ผู้จัดการรายวัน – ททท.ดึงนวัตกรรม GPS เป็นไกด์นำทาง บูมแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ หลังพบพฤติกรรมคนกรุงเปลี่ยนชัดเจน เดินทางเที่ยวระยะใกล้ เหตุจากภาวะเศรษบกิจและราคาน้ำมันแพง นำร่อง จับมือ 2 บริษัทด้าน GPS เปิดเส้นทางนำเที่ยวกาญจนบุรี
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวคนไทยปีนี้ จะหันมาเที่ยวระยะใกล้มากขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดกรุงเทพ ปริมณฑล ซึ่งจะส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพ มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นราว 20% ส่วนเส้นทางระยะไกล นักท่องเที่ยวอาจลดลง ทั้งนี้เพราะ ปัจจัยจากสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาราคาน้ำมันแพง
ล่าสุด จับมือกับบริษัท Mappoint Asia (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด จัดโครงการ “ขับรถสุขใจ ไปเมืองกาจน์ กับ จีพีเอส” เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีจีพีเอส ซึ่งระบุตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ มาเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทางทำให้นักท่องเที่ยวลดระยะเวลาและค่าเดินทางเพราะไม่หลงทาง เป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ และ คนทำงาน ที่ขับรถเดินทางด้วยตัวเอง
สาเหตุที่นำร่อง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นแห่งแรก เพราะผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ความสนใจที่จะกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบกับ มีความพร้อมของแหล่องท่องเที่ยว เส้นทางคมนาคม ทั้งรถไฟ และ รถยนต์ คาดว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าจังหวัดกาญจนบุรีได้เพิ่มขึ้น 10%
“ททท.ได้จัดทำคู่มือประกอบการเดินทาง ระบุพิกัดของแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ไว้รวม 700 แห่ง ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์ของ ททท. เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งในอนาคต ททท.วางแผน จะนำระบบ GPS บอกข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวนี้ในจังหวัดอื่นด้วย ตั้งเป้าภายใน 2 ปี จะเพิ่มได้ถึง 10 จังหวัด เน้นพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯเป็นหลัก เช่น ระยอง เป็นต้น”
จากนี้ไป ททท.จะเร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก ตามคำแนะนำของ นายวันชัย ศารทูลทัต ประธานบอร์ด ททท. เริ่มปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยข่าวสารจะต้องถึงประชาชนและนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนจัดงาน สำหรับตลาดในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศต้อง 6 เดือนก่อนวันงาน
วิธีการจะขยายผลจากแผนงานเดิมและข้อมูลที่มีอยู่ แต่นำออกสื่อทุกรูปแบบ ทั้งของ ททท. และ ของพันธมิตรที่ร่วมจัดงาน เช่น บัตรเครดิตต่างๆ การบินไทย ท่าอากาศยานไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย กทม.ตลอดจนสมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนั้นจะใช้ระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มความถี่การประชาสัมพันธ์ เช่น ขอความร่วมมือ กรุงเทพมหานคร ประชาสัมพันธ์ผ่านตัววิ่งตามป้ายไฟและป้ายจาราจรต่างๆ การแจ้งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
“จากนี้ไป จะต้องใช้สื่อทุกรูปแบบที่ททท.มีอยู่ โดยเฉพาะข้อมูลในเว็บไซต์ของ ททท. โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้” นางพรศิริกล่าว
นางพรศิริ มโนหาญ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) เปิดเผยว่า แนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวคนไทยปีนี้ จะหันมาเที่ยวระยะใกล้มากขึ้นโดยเฉพาะในจังหวัดกรุงเทพ ปริมณฑล ซึ่งจะส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดใกล้เคียงกรุงเทพ มีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นราว 20% ส่วนเส้นทางระยะไกล นักท่องเที่ยวอาจลดลง ทั้งนี้เพราะ ปัจจัยจากสภาพเศรษฐกิจ และปัญหาราคาน้ำมันแพง
ล่าสุด จับมือกับบริษัท Mappoint Asia (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ดีพลัส อินเตอร์เทรด จำกัด จัดโครงการ “ขับรถสุขใจ ไปเมืองกาจน์ กับ จีพีเอส” เพื่อส่งเสริมการนำเทคโนโลยีจีพีเอส ซึ่งระบุตำแหน่งของสถานที่ต่างๆ มาเป็นเครื่องมือประกอบการเดินทางทำให้นักท่องเที่ยวลดระยะเวลาและค่าเดินทางเพราะไม่หลงทาง เป้าหมายหลัก คือ กลุ่มคนรุ่นใหม่ และ คนทำงาน ที่ขับรถเดินทางด้วยตัวเอง
สาเหตุที่นำร่อง จังหวัดกาญจนบุรีเป็นแห่งแรก เพราะผู้ว่าราชการจังหวัด ให้ความสนใจที่จะกระตุ้นและส่งเสริมการท่องเที่ยว ประกอบกับ มีความพร้อมของแหล่องท่องเที่ยว เส้นทางคมนาคม ทั้งรถไฟ และ รถยนต์ คาดว่าโครงการนี้จะช่วยกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าจังหวัดกาญจนบุรีได้เพิ่มขึ้น 10%
“ททท.ได้จัดทำคู่มือประกอบการเดินทาง ระบุพิกัดของแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร ไว้รวม 700 แห่ง ให้นักท่องเที่ยวที่สนใจได้ดาวน์โหลดในเว็บไซต์ของ ททท. เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ย.นี้เป็นต้นไป ซึ่งในอนาคต ททท.วางแผน จะนำระบบ GPS บอกข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวนี้ในจังหวัดอื่นด้วย ตั้งเป้าภายใน 2 ปี จะเพิ่มได้ถึง 10 จังหวัด เน้นพื้นที่ใกล้กรุงเทพฯเป็นหลัก เช่น ระยอง เป็นต้น”
จากนี้ไป ททท.จะเร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุก ตามคำแนะนำของ นายวันชัย ศารทูลทัต ประธานบอร์ด ททท. เริ่มปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยข่าวสารจะต้องถึงประชาชนและนักท่องเที่ยวอย่างน้อย 3 เดือน ก่อนจัดงาน สำหรับตลาดในประเทศ ส่วนตลาดต่างประเทศต้อง 6 เดือนก่อนวันงาน
วิธีการจะขยายผลจากแผนงานเดิมและข้อมูลที่มีอยู่ แต่นำออกสื่อทุกรูปแบบ ทั้งของ ททท. และ ของพันธมิตรที่ร่วมจัดงาน เช่น บัตรเครดิตต่างๆ การบินไทย ท่าอากาศยานไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย กทม.ตลอดจนสมาคมด้านการท่องเที่ยวต่างๆ นอกจากนั้นจะใช้ระบบเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามาเพิ่มความถี่การประชาสัมพันธ์ เช่น ขอความร่วมมือ กรุงเทพมหานคร ประชาสัมพันธ์ผ่านตัววิ่งตามป้ายไฟและป้ายจาราจรต่างๆ การแจ้งข้อมูลผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นต้น
“จากนี้ไป จะต้องใช้สื่อทุกรูปแบบที่ททท.มีอยู่ โดยเฉพาะข้อมูลในเว็บไซต์ของ ททท. โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้” นางพรศิริกล่าว