การเคลื่อนไหวกดดัน ป.ป.ช. คลัง แบงก์ชาติ และแบงก์พาณิชย์ ให้เพิกถอนการอายัดทรัพย์ครอบครัวชินวัตร-ดามาพงศ์ โดยบริวารของทักษิณ อ้างเหตุ คตส. ซึ่งเป็นผู้ออกคำสั่งอายัดทรัพย์ได้หมดวาระไปแล้ว ถือเป็นการเดินเกมเพื่อมุ่งหวังให้สังคมเกิดความสับสน หลงกล สร้างภาพ “ทักษิณและครอบครัว” ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกรุกไล่ไม่จบสิ้น ทั้งที่ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย ได้ให้อำนาจรองรับการอายัดหรือยึดทรัพย์คนโกงชาติไว้อย่างแจ่มแจ้ง สิ้นสงสัยในทุกกระบวนการ
วานนี้ (13 ส.ค.) คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน เป็นประธาน ได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) กรมบัญชีกลาง กรมสรรพกร และธนาคารแห่งประเทศไทย มาให้ข้อมูล กรณีที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีมติอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัว วงเงิน 76,000 ล้านบาท
ประธานคณะกรรมาธิการฯ อ้างเหตุผลว่า ในเมื่อ คตส.ซึ่งไปผู้ออกคำสั่งได้หมดวาระไปแล้ว เหตุใดจึงไม่ยอมเพิกถอนการอายัดทรัพย์ และการฟ้องร้องยึดทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่อาศัยอำนาจหรือข้อกฎหมายใด เป็นการกระทำที่เกินกว่าอำนาจตามกฎหมายหรือไม่
แผนสร้างความสับสนข้างต้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงหมากกลตื้นๆ ของบริวารไข่แม้ว เพราะหากมองย้อนกลับไปพิจารณาถึงความเป็นมา ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย จะพบว่า การดำเนินการในเรื่องนี้มีอำนาจตามกฎหมายอย่างแจ่มชัด มีการตรวจสอบที่รอบคอบรัดกุม และระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับยุคยึดทรัพย์ คณะ รสช. ที่จบลงด้วยความว่างเปล่า
อำนาจ คตส. ยึด และอายัดทรัพย์
เหตุผลสำคัญในการรัฐประหาร เมื่อเดือนก.ย. 2549 ประการหนึ่งก็คือ การตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชั่นของอดีตผู้นำประเทศและบริวาร โดยคณะรัฐประหาร ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. เพื่อเข้ามาทำหน้านี้โดยเฉพาะ
อำนาจของ คตส. นอกจากตรวจสอบ ไต่สวน การกระทำที่เข้าข่ายทุจริต สรุปคดีเสนออัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาล หรือใช้อำนาจของ คตส. สั่งฟ้องเองแล้ว ประกาศฉบับดังกล่าว ยังให้อำนาจ คตส. ยึดและอายัดทรัพย์เอาอีกด้วย
ในหลักการและองค์ประกอบในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ระบุไว้ ดังนี้
หนึ่ง หลักการในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ก็เพื่อเป็นวิธีการชั่วคราวมิให้มีการยักย้ายทรัพย์สิน จำหน่ายหรือจ่ายโอนทรัพย์สินเท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของมหาชนจากการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติของบุคคลที่ถูกกล่าวหาจาก คตส.
