ผู้จัดการรายวัน - กองทุนรวมติดเครื่อง เผย 7 เดือนแรกเงินไหลเข้า 34,259.83 ล้านบาท คิดเป็นการเติบโต 2.4% โดยได้กองทุนเอฟไอเอฟตราสารหนี้เป็นพระเอก ดึงเงินลงทุนสู้เงินฝากแบงก์ ส่วนกองทุนหุ้น ติดลบตามภาวะตลาดหุ้นที่ผันผวนหนัก ลุ้นครึ่งปีหลังสถานการณ์ดีขึ้น "วรวรรณ" มองทั้งปีเติบโต 10% ชูกองทุนแอลทีเอฟ-อาร์เอ็มเอฟ กระตุ้นยอดช่วงปลายปี
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนของธุรกิจกองทุนรวมในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า เริ่มกลับมาเห็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบ้างแล้ว โดยล่าสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,460,886.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 19,323.47 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 1,441,563.28 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวถือว่าสูงกว่าการเพิ่มขึ้นตลอด 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ที่มีเงินลงทุนเพิ่มเพียง 13,265.18 ล้านบาทหรือขายตัว 0.93% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับสิ้นปี 2550 พบว่า กองทุนรวมทั้งระบบเติบโตขึ้นแล้วถึง 34,259.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 2.40%
โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 995,640.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 34,564.52 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 961,076.13 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน ส่วนกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น ปรับลดลงไปถึง 11,715.89 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 129,959.38 ล้านบาทมาอยู่ที่ 118,243.49 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคม เช่นเดียวกับกองทุนผสมที่ปรับลดลงประมาณ 2,404.29 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากจำแนกตามประเภทกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ จะพบว่า กองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปัจจัยหนุนมาจากการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งมาจากตราสารทางการเงินของสถาบันการเงินในต่างประเทศ (ECP) ด้วย สำหรับเงินลงทุนในกองทุนเอฟไอเอฟสิ้นสุดเดือนกรกฎาคมมีจำนวนทั้งสิ้น 220,055.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,239.50 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 201,815.95 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจัยที่ให้กองทุนรวมเอฟไอเอฟมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลมาจากกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทางการเงินของสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือ ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งเปิดขายในช่วงปลายปีที่ผ่านมาทยอยครบอายุไปหมดแล้ว ทำให้สัดส่วนของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่บริษัทจัดการกองทุนนิยมเปิดขายออกมาเป็นจำนวนมาก สามารถเข้าไปชดเชยกองทุนที่ครบอายุได้หมด จึงเห็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว โดยหลังจากนี้เชื่อว่ากองทุนเอฟไอเอฟจะเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มกองทุนบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ยังเปิดขายออกมาอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกองทุน ECP ที่มีออกมาเพิ่มด้วย ซึ่งกองทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอายุการลงทุนประมาณ 1 ปี ดังนั้น จึงน่าจะยังเห็นการเติบโตได้อยู่
