ทั้งหลายทั้งปวงนี้ทำให้เกิดปัญหาว่ากลุ่มใดเป็นรัฏฐาธิปัตย์หรือรัฐบาลที่แท้จริง ซึ่งในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคใหม่มักจะรอดูสถานการณ์จนฝุ่นจางลงและดูจากความเป็นจริง ในกรณีของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นสหรัฐฯ ไม่ยอมรับรองเป็นเวลานาน จนกระทั่งเหตุการณ์ผ่านไปเกือบ 40 ปี สหรัฐฯ จึงรับรองจีนแผ่นดินใหญ่แทนจีนไต้หวัน ซึ่งเท่ากับเป็นการรับรองการเป็นรัฏฐาธิปัตย์ของจีนคอมมิวนิสต์ โดยมองจากความเป็นจริงว่าสามารถยึดครองพื้นที่ได้และสร้างระเบียบการเมืองขึ้นใหม่ (a new political order) โดยมีคุณสมบัติของการเป็นรัฐครบถ้วน คือ มีประชากร มีอาณาเขตที่ดินและมีรัฐบาลที่สามารถรักษากฎหมายความเป็นระเบียบ (law and order) ภายในประเทศได้ ดังนั้น ถ้ากลุ่มที่ยึดอำนาจรัฐได้มีคุณสมบัติดังที่กล่าวมาแล้วก็ต้องถือว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์ ยกเว้นแต่สถานการณ์ยังก้ำกึ่งอยู่ เช่น อยู่ในสภาวะสงครามกลางเมือง มีลักษณะอนาธิปไตย
ในทางรัฐศาสตร์นั้นอาจถือเอาความเป็นจริงมากำหนดเป็นความยอมรับทางการเมือง แม้จะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม ซึ่งกรณีเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยากที่จะรับสำหรับคนที่มีหลักการมั่นคง เพราะสิ่งที่ผิดย่อมจะผิด จะกลายเป็นถูกไม่ได้ ถ้ายอมรับสิ่งที่ผิดมาเป็นสิ่งที่ถูกก็เป็นการยอมรับอำนาจดิบ (raw power) ซึ่งเป็นระยะต้นของการตั้งรัฐ โดยคนที่แข็งแรงที่สุดในสังคมที่คนอื่นเกรงกลัวจะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐและสถาปนาความเป็นรัฐและครองความเป็นรัฏฐาธิปัตย์โดยคนไม่กล้าขัดขืน การสนับสนุนรัฐเช่นนี้เป็นการสนับสนุนจากความกลัว (fear) ไม่ใช่เกิดจากการยอมรับตามข้อตกลงสัญญาประชาคม (social contract)
อย่างไรก็ตาม เมื่อความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด และเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นอนาธิปไตย และเพื่อให้สังคมดำเนินต่อไปได้ ทั้งประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง ก็ต้องยอมรับสภาพดังกล่าวเพราะไม่มีทางเลือก โดยหวังว่าถึงจุดๆ หนึ่งความถูกจ้องตามกฎหมายและความมีเหตุมีผล หรือแม้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเพณีก็จะตามมา เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว มีคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่จะขอยกมาให้พิจารณาประกอบ
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153-1154/2495 :
“…การล้มล้างรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐบาลใหม่โดยใช้กำลังนั้นในตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าประชาชนจะได้ยอมรับนับถือแล้ว เมื่อเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง คือหมายความว่าประชาชนได้ยอมรับนับถือแล้ว ผู้ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลดังกล่าวก็ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 102…”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 :
“…ข้อเท็จจริงได้ความว่าในพ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไขยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติ เพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์…”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512-1515/2497 :