ความมุ่งหมายของ คตส. นั้น มิได้มุ่งหมายเพียงเพื่อนำบุคคลที่กระทำผิดกฎหมายอาญามารับโทษของบ้านเมืองเท่านั้น หากแต่ยังมีความมุ่งหมายที่จะต้องนำผลประโยชน์ของประเทศชาติที่สูญเสียไปจากการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติจากบุคคลที่ถูกกล่าวหากลับคืนมาด้วย
แต่โดยกระบวนการในการพิสูจน์ความผิดทางอาญาของบุคคลเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาในการดำเนินการ หากรอให้กระบวนการดำเนินการจนเสร็จสิ้นแล้วจึงมาดำเนินการเอากับทรัพย์สินของบุคคลนั้น ท้ายที่สุด รัฐจะไม่สามารถนำทรัพย์สินที่บุคคลนั้นได้ไปจากการทุจริตหรือประพฤติมิชอบกลับคืนมาได้ เพราะมีการยักย้าย จำหน่ายหรือจ่ายโอนทรัพย์สินนั้นไปจนหมดสิ้น ประกาศของ คปค. ฉบับที่ 30 จึงได้ให้อำนาจ คตส. ในการที่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลที่ตรวจสอบจาก คตส. ได้ หากกรณีเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้
สอง องค์ประกอบการในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามประกาศฉบับดังกล่าว เป็นไปตามข้อ 5 วรรคสอง ของประกาศดังกล่าว ซึ่งกำหนดว่า “ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้”
เข้าข่ายพฤติการณ์ทุจริต-ร่ำรวยผิดปกติ
ผลจาการตรวจสอบและไต่สวนในคดีต่างๆ ของ คตส. ได้ลุล่วงถึงขั้นมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ที่ถูกอายัดทรัพย์) กับพวกได้ทุจริตประพฤติมิชอบและร่ำรวยผิดปกติได้ทรัพย์สินโดยมิสมควร จากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของบริษัทเอกชน เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ดังนี้
พฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบ มีพยานหลักฐานถึงขั้นถูกกล่าวหา 5 คดี และเกิดความเสียหายต่อรัฐ ดังนี้
1) การทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดินรัชดาภิเษก มูลค่าสัญญา 772 ล้านบาท 2) การจัดซื้อกล้ายาง มูลค่าตามสัญญา 1,400 ล้านบาท (ซึ่งภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ถูกข้อกล่าวหาจากคดีนี้) 3) การทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ประมาณ 1,500 ล้านบาท 4) โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว ละ 2 ตัว ทำให้รัฐเสียหายประมาณ 37,790 ล้านบาท
พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภริยายังคงถือไว้ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของบริษัทเอกชนตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นต้นมา แต่ได้ให้บุตร ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดเป็นผู้ถือหุ้นเอาไว้แทน และยังได้ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของเอกชนหลายประการ ดังนี้
1) แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เพื่อประโยชน์แก่เครือชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงิน 71,667 ล้านบาท 2) แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์ตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัททีโอทีฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เครือชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหาย 700 ล้านบาท
3) ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่ชินคอร์ป ทำให้รัฐวิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ 30,667 ล้านบาท
4) ให้บริษัททีโอทีฯ เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัทเอกชนรายหนึ่งเป็นเหตุให้บริษัททีโอทีฯ รัฐวิสาหกิจของรัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 700 ล้านบาท 5) สั่งการให้เอ็กซิมแบงก์ ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า เพื่อซื้อสินค้าจากบริษัทชินแซทเทิลไลท์ฯ วงเงิน 4,000 ล้านบาท
การใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของตนเอง มีทั้งที่อดีตผู้นำเกี่ยวข้องสั่งการเองโดยตรง หรือละเว้นไม่กำกับสั่งการดูแล มีความพยายามหลีกเลี่ยงขั้นตอนการตรวจสอบตามกฎหมายทุกครั้ง เป็นผลประโยชน์อันมิควรได้ตกเป็นมูลค่าแฝงอยู่ในหุ้นของตนจนมีราคาสูงขึ้นอย่างผิดปกติตลอดเวลา
ในท้ายที่สุด อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 โดยเพิ่มเติมให้บุคคลต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทด้านกิจการโทรคมนาคม จากเดิมไม่เกินร้อยละ 25 เป็นไม่เกินร้อยละ 50 พร้อมๆ กับการเจรจาเพื่อขายหุ้นที่มีชื่อครอบครัวและบริวารของตนเป็นเจ้าของอยู่ร้อยละ 49.2 ให้แก่กองทุนเทมาเส็ก
ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ม.ค. 2549 ก็ได้ดำเนินการขายหุ้นให้กองทุนเทมาเส็ก ในวันจันทร์ที่ 23 ม.ค. 2549 ได้เงินจากการขายหุ้นทั้งหมด 73,271 ล้านบาท
คตส. ได้สรุปว่า ผลการดำเนินการตรวจสอบและไต่สวนมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติและเนื่องจากพบว่าเงินบางส่วนได้ยักย้ายถ่ายโอนแล้ว เช่น เงินค่าขายหุ้นชินคอร์ป คงเหลือในบัญชีประมาณ 52,884 ล้านบาทเท่านั้น
อาศัยอำนาจตามความในประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ก.ย. 2549 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 8 จึงมีมติให้อายัดเงินในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน การอายัดทรัพย์ตามคำสั่งทั้งสองนี้ให้อายัดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
นั่นคือที่มาที่ไปของคำสั่งอายัดทรัพย์ และกำลังจะถูกยื่นฟ้องยึดทรัพย์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า คำสั่งอายัดทรัพย์ของ และการตรวจสอบของคตส. กระทั่งนำคดีขึ้นสู่ศาล และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รับฟ้องในหลายคดี เป็นเหตุให้ทนายความของครอบครัวชินวัตร ร้องต่อศาลฯ เพื่อโต้แย้งอำนาจของ คตส. ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้ส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความสถานะของ คตส. ตามคำร้อง
ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ 9 เสียง เห็นว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค. เป็นผู้มีอำนาจและรัฏฐาธิปัตย์ ในขณะนั้น จึงมีอำนาจออกกฎหมายใช้บังคับใช้ และการต่ออายุ คตส. ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้คตส.ทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่ถือเป็นองค์กรใหม่ และประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309
ป.ป.ช.ยืนยันฟ้องศาลยึดทรัพย์
เมื่อ คตส. หมดวาระการทำงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ก็ได้ส่งมอบงานให้กับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระหว่างนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้ยกเลิกการอายัดทรัพย์สินที่ คตส.สั่งอายัดไว้
แต่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจยกเลิกคำสั่งอายัดทรัพย์สินของ คตส. ที่ดำเนินการตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเดินหน้าพิจารณาสำนวนคดีที่ คตส. ส่งมาให้ดำเนินการต่อ
จากนั้น ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด ได้ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาความไม่สมบูรณ์ของสำนวนไต่สวนกรณี คตส. มีมติให้อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีแพ่ง ข้อหาเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของคนเองและพวกพ้อง ร่ำรวยผิดปกติ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน จำนวน 76,000 ล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน
เมื่อคดียึดหรืออายัดทรัพย์ ตกมาอยู่ในมือของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การตีรวนสร้างเรื่องให้สังคมสับสนก็เกิดขึ้นอีก เช่นเดียวกับที่บริวารไข่แม้ว เคยเดินเกมลดทอนความน่าเชื่อถือ ความชอบธรรม และอำนาจของคตส. มาโดยตลอด
