"สุริยะใส" ชี้ไม่เหนือความคาดหมายกรณีลูกจ้าง ศธ.ฟ้องศาลแพ่งให้รื้อเวทีพันธมิตรฯ เผยแกนนำรู้ทันยื่นร้องคัดค้านแล้ว เชื่อสามารถชุมนุมต่อได้ พร้อมยื่น ป.ป.ช.เอาผิดนักการเมืองชักใยเบื้องหลังม็อบถ่อยทำร้ายพันธมิตรฯอุดรวันนี้ แนะจับตา 2 วันอันตราย 31 ก.ค.ตัดสินคดี"เมียแม้ว"หนีภาษีหุ้น-1 ส.ค.เปิดสภาดันทุรังแก้ รธน.คาดม็อบอัปรีย์จ้องป่วน ด้าน ป.ป.ช.ตั้ง "วิชา มหาคุณ" เป็น ปธ.คณะอนุฯสอบ ขรก.รัฐอุดรยกชุดข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ฐานปล่อยม็อบถ่อยอาวุธครบมือรุมไล่ทำร้ายกลุ่มผู้ชุมนุม "กมธ.ตำรวจสภาผู้แทนฯ" และ "กมธ.สิทธิฯวุฒิสภา" ลงสอบข้อเท็จจริงที่อุดรวันนี้
ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ วานนี้ (29 ก.ค.) เวลา 18.30 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนด้านหลังเวทีการชุมนุมของพันธมิตรฯโดยระบุถึงกรณีที่ข้าราชการลูกจ้างกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็น รมว.ศึกษาธิการอยู่ในขณะนี้ ได้ยืนคำร้องต่อศาลแพ่งโดยอ้างว่า ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานฯว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหนือความคาดหมายมากนักเพราะเป็นวิธีการที่รัฐบาลหุ่นเชิด พยายามสกัดการชุมนุมมาโดยตลอด
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า ครั้งนี้คงไม่ง่ายเหมือนกับกรณีที่ผู้ปกครองโรงเรียนราชวินิตเคยฟ้องร้องเมื่อครั้งก่อน เพราะว่าในครั้งนี้ทันทีที่เราได้ทราบข่าวเมื่อช่วงสายของวันนี้ทางแกนนำพันธมิตรฯและทนายความก็ได้ทำเรื่องคัดค้านและยื่นต่อศาล โดยชี้ประเด็นว่ากรณีดังกล่าวไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลแพ่ง แต่อยู่ในขอบเขตของอำนาจศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการพิจารณากรณีนี้หากมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามมาตรา 63 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะสิทธิการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งในวันนี้(30)เวลา 09.00 น.ศาลแพ่งจะอ่านคำสั่งว่าจะรับคำร้องหรือไม่ ซึ่งทางแกนนำพันธมิตรฯและนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯจะเดินทางไปให้ปากคำเพิ่มเติมด้วย
"ส่วนตัวรู้สึกมั่นใจว่า ศาลจะไม่รับคำร้องดังกล่าวเนื่องจากครั้งนี้เรามีคำคัดค้านดังกล่าวส่งไปด้วย เราเชื่อมั่นในข้อโต้แย้ง ซึ่งจะทำให้เราพิทักษ์สิทธิการชุมนุมได้ต่อไป"
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า หากศาลมีคำสั่งให้ย้ายการชุมนุมทางพันธมิตรฯยังไม่มีแผนรองรับว่าจะย้ายการชุมนุมไปที่ใด แต่ขณะนี้ได้มีการศึกษาพื้นที่ไว้หลายสถานที่แล้ว เบื้องต้นพันธมิตรฯพร้อมน้อมรับคำสั่งศาลไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
ยื่น ป.ป.ช.เอาผิดนักการเมืองวันนี้
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี กับพวก ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ปล่อยให้กลุ่มประชาชนจำนวนมาก พร้อมอาวุธหลายชนิดบุกเข้าทำร้ายประชาชนที่จัดชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ณ บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน และนายประสาท พงษ์ศิวาไพร กรรมการ ป.ป.ช.ร่วมเป็นอนุกรรมการไต่สวนนั้นตนยังไม่ทราบรายละเอียด
