ผู้จัดการรายวัน – “พิชิต” เผยต่างชาติมั่นใจพื้นฐานประเทศไทย ให้ความน่าสนใจลงทุนอยู่ในอันดับต้นๆ แต่ปัญหาการเมืองที่ยังวุ่นวายในขณะนี้ยังเป็นตัวฉุด ระบุหากประคองทุกอย่างให้กลับมาดีขึ้น โดยไม่เกิดความ รุนแรง ระยะยาวดึงต่างชาติกลับมาลงทุนเหมือนเดิมได้ ส่วนปัญหาเงินเฟ้อ แนะใช้นโยบายการคลัง สร้างความสมดุลกับดอกเบี้ยที่ปรับขึ้นไป ด้วยการส่งเสริมการผลิตและลดต้นทุน ส่วน 6 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ส่งผลดี ในแง่ของสังคมและผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจอยู่บ้าง
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ พบว่ายังมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยอยู่ และยังอยู่ในความสนใจลงทุนในอันดับต้นๆ แต่ในขณะนี้ไทยยังอยู่ในช่วงของ การมีปัญหาการเมืองในประเทศเท่านั้น จะส่งผลให้การลงทุนยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งหากปล่อยให้เวลาผ่านไปสักระยะแล้วทุกอย่างกลับมาดีขึ้น เชื่อว่า การลงทุนจากต่างชาติจะกลับมาเหมือนเดิม
ทั้งนี้ หลังจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้ามาลงทุน ในประเทศไทยเป็นพิเศษ ซึ่งการ ลงทุนดังกล่าวไม่ใช่การลงทุนทั่วไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลจาก ความกังวลเกี่ยวกับการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ช่วงหลังสหรัฐฯเองเริ่มเห็นการเติบโตกลับมาชัดเจนมากขึ้น หรืออาจจะชะลอตัวช้าลงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งในปัจจุบันไทยเองมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี การส่งออกขยายตัวได้ถึง 26-27% การจัดการค่าเงินก็อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนั้น การใช้จ่ายภาครัฐก็เริ่มมีมาให้เห็นแล้วทั้งระยะสั้นและระยะยาว ความเชื่อมั่นภาคเอกชนก็เริ่มดีขึ้นเช่นกัน
'ที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มเห็นมากขึ้น พื้นฐานการลงทุนเองก็ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง มีแต่การเมืองในประเทศเท่านั้นที่ผันผวนอยู่ แต่ก็ต้องปรับตัวว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ขณะเดียวกัน ช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องเป็นไปด้วยความราบรื่น และหากประคองไม่ให้เกิดความรุนแรงด้วยแล้ว ระยะยาวเชื่อว่าจะดีขึ้น' นายพิชิตกล่าว
สำหรับปัจจัยที่เป็นห่วงต่อมาคือเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ยังมองว่าประเทศในแถบเอเชียและประเทศไทยเอง ยังมีความน่ากังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ แต่ที่ผ่านมาหลายประเทศก็เริ่มมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาบ้างแล้ว โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เองก็เป็นการปรับขึ้นตามคาดการณ์ ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ก็ถูกมองในเชิงบวกมากกว่า
ทั้งนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยไทย เมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว นโยบายทางการคลังเองก็จะต้องมีความเหมาะสมด้วย โดยการส่งเสริมการผลิตและลดต้นทุน การผลิต ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. อีก 0.25% ในครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เป็นการส่ง สัญญาณว่ารัฐบาลจะดูแลเงินเฟ้อเป็นอย่างดี ดังนั้น นักลงทุนไม่ต้องห่วงเงินเฟ้ออีกต่อไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ดีมานด์ลดลงไป นอกจากนั้นยังคลายความ กังวลของประชาชนเกี่ยวกับเงินเฟ้อลงไปด้วย
ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 6 มาตรการของรัฐบาลมองว่ามีผลดีในแง่ของ สังคมและมีผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแง่ของสังคม เพราะเป็นการช่วยเหลือคนที่มีรายได้ต่ำ เป็น การผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เพราะการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามไป กระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนค่อนข้างมาก ส่วนในแง่ของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้น
ส่วนภาพรวมการลงทุนของประเทศเอเชีย ยังเป็นแหล่งลงทุนที่ได้รับความสนใจ จากนักลงทุนต่างชาติสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศอินเดียมีเศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างสูงถึงแม้จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ นายพิชิตกล่าวว่าทิศทางของการลงทุนหลังจากนี้คงต้องให้ความสำคัญต่อการลงทุนที่สามารถป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันได้ โดยสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ถือเป็นการลงทุนหนึ่งที่น่าสนใจทางหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ จากการมีโอกาสพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ ส่วนใหญ่มองว่าปัญหาเรื่องของเงินเฟ้อจะเป็นปัญหาระยะยาวที่ยังไม่จบง่ายๆ เช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มว่าจะอยู่ระดับสูงต่อไป โดยมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยระยะสั้น แต่หากมองแนวโน้มระยะกลางถึงระยะยาว ความต้องการสินค้าพื้นฐานเหล่านี้เพื่อพัฒนาพื้นฐานของประเทศจะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยเฉพาะการบริโภคจากประเทศจีนและอินเดียที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