แต่กรณีของ ป.ป.ช. ต่างจากกรณีของ คตส. ที่อิงอำนาจคณะรัฐประหาร เพราะ ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระ มีกฎหมายรองรับ มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานและชัดเจน
ดังนั้น การสวนกลับของเลขาธิการ ป.ป.ช. ต่อข้อสงสัยของประธานคณะกรรมาธิการการคลังฯ ในประเด็นที่ว่า ป.ป.ช. ใช้อำนาจเกินกว่ากฎหมายกำหนดหรือไม่ จึงดูออกง่ายๆ ว่า ผู้ตั้งข้อสงสัยทำทีแสดงอาการ “แกล้งโง่” เพื่อสร้างความสับสน คลุมเครือให้สังคม สร้างเรื่องให้ดูเหมือนว่าอดีตนายฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรม
นายศราวุฒิ เมนะเศวต เลขาธิการ ป.ป.ช. ยืนยันในการชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการคลังฯ ว่า ป.ป.ช. มีอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 78 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติได้ ก่อนจะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย
อนึ่ง พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 78 ระบุว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบว่าทรัพย์สินรายใดของผู้ถูกกล่าวหาเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติและมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า จะมีการโอน ยักย้าย แปรสภาพ หรือซุกซ่อนทรัพย์สินดังกล่าว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัด ทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่จะยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์โดยมี หรือไม่มีประกันหรือหลักประกันก็ได้
“เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดให้มีการพิสูจน์เกี่ยวกับ ทรัพย์สินโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดชั่วคราวมิได้เกี่ยวข้อง กับการร่ำรวยผิดปกติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องใน คดีนั้น แต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็ให้คืนทรัพย์สินแก่ผู้นั้น”
วานนี้ (13 ส.ค.) คณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคารและสถาบันการเงิน สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ส.ส. เชียงใหม่ พรรคพลังประชาชน เป็นประธาน ได้เชิญผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) กรมบัญชีกลาง กรมสรรพกร และธนาคารแห่งประเทศไทย มาให้ข้อมูล กรณีที่ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) มีมติอายัดทรัพย์สินของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและครอบครัว วงเงิน 76,000 ล้านบาท
ประธานคณะกรรมาธิการฯ อ้างเหตุผลว่า ในเมื่อ คตส.ซึ่งไปผู้ออกคำสั่งได้หมดวาระไปแล้ว เหตุใดจึงไม่ยอมเพิกถอนการอายัดทรัพย์ และการฟ้องร้องยึดทรัพย์ที่กำลังดำเนินอยู่อาศัยอำนาจหรือข้อกฎหมายใด เป็นการกระทำที่เกินกว่าอำนาจตามกฎหมายหรือไม่
แผนสร้างความสับสนข้างต้น แท้จริงแล้วเป็นเพียงหมากกลตื้นๆ ของบริวารไข่แม้ว เพราะหากมองย้อนกลับไปพิจารณาถึงความเป็นมา ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย จะพบว่า การดำเนินการในเรื่องนี้มีอำนาจตามกฎหมายอย่างแจ่มชัด มีการตรวจสอบที่รอบคอบรัดกุม และระมัดระวังอย่างยิ่งที่จะไม่ให้เกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเช่นเดียวกับยุคยึดทรัพย์ คณะ รสช. ที่จบลงด้วยความว่างเปล่า
อำนาจ คตส. ยึด และอายัดทรัพย์
เหตุผลสำคัญในการรัฐประหาร เมื่อเดือนก.ย. 2549 ประการหนึ่งก็คือ การตรวจสอบทุจริตคอร์รัปชั่นของอดีตผู้นำประเทศและบริวาร โดยคณะรัฐประหาร ออกประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ หรือ คตส. เพื่อเข้ามาทำหน้านี้โดยเฉพาะ
อำนาจของ คตส. นอกจากตรวจสอบ ไต่สวน การกระทำที่เข้าข่ายทุจริต สรุปคดีเสนออัยการสูงสุดเพื่อส่งฟ้องต่อศาล หรือใช้อำนาจของ คตส. สั่งฟ้องเองแล้ว ประกาศฉบับดังกล่าว ยังให้อำนาจ คตส. ยึดและอายัดทรัพย์เอาอีกด้วย
ในหลักการและองค์ประกอบในการยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ระบุไว้ ดังนี้
