การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย มีเรื่องชวนให้คิด และศึกษาหลายเรื่อง เมื่อเร็วๆ นี้นายสมัคร สุนทรเวช ได้แสดงความไม่พอใจที่มีคนสวมเสื้อยืด “ลูกจีนรักชาติ” นายสมัครเข้าใจผิดว่า ข้อความบนเสื้อยืดคือ “ลูกจีนกู้ชาติ” นายสมัครเห็นว่า เป็นการปลุกระดมแบบแบ่งแยกเชื้อชาติ
สมัยก่อน “ลูกจีน” ถูกกันออกไปจาก “ชาติไทย” เพราะแต่ก่อนคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเพื่อหางานทำนั้น ยังมีความผูกพันกับบ้านเกิดมาก และเนื่องจากไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ คนจีนอพยพก็ต้องทำสองอย่างคือ เป็นกุลีกับทำการค้า ผู้ที่เริ่มต้นจากการเป็นกุลีหลายคนก็เติบใหญ่เป็นพ่อค้าหรือเป็นนายธนาคารได้
คนจีนในเมืองไทยถูกกีดกันออกจาก “ชาติไทย” มาเป็นเวลานาน ผู้ซึ่งจะเข้าโรงเรียนนายร้อย จะต้องมีบิดาสัญชาติไทย และเนื่องจากกองทัพไทยกับความเป็นชาติเป็นของคู่กัน การแบ่ง “ลูกจีน” และ “ลูกไทย” จึงชัดเจนที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน จีนก็ตกอยู่ในระบอบการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง คนจีนต่อสู้กับญี่ปุ่น ความเป็นชาตินิยมของจีนมีความเข้มข้นมากที่สุดในยุคนั้น ลูกจีนในไทยหลายคนมีส่วนร่วมในการต่อต้านญี่ปุ่น นายเหีย กองเอี่ยม (ต้นตระกูลเอี่ยมสุรีย์) มีบทบาทสำคัญมาก เป็นผู้ระดมเงินสนับสนุนรัฐบาลจีนในการต่อต้านญี่ปุ่น จนได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้
ความเป็นลูกจีนกับการรักชาติไทย จึงเป็นคู่ขนานกันมาโดยตลอด เพราะลูกจีนถูกกีดกันจากสังคมไทย เว้นแต่จะเข้ารับราชการ
ระหว่างที่จีนเป็นคอมมิวนิสต์ที่ปิดประกาศ คนจีนในเมืองไทยก็อยู่อย่างลำบาก พรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่จีนสนับสนุนก็เลือกสรรลูกจีนเข้าเป็นสมาชิกพรรค การแบ่งแยกไทย-จีนจึงไม่ได้มีมิติทางสังคม-วัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังมีมิติทางการเมืองอีกด้วย
สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม การปลุกความรู้สึก ความเป็นชาติ ก่อให้เกิดการดูถูก และรังเกียจคนจีน คนจีนต้องละทิ้งการใช้แซ่ และมีนามสกุลเป็นไทย ความเป็นจีนกับความเป็นไทยดูได้จากการมีนามสกุลพระราชทานกับนามสกุลยาวๆ
กว่าคนจีนจะเริ่มมีความภูมิใจในความเป็นจีนได้ ก็ต่อเมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศ และกลายเป็นมหาอำนาจ ภาษาจีนที่เคยถูกห้ามไม่ให้สอน เพราะมีการปิดโรงเรียนจีนไปกลับมามีความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
แม้การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีการแสดงออกอย่างเปิดเผย ปรากฏการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้พลิก “ปมด้อย” ให้เป็นปมเด่น เปลี่ยนความรู้สึกลึกๆ ที่ซ่อนเร้นเป็นการแสดงออกอย่างชัดแจ้ง แต่ก่อนความเป็นจีนเป็นเรื่องที่ลูกจีนเก็บไว้ไม่กล้าแสดงออก เมื่อสนธิ ลิ้มทองกุล เล่าความเป็นมาของตนอย่างเปิดเผย และด้วยความภาคภูมิใจ เท่ากับเป็นการปลุกจิตสำนึกของ “ลูกจีน” ให้มีความภูมิใจ และนำความเป็นลูกจีนเข้ามาสู่การต่อสู้เพื่อชาติไทย นับเป็นครั้งแรกที่มีการแสดงออกอย่างเปิดเผยเช่นนี้