แต่จากการสอบถามพบว่า อำนาจหน้าที่พิจารณาเจาะจงเฉพาะข้าราชการประจำไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และตำรวจ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 88 ของกฎหมายว่าด้วย ป.ป.ช.ซึ่งในส่วนนี้ทางพันธมิตรฯได้ทำคำร้องเพื่อยื่นให้พิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเอาผิดต่อข้าราชการการเมือง ซึ่งอาจมีบุคคลระดับรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งในคำร้องดังกล่าวระบุถึงความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยวันนี้ เวลา 14.00 น.ทางแกนนำพันธมิตรฯ จะเข้ายื่นคำร้องเพิ่มเต็มดังกล่าวต่อ ป.ป.ช.โดยอ้างอิงอำนาจตามมาตรา 66 พ.ร.บ.ป.ป.ช. นอกจากนี้ยืนยันว่าคงไม่ใช่แค่กรณีที่อุดรธานี เท่านั้น แต่รวมถึงความรุนแรงที่เกิดใน จ.เชียงราย มหาสารคาม และศรีสะเกษ โดยทางเราจะมีการทำบัญชีผู้ถูกกล่าวหาแนบไปด้วย
จับตาอีก 2 วันม็อบถ่อยจ้องป่วน
ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ กล่าวอีกว่า การพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 1 ส.ค.หลังมีการเปิดประชุมสภาทางพันธมิตรฯ ได้มีการประกาศไปแล้วว่าจะนัดชุมนุมใหญ่ในวันเดียวกันเวลา 14.00 น.ซึ่งเป็นไปได้ว่า จะมี ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันดังกล่าว ซึ่งขอยืนยันว่า จุดยืนและข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ คือ การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อฟอกผิดระบอบทักษิณ เราจึงจัดให้มีการชุมนุมใหญ่อีกครั้ง
ส่วนรูปแบบในการชุมนุมจะมีการหารืออีกที แต่ในเบื้องต้นหากมีการเผชิญหน้า ทางเราได้มีการเตรียมการ และมีการปรับเปลี่ยนภายในพอสมควรแต่ยังไม่ขอเปิดเผย ตนเชื่อว่า ความรุนแรงที่กระจายตัวอยู่ต่างจังหวัดที่ผ่านมา สุดท้ายจะมาระเบิดที่ในกรุงเทพฯโดยเฉพาะใน 2 วันอันตราย คือวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นี้ ซึ่งในวันที่ 31 ก.ค.ศาลอาญาจะอ่านคำพิพากษา คดีเลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ และในวันที่ 1 ส.ค.จะมีการเปิดสภาวันแรก และมีข่าวว่ามีการระดมพลมาเป็นจำนวนมาก
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า ตนยังได้ข่าวจากข้าราชการกรมคุมประพฤติที่ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้คนที่ติดทัณฑ์บนและมีคดีติดตัวได้หายตัวไปอย่างผิดปกติเป็นจำนวนมาก อาจมีการสั่งเข้ามาที่ส่วนกลางซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ตนได้รับมาจากเครือข่ายแท็กซี่พันธมิตร เมื่อวานนี้ว่ามีผู้โดยสารพยายามซักถามถึงรูปพรรณสัณฐานของตน ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้กลัว แต่จะชี้ให้เห็นว่า มีการพยายามจะก่อเหตุหรือไม่ เหมือนเช่นกรณีการทำร้ายประชาชน ที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อ 2 ปี ก่อน ซึ่งพบในภายหลังว่าผู้ที่ก่อเหตุเป็นคนที่ถูกหมายจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเป็นคนของมาเฟียที่มีอำนาจรัฐ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พันธมิตรฯได้มีการเตรียมพร้อมเป็นพิเศษเมื่อ 2 วันก่อนก็มีการควบคุมตัวคนที่เข้ามาก่อกวนได้ 10 คน ซึ่งพบหลักฐานชัดเจน อาทิ บัญชีการจ่ายเงิน ซึ่งระบุ สถานที่รับจ่ายเงินบริเวณหน้าศาล หน้า ม.ธรรมศาสตร์ หรือบริเวณหน้าป้ายรถเมล์บ้าง พร้อมกับเงินสดจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตลอด
นายสุริยะใส กล่าวย้ำอีกว่า ในวันชุมนุมใหญ่หากมีการเผชิญหน้า ทางพันธมิตรฯพร้อมรับมือและอยู่ในกรอบของการชุมนุมหากต่างฝ่ายอยู่ในกรอบก็คงไม่มีปัญหา
ร้องศาลแพ่งรื้อเวทีพันธมิตรฯ
