ผู้จัดการรายวัน - "วิสิฐ" เผยกลยุทธ์ลงทุนครึ่งปีหลังกบข. จับตาราคาน้ำมัน-เงินเฟ้อต่อ แม้ล่าสุดสถานการณ์จะเริ่มเบาบางแล้ว แต่ก็เป็นปัจจัยสำคัญต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาด ซึ่งส่งผลต่อการลงทุนในตราสารหนี้ของกบข. ที่มีสัดส่วน 63% ของพอร์ต ระบุช่วงที่รอตลาดหุ้นดีดตัว จับจังหวะลงทุนบอนด์ต่างประเทศ หลังความไม่สมบูรณ์ของตลาดหนุนผลตอบแทนน่าสนใจ ก่อนดันสัดส่วนลงทุนเมืองนอกเพิ่มขึ้นเป็น 19% ภายในปีนี้ มองตลาดหุ้นไทยยังเนื้อหอม น่าลงทุนอันดับต้นของเอเชีย เหตุพื้นฐานแกร่ง-การเมืองคลี่คลาย ลุ้นดึงเงินต่างชาติกลับอีกรอบ
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า การจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของ กบข. จะให้ความสำคัญกับปัจจัยรอบข้างว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะปัจจัยราคาน้ำมันและปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดด้วย ซึ่งในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะที่ผ่านมาราคาน้ำปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมีความเป็นไปได้น้อยลงจากช่วงก่อนหน้านี้
โดยจากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้กบข. ต้องปรับกลยุทธ์การลงทุนให้มีความสอดคล้องมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ ที่ต้องดูการเคลื่อนไหวของดอกเบี้ยเป็นหลัก เพราะการลงทุนของกบข.เองมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ถึง 63% ซึ่งในส่วนนี้ต้องพยายามจัดการผลตอบแทนนี้ในส่วนนี้ให้ได้ผลตอบแทนออกมาดี
"ก่อนหน้านี้เราเคยคิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น แต่ก็ไม่ขึ้น เพราะที่ผ่านมาราคาน้ำมันปรับลดลงทำให้เราต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ แต่การที่ดอกเบี้ยนิ่งดังกล่าว ส่งผลดีกับเงินในส่วนที่ลงทุนไปแล้ว เพราะเราคำนวนตามราคาตลาด (Mark to Market) ดังนั้น ตราสารหนี้ที่ถืออยู่จึงมีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ในการจัดการการลงทุนในตราสารหนี้เป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนในขณะนี้ ซึ่งตราสารที่ลงทุนจะเน้นที่อยู่ในช่วงอายุระยะกลางเป็นหลัก ซึ่งน่าจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่เหลือของปี"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ นายวิสิฐกล่าวว่า ปัจจุบันตราสารหนี้ในต่างประเทศมีโอกาสการลงทุนค่อนข้างมาก ทำให้กบข. มุ่งเน้นหาตราสารหนี้ในต่างประเทศที่มีเครดิตเรตติ้งดีๆ ซึ่งในขณะนี้ตราสารหนี้ในต่างประเทศมี Miss Price หรือ ความไม่สมบูรณ์ของตลาด แต่ตราสารตราสารหนี้ก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี ขณะเดียวกัน ตราสารหนี้ในต่างประเทศส่วนใหญ่เรตติ้งระดับ AAA ทั้งนั้น และยังให้ผลตอบแทนสูงถึง 6-7% สำหรับตราสารหนี้อายุ 3-5 ปี โดยการลงทุนเหล่านี้ เราจะใช้วิธีในการบริหารจัดการหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรื่องอายุของตราสารที่เราลงทุน การเปลี่ยนการลงทุนในตราสารที่อัตราดอกเบี้ยตายตัวเป็นลอยตัว รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เป็นต้น ซึ่งการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 33 บาทในปัจจุบัน ก๋ทำให้การลงทุนของกบข. ได้รับผลดีเช่นกัน เนื่องจากเราลงทุนในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่า