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) แล้ว จะเห็นว่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั่นเอง โดยเฉพาะกองทุนแอลทีเอฟที่มีเงินลงทุนลดลง 4,137.98 ล้านบาทมาอยู่ที่ 44,414.26 ล้านบาท ส่วนกองทุนอาร์เอ็มเอฟ มีเงินลงทุนลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ประมาณ 1,723.57 ล้านบาทมาอยู่ที่ 36,686.41 ล้านบาทในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าธุรกิจกองทุนรวมน่าจะขยายตัวได้มากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก โดยปัจจัยที่สำคัญปัจจัยแรกคือ ไม่มีกองทุนที่ครบกำหนดอายุเป็นจำนวนมากอย่างกองทุน ECP แล้ว ทำให้การเปิดขายกองทุนใหม่ๆ หลังจากนี้เป็นต้นไป ไม่ต้องเข้ามาชดเชยในส่วนที่หายไปเช่นช่วงครึ่งปีแรก โดยกองทุนที่น่าจะมีออกมาให้เห็นมากขึ้น คงจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุนในประเทศเองจะเริ่มเห็นกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นตามแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
**นายกสมาคมบลจ. มองทั้งปีกองทุนโต10%**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวม สิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 จากการรายงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 2% โดยกองทุนหุ้นติดลบไปประมาณ 10% ประกอบกับการที่นักลงทุนมีการซื้อเข้าขายออกไปด้วย ส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ(NAV) ปรับตัวลดลงด้วย ขณะที่ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ติดลบประมาณ 20% ดังนั้น เมื่อมองโดยรวมแล้ว กองทุนหุ้นยังสามารถทำได้ดีกว่าดัชนีหุ้น ส่วนกองทุนตราสารหนี้ขยับขึ้นมาเล็กน้อย และมองว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมทั้งปีนี้จะเจริญเติบโตประมาณ 10%
นอกจากนี้ หากธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายกองทุนก็คือธนาคารพาณิชย์นั่นเอง เมื่อธนาคารพาณิชย์ต้องการเงินฝาก ก็ต้องไประดมทางด้านนั้นก่อน ทาง บลจ.เองก็ต้องมีการผ่อนทางด้านนั้นด้วย ขณะเดียวกัน การที่ธนาคารพาณิชย์และหลาย บลจ.เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเงินฝากสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ก็ควรจะไปที่เงินฝาก แต่หากเงินฝากมีผลตอบแทนไม่ดีเท่ากับกองทุน ซึ่งมีระดับความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกัน ก็ควรจะมาที่กองทุนแทน ซึ่ง บลจ.ควรจะมีความซื้อสัตย์ต่อลูกค้าด้วย คาดว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมจะมาจากการกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ส่วนใหญมักจะขายดีในช่วงปลายปีเป็นหลัก
ทั้งนี้ จากการรายงานสมาคมบริษัทจัดการ (สมาคม บลจ.) สิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 พบว่ามูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของบริษัทมีประมาณ 167,852 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 6,156 ล้านบาท หรือประมาณ 15.2% โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพขยายตัว4.2% กองทุนหุ้นระยะยาวลดลง 8.0% กองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โต 64.4% โดยขยับอันดับจากอันดับ 4 เมื่อประมาณปลายปี 2550 ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ด้วย
นางวรวรรณ กล่าวว่า บริษัทเตรียมออกกองทุนกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพที่เน้นลงทุนในหุ้นในช่วงปลายปีนี้ 1 กองทุน ซึ่งที่ผ่านมา การบริหารกองทุนประเภทดังกล่าวมีการปรับพอร์ตลงทุนในหุ้นลดลงตั้งแต่ปลายปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ไว้ว่าล่วงหน้าแล้วว่าภาวะตลาดจะได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งบริษัทจะมีจังหวะในการปรับพอร์ตลงทุนในแต่ละช่วงดัชนีที่ปรับตัว แต่จะยังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไว้ที่ประมาณ 80% ของพอร์ตหุ้นโดยรวม ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้มีการปรับลดอายุการถือครองลงตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยประเภทตราสารที่มีอายุ 3 ปีลดเหลือ 2 ปี และปัจจุบันปรับลดอายุการถือครองเหลือไม่เกิน 1 ปีมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(Property fund) และกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ จะต้องดูสภาวะตลาดอีกครั้ง
