จากกรณีที่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) เตรียมพลักดันแก้ไข พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญา ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 เพื่อให้ผู้ถูกกล่าวหาสามารถต่อสู้คดีได้ 3 ศาล เหมือนคดีอาญาอื่นๆ ไม่ใช่ให้ศาลฏีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองพิจารณาศาลเดียวแล้วจบ โดยไม่มีการอุทธรณ์ ฎีกาอีก โดยวิปรัฐบาลอ้างว่าระบบดังกล่าวไม่เป็นไปตามระบบนิติรัฐ และไม่มีประเทศไหนในโลก เขาทำกัน ซึ่งทำให้วิปรัฐบาลถูกวิจารณ์ว่าเป็นการแก้ไขกฎหมายเพื่อช่วยเหลือ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และคุณหญิงพจมาน ภริยา ที่กำลังถูกศาลฎีกาฯ พิจารณาคดีทุจริตที่ดินรัฐดาฯ และยังมีคดีอื่นๆ อีกหลายคดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณา
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า การที่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หรือวิปรัฐบาลเล้งแก้ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจหลักการของกฎหมายและเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เนื่องจากรายละเอียดของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องการให้มีองค์กรที่มีหน้าที่จัดการการทุจริต ประพฤติมิชอบ และกระทำผิดกฎหมาย ที่นอกเหนือไปจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกทั้ง กฎหมายฉบับนี้เสนอเข้ามาโดย ศาลฎีกา ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภากำหนดให้เป็นกฎหมายแล้ว
นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ดังนั้น การที่วิปรัฐบาลต้องการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยเปลี่ยนให้เป็นการพิจารณาในขั้นตอนของ 3 ศาลเพื่อให้พิจารณาเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป ตนคิดว่า อาจเข้าข่ายขัดต่อหลักการของกฎหมายตัวนี้
นอกจากนี้ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำหนดขอบข่ายการทำงานของ ศาลฎีกาว่ามีหน้าที่ในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแน่งทางการเมืองด้วย
น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้พรรคพลังประชาชน ชมว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ดีที่สุดในประเทศ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องการแก้กฎหมายดังกล่าว ทั้งที่กฎหมายฉบับนี้ก็บัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 ดังนั้น จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ากฎหมายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภริยาและพวกพ้องแล้ว พรรคพลังประชาชนจะแก้หรือไม่
ด้านนายบุญจงค์ วงศไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน และกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวว่า วันนี้ (13ส.ค.) จะมีการประชุม เพื่อสรุปเนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวก่อนที่จะมีการเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณา ลงมติในวาระ2และ3 ต่อไป
นายบุญจง กล่าวว่า ในเรื่องการอุทธรณ์คดีภายในหลังจากที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคงต้องมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 278แน่นอนแต่จะสามารถอุทธรณ์ได้ภายในกี่วันคงต้องอยู่กับสภาฯว่าจะเห็นอย่างไร
ส่วนตัวเห็นว่าการอุทธรณ์นั้นน่าจะใช้หลักการเดียวกับการอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นการอุทธรณ์เพราะไม่พอใจกับคำพิพากษาของศาล ไม่ใช่การอุทธรณ์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานใหม่มาสู้คดี”นายบุญจง กล่าว
นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า วิปรัฐบาล จะมีการประชุมเพื่อเสนอความเห็นต่อที่ประชุมสภาฯเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตซึ่งวิปรัฐบาลได้ตั้งข้อสังเกตุไว้หลายประเด็น เช่น อำนาจในการอานยัดทรัพย์ เป็นต้น
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย ส.ส.ตรัง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า การที่คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร หรือวิปรัฐบาลเล้งแก้ พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการพิจารณาคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2542 อาจเป็นเพราะไม่เข้าใจหลักการของกฎหมายและเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญ ปี 2550 เนื่องจากรายละเอียดของพ.ร.บ.ฉบับนี้ ต้องการให้มีองค์กรที่มีหน้าที่จัดการการทุจริต ประพฤติมิชอบ และกระทำผิดกฎหมาย ที่นอกเหนือไปจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อีกทั้ง กฎหมายฉบับนี้เสนอเข้ามาโดย ศาลฎีกา ซึ่งผ่านการพิจารณาของสภากำหนดให้เป็นกฎหมายแล้ว
นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ดังนั้น การที่วิปรัฐบาลต้องการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยเปลี่ยนให้เป็นการพิจารณาในขั้นตอนของ 3 ศาลเพื่อให้พิจารณาเช่นเดียวกับคดีอาญาทั่วไป ตนคิดว่า อาจเข้าข่ายขัดต่อหลักการของกฎหมายตัวนี้
นอกจากนี้ ยังขัดต่อรัฐธรรมนูญ 2550 ที่กำหนดขอบข่ายการทำงานของ ศาลฎีกาว่ามีหน้าที่ในการพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแน่งทางการเมืองด้วย
น่าสังเกตว่าก่อนหน้านี้พรรคพลังประชาชน ชมว่ารัฐธรรมนูญ 2540 ดีที่สุดในประเทศ แต่ไม่เข้าใจว่าทำไมถึงต้องการแก้กฎหมายดังกล่าว ทั้งที่กฎหมายฉบับนี้ก็บัญญัติในรัฐธรรมนูญ 2540 ดังนั้น จึงขอตั้งข้อสังเกตว่า ถ้ากฎหมายนี้ไม่เกี่ยวข้องกับคดีของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ภริยาและพวกพ้องแล้ว พรรคพลังประชาชนจะแก้หรือไม่
ด้านนายบุญจงค์ วงศไตรรัตน์ ส.ส.นครราชสีมา พรรคพลังประชาชน และกรรมาธิการ(กมธ.)พิจารณาร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณา คดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กล่าวว่า วันนี้ (13ส.ค.) จะมีการประชุม เพื่อสรุปเนื้อหาทั้งหมดเกี่ยวก่อนที่จะมีการเสนอให้สภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณา ลงมติในวาระ2และ3 ต่อไป
นายบุญจง กล่าวว่า ในเรื่องการอุทธรณ์คดีภายในหลังจากที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคงต้องมีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 278แน่นอนแต่จะสามารถอุทธรณ์ได้ภายในกี่วันคงต้องอยู่กับสภาฯว่าจะเห็นอย่างไร
ส่วนตัวเห็นว่าการอุทธรณ์นั้นน่าจะใช้หลักการเดียวกับการอุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งเป็นการอุทธรณ์เพราะไม่พอใจกับคำพิพากษาของศาล ไม่ใช่การอุทธรณ์จะกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีหลักฐานใหม่มาสู้คดี”นายบุญจง กล่าว
นายสุชาติ ลายน้ำเงิน ส.ส.ลพบุรี พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า วิปรัฐบาล จะมีการประชุมเพื่อเสนอความเห็นต่อที่ประชุมสภาฯเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตซึ่งวิปรัฐบาลได้ตั้งข้อสังเกตุไว้หลายประเด็น เช่น อำนาจในการอานยัดทรัพย์ เป็นต้น