องประชาชนในภาคตะวันออกที่ไปให้กำลังใจหลายร้อยคนขณะเดินทางไปขึ้นศาลที่จังหวัดระยองเมื่อตอนบ่าย
จากนั้น นายสนธิ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเอเอสทีวี ได้กล่าวถึงกรณีที่ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำพันธมิตรฯอีกคนที่รับรู้ถึงความยากลำบากของเอเอสทีวีที่มีปัญหาในเรื่องค่าใช้จ่ายและได้ขอรับความช่วยเหลือจากพี่น้องเพื่อให้เอเอสทีวีได้อยู่ต่อไปและได้นำเสนอความจริงกับพี่น้องประชาชนต่อไปนั้น นายสนธิ กล่าวว่า ที่จริงไม่อยากจะพูดเรื่องส่วนตัวมากนัก แต่เพื่อป้องกันความเข้าใจผิด และที่สำคัญก็คือเวลานี้เอเอสทีวีก็เป็นของพี่น้องประชาชนไปแล้ว เพราะในช่วงระยะที่ผ่านมานับตั้งแต่เดือน พฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม ค่าใช้จ่ายของเอเอสทีวีมาจากเงินบริจาคของพี่น้องประชาชนแทบทั้งสิ้น
“ที่ผ่านมามีผู้หวังดีได้เสนอทางช่วยเหลือกันหลายรูปแบบ แต่อยากเสนอเป็นความเห็นให้ช่วยกันคิดดู นั่นคือการแก้ปัญหาการหารายได้ระยะยาวด้วยการจำหน่ายข้าวสารยี่ห้อเอเอสทีวี ด้วยความคิดง่ายๆคือทุกคนต้องกินข้าว โดยวิธีการจะรับซื้อข้าวจากชาวนาแล้วจ้างโรงสีสีข้าวและบรรจุถุงโดยไม่มีคนกลาง ขณะที่มีการวางจำหน่ายตามร้ายค้าโชห่วยหรือตามห้างร้านทั่วไปที่สนับสนุนโดยมีการจ่ายเปอร์เซ็นต์ตามปกติ”
นายสนธิ กล่าวว่า ถ้าพี่น้องที่ดูเอเอสทีวีจำนวนอย่างน้อย 1-2 แสนครอบครัวช่วยกันอุดหนุนข้าวสารเอเอสทีวีอย่างน้อยครอบครัวละ 5-10 กิโลกรัมเชื่อว่าจะมีเงินเหลือมาดำเนินการได้อย่างไม่ติดขัด ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ในอนาคตเราก็ไม่ต้องพึ่งโฆษณา ไม่ต้องง้อใคร และจะเป็นสถานีแรกที่ทำแบบนี้ (ทั้งนี้นายสนธิ ได้ขอเสียงสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนด้วยการส่งเสียงและปรบมือปรากฎว่าได้รับเสียงสนับสนุนดังกึกก้อง)
"เราไปซื้อข้าวจากชาวนาให้ราคาสูง เพราะไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ต่างฝ่ายต่างก็ไม่ลำบากและยังเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว" นายสนธิ ระบุและว่า แม้ว่ารัฐบาลหอกหักชุดนี้ได้พ้นไปแล้วก็ต้องมีเอเอสทีวีอยู่คู่กับสังคมไทย
"ต่อไปเราจะเป็นอิสระยิ่งขึ้นไปอีก เราจะบอกได้ทุกอย่างว่าสิ่งไหนดีเลว ทุกอย่างตั้งแต่นักการเมืองไปจนถึงสินค้าว่าอย่างไหนดีไม่ดี" นายสนธิ ย้ำและว่าพี่น้องจะเป็นกำลังสำคัญในการสร้างสื่อเสรีที่สุด และรับใช้สังคม รับใช้ชาติอย่างแท้จริง ขณะเดียวกันผลิตภัณฑ์สินค้าก็เป็นตัวพิสูจน์ถ้าผิดอุดมการณ์สินค้าไม่มีคุณภาพก็ไม่ต้องไปอุดหนุน