ก่อนหน้านี้เวลา 13.00 น.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุรินทร์ หิรัญ, นายอนุวัฒน์ รัตนกุล, นายเปี่ยม ไชยมูล, นายวรวิทย์ สุระโครต, นายดำรงค์ มั่นการ และนายวุฒิ เกตุสิน ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการและลูกจ้างประจำกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-6 ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานละเมิด โดยขอให้จำเลยทั้ง 6 รื้อถอนเวทีปราศรัย
รวมทั้งขนย้ายสิ่งกีดขวางอื่นๆ ทั้งหมดที่ปิดกั้นถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์ จนถึงแยกมิสกวัน บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ และถนนหลานหลวง ด้านกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่สะพานมัฆวานฯเป็นระยะทาง 200-300 เมตร โดยห้ามจำเลย 1-6 ใช้เครื่องขยายเสียง หรือจัดการปราศรัยจัดรายการ ในระหว่างช่วงเวลา 08.30-16.30 น.ซึ่งโจทก์ได้อ้างเรื่องความเดือดร้อนปัญหาจราจรบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยังขอให้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินด้วย
แต่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำพันธมิตรฯ ได้ยื่นคัดค้านว่าหากศาลแพ่งจะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีความแพ่งมาตรา 254 มาบังคับใช้จะขัดรัฐธรรมนูญและความผิดเกี่ยวกับเครื่องขยายเสียงผู้เสียหาย คือ กทม.ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ศาลได้นัดให้คู่ความมาฟังคำสั่งในวันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 09.00 น.
พธม.ร้องกมธ.จี้เอาผิด จนท.อุดรฯ
ส่วนที่รัฐสภาวันเดียวกันนายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ ตัวแทนผู้ประสานงานพันธมิตรฯอุดรธานี พร้อมนายชนะศักดิ์ เพลิดผ่องพร้อย ชาว จ.เลย 1 ในพันธมิตรฯที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำร้ายเข้ายื่นหนังสือต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อร้องขอความเป็นธรรม และขอให้สอบสวนพฤติกรรมของตำรวจอุดรธานี พร้อมหลักฐานบันทึกซีดีภาพเหตุการณ์ 1 แผ่น
นายเจริญ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่นายขวัญชัย ไพรพนา และนายอุทัย แสนแก้ว ได้นำกลุ่มคนจำนวนมากพร้อมอาวุธหลายชนิดบุกเข้าทำร้ายในลักษณะหมายเอาชีวิตประชาชนที่บริเวณจัดเวทีพันธมิตรฯ สวนสาธารณะหนองประจักษ์เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บสาหัสนั้น เราเห็นว่าเหตุการณ์พยายามเข่นฆ่าผู้คนที่เกิดขึ้น สาเหตุเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็น กลับจงใจปล่อยให้กลุ่มคนบ้าคลั่งนับพันบุกเข้ามาอย่างง่ายดาย ระหว่างกลุ่มคนกำลังรุมทุบตีอย่างเมามัน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ช่วยเหลือ หรือขัดขวาง ได้แต่ยืนดูเท่านั้นอาจได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้น จึงขอให้กรรมาธิการได้สืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของตำรวจอุดรธานี และควรสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับที่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่เป็นการด่วน เพื่อให้การสอบสวนเกิดความเป็นธรรม และเป็นไปด้วยความรวดเร็ว พร้อมขอฝากให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยแก่ทุกคนที่เข้ามาร้องเรียนด้วย
นายเฉลิมชัย กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ทางกรรมาธิการจะพิจารณาให้ความยุติธรรมกับประชาชนให้ดีที่สุดและขอให้เชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของกรรมาธิการ โดยในวันนี้ (30) เวลา 09.00 น. ตนพร้อมคณะกรรมาธิการฯจะเดินทางลงพื้นที่เพื่อสอบข้อเท็จจริงที่อุดรธานี เพื่อรับฟังความชี้แจงของ ผบช.ภ.4 พร้อม ผกก.สภ.เมืองอุดรธานี จากนั้นจะได้เชิญตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาที่รัฐสภา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาสรุปต่อไป และอาจจะเชิญ ผบ.ตร.เข้ามาชี้แจงในโอกาสต่อไปด้วย