หนึ่ง หลักการในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ก็เพื่อเป็นวิธีการชั่วคราวมิให้มีการยักย้ายทรัพย์สิน จำหน่ายหรือจ่ายโอนทรัพย์สินเท่านั้น ทั้งนี้ ก็เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของมหาชนจากการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติของบุคคลที่ถูกกล่าวหาจาก คตส.
ความมุ่งหมายของ คตส. นั้น มิได้มุ่งหมายเพียงเพื่อนำบุคคลที่กระทำผิดกฎหมายอาญามารับโทษของบ้านเมืองเท่านั้น หากแต่ยังมีความมุ่งหมายที่จะต้องนำผลประโยชน์ของประเทศชาติที่สูญเสียไปจากการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติจากบุคคลที่ถูกกล่าวหากลับคืนมาด้วย
แต่โดยกระบวนการในการพิสูจน์ความผิดทางอาญาของบุคคลเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยเวลาในการดำเนินการ หากรอให้กระบวนการดำเนินการจนเสร็จสิ้นแล้วจึงมาดำเนินการเอากับทรัพย์สินของบุคคลนั้น ท้ายที่สุด รัฐจะไม่สามารถนำทรัพย์สินที่บุคคลนั้นได้ไปจากการทุจริตหรือประพฤติมิชอบกลับคืนมาได้ เพราะมีการยักย้าย จำหน่ายหรือจ่ายโอนทรัพย์สินนั้นไปจนหมดสิ้น ประกาศของ คปค. ฉบับที่ 30 จึงได้ให้อำนาจ คตส. ในการที่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินของบุคคลที่ตรวจสอบจาก คตส. ได้ หากกรณีเข้าเงื่อนไขที่กำหนดไว้
สอง องค์ประกอบการในการยึดหรืออายัดทรัพย์สิน ตามประกาศฉบับดังกล่าว เป็นไปตามข้อ 5 วรรคสอง ของประกาศดังกล่าว ซึ่งกำหนดว่า “ในกรณีที่เห็นว่าการดำเนินการในเรื่องที่ตรวจสอบมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่ามีการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ และมีพฤติการณ์ว่าบุคคลใดเกี่ยวข้องกับการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ หรือร่ำรวยผิดปกติ หรือมีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ ให้คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องของผู้นั้น คู่สมรสและบุตรซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะของผู้นั้นไว้ก่อนได้”
เข้าข่ายพฤติการณ์ทุจริต-ร่ำรวยผิดปกติ
ผลจาการตรวจสอบและไต่สวนในคดีต่างๆ ของ คตส. ได้ลุล่วงถึงขั้นมีพยานหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง (ที่ถูกอายัดทรัพย์) กับพวกได้ทุจริตประพฤติมิชอบและร่ำรวยผิดปกติได้ทรัพย์สินโดยมิสมควร จากการใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของบริษัทเอกชน เป็นเหตุให้ได้ประโยชน์หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐโดยรวม ดังนี้
พฤติการณ์ทุจริตประพฤติมิชอบ มีพยานหลักฐานถึงขั้นถูกกล่าวหา 5 คดี และเกิดความเสียหายต่อรัฐ ดังนี้
1) การทุจริตโครงการจัดซื้อที่ดินรัชดาภิเษก มูลค่าสัญญา 772 ล้านบาท 2) การจัดซื้อกล้ายาง มูลค่าตามสัญญา 1,400 ล้านบาท (ซึ่งภายหลัง พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ถูกข้อกล่าวหาจากคดีนี้) 3) การทุจริตโครงการจัดซื้อจัดจ้างปรับเปลี่ยนสายพานลำเลียงกระเป๋าสัมภาระผู้โดยสารและเครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ 9000 ประมาณ 1,500 ล้านบาท 4) โครงการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 3 ตัว ละ 2 ตัว ทำให้รัฐเสียหายประมาณ 37,790 ล้านบาท
พฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติ โดยมีพยานหลักฐานเชื่อได้ว่า ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและภริยายังคงถือไว้ซึ่งหุ้นธุรกิจสัมปทานของบริษัทเอกชนตั้งแต่เข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นต้นมา แต่ได้ให้บุตร ญาติ หรือบุคคลใกล้ชิดเป็นผู้ถือหุ้นเอาไว้แทน และยังได้ใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ต่อกิจการของเอกชนหลายประการ ดังนี้
1) แก้ไขสัญญาข้อตกลงลดส่วนแบ่งรายได้ค่าบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบใช้บัตรจ่ายเงินล่วงหน้า เพื่อประโยชน์แก่เครือชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียผลประโยชน์ตลอดอายุสัมปทานเป็นเงิน 71,667 ล้านบาท 2) แก้ไขสัญญาข้อตกลงปรับเกณฑ์ตัดส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัททีโอทีฯ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่เครือชินคอร์ป ทำให้รัฐเสียหาย 700 ล้านบาท