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนในต่างประเทศของกบข. ส่วนใหญ่อยู่ในหุ้นมากกว่า แต่สาเหตุที่กลับมาให้ความสำคัญกับลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้ เนื่องจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกยังผันผวน ดังนั้น เราจึงเน้นลงทุนเพื่อบริหารผลตอบแทนให้ได้มากที่สุดก่อน ส่วนการลงทุนในหุ้นคงต้องรอจังหวะการลงทุนที่เหามะสมมากกว่านี้ เนื่องจากเรื่องร้ายๆ ในต่างประเทศยังมีอยู่ แต่ก็ถือว่าเบาบางไม่จากเดิมค่อนข้างมากแล้ว และอาจจะใกล้ถึงเวลาที่สำหรับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้น
โดยในปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของ กบข. อยู่ที่ 16% แบ่งเป็นการลงทุนในหุ้นประมาณ 7% และตราสารหนี้ประมาณ 7% ซึ่งอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่กบข. ลงทุนอยู่ที่ประมาณ 2 ปี ซึ่งลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ลงทุนเฉลี่ยประมาณ 3-4 ปี ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีนี้ กบข.3 จะสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศขึ้นเป็น 18-19% จากเพดานที่สามารถลงทุนได้ทั้งหมด 25% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
**หุ้นไทยน่าสนใจลงทุนอันดับต้นๆ**
สำหรับการลงทุนในประเทศนายวิสิฐกล่าวว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนหนึ่งเพราะตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นพลังงานค่อนข้างมาก ทำให้ภาพรวมยังดีกว่า แต่หลังจากนั้น ตลาดหุ้นปรับลดลงค่อนข้างมากจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ตั้งแต่ต้นปีปรับลดลงไปแล้วถึง 20% ในขณะที่ดัชนี MSCI ติดลบไปประมาณ 15-16% ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่ต่างกัน ทำให้ถึงผลดีของการกระจายการลงทุนในต่างประเทศ
ส่วนปัญหาการเมืองในต่างประเทศ ขณะนี้เชื่อว่าเริ่มมีความกังวลน้อยลงแล้ว และน่าจะเริ่มคลี่คลายในช่วงครึ่งปีหลัง ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่จะไปถึงไหนนั้นไม่สามารถบอกได้ เพราะมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยพื้นฐานของประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลง ตลาดหุ้นก็น่าจะปรับตัวดีขึ้น
"ปัญหาการเมืองตอนนี้เห็นชัดเจนแล้วว่าอยู่ในสถานะไหน ทำให้ความกังวลลดน้อยลง เศรษฐกิจเองก็น่าจะขยายตัวได้ดี ปัญหาเงินเฟ้อน่าจะเบาบางจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนด้วย นอกจากนั้น ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงก็น่าจะส่งผลดีต่อการส่องออกของประเทศด้วย ดังนั้น หลังจากนี้น่าจะเห็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น"นายวิสิฐกล่าว
ทั้งนี้ มุมมองของนักลงทุนต่างชาติ จะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศเป็นมากกว่าปัญหาการเมือง แต่สำหรับนักลงทุนประเทศปัจจัยการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งการที่ตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลงไปค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากความไม่แน่นอนในต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนหันมาถือเงินสดมากขึ้นเพื่อรอเวลาลงทุนอีกครั้งหลังจากทุกอย่างคลี่คลาย ด้วยการขายหุ้นในประเทศที่มีกำไรออกมา