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการตำรวจ กล่าวเสริมว่า สำหรับผู้บาดเจ็บที่มาร้องเรียนต่อกรรมาธิการได้จดชื่อที่อยู่ของทุกคนไว้แล้ว ซึ่งประธานคณะกรรมาธิการฯจะทำหนังสือถึง ผบ.ตร.และ ผบก.ป.พร้อมแนบรายชื่อบุคลเหล่านี้ในวันนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลคุ้มครองรักษาความปลอดภัย เพราะหากบุคคลเหล่านี้ยังได้รับอันตรายอีกจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ปธ.สิทธิฯวุฒิสภาลงพื้นที่วันนี้
จากนั้นเวลา 14.00 น. นายเจริญ และผู้บาดเจ็บได้เข้ายื่นเรื่องต่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้ตรวจสอบผู้กระทำผิดและหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก และขอให้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ให้การคุ้มครองแต่อย่างใด ในทางกลับกันมีข้าราชการการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนร่วมสมคบคิดกับกลุ่มอันธพาลดังกล่าว จึงไม่มั่นใจว่ากลไกรัฐจะช่วยคลี่คลายปัญหาได้จริงและเป็นธรรม
นายสมชาย กล่าวภายหลังว่า การทำร้ายร่างกายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายประชาชน นอกจากคณะกรรมาธิการชุดนี้แล้วยังมีอีก 2 คณะกรรมาธิการฯที่จะร่วมตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวร่วมกัน คือ คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ และคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา โดยจะมีการลงพื้นที่เกิดเหตุในวันนี้ (30) และจะเชิญ ผบ.ตร. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผวจ.อุดรธานี ผบก.ภ.จว.อุดรธานี และ ผกก.เมืองอุดรธานี เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯในวันที่ 31 ก.ค.นี้ ยืนยันว่ากรรมาธิการฯจะดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
จี้แพทย์สภาสอบพฤติกรรม"เหวง"
ที่แพทยสภาวันเดียวกัน ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกแพทยสภา ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนให้สอบสวนพฤติกรรม นพ.เหวง โตจิราการ พร้อมได้นำข่าวเหตุการณ์การชุมนุมหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.50 และรายนามแพทย์ร่วมร้องเรียนให้สอบสวน 40 รายชื่อโดยมี นพ.อำนาจ กุศลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว
สำหรับหนังสือร้องเรียนฉบับดังกล่าวระบุว่า นพ.เหวง เป็นสมาชิกคนหนึ่งของแพทยสภา ต้องพึงรักษาเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ หากข่าวการโทรศัพท์แสดงความยินดีกับกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งก่อเหตุความรุนแรง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความจริง แสดงว่า นพ.เหวง ให้การสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติทำร้ายประชาชน อันก่อให้เกิดความบาดเจ็บล้มตามของประชาชน ซึ่งเป็นการกระทำที่อุกอาจ ผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ
นอกจากนี้ นพ.เหวง ยังเคยร่วมเป็นผู้นำในการก่อการชุมนุมประท้วงด้วยความรุนแรงที่บริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ให้ลาออกจากตำแหน่ง จนกระทั่งศาลออกหมายจับ นพ.เหวง และพวก ในคดีหมายเลขดำ ที่ พ.1526/2550 โดยศาลกำหนดเงื่อนไขว่า ห้ามผู้ต้องหาประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องของฝากขังอันนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก
พฤติกรรมเยี่ยงนี้ของ นพ.เหวง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการกระทำของ นพ.เหวง ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม และภายหลังยังให้การสนับสนุนผู้ที่กระทำผิดต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการของวิชาชีพแพทย์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นแพทย์ นำความเสื่อมเสียมาสู่วงการแพทย์เป็นอย่างมาก
ที่บริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ วานนี้ (29 ก.ค.) เวลา 18.30 น. นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เปิดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนด้านหลังเวทีการชุมนุมของพันธมิตรฯโดยระบุถึงกรณีที่ข้าราชการลูกจ้างกระทรวงศึกษาธิการ ที่มีนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เป็น รมว.ศึกษาธิการอยู่ในขณะนี้ ได้ยืนคำร้องต่อศาลแพ่งโดยอ้างว่า ได้รับความเดือดร้อนจากการชุมนุมของพันธมิตรฯ ที่สะพานมัฆวานฯว่า เป็นสิ่งที่ไม่เหนือความคาดหมายมากนักเพราะเป็นวิธีการที่รัฐบาลหุ่นเชิด พยายามสกัดการชุมนุมมาโดยตลอด
นายสุริยะใส กล่าวต่อว่า ครั้งนี้คงไม่ง่ายเหมือนกับกรณีที่ผู้ปกครองโรงเรียนราชวินิตเคยฟ้องร้องเมื่อครั้งก่อน เพราะว่าในครั้งนี้ทันทีที่เราได้ทราบข่าวเมื่อช่วงสายของวันนี้ทางแกนนำพันธมิตรฯและทนายความก็ได้ทำเรื่องคัดค้านและยื่นต่อศาล โดยชี้ประเด็นว่ากรณีดังกล่าวไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจของศาลแพ่ง แต่อยู่ในขอบเขตของอำนาจศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญ เนื่องจากการพิจารณากรณีนี้หากมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามมาตรา 63 แห่งรัฐธรรมนูญ 2550 โดยเฉพาะสิทธิการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ซึ่งในวันนี้(30)เวลา 09.00 น.ศาลแพ่งจะอ่านคำสั่งว่าจะรับคำร้องหรือไม่ ซึ่งทางแกนนำพันธมิตรฯและนายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯจะเดินทางไปให้ปากคำเพิ่มเติมด้วย
"ส่วนตัวรู้สึกมั่นใจว่า ศาลจะไม่รับคำร้องดังกล่าวเนื่องจากครั้งนี้เรามีคำคัดค้านดังกล่าวส่งไปด้วย เราเชื่อมั่นในข้อโต้แย้ง ซึ่งจะทำให้เราพิทักษ์สิทธิการชุมนุมได้ต่อไป"
นายสุริยะใส กล่าวด้วยว่า หากศาลมีคำสั่งให้ย้ายการชุมนุมทางพันธมิตรฯยังไม่มีแผนรองรับว่าจะย้ายการชุมนุมไปที่ใด แต่ขณะนี้ได้มีการศึกษาพื้นที่ไว้หลายสถานที่แล้ว เบื้องต้นพันธมิตรฯพร้อมน้อมรับคำสั่งศาลไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
ยื่น ป.ป.ช.เอาผิดนักการเมืองวันนี้
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติตั้งอนุกรรมการไต่สวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี, ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดอุดรธานี และผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธรเมืองอุดรธานี กับพวก ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ปล่อยให้กลุ่มประชาชนจำนวนมาก พร้อมอาวุธหลายชนิดบุกเข้าทำร้ายประชาชนที่จัดชุมนุมต่อต้านรัฐบาล ณ บริเวณสวนสาธารณะหนองประจักษ์ เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมีนายวิชา มหาคุณ กรรมการ ป.ป.ช.เป็นประธานอนุกรรมการไต่สวน และนายประสาท พงษ์ศิวาไพร กรรมการ ป.ป.ช.ร่วมเป็นอนุกรรมการไต่สวนนั้นตนยังไม่ทราบรายละเอียด