“…คำว่า “รัฐบาล” ตามที่กล่าวไว้ในกฎหมายลักษณะอาญานั้น ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า “องค์การปกครองบ้านเมือง…รัฐบาลที่โจทก์หาว่าพวกจำเลยจะล้มล้างนั้นเป็นรัฐบาลที่ได้ตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้นคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ประกาศใช้ในกรณีที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลที่ดำรงอยู่ก่อน รัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ ได้เข้าครอบครองและบริหารราชการแผ่นดินด้วยความสำเร็จเด็ดขาด และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศไว้ได้ และตลอดมาเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลอันสมบูรณ์มาช้านานจนบัดนี้ ศาลไม่เห็นมีเหตุใดที่จะไม่ถือว่าเป็นรัฐบาลอันไม่ชอบธรรมตามความเป็นจริง อันปรากฏประจักษ์แจ้งอย่างชัดเจน”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505 :
“ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อในพ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยความแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 ดังนั้นประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองเช่นนั้นได้…”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523 :
“…แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ ประกาศหรือคำสั่งนั้นจึงยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่…” จาก “ความคิดของหยุด แสงอุทัย ในปรัชญากฎหมาย” http://www.sameskybooks.org/2008/04/05/thai-legal-philosophy
จากที่กล่าวมาเบื้องต้นจะเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลเกี่ยวพันโดยตรงกับการเมือง คือ การยอมรับความเป็นรัฐบาลของกลุ่มที่ยึดอำนาจได้สำเร็จจากการรัฐประหาร ซึ่งเท่ากับยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์เนื่องจากความสามารถในการคุมอำนาจรัฐได้
คำวินิจฉัยที่ยกมาให้พิจารณานั้น ย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันโดยเฉพาะระหว่างหลักการกับความเป็นจริง ถ้ายอมรับอำนาจจากการใช้กำลังก็เท่ากับยอมรับว่าอำนาจเป็นธรรม (might is right) แต่ถ้าไม่ยอมรับก็เท่ากับการเปิดประตูไปสู่ความเป็นอนาธิปไตย (anarchy) จนนำไปสู่กลียุคและสงครามกลางเมืองได้ กรณีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่มีลักษณะขาวและดำ
ประเด็นที่ว่า ศาลสถิตยุติธรรมซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นองค์กรและกลุ่มบุคคลที่เชี่ยวชาญทางกฎหมาย มีภารกิจในการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมด้วยการพิจารณาอรรถคดี มีบทบาทในทางการเมืองและการปกครองด้วยหรือไม่ ก็เห็นได้ชัดว่าจากคำวินิจฉัยที่กล่าวมาเบื้องต้นย่อมส่งผลในทางการเมืองและการปกครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะขยายความคำตอบจากการตีความในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะปี 2540 หรือ 2550 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
ซึ่งในกรณีของรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มีการกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ 3 อำนาจ รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) อำนาจดังกล่าวแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านสามสถาบันหลักเบื้องต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ศาลซึ่งได้แก่ศาลสถิตยุติธรรมและศาลอื่นทั้งที่เป็นศาลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง หรือไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองก็ตาม ต่างอยู่ในอำนาจที่สามนี้ทั้งสิ้น ภารกิจของศาลจึงมีสองส่วนด้วยกัน ส่วนที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวเนื่องกับอรรถคดี และส่วนซึ่งเกี่ยวข้องกับการเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย
การวินิจฉัยคดีโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือตัวนักการเมือง ซึ่งผลการวินิจฉัยจะส่งผลกระทบต่อการครองอำนาจรัฐรวมทั้งระบบการเมืองการปกครอง ย่อมจะมีลักษณะที่เป็นการเมืองการปกครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การวินิจฉัยคดี เช่น คดีการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งทรัพย์สินก็ดี การฉ้อราษฎร์บังหลวงก็ดี ฯลฯ แม้จะไม่ใช่คดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงแต่ก็ส่งผลต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือส่งผลต่อการเมืองการปกครอง
ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะถ้าการวินิจฉัยอรรถคดีตามปกติซึ่งไม่ส่งผลต่อการเมืองการปกครองนั้น ผู้พิพากษาจะต้องยืนตามหลักฐาน ความมีเหตุมีผลอื่นๆ แต่ในกรณีเรื่องที่มีผลหรือนัยทางการเมือง ข้อพิจารณาที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับคดีล้วนๆ แล้วยังอาจจะมีประเด็นที่เกี่ยวกับนัยทางการเมือง คำถามก็คือ ภารกิจของศาลหรือตุลาการในการพิจารณาคดีในคดีดังกล่าวนี้จะรวมไปถึงการพิจารณาบทบาทที่มีตามมาตรา 3 นี้ด้วยหรือไม่ หรือจะจำกัดอยู่ในกรอบของการพิจารณาเฉพาะคดีล้วนๆ โดยไม่คำนึงถึงนัยทางการเมืองที่จะตามมาไม่ว่าจะบวกหรือลบก็ตาม ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญและขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้พิพากษาเฉพาะบุคคล
คำวินิจฉัยซึ่งมีนัยทางการเมืองและการปกครองในคดีที่เกี่ยวกับการเมืองโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือเกี่ยวกับนักการเมือง หรือเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม หลักการใหญ่ของผู้พิพากษาและตุลาการก็คือ จะต้องธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมอย่างเคร่งครัด นี่เป็นประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นประเด็นที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสย้ำถึงความสำคัญของความยุติธรรมว่า
“.....ท่านก็เป็นผู้ที่เป็นประกันของความยุติธรรมของศาล และเป็นผู้จะสามารถรักษาความยุติธรรมให้บ้านเมือง ถ้าทำได้แล้วท่านก็จะเป็นคนที่ดี เป็นคนที่ช่วยบ้านเมืองให้อยู่ได้ ให้ปลอดโปร่งได้ ขอให้ท่านได้พยายามทำเพื่อที่ให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป มีขื่อมีแปก็หมายความว่ามีความสุข ความยุติธรรม
ถ้าท่านรักษาความยุติธรรม ได้แท้ๆ ท่านจะเป็นผู้ที่ได้ทำ ได้ช่วยให้บ้านเมืองอยู่ได้ ถ้าไม่มีความยุติธรรมบ้านเมืองอยู่ไม่ได้ เพราะคนก็จะสงสัยอยู่เสมอ จะต้องไม่ให้มีความสงสัยในบ้านเมือง แต่บ้านเมืองต้องมีแต่ความยุติธรรม ฉะนั้นก็ขอร้องให้ท่านได้พยายามและรักษาความยุติธรรมแท้ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่เชื่อว่า ท่านตั้งใจจะทำ ก็ขอให้ท่านตั้งใจรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง การรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองนี้ก็เหมือนกับง่ายๆ คือ ท่านเป็นผู้พิพากษา ถ้ารู้จักความเป็นผู้พิพากษาสักนิดเดียวก็จะไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ฉะนั้นขอให้ท่านรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองตามความรู้ที่ท่านได้ฝึกฝนมาด้วยการเรียนและการปฏิบัติ แต่ว่า ถ้าทำได้ก็จะเป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นเรื่องที่ยาก ถ้าทำได้ท่านก็จะเป็นวีรบุรุษของบ้านเมืองเป็นผู้ที่รักษาความยุติธรรม ฉะนั้นขอให้ท่านวางตัวเป็นวีรบุรุษรักษาความเรียบร้อยของบ้านเมือง...... ขอให้ท่านรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของศาลของระบบยุติธรรม ......” จาก ข่าวศาลยุติธรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 84 (วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2551)