'ทั้งสองประเทศมีความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากรัฐบาลเองมีความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ถูกลากขึ้นมาโดยความต้องการของทั้งสองประเทศไม่ใช่แค่ 10% เท่านั้นแต่สูงถึง 100% ดังนั้น ความต้องการสินค้าพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการบริโภคในประเทศด้วย จึงน่าจะเป็นโอกาสการลงทุนในระยะยาว' นายพิชิตกล่าว
นายพิชิตกล่าวว่า การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับการลงทุนพื้นฐาน เช่น หุ้นหรือตราสารหนี้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น การกระจายการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยจึงถือเป็นช่องทางในการกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันสินค้าเหล่านี้ยังมีความน่าสนใจในตัวของมันเอง และยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นด้วย ดังนั้น บริษัทจึงมีความ สนใจจะตั้งกองทุนรวมขึ้นมาเพื่อลงทุนในสินค้าที่ซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับ AFET ในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ซึ่งรูปแบบของการระดมการลงทุนในเบื้องต้น เงินลงทุนส่วนหนึ่งจะมาจากนักลงทุนสถาบันและส่วนหนึ่งจะเป็นการร่วมลงทุนจาก AFET เอง โดยคาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนได้ภายในสิ้นปีนี้
MFC กำไรไตรมาสสอง 45.91 ล้าน
ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ถึงผลการดำเนินงานประกอบการ (รวมบริษัทย่อย) งวดไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 45.91 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.38 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 27.28 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.23 บาท ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.47 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 45.66 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.38 บาท
นายพิชิต อัคราทิตย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) หรือ MFC เปิดเผยว่า จากการพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ พบว่ายังมั่นใจในปัจจัยพื้นฐานของประเทศไทยอยู่ และยังอยู่ในความสนใจลงทุนในอันดับต้นๆ แต่ในขณะนี้ไทยยังอยู่ในช่วงของ การมีปัญหาการเมืองในประเทศเท่านั้น จะส่งผลให้การลงทุนยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งหากปล่อยให้เวลาผ่านไปสักระยะแล้วทุกอย่างกลับมาดีขึ้น เชื่อว่า การลงทุนจากต่างชาติจะกลับมาเหมือนเดิม
ทั้งนี้ หลังจากการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีนักลงทุนเข้ามาลงทุน ในประเทศไทยเป็นพิเศษ ซึ่งการ ลงทุนดังกล่าวไม่ใช่การลงทุนทั่วไป ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลจาก ความกังวลเกี่ยวกับการถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่ช่วงหลังสหรัฐฯเองเริ่มเห็นการเติบโตกลับมาชัดเจนมากขึ้น หรืออาจจะชะลอตัวช้าลงทำให้ไม่ได้รับผลกระทบมากนัก ซึ่งในปัจจุบันไทยเองมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี การส่งออกขยายตัวได้ถึง 26-27% การจัดการค่าเงินก็อยู่ในระดับที่เหมาะสม นอกจากนั้น การใช้จ่ายภาครัฐก็เริ่มมีมาให้เห็นแล้วทั้งระยะสั้นและระยะยาว ความเชื่อมั่นภาคเอกชนก็เริ่มดีขึ้นเช่นกัน
'ที่ผ่านมาการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มเห็นมากขึ้น พื้นฐานการลงทุนเองก็ปรับเปลี่ยนไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังการเลือกตั้ง มีแต่การเมืองในประเทศเท่านั้นที่ผันผวนอยู่ แต่ก็ต้องปรับตัวว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้ว ขณะเดียวกัน ช่วงของการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องเป็นไปด้วยความราบรื่น และหากประคองไม่ให้เกิดความรุนแรงด้วยแล้ว ระยะยาวเชื่อว่าจะดีขึ้น' นายพิชิตกล่าว
สำหรับปัจจัยที่เป็นห่วงต่อมาคือเรื่องของเงินเฟ้อ ซึ่งนักลงทุนเหล่านี้ยังมองว่าประเทศในแถบเอเชียและประเทศไทยเอง ยังมีความน่ากังวลเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ แต่ที่ผ่านมาหลายประเทศก็เริ่มมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อแก้ปัญหาบ้างแล้ว โดยการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เองก็เป็นการปรับขึ้นตามคาดการณ์ ขณะเดียวกัน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย ก็ถูกมองในเชิงบวกมากกว่า