สิ่งที่สนธิทำไปเป็นการลบมิติทางการเมืองที่กีดกันลูกจีนออกจากการเป็นส่วนสำคัญของชาติไทย ที่สำคัญก็คือลูกจีนสามารถดำรงเอกลักษณ์ของความเป็นจีนไว้ได้พร้อมๆ ไปกับการทำหน้าที่พลเมืองไทย ความรู้สึกนี้เท่ากับเป็น “การปลดเปลื้องพันธการทางจิตวิทยา” ให้กับลูกจีนทั้งหลาย โดยที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมากขึ้น “ลูกจีน” ที่ยังพูดจีนกับครอบครัวอยู่ ข้อความ “ลูกจีนรักชาติ” จึงตรงใจผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนหมื่น
ที่น่าสนใจก็คือ เหตุใดข้อความนี้จึงไม่ถูกใจนายสมัคร อาจเป็นเพราะนายสมัครเป็นคนที่เติบโตมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม การแยกจีนออกจากความเป็นชาติ และการรักชาติ จึงยังติดอยู่ในจิตใต้สำนึกของนายสมัคร
ในทางสังคมจิตวิทยา สนธิและบทบาทของเขาในวันนี้ คือ การปลดปล่อยพลังซ่อนเร้นของ “ลูกจีน” ในไทยด้วย การทำให้ลูกจีนเกิดความภูมิใจ และแปรเปลี่ยนสิ่งที่เคยเป็น “ปมด้อย” ให้เป็นปมเด่น
นี่เป็นผลพวงอย่างหนึ่งของการชุมนุม สนธิอาจไม่ได้ตั้งใจจะเปลี่ยนสำนึกของลูกจีน แต่สิ่งที่เขาทำลงไปกลับเป็นผลสะเทือนด้านจิตใจของลูกจีนในด้านบวก และน่าจะเป็นการทำให้ลูกจีนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองได้เข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิ
นับแต่นี้ต่อไป ความเป็นลูกจีนกับความเป็นชาติไทยก็ไม่ขัดกันอีกแล้ว ลูกจีนสามารถคงเอกลักษณ์ทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมไว้ได้พร้อมๆ ไปกับการเป็นสมาชิกของชาติไทย
สมัยก่อน “ลูกจีน” ถูกกันออกไปจาก “ชาติไทย” เพราะแต่ก่อนคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในเมืองไทยเพื่อหางานทำนั้น ยังมีความผูกพันกับบ้านเกิดมาก และเนื่องจากไม่สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ คนจีนอพยพก็ต้องทำสองอย่างคือ เป็นกุลีกับทำการค้า ผู้ที่เริ่มต้นจากการเป็นกุลีหลายคนก็เติบใหญ่เป็นพ่อค้าหรือเป็นนายธนาคารได้
คนจีนในเมืองไทยถูกกีดกันออกจาก “ชาติไทย” มาเป็นเวลานาน ผู้ซึ่งจะเข้าโรงเรียนนายร้อย จะต้องมีบิดาสัญชาติไทย และเนื่องจากกองทัพไทยกับความเป็นชาติเป็นของคู่กัน การแบ่ง “ลูกจีน” และ “ลูกไทย” จึงชัดเจนที่สุด
หลังสงครามโลกครั้งที่สองไม่นาน จีนก็ตกอยู่ในระบอบการปกครองของพรรคคอมมิวนิสต์ ก่อนและระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง คนจีนต่อสู้กับญี่ปุ่น ความเป็นชาตินิยมของจีนมีความเข้มข้นมากที่สุดในยุคนั้น ลูกจีนในไทยหลายคนมีส่วนร่วมในการต่อต้านญี่ปุ่น นายเหีย กองเอี่ยม (ต้นตระกูลเอี่ยมสุรีย์) มีบทบาทสำคัญมาก เป็นผู้ระดมเงินสนับสนุนรัฐบาลจีนในการต่อต้านญี่ปุ่น จนได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้
ความเป็นลูกจีนกับการรักชาติไทย จึงเป็นคู่ขนานกันมาโดยตลอด เพราะลูกจีนถูกกีดกันจากสังคมไทย เว้นแต่จะเข้ารับราชการ