รายงานข่าวจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) เปิดเผยถึงตัวเลขเงินลงทุนของธุรกิจกองทุนรวมในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาว่า เริ่มกลับมาเห็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบ้างแล้ว โดยล่าสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 กองทุนรวมทั้งระบบมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 1,460,886.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 19,323.47 ล้านบาทจากเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งมีเงินลงทุนรวม 1,441,563.28 ล้านบาท โดยการเพิ่มขึ้นดังกล่าวถือว่าสูงกว่าการเพิ่มขึ้นตลอด 6 เดือนแรกที่ผ่านมา ที่มีเงินลงทุนเพิ่มเพียง 13,265.18 ล้านบาทหรือขายตัว 0.93% เท่านั้น อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับสิ้นปี 2550 พบว่า กองทุนรวมทั้งระบบเติบโตขึ้นแล้วถึง 34,259.83 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโต 2.40%
โดยเงินลงทุนส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นจากกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในตราสารหนี้เป็นหลัก โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้น 995,640.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นประมาณ 34,564.52 ล้านบาท จากจำนวนเงินลงทุนรวม 961,076.13 ล้านบาทในเดือนมิถุนายน ส่วนกองทุนที่มีนโยบายลงทุนในหุ้น ปรับลดลงไปถึง 11,715.89 ล้านบาท จากเงินลงทุนรวม 129,959.38 ล้านบาทมาอยู่ที่ 118,243.49 ล้านบาทในเดือนกรกฎาคม เช่นเดียวกับกองทุนผสมที่ปรับลดลงประมาณ 2,404.29 ล้านบาท
ทั้งนี้ หากจำแนกตามประเภทกองทุนที่มีลักษณะพิเศษ จะพบว่า กองทุนรวมต่างประเทศ (เอฟไอเอฟ) ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยได้ปัจจัยหนุนมาจากการเปิดขายกองทุนตราสารหนี้ที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลต่างประเทศ โดยเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ส่วนหนึ่งมาจากตราสารทางการเงินของสถาบันการเงินในต่างประเทศ (ECP) ด้วย สำหรับเงินลงทุนในกองทุนเอฟไอเอฟสิ้นสุดเดือนกรกฎาคมมีจำนวนทั้งสิ้น 220,055.45 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18,239.50 ล้านบาทจากเงินลงทุนรวม 201,815.95 ล้านบาทในเดือนก่อนหน้านี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจัยที่ให้กองทุนรวมเอฟไอเอฟมีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เป็นผลมาจากกองทุนที่เน้นลงทุนในตราสารทางการเงินของสถาบันการเงินต่างประเทศ หรือ ECP (Euro Commercial Paper) ซึ่งเปิดขายในช่วงปลายปีที่ผ่านมาทยอยครบอายุไปหมดแล้ว ทำให้สัดส่วนของกองทุนที่ลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่บริษัทจัดการกองทุนนิยมเปิดขายออกมาเป็นจำนวนมาก สามารถเข้าไปชดเชยกองทุนที่ครบอายุได้หมด จึงเห็นสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นดังกล่าว โดยหลังจากนี้เชื่อว่ากองทุนเอฟไอเอฟจะเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง จากแนวโน้มกองทุนบัตรรัฐบาลเกาหลีใต้ที่ยังเปิดขายออกมาอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบกับกองทุน ECP ที่มีออกมาเพิ่มด้วย ซึ่งกองทุนเหล่านี้ส่วนใหญ่มีอายุการลงทุนประมาณ 1 ปี ดังนั้น จึงน่าจะยังเห็นการเติบโตได้อยู่
อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบเงินลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) แล้ว จะเห็นว่าลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับตัวลดลงของดัชนีตลาดหุ้นไทยนั่นเอง โดยเฉพาะกองทุนแอลทีเอฟที่มีเงินลงทุนลดลง 4,137.98 ล้านบาทมาอยู่ที่ 44,414.26 ล้านบาท ส่วนกองทุนอาร์เอ็มเอฟ มีเงินลงทุนลดลงจากเดือนก่อนหน้านี้ประมาณ 1,723.57 ล้านบาทมาอยู่ที่ 36,686.41 ล้านบาทในปัจจุบัน
ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าธุรกิจกองทุนรวมน่าจะขยายตัวได้มากกว่าในช่วงครึ่งปีแรก โดยปัจจัยที่สำคัญปัจจัยแรกคือ ไม่มีกองทุนที่ครบกำหนดอายุเป็นจำนวนมากอย่างกองทุน ECP แล้ว ทำให้การเปิดขายกองทุนใหม่ๆ หลังจากนี้เป็นต้นไป ไม่ต้องเข้ามาชดเชยในส่วนที่หายไปเช่นช่วงครึ่งปีแรก โดยกองทุนที่น่าจะมีออกมาให้เห็นมากขึ้น คงจะเป็นกองทุนตราสารหนี้ทั้งในและต่างประเทศ โดยกองทุนในประเทศเองจะเริ่มเห็นกองทุนที่เน้นลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลมากขึ้นตามแนวโน้มของอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น
**นายกสมาคมบลจ. มองทั้งปีกองทุนโต10%**
นางวรวรรณ ธาราภูมิ ในฐานะนายกสมาคมบริษัทจัดการลงทุน และกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) บัวหลวง จำกัด เปิดเผยว่า การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวม สิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 จากการรายงานของสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคม บลจ.) พบว่ามีอัตราการเจริญเติบโตประมาณ 2% โดยกองทุนหุ้นติดลบไปประมาณ 10% ประกอบกับการที่นักลงทุนมีการซื้อเข้าขายออกไปด้วย ส่งผลให้มูลค่าสินทรัพย์สุทธิ(NAV) ปรับตัวลดลงด้วย ขณะที่ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ติดลบประมาณ 20% ดังนั้น เมื่อมองโดยรวมแล้ว กองทุนหุ้นยังสามารถทำได้ดีกว่าดัชนีหุ้น ส่วนกองทุนตราสารหนี้ขยับขึ้นมาเล็กน้อย และมองว่าอุตสาหกรรมกองทุนรวมทั้งปีนี้จะเจริญเติบโตประมาณ 10%
นอกจากนี้ หากธนาคารพาณิชย์มีการระดมเงินฝากก็จะส่งผลกระทบต่ออัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายกองทุนก็คือธนาคารพาณิชย์นั่นเอง เมื่อธนาคารพาณิชย์ต้องการเงินฝาก ก็ต้องไประดมทางด้านนั้นก่อน ทาง บลจ.เองก็ต้องมีการผ่อนทางด้านนั้นด้วย ขณะเดียวกัน การที่ธนาคารพาณิชย์และหลาย บลจ.เป็นหนึ่งเดียวกัน เมื่อเงินฝากสามารถให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ก็ควรจะไปที่เงินฝาก แต่หากเงินฝากมีผลตอบแทนไม่ดีเท่ากับกองทุน ซึ่งมีระดับความเสี่ยงที่ใกล้เคียงกัน ก็ควรจะมาที่กองทุนแทน ซึ่ง บลจ.ควรจะมีความซื้อสัตย์ต่อลูกค้าด้วย คาดว่าการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมกองทุนรวมจะมาจากการกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และกองทุนหุ้นระยะยาว (LTF) ที่ส่วนใหญมักจะขายดีในช่วงปลายปีเป็นหลัก
ทั้งนี้ จากการรายงานสมาคมบริษัทจัดการ (สมาคม บลจ.) สิ้นสุด ณ วันที่ 25 กรกฎาคม 2551 พบว่ามูลค่าสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ของบริษัทมีประมาณ 167,852 ล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 6,156 ล้านบาท หรือประมาณ 15.2% โดยกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพขยายตัว4.2% กองทุนหุ้นระยะยาวลดลง 8.0% กองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ (FIF) โต 64.4% โดยขยับอันดับจากอันดับ 4 เมื่อประมาณปลายปี 2550 ขึ้นมาอยู่อันดับ 3 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ด้วย
นางวรวรรณ กล่าวว่า บริษัทเตรียมออกกองทุนกองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพที่เน้นลงทุนในหุ้นในช่วงปลายปีนี้ 1 กองทุน ซึ่งที่ผ่านมา การบริหารกองทุนประเภทดังกล่าวมีการปรับพอร์ตลงทุนในหุ้นลดลงตั้งแต่ปลายปีก่อน เนื่องจากคาดการณ์ไว้ว่าล่วงหน้าแล้วว่าภาวะตลาดจะได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งบริษัทจะมีจังหวะในการปรับพอร์ตลงทุนในแต่ละช่วงดัชนีที่ปรับตัว แต่จะยังคงสัดส่วนการลงทุนในหุ้นไว้ที่ประมาณ 80% ของพอร์ตหุ้นโดยรวม ส่วนการลงทุนในตราสารหนี้มีการปรับลดอายุการถือครองลงตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยประเภทตราสารที่มีอายุ 3 ปีลดเหลือ 2 ปี และปัจจุบันปรับลดอายุการถือครองเหลือไม่เกิน 1 ปีมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามทิศทางอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวขึ้น ส่วนกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์(Property fund) และกองทุนที่เน้นลงทุนในต่างประเทศ จะต้องดูสภาวะตลาดอีกครั้ง