รอยเตอร์ - ราคาน้ำมันหล่นทะลุระดับจิตวิทยา 120 ดอลลาร์ และยังไหลรูดต่อจนแตะ 118 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลแล้วเมื่อวานนี้ (5) อันเป็นระดับต่ำสุดในรอบสามเดือน เพราะนักลงทุนให้ความสนใจกับปริมาณน้ำมันของกลุ่มโอเปคที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งความต้องการใช้ที่ลดลงทั้งในสหรัฐฯและยุโรป
ปัจจัยทั้งสองประการทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก กำลังลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 147.27 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา และแม้ช่วงไม่กี่วันนี้ จะมีข่าวเรื่องพายุเอดูอาร์ดในอ่าวเม็กซิโกที่อาจส่งผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม สภาพเช่นนี้ทำให้นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ระลอกการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน ได้มาถึงจุดจบของมันแล้ว
"ตอนนี้พวกเฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่ก็เทขายทำกำไรกันทั้งนั้น" แองกัส แมคฟาอิล แห่งอะลายแอนซ์ ทรัสต์ บริษัทลงทุนในอังกฤษกล่าว
เขาเห็นว่าราคาน้ำมันอาจจะร่วงลงไปถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนหน้า หากว่ายังมีข้อมูลเรื่องความต้องการใช้ที่ลดลง ทะยอยออกมาอีกเรื่อยๆ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของสหรัฐฯ ได้ลดลง 3.69 ดอลลาร์ ปิดตลาดเมื่อคืนวันจันทร์(4)ที่ 121.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยการซื้อขายช่วงหนึ่งดิ่งทะลุหลัก 120 ดอลลาร์ ไปจนถึง 119.50 ดอลลาร์ทีเดียว ในขณะที่ราคาปิดของน้ำมันดิบเบรนต์ในลอนดอนก็ร่วงลง 3.50 เหรียญมาอยู่ที่ 120.38 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล
ต่อมาเมื่อวานนี้(5) ณ เวลา 9.30 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 16.30 น.เวลาเมืองไทย) ไลต์สวีตครูด ซื้อขายกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ลอนดอนด้วยราคา 119.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถอยลงจากปิดวันจันทร์อีก 2.28 ดอลลาร์ แถมมีช่วงหนึ่งตกลงมาจนถึง 118.00 ดอลลาร์ อันเป็นราคาต่ำสุดนับแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ส่วนเบรนต์ก็ลบลงมาเช่นกัน 2.20 ดอลลาร์ อยู่ที่ 118.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แม้ว่าพายุโซนร้อนเอดูอาร์ดจะกระหน่ำอ่าวเม็กซิโก และทำให้การผลิต การขนส่งรวมทั้งการกลั่นน้ำมันได้รับผลกระทบ แต่บรรดานักค้าตราสารน้ำมันก็ไม่คิดว่าพายุจะสร้างความเสียหายให้มากกว่านี้ได้
"ดูเหมือนว่าตลาดจะให้ความสนใจกับเรื่องความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และเรื่องพายุน้อยลงไปมาก และไปทุ่มเทให้กับเรื่องความต้องการที่ลดลง ขณะที่มีปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้นแทน" เอดเวิร์ด ไมร์ นักวิเคราะห์จากเอ็มเอฟ โกลบอลกล่าว
ในขณะเดียวกันการผลิตน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปกก็เพิ่มขึ้นอีกในเดือนกรกฎาคม ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สามแล้ว เพราะการเพิ่มกำลังการผลิตจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก
พวกเทรดเดอร์บอกว่า นักลงทุนยังกำลังรอฟังผลการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ที่จะออกมาในคืนวันอังคาร(5)ว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.0% ตามเดิมหรือไม่ ตอนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการควบคุมเงินเฟ้อไปด้วย
