วานนี้ (13 ส.ค.) นายไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงคำแถลงการณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ได้มีการระบุพาดพิงว่า กระบวนการยุติธรรมมีการถูกแทรกแซง และมีการตั้งขึ้นมาเพื่อดำเนินการกับตัวเองโดยเฉพาะว่า ในที่ประชุมคณะตุลาการ ไม่ได้มีการกล่าวถึงคำแถลงการณ์ของพ.ต.ท.ทักษิณ แต่อย่างใด
สำหรับกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ มีที่มาเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการการได้มาซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และหลังจากได้องค์คณะตุลการแล้ว ก็จะมีการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และถวายสัตย์ฯ ก่อนเข้ามาทำหน้าที่ และการทำงานของคณะตุลาการที่ผ่านมา องค์คณะทั้งหมดก็ได้ทำหน้าที่ตามที่ได้ถวายสัตย์ฯทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคำร้อง ก็เป็นตามกรอบวิธีพิจารณาทุกประการ ส่วนการแทรกแซงการทำงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตนมั่นใจว่าไม่มีกระบวนการใดมาแทรกแซงได้ อย่างแน่นอน
นายไพบูลย์ ยังได้กล่าวถึงการวินิจฉัยคดี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 4 ,100,122 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26,27,28,29,39 และ43 หรือไม่ ซึ่งตุลาการได้มีมติเอกฉันท์ 8 เสียง และอีก 1 เสียง ได้ขอถอนตัวออกจากองค์คณะ คือนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตนเองเคยเป็นองค์คณะในการร่วมพิจารณาคดี ที่ดินรัชดา ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม จึงเห็นว่าควรถอนตัวออกจากการพิจารณาคำร้องดังกล่าว
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าได้มีการพิจารณาคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของส.ว.จำนวน 29 คน มาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 3 และมาตรา 91 และที่ประชุมคณะตุลาการ มีมติให้นำคำร้องที่ส่งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดความเป็นนายรัฐมนตรีนั้น ซึ่งก็ได้ให้รวมคำร้องไว้ด้วยกัน เนื่องจากเห็นว่าคำร้องทั้ง 2 เรื่อง มีลักษณะคล้ายกัน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งให้มีการนัดตรวจพยาน ในวันที่ 21 ส.ค. เวลา 09.30 น. ไปแล้วนั้น วันนี้ ( 13 ส.ค.) คณะตุลาการฯ จึงให้มีการนัดหมายให้มีการไต่สวนพยานบุคคล 2 วัน โดยวันอังคารที่ 26 ส.ค. ประกอบด้วย 1. อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน 2. พล.อ.ยอดชาย เทพยสุวรรณ ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการกาเลือกตั้ง และ 3. นางดาริกา รุ่งโรจน์ พนักงานบัญชีบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด และในวันพุธที่ 27 ส.ค.ประกอบด้วย1. ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 5 หรือผู้แทน และ 2. ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3 หรือผู้แทน เวลา 09.30 น. ทั้ง 2 วัน
**"หมัก-เลี้ยบ"ไม่ไปชี้แจงกกต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคพลังประชาชนของ กกต. ได้มีหนังสือแจ้งให้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน และนพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคฯ มาชี้แจงเมื่อวานนี้ (13ส.ค.) เป็นวันสุดท้าย และไม่ยอมให้เลื่อนออกไปตามที่ทั้งสองขอมา ปรากฏว่า ทั้งนายสมัคร และนพ.สุรพงษ์ ไม่ได้เดินทางมาชี้แจง ต่อกกต. แต่ได้ส่งหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์ โดยให้พนักงานส่งเอกสารเป็นผู้นำหนังสือมามอบให้คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเริ่มประชุมเมื่อเวลา 10.00 น. และได้ใช้เวลาในการประชุมกว่า 5 ชั่วโมง ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป จึงได้เลิกประชุมในเวลาประมาณ 15.00 น. และนัดประชุมใหม่ในวันนี้ (14 ส.ค.) ทั้งนี้ ในวันที่ 14 ส.ค. ถือว่าเป็นวันสุดท้ายในการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ เนื่องจาก กกต.ได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการฯ ทำความเห็นเสนอต่อ กกต. ในวันที่ 15 ส.ค.