จากนั้น นายสนธิ ได้ย้ำถึงกำหนดการไปเดินทางไปสถานทูตอังกฤษในวันนี้(19 ส.ค.) โดยเรียกร้องให้ไปแสดงพลังกันให้มากๆ ซึ่งที่ผ่านมาพวกเราเคยไปมาแล้วครั้งหนึ่ง แต่ครั้งนี้จะไปทวงผู้ต้องหากลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย
นายสนธิ ยังได้กล่าวถึงความไม่ชอบมาพากลในการก่อสร้างรัฐสภาแห่งใหม่ที่เกียกกายว่า ในยุคของ นายอุทัย พิมพ์ใจชนเป็นประธานรัฐสภาและพรรคไทยรักไทยเป็นรัฐบาล จนกระทั่งพ้นไป ในสมัยนั้นที่เกียกกายก็เคยเป็นหนึ่งในสถานที่เสนอเข้ามา แต่ทางกองทัพบกและกระทรวงกลาโหมไม่ยินยอม โดยอ้างเหตุผลเรื่องมีหน่วยทหารหลายแห่ง มีโรงเรียนมีชุมนุม ถนนก็แคบ ไม่เหมาะสมด้วยประการทั้งปวง และที่สำคัญหากมีการสร้างอาคารรัฐสภาซึ่งต้องสร้างเป็นอาคารสูง ก็จะสามารถส่องกล้องสืบราชการลับไปยังหน่วยทหารสำคัญ และที่สำคัญกว่านั้นสามารถส่องกล้องเข้าในตำหนักสวนจิตรลดาอีกด้วย
ในยุคที่ นายสมัคร สุนทรเวช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา เป็นผู้บัญชาการทหารบก ไม่เข้าใจว่าในยุคนี้ทำไมถึงได้ละเลยเหตุผลในเรื่องเหล่านี้ไป
"ผมอยากพูดว่า พล.อ.อนุพงษ์ กำลังตัดสินใจผิดพลาดครั้งใหญ่ที่สุดในชีวิตที่ไปรับใช้ นายสมัคร" นายสนธิ กล่าว
ถามหามาตรฐานของอังกฤษ
นายพิภพ ธงไชย แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขึ้นกล่าวบนเวทีสะพานมัฆวานว่า พลังของพันธมิตรฯ ในต่างจังหวัดเพิ่มขึ้นหลังจากได้ฟังความจริงผ่านเอเอสทีวี และทำให้หันมาให้ความสนใจปัญหาบ้านเมือง และเศรษฐกิจมากขึ้นด้วย ซึ่งเอเอสทีวีถือว่ามีความสำคัญ เพราะเราไม่มีทีวีเป็นของประชาชนโดยตรง รัฐบาลเองเอาภาษีประชาชนไปทำทีวี แต่นำไปใช้ในกิจการของรัฐ แล้วทำตัวเป็นเจ้าของ อย่างเช่นช่อง 11 โดยเฉพาะรายการของ 3 คนที่ออกมานั่งให้ข้อมูลด้านเดียว โดยใช้เงินภาษีของพี่น้องประชาชน ซึ่งเรื่องนี้ รัฐบาลไม่มีหน้าที่สนับสนุนคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่หากจะถามว่าแล้วทำไมเอเอสทีวีทำได้ นั่นก็เพราะเป็นของประชาชน เราเอาข้อมูลหลากหลาย เอาคนมาอยู่ให้ข้อมูล ดังนั้น เราต้องช่วยกันทำให้เอเอสทีวีอยู่รอด
"ถ้าเราไม่มีพลังของพันธมิตร เราก็จะอ่อนลง ดังนั้นต้องช่วยกันระดมทุนเพื่อเอเอสทีวี ถ้าจะช่วยกันจริงๆ ในระยะยาวให้เอเอสทีวีเป็นทีวีของประชาชนอยู่ต่อไป เริ่มต้นออมคนละบาทตั้งแต่วันนี้ ถือเป็นการเสียภาษีให้กับเอเอสทีวี จัดรายการเพื่อประชาชนและให้อยู่ต่อไปได้ ไม่เช่นนั้น เราจะตาบอดจากการดูฟรีทีวีทุกวันนี้ ซึ่งจากการสำรวจ มีจำนวนจานเอเอสทีวี 3 ล้านจาน ซึ่งประเมินคร่าวได้คนดูมาประมาณ 15 ล้านคน ยังรวมถึงคนที่ดูอินเทอร์เนตอีก แค่นี้เพียงแค่ล้านคน คนละบาทเอเอสทีวีก็อยู่ได้" นายพิภพกล่าว