แต่จากการสอบถามพบว่า อำนาจหน้าที่พิจารณาเจาะจงเฉพาะข้าราชการประจำไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัด ฝ่ายปกครอง และตำรวจ ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 88 ของกฎหมายว่าด้วย ป.ป.ช.ซึ่งในส่วนนี้ทางพันธมิตรฯได้ทำคำร้องเพื่อยื่นให้พิจารณาเพิ่มเติมเพื่อเอาผิดต่อข้าราชการการเมือง ซึ่งอาจมีบุคคลระดับรัฐมนตรีเป็นผู้สั่งการให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งในคำร้องดังกล่าวระบุถึงความรับผิดชอบของนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยวันนี้ เวลา 14.00 น.ทางแกนนำพันธมิตรฯ จะเข้ายื่นคำร้องเพิ่มเต็มดังกล่าวต่อ ป.ป.ช.โดยอ้างอิงอำนาจตามมาตรา 66 พ.ร.บ.ป.ป.ช. นอกจากนี้ยืนยันว่าคงไม่ใช่แค่กรณีที่อุดรธานี เท่านั้น แต่รวมถึงความรุนแรงที่เกิดใน จ.เชียงราย มหาสารคาม และศรีสะเกษ โดยทางเราจะมีการทำบัญชีผู้ถูกกล่าวหาแนบไปด้วย
จับตาอีก 2 วันม็อบถ่อยจ้องป่วน
ผู้ประสานงานพันธมิตรฯ กล่าวอีกว่า การพยายามจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันที่ 1 ส.ค.หลังมีการเปิดประชุมสภาทางพันธมิตรฯ ได้มีการประกาศไปแล้วว่าจะนัดชุมนุมใหญ่ในวันเดียวกันเวลา 14.00 น.ซึ่งเป็นไปได้ว่า จะมี ส.ส.พรรคพลังประชาชน ยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันดังกล่าว ซึ่งขอยืนยันว่า จุดยืนและข้อเรียกร้องของพันธมิตรฯ คือ การคัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อฟอกผิดระบอบทักษิณ เราจึงจัดให้มีการชุมนุมใหญ่อีกครั้ง
ส่วนรูปแบบในการชุมนุมจะมีการหารืออีกที แต่ในเบื้องต้นหากมีการเผชิญหน้า ทางเราได้มีการเตรียมการ และมีการปรับเปลี่ยนภายในพอสมควรแต่ยังไม่ขอเปิดเผย ตนเชื่อว่า ความรุนแรงที่กระจายตัวอยู่ต่างจังหวัดที่ผ่านมา สุดท้ายจะมาระเบิดที่ในกรุงเทพฯโดยเฉพาะใน 2 วันอันตราย คือวันที่ 31 ก.ค.-1 ส.ค.นี้ ซึ่งในวันที่ 31 ก.ค.ศาลอาญาจะอ่านคำพิพากษา คดีเลี่ยงภาษีหุ้นชินฯ และในวันที่ 1 ส.ค.จะมีการเปิดสภาวันแรก และมีข่าวว่ามีการระดมพลมาเป็นจำนวนมาก
นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า ตนยังได้ข่าวจากข้าราชการกรมคุมประพฤติที่ให้ข้อมูลว่า ขณะนี้คนที่ติดทัณฑ์บนและมีคดีติดตัวได้หายตัวไปอย่างผิดปกติเป็นจำนวนมาก อาจมีการสั่งเข้ามาที่ส่วนกลางซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ตนได้รับมาจากเครือข่ายแท็กซี่พันธมิตร เมื่อวานนี้ว่ามีผู้โดยสารพยายามซักถามถึงรูปพรรณสัณฐานของตน ที่พูดเช่นนี้ไม่ได้กลัว แต่จะชี้ให้เห็นว่า มีการพยายามจะก่อเหตุหรือไม่ เหมือนเช่นกรณีการทำร้ายประชาชน ที่หน้าห้างเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อ 2 ปี ก่อน ซึ่งพบในภายหลังว่าผู้ที่ก่อเหตุเป็นคนที่ถูกหมายจับของเจ้าหน้าที่ตำรวจ และเป็นคนของมาเฟียที่มีอำนาจรัฐ
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้พันธมิตรฯได้มีการเตรียมพร้อมเป็นพิเศษเมื่อ 2 วันก่อนก็มีการควบคุมตัวคนที่เข้ามาก่อกวนได้ 10 คน ซึ่งพบหลักฐานชัดเจน อาทิ บัญชีการจ่ายเงิน ซึ่งระบุ สถานที่รับจ่ายเงินบริเวณหน้าศาล หน้า ม.ธรรมศาสตร์ หรือบริเวณหน้าป้ายรถเมล์บ้าง พร้อมกับเงินสดจำนวนหนึ่ง ทั้งนี้ได้ประสานกับเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยตลอด
นายสุริยะใส กล่าวย้ำอีกว่า ในวันชุมนุมใหญ่หากมีการเผชิญหน้า ทางพันธมิตรฯพร้อมรับมือและอยู่ในกรอบของการชุมนุมหากต่างฝ่ายอยู่ในกรอบก็คงไม่มีปัญหา
ร้องศาลแพ่งรื้อเวทีพันธมิตรฯ