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ที่มีข่าวว่านายสมัคร และนพ.สุรพงษ์จะมาชี้แจงเอง ทางสำนักงาน กกต.ได้เช่าห้องประชุมชั้น 10 ของอาคารศรีจุลทรัพย์ ไว้ต้อนรับ แต่ปรากฏว่าทั้งสองคนไม่ได้เดินทางมาชี้แจง แต่ให้เจ้าหน้าที่มาส่งเอกสารเท่านั้น
**บรรหาร ลั่นต้องแก้รธน.50
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีกกต.พิจารณาเรื่องยุบพรรคชาติไทยว่าคดียุบพรรคการเมืองนั้น จำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา กกต.ไม่มีหน้าที่วินิจฉัย ก็แล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา คงต้องเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
ส่วนพรรคชาติไทยจะถูกยุบหรือไม่นั้น ยังตอบไม่ถูก ต้องปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนดีกว่า เพราะขณะนี้รูปแบบทางการเมืองเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการเมืองไทย พรรคการเมืองถูกยุบกันง่ายๆ ก็เพิ่งมีคราวนี้ คงต้องบันทึกในประวัติศาสตร์ ทั้งสาเหตุการยุบพรรคการเมือง สาเหตุการเว้นวรรคการเมือง ซึ่งความจริงแต่ละกรณีมันแตกต่างกัน สาเหตุย่อมไม่เหมือนกัน
เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการแก้ต่างในคดียุบพรรคชาติไทยหรือไม่ หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า เราต้องหาทางนำพยานเข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องแล้วแต่ศาลจะมีความเห็น
" รัฐธรรมนูญ 50 มีข้อบกพร่องมากมาย บัญญัติขึ้นมาเพื่อเล่นงานนักการเมืองมากเกินควร ถึงได้ออกมารูปแบบนี้ เช่น สามารถยุบพรรคการเมืองได้ง่ายๆ ความจริงการเมืองเขามีแต่พยายามประคองพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันการเมือง และมีความมั่นคงในอนาคต และนี่ไม่ดีผมว่าจะมีพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งที่ต้องจับตาในวันที่ 15 ส.ค.นี้ว่า จะโดนใบแดงหรือไม่ ถ้าถูกใบแดงขึ้นมา การเมืองไทย ก็จบเห่ ซึ่งก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร การเมืองไทย ผมว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 50 ต้องแก้" นายบรรหาร กล่าว
สำหรับกระบวนการของศาลรัฐธรรมนูญ มีที่มาเป็นไปตามรัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติไว้ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการการได้มาซึ่งคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และหลังจากได้องค์คณะตุลการแล้ว ก็จะมีการเสนอชื่อขึ้นทูลเกล้าฯ และถวายสัตย์ฯ ก่อนเข้ามาทำหน้าที่ และการทำงานของคณะตุลาการที่ผ่านมา องค์คณะทั้งหมดก็ได้ทำหน้าที่ตามที่ได้ถวายสัตย์ฯทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคำร้อง ก็เป็นตามกรอบวิธีพิจารณาทุกประการ ส่วนการแทรกแซงการทำงานของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตนมั่นใจว่าไม่มีกระบวนการใดมาแทรกแซงได้ อย่างแน่นอน
นายไพบูลย์ ยังได้กล่าวถึงการวินิจฉัยคดี พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย การป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาตรา 4 ,100,122 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 26,27,28,29,39 และ43 หรือไม่ ซึ่งตุลาการได้มีมติเอกฉันท์ 8 เสียง และอีก 1 เสียง ได้ขอถอนตัวออกจากองค์คณะ คือนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ที่ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่า ตนเองเคยเป็นองค์คณะในการร่วมพิจารณาคดี ที่ดินรัชดา ดังนั้นเพื่อความเหมาะสม จึงเห็นว่าควรถอนตัวออกจากการพิจารณาคำร้องดังกล่าว
นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ว่าได้มีการพิจารณาคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องของส.ว.จำนวน 29 คน มาให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี สิ้นสุดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 182 วรรค 3 และมาตรา 91 และที่ประชุมคณะตุลาการ มีมติให้นำคำร้องที่ส่งจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยความสิ้นสุดความเป็นนายรัฐมนตรีนั้น ซึ่งก็ได้ให้รวมคำร้องไว้ด้วยกัน เนื่องจากเห็นว่าคำร้องทั้ง 2 เรื่อง มีลักษณะคล้ายกัน
