ผู้จัดการรายวัน- ศาลรัฐธรรมนูญตีแสกหน้า"ทักษิณ-พจมาน" อีกเปรี้ยง ยัน พ.ร.บ. ป.ป.ช.ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ แถมการันตีกฎหมายกำหนดขอบเขตเหมาะสม สมเหตุสมผล นอกจากนี้ยังมีมติรับคำร้อง กกต. กรณีให้ตีความคุณสมบัติ"หมัก" ชิมไปบ่นไป ขัดรัฐธรรมนูญหรือไม่ พร้อมนัดคู่กรณี ตรวจพยานหลักฐาน 21 ส.ค. นี้ ด้านส.ว. ยื่น ป.ป.ช.ไต่สวน "3 รมต.หวย" เอาผิดอาญามาตรา 157 ฐานยังไม่ยอมหยุดปฏิบัติหน้าที่ ขณะที่ทนายร้อง ผบ.ตร. ให้เอาผิด"หมัก" จากกรณ๊แต่งตั้ง"โกวิท" เป็นรองนายกฯและรมว.มหาดไทย
วานนี้ ( 5 ส.ค.) นาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมคณะตุลาการฯ ว่า ที่ประชุมคณะตุลาการฯ ได้มีการพิจารณากรณีศาลฎีกา ส่งคำโต้แย้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 100, 122 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 29, 50, ของรัฐธรรมนูญ 40 หรือไม่ และขัดหรือแย้งกับ มาตรา 3, 38 วรรค ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 และขัดหรือแย้งกับ มาตรา 26 , 27, 28, 29, 39 และ43 ของรัฐธรรมนูญ 50 หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า มาตรา 4 , 100, 122 ของพ.ร.บ. ป.ป.ช. ไม่ขัดหรือแย้งต่อ มาตรา 26 , 27, 28, 29, 39 และ 43 ของรัฐธรรมนูญ 50 เนื่องจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ป.ป.ช. ทั้ง 3 มาตรา มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง รวมทั้งยังบัญญัติทางแก้ไขเพื่อความเป็นธรรมไว้ด้วยว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดพิสูจน์ได้ว่า ตนไม่มีส่วนรู้เห็นยินยอมด้วยในการกระทำของคู่สมรส ให้ถือผู้นั้นไม่มีความผิด ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ถือว่ามีขอบเขตที่พอเหมาะพอควร สมเหตุสมผล ไม่เป็นการล่วงละเมิด ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินจำเป็นแต่อย่างใด
ส่วนที่คู่กรณีโต้แย้งมาตราอื่นว่า ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 40 และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 49 นั้น ตุลาการเห็นว่า รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับได้เลิกใช้ไปแล้ว ประกอบกับบทบัญญัติที่โต้แย้งก็คือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 50 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
นอกจากนี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ยังได้มีการพิจารณากรณี ประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องของส.ว.และกกต.ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี โดยคณะตุลาการมีมติให้รับคำร้องของ กกต.ไว้พิจารณา และให้รวมเข้ากับคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งมา และให้ยื่นคำร้องให้นายสมัคร เพื่อยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากลับมา ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับคำร้อง พร้อมกันนี้ตุลาการได้นัดให้คู่กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ครั้งแรก ในวันที่ 21 ส.ค.เวลา 09.30 น. เพื่อดูว่า พยานหลักฐานที่ได้มีการยื่นไว้ก่อนหน้านี้คู่กรณียอมรับกันได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตามระเบียบวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายสมัคร อาจมอบหมายผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้
นายไพบูลย์ ยังกล่าวอีกว่าที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งนัดอ่านคำวินิจฉัย กรณีคุณสมบัติของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ ว่าขัดหรือแย้งต่อมาตรา 182 วรรค 1(7) และมาตรา 269 ประกอบมาตรา 182 วรรค 3 และมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 6 ส.ค.นั้น คณะตุลาการฯ เห็นว่า เนื่องจากมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯให้ นายวิรุฬ พ้นจากความเป็นรมช.พาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยคดีอีกต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และงดการอ่านคำวินิจฉัยตามที่ได้นัดหมาย รวมทั้งจะแจ้งให้คู่กรณีทราบต่อไป