ก่อนหน้านี้เวลา 13.00 น.ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก นายสุรินทร์ หิรัญ, นายอนุวัฒน์ รัตนกุล, นายเปี่ยม ไชยมูล, นายวรวิทย์ สุระโครต, นายดำรงค์ มั่นการ และนายวุฒิ เกตุสิน ซึ่งเป็นกลุ่มข้าราชการและลูกจ้างประจำกระทรวงศึกษาธิการได้ร่วมกันเป็นโจทก์ที่ 1-6 ยื่นฟ้อง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง, นายสนธิ ลิ้มทองกุล, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นายพิภพ ธงไชย, นายสมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ และนายสุริยะใส กตะศิลา แกนนำกลุ่มพันธมิตรฯร่วมกันเป็นจำเลยที่ 1-6 ในความผิดฐานละเมิด โดยขอให้จำเลยทั้ง 6 รื้อถอนเวทีปราศรัย
รวมทั้งขนย้ายสิ่งกีดขวางอื่นๆ ทั้งหมดที่ปิดกั้นถนนราชดำเนินนอก ตั้งแต่แยกสะพานมัฆวานรังสรรค์ จนถึงแยกมิสกวัน บริเวณหน้ากระทรวงศึกษาธิการ และถนนหลานหลวง ด้านกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่สะพานมัฆวานฯเป็นระยะทาง 200-300 เมตร โดยห้ามจำเลย 1-6 ใช้เครื่องขยายเสียง หรือจัดการปราศรัยจัดรายการ ในระหว่างช่วงเวลา 08.30-16.30 น.ซึ่งโจทก์ได้อ้างเรื่องความเดือดร้อนปัญหาจราจรบริเวณดังกล่าว นอกจากนี้ยังขอให้ศาลได้ไต่สวนฉุกเฉินด้วย
แต่นายสุวัตร อภัยภักดิ์ ทนายความของแกนนำพันธมิตรฯ ได้ยื่นคัดค้านว่าหากศาลแพ่งจะนำวิธีการคุ้มครองชั่วคราวตามประมวลกฎหมายวิธีความแพ่งมาตรา 254 มาบังคับใช้จะขัดรัฐธรรมนูญและความผิดเกี่ยวกับเครื่องขยายเสียงผู้เสียหาย คือ กทม.ซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาศาลปกครอง อย่างไรก็ตาม ศาลได้นัดให้คู่ความมาฟังคำสั่งในวันนี้ (30 ก.ค.) เวลา 09.00 น.
พธม.ร้องกมธ.จี้เอาผิด จนท.อุดรฯ
ส่วนที่รัฐสภาวันเดียวกันนายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ ตัวแทนผู้ประสานงานพันธมิตรฯอุดรธานี พร้อมนายชนะศักดิ์ เพลิดผ่องพร้อย ชาว จ.เลย 1 ในพันธมิตรฯที่ได้รับบาดเจ็บจากการทำร้ายเข้ายื่นหนังสือต่อนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน ส.ส.ประจวบคีรีขันธ์ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการตำรวจ สภาผู้แทนราษฎร เพื่อร้องขอความเป็นธรรม และขอให้สอบสวนพฤติกรรมของตำรวจอุดรธานี พร้อมหลักฐานบันทึกซีดีภาพเหตุการณ์ 1 แผ่น
นายเจริญ กล่าวว่า จากเหตุการณ์ที่นายขวัญชัย ไพรพนา และนายอุทัย แสนแก้ว ได้นำกลุ่มคนจำนวนมากพร้อมอาวุธหลายชนิดบุกเข้าทำร้ายในลักษณะหมายเอาชีวิตประชาชนที่บริเวณจัดเวทีพันธมิตรฯ สวนสาธารณะหนองประจักษ์เมื่อวันที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา ทำให้มีประชาชนได้รับบาดเจ็บสาหัสนั้น เราเห็นว่าเหตุการณ์พยายามเข่นฆ่าผู้คนที่เกิดขึ้น สาเหตุเป็นเพราะเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้มีการปฏิบัติหน้าที่ตามที่ควรจะเป็น กลับจงใจปล่อยให้กลุ่มคนบ้าคลั่งนับพันบุกเข้ามาอย่างง่ายดาย ระหว่างกลุ่มคนกำลังรุมทุบตีอย่างเมามัน แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ได้ช่วยเหลือ หรือขัดขวาง ได้แต่ยืนดูเท่านั้นอาจได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติเช่นนั้น จึงขอให้กรรมาธิการได้สืบสวนสอบสวนเพื่อให้ได้ความจริงเกี่ยวกับพฤติกรรมของตำรวจอุดรธานี และควรสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกระดับที่เกี่ยวข้องออกนอกพื้นที่เป็นการด่วน เพื่อให้การสอบสวนเกิดความเป็นธรรม และเป็นไปด้วยความรวดเร็ว พร้อมขอฝากให้ดูแลเรื่องความปลอดภัยแก่ทุกคนที่เข้ามาร้องเรียนด้วย