ในทางรัฐศาสตร์นั้นอาจถือเอาความเป็นจริงมากำหนดเป็นความยอมรับทางการเมือง แม้จะไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ตาม ซึ่งกรณีเช่นนี้เป็นสิ่งที่ยากที่จะรับสำหรับคนที่มีหลักการมั่นคง เพราะสิ่งที่ผิดย่อมจะผิด จะกลายเป็นถูกไม่ได้ ถ้ายอมรับสิ่งที่ผิดมาเป็นสิ่งที่ถูกก็เป็นการยอมรับอำนาจดิบ (raw power) ซึ่งเป็นระยะต้นของการตั้งรัฐ โดยคนที่แข็งแรงที่สุดในสังคมที่คนอื่นเกรงกลัวจะเป็นผู้ใช้อำนาจรัฐและสถาปนาความเป็นรัฐและครองความเป็นรัฏฐาธิปัตย์โดยคนไม่กล้าขัดขืน การสนับสนุนรัฐเช่นนี้เป็นการสนับสนุนจากความกลัว (fear) ไม่ใช่เกิดจากการยอมรับตามข้อตกลงสัญญาประชาคม (social contract)
อย่างไรก็ตาม เมื่อความเป็นจริงเป็นตัวกำหนด และเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็นอนาธิปไตย และเพื่อให้สังคมดำเนินต่อไปได้ ทั้งประชาชนและผู้เกี่ยวข้อง ก็ต้องยอมรับสภาพดังกล่าวเพราะไม่มีทางเลือก โดยหวังว่าถึงจุดๆ หนึ่งความถูกจ้องตามกฎหมายและความมีเหตุมีผล หรือแม้พัฒนาไปสู่ความเป็นประเพณีก็จะตามมา เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าว มีคำวินิจฉัยของศาลฎีกาที่จะขอยกมาให้พิจารณาประกอบ
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1153-1154/2495 :
“…การล้มล้างรัฐบาลเก่าตั้งเป็นรัฐบาลใหม่โดยใช้กำลังนั้นในตอนต้นอาจไม่ชอบด้วยกฎหมายจนกว่าประชาชนจะได้ยอมรับนับถือแล้ว เมื่อเป็นรัฐบาลที่ถูกต้องตามความเป็นจริง คือหมายความว่าประชาชนได้ยอมรับนับถือแล้ว ผู้ก่อการกบฏล้มล้างรัฐบาลดังกล่าวก็ต้องเป็นความผิดตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 102…”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 :
“…ข้อเท็จจริงได้ความว่าในพ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศได้เป็นผลสำเร็จ การบริหารประเทศชาติในลักษณะเช่นนี้ คณะรัฐประหารย่อมมีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลง แก้ไขยกเลิกและออกกฎหมายตามระบบแห่งการปฏิวัติ เพื่อบริหารประเทศชาติต่อไป มิฉะนั้นประเทศชาติจะตั้งด้วยความสงบไม่ได้ ดังนั้นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ.2490 จึงเป็นกฎหมายอันสมบูรณ์…”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1512-1515/2497 :
“…คำว่า “รัฐบาล” ตามที่กล่าวไว้ในกฎหมายลักษณะอาญานั้น ไม่มีบทวิเคราะห์ศัพท์ไว้ แต่ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานแปลว่า “องค์การปกครองบ้านเมือง…รัฐบาลที่โจทก์หาว่าพวกจำเลยจะล้มล้างนั้นเป็นรัฐบาลที่ได้ตั้งขึ้นตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้นคือรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2490 ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ได้ประกาศใช้ในกรณีที่มีการรัฐประหารยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลที่ดำรงอยู่ก่อน รัฐบาลที่ตั้งขึ้นใหม่ ได้เข้าครอบครองและบริหารราชการแผ่นดินด้วยความสำเร็จเด็ดขาด และรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศไว้ได้ และตลอดมาเป็นที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปว่าเป็นรัฐบาลอันสมบูรณ์มาช้านานจนบัดนี้ ศาลไม่เห็นมีเหตุใดที่จะไม่ถือว่าเป็นรัฐบาลอันไม่ชอบธรรมตามความเป็นจริง อันปรากฏประจักษ์แจ้งอย่างชัดเจน”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1662/2505 :