**ยื่นป.ป.ช.ไต่สวน3รมต.หวยผิด ม.157**
นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว. สรรหา พร้อมด้วย น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี แถลงว่า ได้เดินทางไปยื่นเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการไต่สวน 3 รัฐมนตรี ประกอบด้วย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม และนางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงาน ใน คดีหวยบนดิน ที่ผิดตาม มาตรา 157 ฐาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่ยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายระบุไว้ อีกทั้ง หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด จะยื่นเรื่องไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และดำเนินคดีด้วย
นอกจากนี้นายวรินทร์ กล่าวอีกว่าหาก ป.ป.ช. ต้องการจะให้ 3 รัฐมนตรี ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ต้องใช้ช่องทางของศาลปกครอง ทั้งนี้ หาก ส.ว. ดำเนินการไม่ได้ ต้องหาผู้เสียหายยื่นเรื่องแทน
ด้านนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม หนึ่งในรัฐมนตรี คดีหวยบนดิน กล่าวว่า กฤษฎีกาได้ชี้แจงต่อ ครม.ว่า ยังจะต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ป.ป.ช. หรืออัยการสูงสุด
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้บอกในที่ประชุมว่า งานที่รับผิดชอบของเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับคดีหวยบนดิน ให้ รมช.เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน จนกว่ากฤษฎีกาจะพิจารณาให้ ครม.รับทราบในอีก 2 สัปดาห์
ด้านคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงการทำความเห็นของกฤษฎีกา ที่มีต่อ 3 รัฐมนตรีหวย จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ว่า ยังไม่มีความคืบหน้า และยังทำความเห็นไม่เสร็จ ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของความเป็นมา เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกา อยากทราบลำดับความเป็นมาว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไร และใครบ้างที่เกี่ยวข้อง
**ร้องเอาผิด"หมัก"ตั้ง"โกวิท"มิชอบ**
วันเดียวกันนี้ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายโลมิรันดร์ บุตรจันทร์ ทนายความได้ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ผ่านสำนักงานเลขานุการตร.เพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีที่นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีโปลดเกล้าแต่งตั้ง ซึ่งมีชื่อ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปี ในข้อหาละเว้นและประพฤติมิชอบกรณีที่ พล.ต.ท.นิสสัย บุญศิริ ฟ้องร้องไม่ให้เออร์รี่รีไทร์ ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการประกันตัวในชั้นศาลอุทธรณ์ ถือว่านายสมัคร กระทำวขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550
นายโลมิรันดร์ กล่าวว่า มาร้องเรียนในฐานะส่วนตัวเพราะเห็นว่านายกรัฐมนตรี ทำไม่ถูกต้อง เอาคนที่มีปัญหาเข้าไปเป็นรัฐมนตรีต่อไปก็จะเกิดปัญหาในการบริหารงานอีก ทำให้ต้องเอาเวลาไปแก้ปัญหา ไม่มีเวลามาทำงานแก้ไขปัญหาให้ประชาชน รวมทั้งมีผลกระทบต่อสเถียรภาพของรัฐบาลว่าจะอยู่รอดหรือไม่ด้วย
ทั้งนี้หลังจากยื่นเรื่องแล้วภายใน 7 วันก็จะไปยื่นเรื่องนี้ต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีที่รัฐมนตรีขาดคุณสมบัติ ที่ตนเองเพิ่งออกมาเรียกร้องในตอนนี้เพราะที่ผ่านมาต้องรอข้อมูลตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อนซึ่งต้องใช้เวลา และคิดว่าออกมาเรียกร้องตอนนี้ไม่ได้ช้าไปเพราะเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติ
นายโลมิรันดร์ กล่าวต่อว่า ตนเองยังฝากกลอนไปถึงนายกฯ ที่ชอบพูดจาไม่สุภาพ ด่าทอสื่อมวลชนทั้งที่ต้องพูดจาให้เป็นแบบอย่างในฐานะรัฐมนตรี เป็นโคลงโลกนิติ ที่ว่า "ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ลือเล่า หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายดินแสลง"