ขณะเดียวกัน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการจัดการปัญหาเงินเฟ้อในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากหลายเหตุการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่ดีขึ้นหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ทำให้นักลงทุนเริ่มคิดหวนกลับมาลงทุนอีกครั้ง ซึ่งเอเชียเองเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจลงทุน ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองก็น่าจะเห็นการเทขายของนักลงทุนต่างชาติน้อยลง เพราะหากเทียบกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาค ไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุนเป็นอันดับต้นๆ รองจากจีน ไต้หวันและฮ่องกง
"เรามีการเก็บข้อมูลการลงทุนอยู่ตลอดเวลาว่ามีเงินเข้าออกใรภูมิภาคอย่างไรบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีการขายหุ้นในเกาหลีใต้เพื่อมาลงทุนในไต้หวันมากขึ้น ส่วนไทยเองก็เป็นตลาดที่นักลงทุนขายออกเป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน แต่ในช่วงนี้ เงินไหลออกเริ่มลดลงไปเยอะแล้ว และน่าจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้งได้ เพราะประเทศในเอเชียส่วนใหญ่เป็นตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจทั้งนั้น"นายวิสิฐกล่าว
**ผลตอบแทนปีนี้หดตัว**
สำหรับผลตอบแทนของกบข. ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา นายวิสิฐกล่าวว่า ภาวะการลงทุนเช่นนี้ ถ้าเทียบกับเงินเฟ้อเฉลี่ยที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 6.5-7% แล้ว ปีนี้คงไม่มีใครสามารถทำได้สูงกว่าหรือเท่ากับเงินเฟ้อได้ ซึ่งในต่างประเทศเองก็ไม่มีใครที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงขนาดนั้น เพราะตลาดหุ้นเองก็อยู่ในสถานะปรับตัวลดลงจากปัจจับลบต่างๆ ดังนั้น ผลตอบแทนทั้งปีนี้อาจจะไม่ได้ดีเท่ากับปีที่ผ่านมา ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 9.2%
"จากโมเดลการจัดสรรเงินลงทุนของ กบข. มีที่มาที่ไป ซึ่งมีการคำนวนความเสี่ยงกับผลตอบแทนคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นแล้ว บางปีอาจจะเป็นบวก และบางปีอาจจะเป็นลบ แต่ก็เป็นแค่ครั้งเดียวในช่วง 6 ปี ไม่ใช่ว่าติดลบตลอด ซึ่งถ้าเฉลี่ยแล้วในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7% ขณะเดียวกัน ยังสูงกว่าตัวเทียบวัดด้วย "นายวิสิฐกล่าว
นายวิสิฐ ตันติสุนทร เลขาธิการ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) เปิดเผยว่า การจัดพอร์ตการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังของ กบข. จะให้ความสำคัญกับปัจจัยรอบข้างว่ามีอะไรบ้าง โดยเฉพาะปัจจัยราคาน้ำมันและปัจจัยเรื่องเงินเฟ้อ ซึ่งทั้ง 2 ปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ รวมถึงมีผลต่ออัตราดอกเบี้ยในตลาดด้วย ซึ่งในปัจจุบันอัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มว่าจะเข้าสู่ภาวะปกติ เพราะที่ผ่านมาราคาน้ำปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องจากความต้องการที่ลดลง ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยขาขึ้นมีความเป็นไปได้น้อยลงจากช่วงก่อนหน้านี้
โดยจากแนวโน้มดังกล่าว ทำให้กบข. ต้องปรับกลยุทธ์การลงทุนให้มีความสอดคล้องมากขึ้น โดยเฉพาะการลงทุนในตราสารหนี้ ที่ต้องดูการเคลื่อนไหวของดอกเบี้ยเป็นหลัก เพราะการลงทุนของกบข.เองมีสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ถึง 63% ซึ่งในส่วนนี้ต้องพยายามจัดการผลตอบแทนนี้ในส่วนนี้ให้ได้ผลตอบแทนออกมาดี