ระหว่างที่จีนเป็นคอมมิวนิสต์ที่ปิดประกาศ คนจีนในเมืองไทยก็อยู่อย่างลำบาก พรรคคอมมิวนิสต์ไทยที่จีนสนับสนุนก็เลือกสรรลูกจีนเข้าเป็นสมาชิกพรรค การแบ่งแยกไทย-จีนจึงไม่ได้มีมิติทางสังคม-วัฒนธรรมเท่านั้น แต่ยังมีมิติทางการเมืองอีกด้วย
สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม การปลุกความรู้สึก ความเป็นชาติ ก่อให้เกิดการดูถูก และรังเกียจคนจีน คนจีนต้องละทิ้งการใช้แซ่ และมีนามสกุลเป็นไทย ความเป็นจีนกับความเป็นไทยดูได้จากการมีนามสกุลพระราชทานกับนามสกุลยาวๆ
กว่าคนจีนจะเริ่มมีความภูมิใจในความเป็นจีนได้ ก็ต่อเมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศ และกลายเป็นมหาอำนาจ ภาษาจีนที่เคยถูกห้ามไม่ให้สอน เพราะมีการปิดโรงเรียนจีนไปกลับมามีความสำคัญอีกครั้งหนึ่ง
แม้การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นก็ตาม แต่ก็ไม่ได้มีการแสดงออกอย่างเปิดเผย ปรากฏการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้พลิก “ปมด้อย” ให้เป็นปมเด่น เปลี่ยนความรู้สึกลึกๆ ที่ซ่อนเร้นเป็นการแสดงออกอย่างชัดแจ้ง แต่ก่อนความเป็นจีนเป็นเรื่องที่ลูกจีนเก็บไว้ไม่กล้าแสดงออก เมื่อสนธิ ลิ้มทองกุล เล่าความเป็นมาของตนอย่างเปิดเผย และด้วยความภาคภูมิใจ เท่ากับเป็นการปลุกจิตสำนึกของ “ลูกจีน” ให้มีความภูมิใจ และนำความเป็นลูกจีนเข้ามาสู่การต่อสู้เพื่อชาติไทย นับเป็นครั้งแรกที่มีการแสดงออกอย่างเปิดเผยเช่นนี้
สิ่งที่สนธิทำไปเป็นการลบมิติทางการเมืองที่กีดกันลูกจีนออกจากการเป็นส่วนสำคัญของชาติไทย ที่สำคัญก็คือลูกจีนสามารถดำรงเอกลักษณ์ของความเป็นจีนไว้ได้พร้อมๆ ไปกับการทำหน้าที่พลเมืองไทย ความรู้สึกนี้เท่ากับเป็น “การปลดเปลื้องพันธการทางจิตวิทยา” ให้กับลูกจีนทั้งหลาย โดยที่ผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนมากขึ้น “ลูกจีน” ที่ยังพูดจีนกับครอบครัวอยู่ ข้อความ “ลูกจีนรักชาติ” จึงตรงใจผู้เข้าร่วมชุมนุมจำนวนหมื่น
ที่น่าสนใจก็คือ เหตุใดข้อความนี้จึงไม่ถูกใจนายสมัคร อาจเป็นเพราะนายสมัครเป็นคนที่เติบโตมาในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม การแยกจีนออกจากความเป็นชาติ และการรักชาติ จึงยังติดอยู่ในจิตใต้สำนึกของนายสมัคร
ในทางสังคมจิตวิทยา สนธิและบทบาทของเขาในวันนี้ คือ การปลดปล่อยพลังซ่อนเร้นของ “ลูกจีน” ในไทยด้วย การทำให้ลูกจีนเกิดความภูมิใจ และแปรเปลี่ยนสิ่งที่เคยเป็น “ปมด้อย” ให้เป็นปมเด่น
นี่เป็นผลพวงอย่างหนึ่งของการชุมนุม สนธิอาจไม่ได้ตั้งใจจะเปลี่ยนสำนึกของลูกจีน แต่สิ่งที่เขาทำลงไปกลับเป็นผลสะเทือนด้านจิตใจของลูกจีนในด้านบวก และน่าจะเป็นการทำให้ลูกจีนที่ไม่ได้มีส่วนร่วมทางการเมืองได้เข้าสู่กระบวนการมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตยอย่างเต็มภาคภูมิ
นับแต่นี้ต่อไป ความเป็นลูกจีนกับความเป็นชาติไทยก็ไม่ขัดกันอีกแล้ว ลูกจีนสามารถคงเอกลักษณ์ทางเชื้อชาติ และวัฒนธรรมไว้ได้พร้อมๆ ไปกับการเป็นสมาชิกของชาติไทย