ส่วนกรณีโรงเรียนโยธินบูรณะ ที่รัฐบาลยืนยันว่าจะต้องย้าย เพราะได้สร้างโรงเรียนที่ดีกว่าให้ โดยไม่ได้ถามว่าเด็กนักเรียนเขาอยากย้ายหรือไม่ นายพิภพกล่าวว่า ชุมชนเกียกกาย ถือเป็นชุมชนที่อยู่มาเป็นร้อยปี จึงสามารถสร้างเป็นชุมชนที่มีความผูกพันธ์ในปัจจุบันได้ ถึงแม้จะบอกว่ามีที่ใหม่ที่ดีกว่า แต่เรื่องนี้เป็นเรื่องของการสูญสลายของชุมชน ดังนั้น รัฐธรรมนูญจึงมีกฏหมายปกป้องชุมชนเอาไว้
"ชุมชนเกียกกาย ถือเป็นชุมชนดั้งเดิมต้องเก็บไว้ เพราะต่อไปจะเป็นชุมชนวัฒนธรรม เป็นแหล่งท่องเที่ยว ขอเตือนรัฐบาลว่า อย่าเอาความสมัยใหม่มาจนลืมรากเหง้าของชุมชนไป เพราะมันไม่ใช่เรื่องถูกผิดทางกฏหมายอย่างเดียว แต่เป็นเรื่องคุณธรรม การปกป้องวัฒนธรรมดั่งเดิมของเราเอาไว้ด้วย ที่สำคัญเรื่องนี้ ต้องมองถึงมิติการมองชุมชนเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงมิติทางวัฒนธรรมด้วย" นายพิภพ กล่าว
ส่วนการที่เราจะเดินทางไปสถานฑูตอังกฤษในวันนี้มีความหมาย เพราะรัฐบาลอังกฤษมักจะมี 2 มาตรฐานในเรื่องกฏหมาย ซึ่งที่ผ่านมาเขาเอาเปรียบประเทศไทยพอสมควร โดยเรื่องการก่ออาชญากรรมของทักษิณ ใช่ว่าเขาจะไม่รู้ แต่เขามี 2 มาตรฐานในเรื่องกฏหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดน รู้ทั้งรู้ว่าทักษิณหนีศาล แต่รัฐบาลอังกฤษกลับละเลย และพยายามที่จะปกป้อง ในขณะเดียวกัน กรณีที่ทักษิณตั้งประเด็นว่า กระบวนการยุติธรรมมีปัญหา และชี้ไปที่อำนาจของ คตส. ซึ่งเรื่องนี้ กระทรวงต่างประเทศต้องชี้ให้เห็นว่า คตส. อยู่ในฐานะอะไรและชี้แจงให้เขาใจประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ การที่คดีที่ดินรัชดาฯ ถูกเปิดออกมาอีกครั้ง เพราะความต้องการของทักษิณเอง โดยหลังจากสามารถตั้งรัฐบาลสมัครได้แล้ว ก็เข้ามาต่อสู้คดีเพื่อหวังจะแทรกแซงและต่อยอดไปถึงคดีอื่นๆ ด้วย นอกจากนั้น ก็เข้ามาดูแล ส.ส. ของพรรคพลังประชาชนเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วย แต่หลังจากเปิดคดีแล้ว ถึงจุดหนึ่งพอรู้ว่าแทรกแซงไม่ได้ ก็เลยหนีต้องออกต่างประเทศไป แถมยังไปไม่ไปเปล่า ยังกล่าวกระบวนการยุติธรรมด้วย
โดยการกระทำของรัฐบาลอังกฤษเอง เป็นการดูถูกศาลไทยเช่นกัน เพราะไม่ส่งคนที่ถูกตัดสินแล้วหนีคดีกลับมาดำเนินคดี ซึ่งเรื่องนี้เราจะไปถามเขาว่าเขาใช้มาตรฐานอะไร ในทางกลับกัน คนที่เข้ามาทำความผิดในประเทศไทย เราส่งกลับไปให้เขาหมด แต่ของเรากลับไม่ส่งเลย ดังนั้น เราจะไปถามว่าประเทศอังกฤษใช้มาตรฐานอะไร