“ศาลฎีกาเห็นว่า เมื่อในพ.ศ. 2501 คณะปฏิวัติได้ทำการยึดอำนาจปกครองประเทศไทยได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบ้านเมือง ข้อความใดที่หัวหน้าคณะปฏิวัติสั่งบังคับประชาชนก็ต้องถือว่าเป็นกฎหมาย แม้พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงตราออกมาด้วยความแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎรหรือสภานิติบัญญัติของประเทศก็ตาม ดังนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 45/2496 ดังนั้นประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 21 (บุคคลอันธพาล) ซึ่งประกาศคำสั่งของหัวหน้าคณะปฏิวัติบังคับแก่ประชาชนดังกล่าวข้างต้นเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในการปกครองเช่นนั้นได้…”
- คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523 :
“…แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยออกประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่ก็หาได้มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินไม่ ประกาศหรือคำสั่งนั้นจึงยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่…” จาก “ความคิดของหยุด แสงอุทัย ในปรัชญากฎหมาย” http://www.sameskybooks.org/2008/04/05/thai-legal-philosophy
จากที่กล่าวมาเบื้องต้นจะเห็นว่าคำวินิจฉัยของศาลเกี่ยวพันโดยตรงกับการเมือง คือ การยอมรับความเป็นรัฐบาลของกลุ่มที่ยึดอำนาจได้สำเร็จจากการรัฐประหาร ซึ่งเท่ากับยอมรับความเป็นรัฏฐาธิปัตย์เนื่องจากความสามารถในการคุมอำนาจรัฐได้
คำวินิจฉัยที่ยกมาให้พิจารณานั้น ย่อมมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันโดยเฉพาะระหว่างหลักการกับความเป็นจริง ถ้ายอมรับอำนาจจากการใช้กำลังก็เท่ากับยอมรับว่าอำนาจเป็นธรรม (might is right) แต่ถ้าไม่ยอมรับก็เท่ากับการเปิดประตูไปสู่ความเป็นอนาธิปไตย (anarchy) จนนำไปสู่กลียุคและสงครามกลางเมืองได้ กรณีนี้จึงไม่ใช่กรณีที่มีลักษณะขาวและดำ
ประเด็นที่ว่า ศาลสถิตยุติธรรมซึ่งคนส่วนใหญ่มองว่าเป็นองค์กรและกลุ่มบุคคลที่เชี่ยวชาญทางกฎหมาย มีภารกิจในการผดุงไว้ซึ่งความยุติธรรมด้วยการพิจารณาอรรถคดี มีบทบาทในทางการเมืองและการปกครองด้วยหรือไม่ ก็เห็นได้ชัดว่าจากคำวินิจฉัยที่กล่าวมาเบื้องต้นย่อมส่งผลในทางการเมืองและการปกครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้อาจจะขยายความคำตอบจากการตีความในมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญไม่ว่าจะปี 2540 หรือ 2550 ซึ่งได้บัญญัติไว้ว่า “อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”
ซึ่งในกรณีของรัฐธรรมนูญปี 2550 ได้มีการกล่าวถึงการปฏิบัติหน้าที่ของ 3 อำนาจ รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญและหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
ภายใต้ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน (popular sovereignty) อำนาจดังกล่าวแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ นิติบัญญัติ บริหารและตุลาการ โดยพระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจนั้นผ่านสามสถาบันหลักเบื้องต้น เมื่อเป็นเช่นนี้ศาลซึ่งได้แก่ศาลสถิตยุติธรรมและศาลอื่นทั้งที่เป็นศาลที่เกี่ยวกับการเมืองการปกครอง หรือไม่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองก็ตาม ต่างอยู่ในอำนาจที่สามนี้ทั้งสิ้น ภารกิจของศาลจึงมีสองส่วนด้วยกัน ส่วนที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวเนื่องกับอรรถคดี และส่วนซึ่งเกี่ยวข้องกับการเป็นหนึ่งในสามอำนาจอธิปไตย