นายไพบูลย์ กล่าวว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้แจ้งให้มีการนัดตรวจพยาน ในวันที่ 21 ส.ค. เวลา 09.30 น. ไปแล้วนั้น วันนี้ ( 13 ส.ค.) คณะตุลาการฯ จึงให้มีการนัดหมายให้มีการไต่สวนพยานบุคคล 2 วัน โดยวันอังคารที่ 26 ส.ค. ประกอบด้วย 1. อธิบดีกรมสรรพากรหรือผู้แทน 2. พล.อ.ยอดชาย เทพยสุวรรณ ประธานคณะกรรมการสืบสวนสอบสวนของคณะกรรมการกาเลือกตั้ง และ 3. นางดาริกา รุ่งโรจน์ พนักงานบัญชีบริษัท เฟซ มีเดีย จำกัด และในวันพุธที่ 27 ส.ค.ประกอบด้วย1. ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 5 หรือผู้แทน และ 2. ผอ.สถานีวิทยุโทรทัศน์ช่อง 3 หรือผู้แทน เวลา 09.30 น. ทั้ง 2 วัน
**"หมัก-เลี้ยบ"ไม่ไปชี้แจงกกต.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตามที่คณะอนุกรรมการพิจารณายุบพรรคพลังประชาชนของ กกต. ได้มีหนังสือแจ้งให้ นายสมัคร สุนทรเวช หัวหน้าพรรคพลังประชาชน และนพ. สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี เลขาธิการพรรคฯ มาชี้แจงเมื่อวานนี้ (13ส.ค.) เป็นวันสุดท้าย และไม่ยอมให้เลื่อนออกไปตามที่ทั้งสองขอมา ปรากฏว่า ทั้งนายสมัคร และนพ.สุรพงษ์ ไม่ได้เดินทางมาชี้แจง ต่อกกต. แต่ได้ส่งหนังสือชี้แจงเป็นลายลักษณ์ โดยให้พนักงานส่งเอกสารเป็นผู้นำหนังสือมามอบให้คณะอนุกรรมการฯ ซึ่งเริ่มประชุมเมื่อเวลา 10.00 น. และได้ใช้เวลาในการประชุมกว่า 5 ชั่วโมง ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป จึงได้เลิกประชุมในเวลาประมาณ 15.00 น. และนัดประชุมใหม่ในวันนี้ (14 ส.ค.) ทั้งนี้ ในวันที่ 14 ส.ค. ถือว่าเป็นวันสุดท้ายในการทำงานของคณะอนุกรรมการฯ เนื่องจาก กกต.ได้กำหนดให้คณะอนุกรรมการฯ ทำความเห็นเสนอต่อ กกต. ในวันที่ 15 ส.ค.
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ที่มีข่าวว่านายสมัคร และนพ.สุรพงษ์จะมาชี้แจงเอง ทางสำนักงาน กกต.ได้เช่าห้องประชุมชั้น 10 ของอาคารศรีจุลทรัพย์ ไว้ต้อนรับ แต่ปรากฏว่าทั้งสองคนไม่ได้เดินทางมาชี้แจง แต่ให้เจ้าหน้าที่มาส่งเอกสารเท่านั้น
**บรรหาร ลั่นต้องแก้รธน.50
ด้านนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวถึงกรณีกกต.พิจารณาเรื่องยุบพรรคชาติไทยว่าคดียุบพรรคการเมืองนั้น จำเป็นต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา กกต.ไม่มีหน้าที่วินิจฉัย ก็แล้วแต่ศาลรัฐธรรมนูญจะพิจารณา คงต้องเป็นไปตามกระบวนการที่บัญญัติในรัฐธรรมนูญ
ส่วนพรรคชาติไทยจะถูกยุบหรือไม่นั้น ยังตอบไม่ถูก ต้องปล่อยให้เหตุการณ์เกิดขึ้นก่อนดีกว่า เพราะขณะนี้รูปแบบทางการเมืองเช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นในวงการเมืองไทย พรรคการเมืองถูกยุบกันง่ายๆ ก็เพิ่งมีคราวนี้ คงต้องบันทึกในประวัติศาสตร์ ทั้งสาเหตุการยุบพรรคการเมือง สาเหตุการเว้นวรรคการเมือง ซึ่งความจริงแต่ละกรณีมันแตกต่างกัน สาเหตุย่อมไม่เหมือนกัน
เมื่อถามว่า มีความเป็นห่วงเรื่องการแก้ต่างในคดียุบพรรคชาติไทยหรือไม่ หัวหน้าพรรคชาติไทย กล่าวว่า เราต้องหาทางนำพยานเข้าชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งต้องแล้วแต่ศาลจะมีความเห็น
" รัฐธรรมนูญ 50 มีข้อบกพร่องมากมาย บัญญัติขึ้นมาเพื่อเล่นงานนักการเมืองมากเกินควร ถึงได้ออกมารูปแบบนี้ เช่น สามารถยุบพรรคการเมืองได้ง่ายๆ ความจริงการเมืองเขามีแต่พยายามประคองพรรคการเมืองให้เป็นสถาบันการเมือง และมีความมั่นคงในอนาคต และนี่ไม่ดีผมว่าจะมีพรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งที่ต้องจับตาในวันที่ 15 ส.ค.นี้ว่า จะโดนใบแดงหรือไม่ ถ้าถูกใบแดงขึ้นมา การเมืองไทย ก็จบเห่ ซึ่งก็ไม่รู้จะตอบอย่างไร การเมืองไทย ผมว่า รัฐธรรมนูญฉบับ 50 ต้องแก้" นายบรรหาร กล่าว