"คตส. ไม่ใช่องค์กรศาล แต่เป็นคนรวมรวมหลักฐานส่งให้ศาลตัดสิน ซึ่งเรื่องนี้ทักษิณสามารถตั้งทนายสู้ได้เต็มที่ แล้วจะบอกว่าไม่ยุติธรรมได้ไง ซึ่งการชุมนุมพรุ่งนี้ เราจะใช้สันติวิธีตามรัฐธรรมนูญ นักการเมืองผิดกฎหมายอะไรก็ต้องบอกให้สังคมโลกรับรู้ว่าสังคมไทยเห็นเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญ เช่นเดียวกับกรณีโรงเรียนโยธินบูรณะ ไม่ใช่ว่าจะมารังแกใครได้ง่ายๆ ดังนั้น วันพรุ่งนี้ และวันศุกร์จึงเป็นวันที่มีความหมายทั้งสองวัน" นายพิภพกล่าว
สภาฯ ร้อนก้นร่อนเอกสารแจง
นายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา กล่าวถึงกระแสคัดค้านการก่อสร้างอาคารรัฐสภาใหม่ที่เกียกกาย ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ ไม่ใช่ว่าจะไม่รับฟังความเห็นผู้ที่ได้รับผลกระทบ ยินดีที่จะรับฟังทุกฝ่าย ไม่ถึงขั้นที่จะทำขัดรัฐธรรมนูญ เมื่อถามว่าเรื่องนี้มีการลงนามในเอ็มโอยู และมีการอนุมัติงบประมาณแล้ว นายประสพสุข กล่าวว่า การลงนามเอ็มโอยู เป็นการที่หน่วยงานต่างๆ ยินยอมที่จะรื้อถอนออกจากพื้นที่เท่านั้น เท่าที่ตนได้อ่านเอกสารทั้งหมด มีการริเริ่มที่จะสร้างอาคารรัฐสภาแห่งใหม่มานาน ซึ่งบริเวณดังกล่าวถือว่า มีความเหมาะสมที่สุด ทุกฝ่ายก็เห็นด้วยเหมาะกว่าอีก 2 แห่ง การขยับขยายก็ต้องดีกว่าเก่า
ในวันเดียวกันนี้ พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 2 ได้แจกเอกสารชี้แจงกรณีที่เกิดความไม่เข้าใจโครงการก่อสร้างรัฐสภาใหม่ บนพื้นที่ราชพัสดุ ถนนทหาร (เกียกกาย) เขตดุสิต ซึ่งมีหน่วยงานราชการได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้าง จำนวน 8 หน่วยงานว่า รัฐสภาได้แก้ปัญหาให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบแล้ว โดยในส่วนของโรงเรียนโยธินบูรณะ ได้มีการจัดหาพื้นที่ใหม่ขนาด 16 ไร่ ใหญ่กว่าเดิม 1 เท่าตัว และรัฐสภาจะจ่ายค่ารื้อย้าย และก่อสร้างอาคารเรียนจำนวน 1 พันล้านบาท โดยดำเนินการให้เสร็จภายใน 2 ปี ส่วนผลกระทบต่อการเดินทางของนักเรียน คงมีไม่มากนัก เพราะอยู่ห่างจากที่เดิมเพียง 1.7 กม. หรือ ประมาณ 5-6 ป้ายรถเมล์เท่านั้น จึงขอวิงวอนให้ผู้ที่คัดค้าน คำนึงถึงประโยชน์ในระยะยาวที่โรงเรียนจะได้รับด้วย
พ.อ.อภิวันท์ ยังระบุในเอกสารอีกว่า ในส่วนของหน่วยราชการอื่นที่ได้รับผลกระทบ ก็ได้มีการจัดที่ดินรองรับไว้แล้ว เช่น ชุมชนบ้านพักองค์การทอผ้า ชุมชนตระกูลดิษฐ์ 132 ครอบครัว จะย้ายไปอยู่ในที่ดินราชพัสดุ แผนกซ่อมบำรุงเรือ เนื้อที่ 4 ไร่ กรมราชองครักษ์ ย้ายไปอยู่ที่ดินราชพัสดุ แขวงบางซื่อ กทม. เนื้อที่ 7 ไร่ โดยรัฐสภาจ่ายค่าชดเชยให้กรมราชองครักษ์ จำนวน 2 ล้านบาท ส่วนโรงเรียนทหารขนส่ง กรมการขนส่งทหารบก กองร้อยขนส่งเรือ แผนกซ่อมบำรุงเรือ และบ้านพักของข้าราชการทหาร สังกัดกองทัพบก จะย้ายไปอยู่ในพื้นที่ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก นนทบุรี เนื้อที่ 265 ไร่ โดยรัฐสภาจะจ่ายค่าชดเชยที่ดิน และสิ่งก่อสร้างจำนวน 3,925 ล้านบาท