การวินิจฉัยคดีโดยเฉพาะคดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหรือตัวนักการเมือง ซึ่งผลการวินิจฉัยจะส่งผลกระทบต่อการครองอำนาจรัฐรวมทั้งระบบการเมืองการปกครอง ย่อมจะมีลักษณะที่เป็นการเมืองการปกครองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การวินิจฉัยคดี เช่น คดีการปกปิดข้อมูลเกี่ยวกับการแจ้งทรัพย์สินก็ดี การฉ้อราษฎร์บังหลวงก็ดี ฯลฯ แม้จะไม่ใช่คดีที่เกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรงแต่ก็ส่งผลต่อระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย หรือส่งผลต่อการเมืองการปกครอง
ตรงนี้เป็นเรื่องสำคัญยิ่งเพราะถ้าการวินิจฉัยอรรถคดีตามปกติซึ่งไม่ส่งผลต่อการเมืองการปกครองนั้น ผู้พิพากษาจะต้องยืนตามหลักฐาน ความมีเหตุมีผลอื่นๆ แต่ในกรณีเรื่องที่มีผลหรือนัยทางการเมือง ข้อพิจารณาที่เกิดขึ้นนอกจากจะเป็นกรณีที่เกี่ยวกับคดีล้วนๆ แล้วยังอาจจะมีประเด็นที่เกี่ยวกับนัยทางการเมือง คำถามก็คือ ภารกิจของศาลหรือตุลาการในการพิจารณาคดีในคดีดังกล่าวนี้จะรวมไปถึงการพิจารณาบทบาทที่มีตามมาตรา 3 นี้ด้วยหรือไม่ หรือจะจำกัดอยู่ในกรอบของการพิจารณาเฉพาะคดีล้วนๆ โดยไม่คำนึงถึงนัยทางการเมืองที่จะตามมาไม่ว่าจะบวกหรือลบก็ตาม ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่สำคัญและขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้พิพากษาเฉพาะบุคคล
คำวินิจฉัยซึ่งมีนัยทางการเมืองและการปกครองในคดีที่เกี่ยวกับการเมืองโดยตรงหรือโดยอ้อม หรือเกี่ยวกับนักการเมือง หรือเกี่ยวกับประเด็นทางการเมือง จึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กรณีจะเป็นอย่างไรก็ตาม หลักการใหญ่ของผู้พิพากษาและตุลาการก็คือ จะต้องธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมอย่างเคร่งครัด นี่เป็นประเด็นสำคัญที่สุด ซึ่งเป็นประเด็นที่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้มีพระราชดำรัสย้ำถึงความสำคัญของความยุติธรรมว่า
“.....ท่านก็เป็นผู้ที่เป็นประกันของความยุติธรรมของศาล และเป็นผู้จะสามารถรักษาความยุติธรรมให้บ้านเมือง ถ้าทำได้แล้วท่านก็จะเป็นคนที่ดี เป็นคนที่ช่วยบ้านเมืองให้อยู่ได้ ให้ปลอดโปร่งได้ ขอให้ท่านได้พยายามทำเพื่อที่ให้บ้านเมืองมีขื่อมีแป มีขื่อมีแปก็หมายความว่ามีความสุข ความยุติธรรม
ถ้าท่านรักษาความยุติธรรม ได้แท้ๆ ท่านจะเป็นผู้ที่ได้ทำ ได้ช่วยให้บ้านเมืองอยู่ได้ ถ้าไม่มีความยุติธรรมบ้านเมืองอยู่ไม่ได้ เพราะคนก็จะสงสัยอยู่เสมอ จะต้องไม่ให้มีความสงสัยในบ้านเมือง แต่บ้านเมืองต้องมีแต่ความยุติธรรม ฉะนั้นก็ขอร้องให้ท่านได้พยายามและรักษาความยุติธรรมแท้ๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมาก แต่เชื่อว่า ท่านตั้งใจจะทำ ก็ขอให้ท่านตั้งใจรักษาความยุติธรรมในบ้านเมือง การรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองนี้ก็เหมือนกับง่ายๆ คือ ท่านเป็นผู้พิพากษา ถ้ารู้จักความเป็นผู้พิพากษาสักนิดเดียวก็จะไม่ใช่เรื่องเสียหาย
ฉะนั้นขอให้ท่านรักษาความยุติธรรมในบ้านเมืองตามความรู้ที่ท่านได้ฝึกฝนมาด้วยการเรียนและการปฏิบัติ แต่ว่า ถ้าทำได้ก็จะเป็นเรื่องดี แต่ก็เป็นเรื่องที่ยาก ถ้าทำได้ท่านก็จะเป็นวีรบุรุษของบ้านเมืองเป็นผู้ที่รักษาความยุติธรรม ฉะนั้นขอให้ท่านวางตัวเป็นวีรบุรุษรักษาความเรียบร้อยของบ้านเมือง...... ขอให้ท่านรักษาความศักดิ์สิทธิ์ของศาลของระบบยุติธรรม ......” จาก ข่าวศาลยุติธรรม ปีที่ 9 ฉบับที่ 84 (วันศุกร์ที่ 16 พฤษภาคม 2551)