"ก่อนหน้านี้เราเคยคิดว่าอัตราดอกเบี้ยจะขึ้น แต่ก็ไม่ขึ้น เพราะที่ผ่านมาราคาน้ำมันปรับลดลงทำให้เราต้องปรับกลยุทธ์ใหม่ แต่การที่ดอกเบี้ยนิ่งดังกล่าว ส่งผลดีกับเงินในส่วนที่ลงทุนไปแล้ว เพราะเราคำนวนตามราคาตลาด (Mark to Market) ดังนั้น ตราสารหนี้ที่ถืออยู่จึงมีมูลค่ามากขึ้น ซึ่งกลยุทธ์ในการจัดการการลงทุนในตราสารหนี้เป็นหัวใจสำคัญของการลงทุนในขณะนี้ ซึ่งตราสารที่ลงทุนจะเน้นที่อยู่ในช่วงอายุระยะกลางเป็นหลัก ซึ่งน่าจะทำให้เราได้ผลตอบแทนที่ดีในช่วงที่เหลือของปี"นายวิสิฐกล่าว
สำหรับการลงทุนในต่างประเทศ นายวิสิฐกล่าวว่า ปัจจุบันตราสารหนี้ในต่างประเทศมีโอกาสการลงทุนค่อนข้างมาก ทำให้กบข. มุ่งเน้นหาตราสารหนี้ในต่างประเทศที่มีเครดิตเรตติ้งดีๆ ซึ่งในขณะนี้ตราสารหนี้ในต่างประเทศมี Miss Price หรือ ความไม่สมบูรณ์ของตลาด แต่ตราสารตราสารหนี้ก็ยังให้ผลตอบแทนที่ดี ขณะเดียวกัน ตราสารหนี้ในต่างประเทศส่วนใหญ่เรตติ้งระดับ AAA ทั้งนั้น และยังให้ผลตอบแทนสูงถึง 6-7% สำหรับตราสารหนี้อายุ 3-5 ปี โดยการลงทุนเหล่านี้ เราจะใช้วิธีในการบริหารจัดการหลายๆ รูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการจัดการเรื่องอายุของตราสารที่เราลงทุน การเปลี่ยนการลงทุนในตราสารที่อัตราดอกเบี้ยตายตัวเป็นลอยตัว รวมถึงการป้องกันความเสี่ยงค่าเงิน เป็นต้น ซึ่งการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาอยู่ที่ระดับ 33 บาทในปัจจุบัน ก๋ทำให้การลงทุนของกบข. ได้รับผลดีเช่นกัน เนื่องจากเราลงทุนในช่วงที่ค่าเงินบาทแข็งค่า
อย่างไรก็ตาม เงินลงทุนในต่างประเทศของกบข. ส่วนใหญ่อยู่ในหุ้นมากกว่า แต่สาเหตุที่กลับมาให้ความสำคัญกับลงทุนในตราสารหนี้ช่วงนี้ เนื่องจากภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นทั่วโลกยังผันผวน ดังนั้น เราจึงเน้นลงทุนเพื่อบริหารผลตอบแทนให้ได้มากที่สุดก่อน ส่วนการลงทุนในหุ้นคงต้องรอจังหวะการลงทุนที่เหามะสมมากกว่านี้ เนื่องจากเรื่องร้ายๆ ในต่างประเทศยังมีอยู่ แต่ก็ถือว่าเบาบางไม่จากเดิมค่อนข้างมากแล้ว และอาจจะใกล้ถึงเวลาที่สำหรับการลงทุนในหุ้นต่างประเทศเพิ่มขึ้น
โดยในปัจจุบันสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศของ กบข. อยู่ที่ 16% แบ่งเป็นการลงทุนในหุ้นประมาณ 7% และตราสารหนี้ประมาณ 7% ซึ่งอายุเฉลี่ยของตราสารหนี้ที่กบข. ลงทุนอยู่ที่ประมาณ 2 ปี ซึ่งลดลงจากก่อนหน้านี้ที่ลงทุนเฉลี่ยประมาณ 3-4 ปี ทั้งนี้ คาดว่าทั้งปีนี้ กบข.3 จะสามารถเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในต่างประเทศขึ้นเป็น 18-19% จากเพดานที่สามารถลงทุนได้ทั้งหมด 25% ของพอร์ตการลงทุนทั้งหมด
**หุ้นไทยน่าสนใจลงทุนอันดับต้นๆ**
สำหรับการลงทุนในประเทศนายวิสิฐกล่าวว่า ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวลดลงน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนหนึ่งเพราะตลาดหุ้นไทยมีสัดส่วนการลงทุนในหุ้นพลังงานค่อนข้างมาก ทำให้ภาพรวมยังดีกว่า แต่หลังจากนั้น ตลาดหุ้นปรับลดลงค่อนข้างมากจากการเทขายของนักลงทุนต่างชาติ ทำให้ตั้งแต่ต้นปีปรับลดลงไปแล้วถึง 20% ในขณะที่ดัชนี MSCI ติดลบไปประมาณ 15-16% ซึ่งการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นที่ต่างกัน ทำให้ถึงผลดีของการกระจายการลงทุนในต่างประเทศ