ทั้งนี้ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยไทย เมื่อมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยแล้ว นโยบายทางการคลังเองก็จะต้องมีความเหมาะสมด้วย โดยการส่งเสริมการผลิตและลดต้นทุน การผลิต ซึ่งการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ ธปท. อีก 0.25% ในครั้งล่าสุดที่ผ่านมา เป็นการส่ง สัญญาณว่ารัฐบาลจะดูแลเงินเฟ้อเป็นอย่างดี ดังนั้น นักลงทุนไม่ต้องห่วงเงินเฟ้ออีกต่อไป แต่ไม่ได้หมายความว่าจะทำให้ดีมานด์ลดลงไป นอกจากนั้นยังคลายความ กังวลของประชาชนเกี่ยวกับเงินเฟ้อลงไปด้วย
ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 6 มาตรการของรัฐบาลมองว่ามีผลดีในแง่ของ สังคมและมีผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศอยู่บ้าง โดยเฉพาะในแง่ของสังคม เพราะเป็นการช่วยเหลือคนที่มีรายได้ต่ำ เป็น การผ่อนหนักให้เป็นเบาได้ เพราะการเปลี่ยน แปลงอย่างรวดเร็วหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลให้เงินเฟ้อสูงขึ้นตามไป กระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนค่อนข้างมาก ส่วนในแง่ของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็จะมาจากการใช้จ่ายของภาครัฐที่จะเพิ่มขึ้น
ส่วนภาพรวมการลงทุนของประเทศเอเชีย ยังเป็นแหล่งลงทุนที่ได้รับความสนใจ จากนักลงทุนต่างชาติสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะปัจจัยพื้นฐานยังดีอยู่ โดยเฉพาะประเทศจีนและประเทศอินเดียมีเศรษฐกิจเติบโตค่อนข้างสูงถึงแม้จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ นายพิชิตกล่าวว่าทิศทางของการลงทุนหลังจากนี้คงต้องให้ความสำคัญต่อการลงทุนที่สามารถป้องกันภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นในปัจจุบันได้ โดยสินค้าโภคภัณฑ์ (คอมมอดิตี) ถือเป็นการลงทุนหนึ่งที่น่าสนใจทางหนึ่งที่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ ทั้งนี้ จากการมีโอกาสพูดคุยกับนักลงทุนต่างชาติ ส่วนใหญ่มองว่าปัญหาเรื่องของเงินเฟ้อจะเป็นปัญหาระยะยาวที่ยังไม่จบง่ายๆ เช่นเดียวกับราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีแนวโน้มว่าจะอยู่ระดับสูงต่อไป โดยมีปัจจัยมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยระยะสั้น แต่หากมองแนวโน้มระยะกลางถึงระยะยาว ความต้องการสินค้าพื้นฐานเหล่านี้เพื่อพัฒนาพื้นฐานของประเทศจะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยเฉพาะการบริโภคจากประเทศจีนและอินเดียที่มีประชากรมากที่สุดในโลก
'ทั้งสองประเทศมีความต้องการสินค้าโภคภัณฑ์ค่อนข้างมาก เนื่องจากรัฐบาลเองมีความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งที่ผ่านมาราคาสินค้าโภคภัณฑ์ถูกลากขึ้นมาโดยความต้องการของทั้งสองประเทศไม่ใช่แค่ 10% เท่านั้นแต่สูงถึง 100% ดังนั้น ความต้องการสินค้าพื้นฐานในการพัฒนาประเทศ รวมถึงการบริโภคในประเทศด้วย จึงน่าจะเป็นโอกาสการลงทุนในระยะยาว' นายพิชิตกล่าว
นายพิชิตกล่าวว่า การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับการลงทุนพื้นฐาน เช่น หุ้นหรือตราสารหนี้ค่อนข้างน้อย ดังนั้น การกระจายการลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ด้วยจึงถือเป็นช่องทางในการกระจายความเสี่ยงได้เป็นอย่างดี ขณะเดียวกันสินค้าเหล่านี้ยังมีความน่าสนใจในตัวของมันเอง และยังมีความเสี่ยงน้อยกว่าการลงทุนในหุ้นด้วย ดังนั้น บริษัทจึงมีความ สนใจจะตั้งกองทุนรวมขึ้นมาเพื่อลงทุนในสินค้าที่ซื้อขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) โดยขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการหารือกับ AFET ในการจัดตั้งกองทุนดังกล่าว ซึ่งรูปแบบของการระดมการลงทุนในเบื้องต้น เงินลงทุนส่วนหนึ่งจะมาจากนักลงทุนสถาบันและส่วนหนึ่งจะเป็นการร่วมลงทุนจาก AFET เอง โดยคาดว่าจะสามารถจัดตั้งกองทุนได้ภายในสิ้นปีนี้
MFC กำไรไตรมาสสอง 45.91 ล้าน
ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์ถึงผลการดำเนินงานประกอบการ (รวมบริษัทย่อย) งวดไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ว่า บริษัทมีกำไรสุทธิ 45.91 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.38 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 27.28 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.23 บาท ส่วนผลการดำเนินงานในช่วง 6 เดือน บริษัทมีกำไรสุทธิ 56.13 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.47 บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 45.66 ล้านบาท กำไรสุทธิต่อหุ้น 0.38 บาท