3) ตราพระราชกำหนดภาษีสรรพสามิตในกิจการโทรคมนาคม และได้มีมติคณะรัฐมนตรีแปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เพื่อประโยชน์แก่ชินคอร์ป ทำให้รัฐวิสาหกิจของรัฐเสียหายประมาณ 30,667 ล้านบาท
4) ให้บริษัททีโอทีฯ เช่าและลงทุนระบบคลื่นความถี่ดาวเทียมของบริษัทเอกชนรายหนึ่งเป็นเหตุให้บริษัททีโอทีฯ รัฐวิสาหกิจของรัฐเสียหายเป็นจำนวนเงิน 700 ล้านบาท 5) สั่งการให้เอ็กซิมแบงก์ ปล่อยกู้ให้รัฐบาลพม่า เพื่อซื้อสินค้าจากบริษัทชินแซทเทิลไลท์ฯ วงเงิน 4,000 ล้านบาท
การใช้อำนาจหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินเพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ธุรกิจของตนเอง มีทั้งที่อดีตผู้นำเกี่ยวข้องสั่งการเองโดยตรง หรือละเว้นไม่กำกับสั่งการดูแล มีความพยายามหลีกเลี่ยงขั้นตอนการตรวจสอบตามกฎหมายทุกครั้ง เป็นผลประโยชน์อันมิควรได้ตกเป็นมูลค่าแฝงอยู่ในหุ้นของตนจนมีราคาสูงขึ้นอย่างผิดปกติตลอดเวลา
ในท้ายที่สุด อดีตนายกรัฐมนตรี ก็ได้ใช้อำนาจหน้าที่ผลักดันให้แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ. ประกอบกิจการโทรคมนาคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2549 โดยเพิ่มเติมให้บุคคลต่างด้าวถือหุ้นในบริษัทด้านกิจการโทรคมนาคม จากเดิมไม่เกินร้อยละ 25 เป็นไม่เกินร้อยละ 50 พร้อมๆ กับการเจรจาเพื่อขายหุ้นที่มีชื่อครอบครัวและบริวารของตนเป็นเจ้าของอยู่ร้อยละ 49.2 ให้แก่กองทุนเทมาเส็ก
ซึ่งเมื่อพ.ร.บ.ดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้เมื่อวันเสาร์ที่ 21 ม.ค. 2549 ก็ได้ดำเนินการขายหุ้นให้กองทุนเทมาเส็ก ในวันจันทร์ที่ 23 ม.ค. 2549 ได้เงินจากการขายหุ้นทั้งหมด 73,271 ล้านบาท
คตส. ได้สรุปว่า ผลการดำเนินการตรวจสอบและไต่สวนมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า อดีตนายกรัฐมนตรี มีการทุจริตและประพฤติมิชอบ ร่ำรวยผิดปกติ มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นผิดปกติและเนื่องจากพบว่าเงินบางส่วนได้ยักย้ายถ่ายโอนแล้ว เช่น เงินค่าขายหุ้นชินคอร์ป คงเหลือในบัญชีประมาณ 52,884 ล้านบาทเท่านั้น
อาศัยอำนาจตามความในประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ก.ย. 2549 เรื่อง การตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ข้อ 5 วรรคสอง และข้อ 8 จึงมีมติให้อายัดเงินในบัญชีธนาคารหรือสถาบันการเงิน การอายัดทรัพย์ตามคำสั่งทั้งสองนี้ให้อายัดไว้จนกว่าจะมีคำสั่งเปลี่ยนแปลง
นั่นคือที่มาที่ไปของคำสั่งอายัดทรัพย์ และกำลังจะถูกยื่นฟ้องยึดทรัพย์ในอีกไม่กี่วันข้างหน้า คำสั่งอายัดทรัพย์ของ และการตรวจสอบของคตส. กระทั่งนำคดีขึ้นสู่ศาล และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง รับฟ้องในหลายคดี เป็นเหตุให้ทนายความของครอบครัวชินวัตร ร้องต่อศาลฯ เพื่อโต้แย้งอำนาจของ คตส. ซึ่งศาลฎีกาฯ ได้ส่งเรื่องให้ ศาลรัฐธรรมนูญ ตีความสถานะของ คตส. ตามคำร้อง
ต่อมา เมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ที่ผ่านมา ศาลรัฐธรรมนูญ มีมติเอกฉันท์ 9 เสียง เห็นว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 เรื่องการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ที่ตั้ง คตส. ไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เนื่องจากเห็นว่าคณะคปค. เป็นผู้มีอำนาจและรัฏฐาธิปัตย์ ในขณะนั้น จึงมีอำนาจออกกฎหมายใช้บังคับใช้ และการต่ออายุ คตส. ก็เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมให้คตส.ทำงานได้ต่อเนื่อง ไม่ถือเป็นองค์กรใหม่ และประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ได้รับการคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 309
ป.ป.ช.ยืนยันฟ้องศาลยึดทรัพย์