วานนี้ ( 5 ส.ค.) นาย ไพบูลย์ วราหะไพฑูรย์ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมคณะตุลาการฯ ว่า ที่ประชุมคณะตุลาการฯ ได้มีการพิจารณากรณีศาลฎีกา ส่งคำโต้แย้งของ พ.ต.ท.ทักษิณ และคุณหญิง พจมาน ชินวัตร ที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญมาตรา 211 ว่า พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 4, 100, 122 ขัดหรือแย้งกับมาตรา 29, 50, ของรัฐธรรมนูญ 40 หรือไม่ และขัดหรือแย้งกับ มาตรา 3, 38 วรรค ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2549 และขัดหรือแย้งกับ มาตรา 26 , 27, 28, 29, 39 และ43 ของรัฐธรรมนูญ 50 หรือไม่ ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้ว มีมติเป็นเอกฉันท์ ว่า มาตรา 4 , 100, 122 ของพ.ร.บ. ป.ป.ช. ไม่ขัดหรือแย้งต่อ มาตรา 26 , 27, 28, 29, 39 และ 43 ของรัฐธรรมนูญ 50 เนื่องจากบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ป.ป.ช. ทั้ง 3 มาตรา มีเนื้อหาสอดคล้องกับหลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบ ของเจ้าหน้าที่รัฐระดับสูง รวมทั้งยังบัญญัติทางแก้ไขเพื่อความเป็นธรรมไว้ด้วยว่า หากเจ้าหน้าที่รัฐผู้ใดพิสูจน์ได้ว่า ตนไม่มีส่วนรู้เห็นยินยอมด้วยในการกระทำของคู่สมรส ให้ถือผู้นั้นไม่มีความผิด ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนั้น ถือว่ามีขอบเขตที่พอเหมาะพอควร สมเหตุสมผล ไม่เป็นการล่วงละเมิด ต่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ จำกัดสิทธิเสรีภาพเกินจำเป็นแต่อย่างใด
ส่วนที่คู่กรณีโต้แย้งมาตราอื่นว่า ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ 40 และรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 49 นั้น ตุลาการเห็นว่า รัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับได้เลิกใช้ไปแล้ว ประกอบกับบทบัญญัติที่โต้แย้งก็คือบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ 50 จึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัย
นอกจากนี้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ยังได้มีการพิจารณากรณี ประธานวุฒิสภา ส่งคำร้องของส.ว.และกกต.ส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยการสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรี ของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี โดยคณะตุลาการมีมติให้รับคำร้องของ กกต.ไว้พิจารณา และให้รวมเข้ากับคำร้องที่ประธานวุฒิสภาส่งมา และให้ยื่นคำร้องให้นายสมัคร เพื่อยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากลับมา ภายใน 15 วันนับแต่ได้รับคำร้อง พร้อมกันนี้ตุลาการได้นัดให้คู่กรณีมีการตรวจพยานหลักฐาน ครั้งแรก ในวันที่ 21 ส.ค.เวลา 09.30 น. เพื่อดูว่า พยานหลักฐานที่ได้มีการยื่นไว้ก่อนหน้านี้คู่กรณียอมรับกันได้หรือไม่ ทั้งนี้ ตามระเบียบวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญนั้น นายสมัคร อาจมอบหมายผู้อื่นมาดำเนินการแทนได้
นายไพบูลย์ ยังกล่าวอีกว่าที่ประชุมยังได้มีการพิจารณาในประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งนัดอ่านคำวินิจฉัย กรณีคุณสมบัติของนายวิรุฬ เตชะไพบูลย์ รมช.พาณิชย์ ว่าขัดหรือแย้งต่อมาตรา 182 วรรค 1(7) และมาตรา 269 ประกอบมาตรา 182 วรรค 3 และมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่ ในวันที่ 6 ส.ค.นั้น คณะตุลาการฯ เห็นว่า เนื่องจากมีพระบรมราชโอการโปรดเกล้าฯให้ นายวิรุฬ พ้นจากความเป็นรมช.พาณิชย์ ตั้งแต่วันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมา จึงไม่มีประโยชน์ที่จะวินิจฉัยคดีอีกต่อไป จึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบ และงดการอ่านคำวินิจฉัยตามที่ได้นัดหมาย รวมทั้งจะแจ้งให้คู่กรณีทราบต่อไป