สำหรับบ้านพักข้าราชการ กรมอุตสาหกรรมทหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงาน สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม รัฐบาลจะจัดซื้อที่ดินใกล้ บริษัทบุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด จำนวนเกือบ 4 ไร่ และจะจ่ายค่าก่อสร้างแฟลต กรมการอุตสาหกรรมทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม 40 ครอบครัว จำนวน 100 ล้านบาทด้วย
ส่วนองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) รัฐสภาจะซื้อที่ดินของ อ.อ.ป. พร้อมจ่ายค่ารื้อถอนโรงงาน และขนย้ายครอบครัวพนักงาน 30 ครอบครัวของ อ.อ.ป.ไปอยู่ที่ใหม่จำนวน 400 ล้านบาท (โดยรัฐสภาจะจ่ายค่ารื้อถอนโรงงาน และขนย้ายครอบครัวพนักงาน 30 ครอบครัวก่อน จำนวน 50 ล้านบาท)
เครือข่ายสลัมอัด "สมัคร"
เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (18ส.ค.) นางประทิน เวคะวากยานนท์ ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค นำสมาชิกเครือข่ายประมาณ 100 คน เดินทางมาชุมนุมที่ประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล โดยการชุมนุมครั้งนี้ มีการนำสมาชิกเครือข่ายที่เป็นผู้หญิงและเด็กแต่งหน้า เขียนหนวดเหมือนแมว โดยมีป้ายผ้าเขียนข้อความว่า "รักแมว ชอบจ่ายตลาด แต่ขาดความเข้าใจวิถีคนจน" นอกจากนี้ ยังมีป้ายผ้าข้อความว่า "นายกฯสมัคร รังเกียจคนจน คิดย้ายสลัมออกนอกเมือง" " คนสลัมเป็นแรงงานในการพัฒนาเมืองเขาไม่ใช่พลเมืองชั้นสอง" เป็นต้น
ทั้งนี้เครือข่ายสลัมฯ ได้ยื่นหนังสือถึงนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ผ่านศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ประชาชน เรียกร้องให้นายสมัคร ทบทวนวิสัยทัศน์ที่ได้แสดงในการประชุมประจำปี ของสำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา ในเรื่องของการพัฒนาที่ว่าด้วยการย้ายสลัมที่อยู่ในกทม. จำนวน 1.7 พันแห่งออกไปนอกเมือง โดยหนังสือร้องเรียนระบุว่า เป็นวิสัยทัศน์ที่ไม่เข้าใจรากเหง้าของปัญหา และไม่เห็นหัวคนจน โดยเสนอให้สนับสนุนการแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดในรูปแบบโครงการบ้านมั่นคง รวมถึงนโยบายสนับสนุนงบประมาณด้านสาธารณูปโภค และงบสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยแก่ชาวชุมชนแออัด อย่างไรก็ตาม ทางเครือข่ายจะกลับมาติดตามข้อเรียกร้องในวันที่ 6 ต.ค.นี้ เนื่องจากเป็นวันที่อยู่อาศัยสากล