ปัจจัยทั้งสองประการทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก กำลังลดลงมาอย่างต่อเนื่อง จากระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 147.27 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมา และแม้ช่วงไม่กี่วันนี้ จะมีข่าวเรื่องพายุเอดูอาร์ดในอ่าวเม็กซิโกที่อาจส่งผลต่อกำลังการผลิตน้ำมันของสหรัฐฯ ตลอดจนความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯกับอิหร่านในเรื่องโครงการนิวเคลียร์ก็ตาม สภาพเช่นนี้ทำให้นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่า ระลอกการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมัน ได้มาถึงจุดจบของมันแล้ว
"ตอนนี้พวกเฮดจ์ฟันด์ส่วนใหญ่ก็เทขายทำกำไรกันทั้งนั้น" แองกัส แมคฟาอิล แห่งอะลายแอนซ์ ทรัสต์ บริษัทลงทุนในอังกฤษกล่าว
เขาเห็นว่าราคาน้ำมันอาจจะร่วงลงไปถึง 100 ดอลลาร์สหรัฐฯในเดือนหน้า หากว่ายังมีข้อมูลเรื่องความต้องการใช้ที่ลดลง ทะยอยออกมาอีกเรื่อยๆ
ทั้งนี้ ราคาน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูด ของสหรัฐฯ ได้ลดลง 3.69 ดอลลาร์ ปิดตลาดเมื่อคืนวันจันทร์(4)ที่ 121.41 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยการซื้อขายช่วงหนึ่งดิ่งทะลุหลัก 120 ดอลลาร์ ไปจนถึง 119.50 ดอลลาร์ทีเดียว ในขณะที่ราคาปิดของน้ำมันดิบเบรนต์ในลอนดอนก็ร่วงลง 3.50 เหรียญมาอยู่ที่ 120.38 ดอลลาร์ต่อหนึ่งบาร์เรล
ต่อมาเมื่อวานนี้(5) ณ เวลา 9.30 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 16.30 น.เวลาเมืองไทย) ไลต์สวีตครูด ซื้อขายกันผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ลอนดอนด้วยราคา 119.13 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ถอยลงจากปิดวันจันทร์อีก 2.28 ดอลลาร์ แถมมีช่วงหนึ่งตกลงมาจนถึง 118.00 ดอลลาร์ อันเป็นราคาต่ำสุดนับแต่วันที่ 5 พฤษภาคม ส่วนเบรนต์ก็ลบลงมาเช่นกัน 2.20 ดอลลาร์ อยู่ที่ 118.48 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
แม้ว่าพายุโซนร้อนเอดูอาร์ดจะกระหน่ำอ่าวเม็กซิโก และทำให้การผลิต การขนส่งรวมทั้งการกลั่นน้ำมันได้รับผลกระทบ แต่บรรดานักค้าตราสารน้ำมันก็ไม่คิดว่าพายุจะสร้างความเสียหายให้มากกว่านี้ได้
"ดูเหมือนว่าตลาดจะให้ความสนใจกับเรื่องความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และเรื่องพายุน้อยลงไปมาก และไปทุ่มเทให้กับเรื่องความต้องการที่ลดลง ขณะที่มีปริมาณน้ำมันเพิ่มขึ้นแทน" เอดเวิร์ด ไมร์ นักวิเคราะห์จากเอ็มเอฟ โกลบอลกล่าว
ในขณะเดียวกันการผลิตน้ำมันจากกลุ่มประเทศโอเปกก็เพิ่มขึ้นอีกในเดือนกรกฎาคม ซึ่งนับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่สามแล้ว เพราะการเพิ่มกำลังการผลิตจากซาอุดีอาระเบีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในโลก
พวกเทรดเดอร์บอกว่า นักลงทุนยังกำลังรอฟังผลการตัดสินใจของธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ที่จะออกมาในคืนวันอังคาร(5)ว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2.0% ตามเดิมหรือไม่ ตอนนี้ธนาคารกลางสหรัฐฯกำลังอยู่ในภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เพราะต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องการควบคุมเงินเฟ้อไปด้วย