**ยื่นป.ป.ช.ไต่สวน3รมต.หวยผิด ม.157**
นายวรินทร์ เทียมจรัส ส.ว. สรรหา พร้อมด้วย น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี แถลงว่า ได้เดินทางไปยื่นเรื่องให้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งคณะกรรมการไต่สวน 3 รัฐมนตรี ประกอบด้วย นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.คลังนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม และนางอุไรวรรณ เทียนทอง รมว.แรงงาน ใน คดีหวยบนดิน ที่ผิดตาม มาตรา 157 ฐาน ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ที่ไม่ยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามที่กฎหมายระบุไว้ อีกทั้ง หาก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิด จะยื่นเรื่องไปที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และดำเนินคดีด้วย
นอกจากนี้นายวรินทร์ กล่าวอีกว่าหาก ป.ป.ช. ต้องการจะให้ 3 รัฐมนตรี ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ต้องใช้ช่องทางของศาลปกครอง ทั้งนี้ หาก ส.ว. ดำเนินการไม่ได้ ต้องหาผู้เสียหายยื่นเรื่องแทน
ด้านนายอนุรักษ์ จุรีมาศ รมช.คมนาคม หนึ่งในรัฐมนตรี คดีหวยบนดิน กล่าวว่า กฤษฎีกาได้ชี้แจงต่อ ครม.ว่า ยังจะต้องขอข้อมูลเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้ง ป.ป.ช. หรืออัยการสูงสุด
ทั้งนี้นายกรัฐมนตรี ได้บอกในที่ประชุมว่า งานที่รับผิดชอบของเจ้ากระทรวงที่เกี่ยวข้องกับคดีหวยบนดิน ให้ รมช.เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ไปก่อน จนกว่ากฤษฎีกาจะพิจารณาให้ ครม.รับทราบในอีก 2 สัปดาห์
ด้านคุณพรทิพย์ จาละ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา กล่าวถึงการทำความเห็นของกฤษฎีกา ที่มีต่อ 3 รัฐมนตรีหวย จะต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ ว่า ยังไม่มีความคืบหน้า และยังทำความเห็นไม่เสร็จ ต้องขอข้อมูลเพิ่มเติม จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในเรื่องของความเป็นมา เพราะคณะกรรมการกฤษฎีกา อยากทราบลำดับความเป็นมาว่าเริ่มตั้งแต่เมื่อไร และใครบ้างที่เกี่ยวข้อง
**ร้องเอาผิด"หมัก"ตั้ง"โกวิท"มิชอบ**
วันเดียวกันนี้ ที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) นายโลมิรันดร์ บุตรจันทร์ ทนายความได้ยื่นหนังสือถึง พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ ผบ.ตร.ผ่านสำนักงานเลขานุการตร.เพื่อให้ดำเนินคดีอาญากับนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีข้อหาปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กรณีที่นำรายชื่อคณะรัฐมนตรีโปลดเกล้าแต่งตั้ง ซึ่งมีชื่อ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ซึ่งขาดคุณสมบัติ เนื่องจากถูกศาลอาญาพิพากษาให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปี ในข้อหาละเว้นและประพฤติมิชอบกรณีที่ พล.ต.ท.นิสสัย บุญศิริ ฟ้องร้องไม่ให้เออร์รี่รีไทร์ ซึ่งขณะนี้คดีอยู่ระหว่างการประกันตัวในชั้นศาลอุทธรณ์ ถือว่านายสมัคร กระทำวขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญปี 2550
นายโลมิรันดร์ กล่าวว่า มาร้องเรียนในฐานะส่วนตัวเพราะเห็นว่านายกรัฐมนตรี ทำไม่ถูกต้อง เอาคนที่มีปัญหาเข้าไปเป็นรัฐมนตรีต่อไปก็จะเกิดปัญหาในการบริหารงานอีก ทำให้ต้องเอาเวลาไปแก้ปัญหา ไม่มีเวลามาทำงานแก้ไขปัญหาให้ประชาชน รวมทั้งมีผลกระทบต่อสเถียรภาพของรัฐบาลว่าจะอยู่รอดหรือไม่ด้วย
ทั้งนี้หลังจากยื่นเรื่องแล้วภายใน 7 วันก็จะไปยื่นเรื่องนี้ต่อศาลปกครองสูงสุดกรณีที่รัฐมนตรีขาดคุณสมบัติ ที่ตนเองเพิ่งออกมาเรียกร้องในตอนนี้เพราะที่ผ่านมาต้องรอข้อมูลตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้องเสียก่อนซึ่งต้องใช้เวลา และคิดว่าออกมาเรียกร้องตอนนี้ไม่ได้ช้าไปเพราะเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติ
นายโลมิรันดร์ กล่าวต่อว่า ตนเองยังฝากกลอนไปถึงนายกฯ ที่ชอบพูดจาไม่สุภาพ ด่าทอสื่อมวลชนทั้งที่ต้องพูดจาให้เป็นแบบอย่างในฐานะรัฐมนตรี เป็นโคลงโลกนิติ ที่ว่า "ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร มารยาทส่อสันดาน ชาติเชื้อ โฉดฉลาดเพราะคำขาน ลือเล่า หย่อมหญ้าเหี่ยวแห้งเรื้อ บอกร้ายดินแสลง"