นางประทิน กล่าวว่า หากนายสมัคร จะเดินหน้าดำเนินการตามวิสัยทัศน์ดังกล่าวถือว่าจะขัดกับนโยบายของรัฐบาลสมัย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปี 46 ที่อนุมัติโครงการบ้านมั่นคงที่เน้นให้ชุมชนแออัดปรับปรุงชุมชน หรือสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ โดยมีนโยบายให้หน่วยงานรัฐที่เป็นเจ้าของที่ดินจัดที่ดินให้ชุมชนเช่าปรับปรุงที่อยู่อาศัยระยะยาว ซึ่งขณะนี้มีการจัดทำบ้านมั่นคงร่วมกันระหว่างสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) และชาวชุมชนแออัดในแบบที่ไม่ต้องย้ายไปอยู่นอกเมืองกว่า 5 หมื่นหลังคาเรือน
นางประทิน กล่าวถึงรากเหง้าของปัญหาว่า เป็นเพราะการพัฒนาประเทศที่นำเอาชาวชนบทเข้ามาทำงานในกทม. มาเป็นแรงงานราคาถูก ทั้งที่จริงคนจนไม่ได้อยากเข้ามา แต่เนื่องจากประชาชนในชนบทไม่ได้รับการสนับสนุนภาคการเกษตร ซ้ำยังต้องเป็นหนี้สิน แต่เมื่อเข้ามาทำงานก่อสร้าง พัฒนาบ้านเมืองก็ไม่ได้รับการดูแล รวมทั้งทะเบียนบ้านก็ไม่มี และเมื่อไม่มีทะเบียนบ้านก็เกี่ยวโยงเมื่อเรื่องการติดตั้งไฟฟ้า น้ำประปา
นอกจากนี้การแก้ปัญหาแบบไม่ต้องย้ายคนไปนอกเมือง ยังเป็นนโยบายระดับสากล เพราะองค์การสหประชาชาติได้รณรงค์คำขวัญเมืองที่ปราศจากสลัมมาตั้งแต่ปี 44 หมายความว่า ให้ประชาชาติมีนโยบายปรับปรุงชุมชนให้พ้นจากความเป็นสลัม มิได้หมายถึงการรื้อย้ายสลัมออกไปนอกเมือง
ด้าน นายพงษ์อนันต์ ช่วงธรรม ที่ปรึกษาเครือข่ายสลัมฯ กล่าวว่า ขอให้นายสมัคร ในฐานะผู้บริหารประเทศทบทวนคำพูด และตนไม่ทราบว่านายสมัครนำแนวคิดนี้มาจากไหน เพราะตามนโยบายเดิมของพรรคไทยรักไทย ก็ปฏิบัติไว้ชัดเจน ที่ต้องการปรับปรุงให้พ้นจากความเป็นสลัม นำงบประมาณลงไปสร้างที่อยู่อาศัยให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีสัญญาเช่าถูกต้องกับเจ้าของที่ดินที่เป็นรัฐ เอกชน และรัฐวิสาหกิจ ทำให้มีถนนหนทางมีไฟฟ้า น้ำประปา แต่นายสมัคร กลับออกมาประกาศสวนทางกับพรรคที่นายสมัครอ้างว่าเป็นนอมินี ดังนั้นขอให้นายสมัครไปถาม ส.ส.กทม พรรคพลังประชาชน และพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นอดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และเจ้าของนโยบาย ว่านโยบายของนายสมัคร ที่จะรื้อย้ายสลัมออกไปนอกเมือง ยังจะดำเนินการต่อหรือไม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ยังมีแกนนำเครือข่ายสลัม 4 ภาคบางคน ระบุว่า นายสมัคร นายสมัครมีนโยบายที่จะกำจัดชาวสลัมออกจากเมืองมาตั้งแต่สมัยเป็นผู้ว่าฯกทม. ที่มีความคิดจะสร้างแฟลตฝักข้าวโพด แต่ตอนนี้มาเป็นนายกฯ เป็นเบอร์1 ของประเทศ ก็เห็นคนจนเป็นอะไร จะผลักไสไล่ส่งไปอยู่นอกเมืองหรือว่า วิสัยทัศน์ของนายสมัคร กับคนจนมีเพียงแค่นี้จริงๆ หรือว่านายสมัครไม่เห็นคุณค่าและย่ำยีศักดิ์ศรีของคนจน และไหนนายสมัครบอกว่า จะเข้ามาสร้างความสมานฉันท์