ส่วนปัญหาการเมืองในต่างประเทศ ขณะนี้เชื่อว่าเริ่มมีความกังวลน้อยลงแล้ว และน่าจะเริ่มคลี่คลายในช่วงครึ่งปีหลัง ดังนั้น การลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปัจจุบัน แต่จะไปถึงไหนนั้นไม่สามารถบอกได้ เพราะมีเหตุการณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยพื้นฐานของประเทศยังไม่เปลี่ยนแปลง ตลาดหุ้นก็น่าจะปรับตัวดีขึ้น
"ปัญหาการเมืองตอนนี้เห็นชัดเจนแล้วว่าอยู่ในสถานะไหน ทำให้ความกังวลลดน้อยลง เศรษฐกิจเองก็น่าจะขยายตัวได้ดี ปัญหาเงินเฟ้อน่าจะเบาบางจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนของบริษัทจดทะเบียนด้วย นอกจากนั้น ค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงก็น่าจะส่งผลดีต่อการส่องออกของประเทศด้วย ดังนั้น หลังจากนี้น่าจะเห็นทิศทางการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น"นายวิสิฐกล่าว
ทั้งนี้ มุมมองของนักลงทุนต่างชาติ จะให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจของประเทศเป็นมากกว่าปัญหาการเมือง แต่สำหรับนักลงทุนประเทศปัจจัยการเมืองมีผลต่อการตัดสินใจลงทุนด้วยส่วนหนึ่ง ซึ่งการที่ตลาดหุ้นในเอเชียปรับตัวลดลงไปค่อนข้างมากในช่วงที่ผ่านมา เนื่องจากความไม่แน่นอนในต่างประเทศ ทำให้นักลงทุนหันมาถือเงินสดมากขึ้นเพื่อรอเวลาลงทุนอีกครั้งหลังจากทุกอย่างคลี่คลาย ด้วยการขายหุ้นในประเทศที่มีกำไรออกมา ขณะเดียวกัน ยังมีความกังวลเกี่ยวกับการจัดการปัญหาเงินเฟ้อในประเทศด้วย
อย่างไรก็ตาม หลังจากหลายเหตุการณ์ต่างๆ เริ่มคลี่คลาย โดยเฉพาะปัญหาเงินเฟ้อที่ดีขึ้นหลังจากราคาน้ำมันปรับตัวลดลง ทำให้นักลงทุนเริ่มคิดหวนกลับมาลงทุนอีกครั้ง ซึ่งเอเชียเองเป็นภูมิภาคที่น่าสนใจลงทุน ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยเองก็น่าจะเห็นการเทขายของนักลงทุนต่างชาติน้อยลง เพราะหากเทียบกับหลายๆ ประเทศในภูมิภาค ไทยเป็นประเทศที่น่าสนใจลงทุนเป็นอันดับต้นๆ รองจากจีน ไต้หวันและฮ่องกง
"เรามีการเก็บข้อมูลการลงทุนอยู่ตลอดเวลาว่ามีเงินเข้าออกใรภูมิภาคอย่างไรบ้าง ซึ่งที่ผ่านมาพบว่ามีการขายหุ้นในเกาหลีใต้เพื่อมาลงทุนในไต้หวันมากขึ้น ส่วนไทยเองก็เป็นตลาดที่นักลงทุนขายออกเป็นอันดับต้นๆ เช่นกัน แต่ในช่วงนี้ เงินไหลออกเริ่มลดลงไปเยอะแล้ว และน่าจะกลับเข้ามาลงทุนอีกครั้งได้ เพราะประเทศในเอเชียส่วนใหญ่เป็นตลาดเกิดใหม่ที่น่าสนใจทั้งนั้น"นายวิสิฐกล่าว
**ผลตอบแทนปีนี้หดตัว**
สำหรับผลตอบแทนของกบข. ในช่วง 6 เดือนแรกที่ผ่านมา นายวิสิฐกล่าวว่า ภาวะการลงทุนเช่นนี้ ถ้าเทียบกับเงินเฟ้อเฉลี่ยที่คาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ระดับ 6.5-7% แล้ว ปีนี้คงไม่มีใครสามารถทำได้สูงกว่าหรือเท่ากับเงินเฟ้อได้ ซึ่งในต่างประเทศเองก็ไม่มีใครที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้สูงขนาดนั้น เพราะตลาดหุ้นเองก็อยู่ในสถานะปรับตัวลดลงจากปัจจับลบต่างๆ ดังนั้น ผลตอบแทนทั้งปีนี้อาจจะไม่ได้ดีเท่ากับปีที่ผ่านมา ที่สามารถสร้างผลตอบแทนได้ประมาณ 9.2%
"จากโมเดลการจัดสรรเงินลงทุนของ กบข. มีที่มาที่ไป ซึ่งมีการคำนวนความเสี่ยงกับผลตอบแทนคาดการณ์ที่จะเกิดขึ้นแล้ว บางปีอาจจะเป็นบวก และบางปีอาจจะเป็นลบ แต่ก็เป็นแค่ครั้งเดียวในช่วง 6 ปี ไม่ใช่ว่าติดลบตลอด ซึ่งถ้าเฉลี่ยแล้วในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 7% ขณะเดียวกัน ยังสูงกว่าตัวเทียบวัดด้วย "นายวิสิฐกล่าว