ผู้จัดการรายวัน - รัฐบาลเอาอีกแล้ว ปั่นโครงการหาเงินเตรียมเลือกตั้ง ไฟเขียว 3 โปรเจกต์ใหญ่นำร่องลงทุนระหว่างภาครัฐและอกชน ปัดฝุ่นทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองงบเกือบ 2 แสนล้านบาท สร้างโรงพยาบาลให้เอกชนออกแบบ-ก่อสร้าง รัฐจ่ายเงิน และให้เอกชนร่วมทุนในอุทยานแห่งชาติ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 ส.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือ ในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership Committee) ครั้งที่ 1 / 2551 โดยมีนายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเข้าประชุมด้วย โดยได้รับหลักการ 3 โครงการนำร่อง ประกอบด้วย
1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (บางปะอิน-โคราช) ระยะทาง 199 กิโลเมตร ที่อยู่ในแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เร่งด่วนระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2550 - 2560) รวมระยะทาง 730 กิโลเมตร งบประมาณ 170,050 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนก่อสร้าง 10 ปี ประกอบด้วย สายบางประอิน-สระบุรี-นครราชสีมา งบประมาณก่อสร้าง 59,150 ล้านบาท สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ค่าก่อสร้าง 24,040 ล้านบาท สายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ค่าก่อสร้าง 38,200 ล้านบาท สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ค่าก่อสร้าง 10,500 ล้านบาท และสายบางปะอิน-นครสวรรค์ ค่าก่อสร้าง 38,160 ล้านบาท
โดยกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาใน 2 รูปแบบ คือ (1) จัดตั้งกองทุน Toll Road Investment Trust เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชน และ (2) จัดทำสัญญา Built - Operate - Transfer โดยภาครัฐอุดหนุนรายได้ให้ผลตอบแทนโครงการให้เป็นที่สนใจจากภาคเอกชน
สำหรับโครงการดังกล่าว ดำเนินตามมติครม.วันที่ 22 เม.ย.2540 ในโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 13 เส้นทาง วงเงิน 472,360 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการไปแล้ว 2 เส้นทาง คือ สายกรุงเทพ-ชลบุรี และสายวงแวนรอบนอกด้านตะวันออก
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมนายกรัฐมนตรี เห็นว่า โครงการทั้ง 5 เส้นทางที่จะมีการดำเนินการในกรอบ 10 ปีนั้น ได้ให้กรมทางหลวงไปศึกษาว่าโครงการใดจะสามารถดำเนินการก่อน โดยยังไม่เห็นชอบทั้งหมด
สำหรับโครงการที่ 2. เป็น โครงการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ โดยวิธี PPP ที่มีประเด็นสำคัญในเรื่องพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มเป้าหมาย เป็นโครงการภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล มีขีดความสามารถและศักยภาพในการระดมทุน โดยสามารถ มีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงการให้บริการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้
ทั้งนี้ เป็นโครงการการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างภาคเอกชนและกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐ โดยภาคเอกชนจะจัดหาเงินทุน ออกแบบ ก่อสร้าง จัดหาอุปกรณ์ การบริการ การบำรุงรักษา การบริหารบุคคลการแพทย์ ขณะที่ภาครัฐจะมีหน้าที่เพียงชำระเงินให้ภาคเอกชนสำหรับบริการด้านการแพทย์และด้านอื่น ๆ การให้ใบรับรองและใบอนุญาตการแพทย์ และเป็นผู้ติดตามผลเท่านั้น
ส่วนโครงการที่ 3. เป็นโครงการบริหารจัดการอุทยาน ที่มีหลักการและเหตุผล คือการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอุทยานจำเป็นต้องเข้าใจประเด็นปัญหา กำหนดหลักการให้ชัดเจนและจัดทำแผนแม่บท โดยเน้นการอนุรักษ์และพิจารณาความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การให้บริการประชาชนและการสร้างรายได้ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล สามารถมีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนได้
โดยเป็นโครงการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันยังได้กำหนด วันประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในวันที่ 3 ก.ย. 2551นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ทั้ง 3 โครงการถือเป็นโครงการนำร่องของคณะกรรมการ PPP ซึ่งผ่านการเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.นี้ โดยรัฐบาลระบุว่าเป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งเพื่อร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งได้เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP Unit) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการสร้างโรงพยาบาลที่ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐทั้งเรื่องจัดหาเงินทุตน ออกแบบก่อสร้าง จัดหาอุปกรณ์ การบริการแบะบริหารบุคลากรการแพทย์ ขณะที่ภาครัฐมีหน้าที่เพียงชำระเงินให้ภาคเอกชนนี้ ถือเป็นโครงการในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่รัฐบาลชุดนี้นำมาสานต่ออันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้องที่ทำธุรกิจให้เข้ามาดำเนินการโครงการนี้
เช่นเดียวกับโครงการให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการอุทยาน ก็ถือเป็น นโยบายเก่า สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ถูกวิจารณ์ว่าจะเอาเอกชนที่เป็นพรรคพวก ของตัวเองเข้ามาดำเนินการจากทรัพยากรของประเทศในอุทยานแห่งขาติต่างๆ