เมื่อ คตส. หมดวาระการทำงานเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. 2551 ก็ได้ส่งมอบงานให้กับคณะกรรมการ ป.ป.ช. ระหว่างนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ยื่นต่อ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ขอให้ยกเลิกการอายัดทรัพย์สินที่ คตส.สั่งอายัดไว้
แต่ คณะกรรมการ ป.ป.ช. ได้มีมติเป็นเอกฉันท์ 9 เสียงว่า ป.ป.ช.ไม่มีอำนาจยกเลิกคำสั่งอายัดทรัพย์สินของ คตส. ที่ดำเนินการตามประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ซึ่งเป็นการปฏิบัติหน้าที่ที่ชอบด้วยกฎหมาย และชอบด้วยรัฐธรรมนูญ พร้อมกับเดินหน้าพิจารณาสำนวนคดีที่ คตส. ส่งมาให้ดำเนินการต่อ
จากนั้น ป.ป.ช. และอัยการสูงสุด ได้ตั้งคณะทำงานร่วมเพื่อพิจารณาความไม่สมบูรณ์ของสำนวนไต่สวนกรณี คตส. มีมติให้อัยการสูงสุด ยื่นฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ในคดีแพ่ง ข้อหาเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจของคนเองและพวกพ้อง ร่ำรวยผิดปกติ ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อขอให้ศาลมีคำสั่งให้ทรัพย์สิน จำนวน 76,000 ล้าน ตกเป็นของแผ่นดิน
เมื่อคดียึดหรืออายัดทรัพย์ ตกมาอยู่ในมือของคณะกรรมการ ป.ป.ช. การตีรวนสร้างเรื่องให้สังคมสับสนก็เกิดขึ้นอีก เช่นเดียวกับที่บริวารไข่แม้ว เคยเดินเกมลดทอนความน่าเชื่อถือ ความชอบธรรม และอำนาจของคตส. มาโดยตลอด
แต่กรณีของ ป.ป.ช. ต่างจากกรณีของ คตส. ที่อิงอำนาจคณะรัฐประหาร เพราะ ป.ป.ช. เป็นองค์กรอิสระ มีกฎหมายรองรับ มีขอบเขตอำนาจหน้าที่ที่ถือปฏิบัติกันมายาวนานและชัดเจน
ดังนั้น การสวนกลับของเลขาธิการ ป.ป.ช. ต่อข้อสงสัยของประธานคณะกรรมาธิการการคลังฯ ในประเด็นที่ว่า ป.ป.ช. ใช้อำนาจเกินกว่ากฎหมายกำหนดหรือไม่ จึงดูออกง่ายๆ ว่า ผู้ตั้งข้อสงสัยทำทีแสดงอาการ “แกล้งโง่” เพื่อสร้างความสับสน คลุมเครือให้สังคม สร้างเรื่องให้ดูเหมือนว่าอดีตนายฯ ไม่ได้รับความเป็นธรรม
นายศราวุฒิ เมนะเศวต เลขาธิการ ป.ป.ช. ยืนยันในการชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการการคลังฯ ว่า ป.ป.ช. มีอำนาจที่จะดำเนินการได้ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต มาตรา 78 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช.ในการตรวจสอบทรัพย์สินของผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติได้ ก่อนจะส่งเรื่องให้อัยการสูงสุด ส่งฟ้องต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เพื่อวินิจฉัยเป็นขั้นตอนสุดท้าย
อนึ่ง พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 78 ระบุว่า “ในกรณีที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตรวจสอบพบว่าทรัพย์สินรายใดของผู้ถูกกล่าวหาเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวข้องกับการร่ำรวยผิดปกติและมีพฤติการณ์น่าเชื่อว่า จะมีการโอน ยักย้าย แปรสภาพ หรือซุกซ่อนทรัพย์สินดังกล่าว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจออกคำสั่งยึดหรืออายัด ทรัพย์สินนั้นไว้ชั่วคราว ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้ถูกกล่าวหาที่จะยื่นคำร้องขอผ่อนผันเพื่อขอรับทรัพย์สินนั้นไปใช้ประโยชน์โดยมี หรือไม่มีประกันหรือหลักประกันก็ได้
“เมื่อมีการยึดหรืออายัดทรัพย์สินชั่วคราวตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. จัดให้มีการพิสูจน์เกี่ยวกับ ทรัพย์สินโดยเร็ว ในกรณีที่ผู้ถูกกล่าวหาไม่สามารถแสดงหลักฐานได้ว่าทรัพย์สินที่ถูกยึดหรืออายัดชั่วคราวมิได้เกี่ยวข้อง กับการร่ำรวยผิดปกติ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอำนาจยึดหรืออายัดทรัพย์สินนั้นไว้ต่อไป จนกว่าคณะกรรมการ ป.ป.ช. จะมีมติว่าข้อกล่าวหาไม่มีมูลซึ่งต้องไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันยึดหรืออายัด หรือจนกว่าจะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้องใน คดีนั้น แต่ถ้าสามารถพิสูจน์ได้ก็ให้คืนทรัพย์สินแก่ผู้นั้น”