สำหรับโครงการก่อสร้างก่อสร้างทางหลวงระหว่างเมือง เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐบาลชุดนี้เร่งผลักดันอย่างมาก อาจหวังเงินหัวคิวจากการประมูลมาใช้ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (4 ส.ค.) นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายความร่วมมือ ในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP : Public Private Partnership Committee) ครั้งที่ 1 / 2551 โดยมีนายธีรพล นพรัมภา เลขาธิการนายกรัฐมนตรีเข้าประชุมด้วย โดยได้รับหลักการ 3 โครงการนำร่อง ประกอบด้วย
1. โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (บางปะอิน-โคราช) ระยะทาง 199 กิโลเมตร ที่อยู่ในแผนก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง เร่งด่วนระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2550 - 2560) รวมระยะทาง 730 กิโลเมตร งบประมาณ 170,050 ล้านบาท
ทั้งนี้ แผนก่อสร้าง 10 ปี ประกอบด้วย สายบางประอิน-สระบุรี-นครราชสีมา งบประมาณก่อสร้าง 59,150 ล้านบาท สายบางใหญ่-บ้านโป่ง-กาญจนบุรี ค่าก่อสร้าง 24,040 ล้านบาท สายชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ค่าก่อสร้าง 38,200 ล้านบาท สายนครปฐม-สมุทรสงคราม-ชะอำ ค่าก่อสร้าง 10,500 ล้านบาท และสายบางปะอิน-นครสวรรค์ ค่าก่อสร้าง 38,160 ล้านบาท
โดยกรมทางหลวงอยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาใน 2 รูปแบบ คือ (1) จัดตั้งกองทุน Toll Road Investment Trust เพื่อระดมทุนจากภาคเอกชน และ (2) จัดทำสัญญา Built - Operate - Transfer โดยภาครัฐอุดหนุนรายได้ให้ผลตอบแทนโครงการให้เป็นที่สนใจจากภาคเอกชน
สำหรับโครงการดังกล่าว ดำเนินตามมติครม.วันที่ 22 เม.ย.2540 ในโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 13 เส้นทาง วงเงิน 472,360 ล้านบาท โดยได้ดำเนินการไปแล้ว 2 เส้นทาง คือ สายกรุงเทพ-ชลบุรี และสายวงแวนรอบนอกด้านตะวันออก
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมนายกรัฐมนตรี เห็นว่า โครงการทั้ง 5 เส้นทางที่จะมีการดำเนินการในกรอบ 10 ปีนั้น ได้ให้กรมทางหลวงไปศึกษาว่าโครงการใดจะสามารถดำเนินการก่อน โดยยังไม่เห็นชอบทั้งหมด
สำหรับโครงการที่ 2. เป็น โครงการสร้างโรงพยาบาลแห่งใหม่ โดยวิธี PPP ที่มีประเด็นสำคัญในเรื่องพื้นที่ดำเนินการและกลุ่มเป้าหมาย เป็นโครงการภาครัฐตามนโยบายรัฐบาล มีขีดความสามารถและศักยภาพในการระดมทุน โดยสามารถ มีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงการให้บริการร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนได้
ทั้งนี้ เป็นโครงการการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างภาคเอกชนและกระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลของรัฐ โดยภาคเอกชนจะจัดหาเงินทุน ออกแบบ ก่อสร้าง จัดหาอุปกรณ์ การบริการ การบำรุงรักษา การบริหารบุคคลการแพทย์ ขณะที่ภาครัฐจะมีหน้าที่เพียงชำระเงินให้ภาคเอกชนสำหรับบริการด้านการแพทย์และด้านอื่น ๆ การให้ใบรับรองและใบอนุญาตการแพทย์ และเป็นผู้ติดตามผลเท่านั้น
ส่วนโครงการที่ 3. เป็นโครงการบริหารจัดการอุทยาน ที่มีหลักการและเหตุผล คือการให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการอุทยานจำเป็นต้องเข้าใจประเด็นปัญหา กำหนดหลักการให้ชัดเจนและจัดทำแผนแม่บท โดยเน้นการอนุรักษ์และพิจารณาความเหมาะสมในการใช้พื้นที่เพื่อการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ การให้บริการประชาชนและการสร้างรายได้ เป็นโครงการที่เป็นประโยชน์และเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล สามารถมีสัญญาระยะยาวเป็นข้อตกลงร่วมกันระหว่างภาครัฐและเอกชนได้
โดยเป็นโครงการที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้จัดตั้งคณะทำงานความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ขณะเดียวกันยังได้กำหนด วันประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ในวันที่ 3 ก.ย. 2551นี้
รายงานข่าวแจ้งว่า ทั้ง 3 โครงการถือเป็นโครงการนำร่องของคณะกรรมการ PPP ซึ่งผ่านการเห็นชอบจาก ครม. เมื่อวันที่ 3 มิ.ย.นี้ โดยรัฐบาลระบุว่าเป็นคณะกรรมการที่จัดตั้งเพื่อร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน รวมทั้งได้เห็นชอบให้จัดตั้งสำนักงานความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP Unit) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
อย่างไรก็ตามสำหรับโครงการสร้างโรงพยาบาลที่ให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐทั้งเรื่องจัดหาเงินทุตน ออกแบบก่อสร้าง จัดหาอุปกรณ์ การบริการแบะบริหารบุคลากรการแพทย์ ขณะที่ภาครัฐมีหน้าที่เพียงชำระเงินให้ภาคเอกชนนี้ ถือเป็นโครงการในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี ที่รัฐบาลชุดนี้นำมาสานต่ออันเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองและพวกพ้องที่ทำธุรกิจให้เข้ามาดำเนินการโครงการนี้
เช่นเดียวกับโครงการให้เอกชนเข้ามาบริหารจัดการอุทยาน ก็ถือเป็น นโยบายเก่า สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ถูกวิจารณ์ว่าจะเอาเอกชนที่เป็นพรรคพวก ของตัวเองเข้ามาดำเนินการจากทรัพยากรของประเทศในอุทยานแห่งขาติต่างๆ
สำหรับโครงการก่อสร้างก่อสร้างทางหลวงระหว่างเมือง เป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐบาลชุดนี้เร่งผลักดันอย่างมาก อาจหวังเงินหัวคิวจากการประมูลมาใช้ในการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในเร็วๆ นี้