นายเฉลิมชัย กล่าวภายหลังรับหนังสือว่า ทางกรรมาธิการจะพิจารณาให้ความยุติธรรมกับประชาชนให้ดีที่สุดและขอให้เชื่อมั่นในการทำหน้าที่ของกรรมาธิการ โดยในวันนี้ (30) เวลา 09.00 น. ตนพร้อมคณะกรรมาธิการฯจะเดินทางลงพื้นที่เพื่อสอบข้อเท็จจริงที่อุดรธานี เพื่อรับฟังความชี้แจงของ ผบช.ภ.4 พร้อม ผกก.สภ.เมืองอุดรธานี จากนั้นจะได้เชิญตำรวจที่เกี่ยวข้องเข้ามาพิจารณาที่รัฐสภา เพื่อนำข้อมูลมาประกอบการพิจารณาสรุปต่อไป และอาจจะเชิญ ผบ.ตร.เข้ามาชี้แจงในโอกาสต่อไปด้วย
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการตำรวจ กล่าวเสริมว่า สำหรับผู้บาดเจ็บที่มาร้องเรียนต่อกรรมาธิการได้จดชื่อที่อยู่ของทุกคนไว้แล้ว ซึ่งประธานคณะกรรมาธิการฯจะทำหนังสือถึง ผบ.ตร.และ ผบก.ป.พร้อมแนบรายชื่อบุคลเหล่านี้ในวันนี้เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดูแลคุ้มครองรักษาความปลอดภัย เพราะหากบุคคลเหล่านี้ยังได้รับอันตรายอีกจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการดูแลรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
ปธ.สิทธิฯวุฒิสภาลงพื้นที่วันนี้
จากนั้นเวลา 14.00 น. นายเจริญ และผู้บาดเจ็บได้เข้ายื่นเรื่องต่อนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้ตรวจสอบผู้กระทำผิดและหามาตรการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก และขอให้ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง โดยที่รัฐบาลและเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ให้การคุ้มครองแต่อย่างใด ในทางกลับกันมีข้าราชการการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐมีส่วนร่วมสมคบคิดกับกลุ่มอันธพาลดังกล่าว จึงไม่มั่นใจว่ากลไกรัฐจะช่วยคลี่คลายปัญหาได้จริงและเป็นธรรม
นายสมชาย กล่าวภายหลังว่า การทำร้ายร่างกายเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพ ซึ่งรัฐบาลจะต้องดำเนินคดีกับผู้ที่ทำร้ายประชาชน นอกจากคณะกรรมาธิการชุดนี้แล้วยังมีอีก 2 คณะกรรมาธิการฯที่จะร่วมตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าวร่วมกัน คือ คณะกรรมาธิการการยุติธรรมและการตำรวจ และคณะกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน วุฒิสภา โดยจะมีการลงพื้นที่เกิดเหตุในวันนี้ (30) และจะเชิญ ผบ.ตร. ปลัดกระทรวงมหาดไทย ผวจ.อุดรธานี ผบก.ภ.จว.อุดรธานี และ ผกก.เมืองอุดรธานี เข้าชี้แจงต่อคณะกรรมาธิการฯในวันที่ 31 ก.ค.นี้ ยืนยันว่ากรรมาธิการฯจะดำเนินการให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมต่อไป
จี้แพทย์สภาสอบพฤติกรรม"เหวง"
ที่แพทยสภาวันเดียวกัน ผศ.นพ.ตุลย์ สิทธิสมวงศ์ อาจารย์ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาชิกแพทยสภา ได้เข้ายื่นหนังสือร้องเรียนให้สอบสวนพฤติกรรม นพ.เหวง โตจิราการ พร้อมได้นำข่าวเหตุการณ์การชุมนุมหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เมื่อวันที่ 22 ก.ค.50 และรายนามแพทย์ร่วมร้องเรียนให้สอบสวน 40 รายชื่อโดยมี นพ.อำนาจ กุศลานันท์ เลขาธิการแพทยสภา เป็นผู้รับหนังสือดังกล่าว
สำหรับหนังสือร้องเรียนฉบับดังกล่าวระบุว่า นพ.เหวง เป็นสมาชิกคนหนึ่งของแพทยสภา ต้องพึงรักษาเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ หากข่าวการโทรศัพท์แสดงความยินดีกับกลุ่มคนรักอุดร ซึ่งก่อเหตุความรุนแรง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บสาหัสเป็นความจริง แสดงว่า นพ.เหวง ให้การสนับสนุนบุคคลที่เป็นผู้นำในการปฏิบัติทำร้ายประชาชน อันก่อให้เกิดความบาดเจ็บล้มตามของประชาชน ซึ่งเป็นการกระทำที่อุกอาจ ผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดความแตกแยกของคนในชาติ
นอกจากนี้ นพ.เหวง ยังเคยร่วมเป็นผู้นำในการก่อการชุมนุมประท้วงด้วยความรุนแรงที่บริเวณหน้าบ้านพัก พล.อ.เปรม ให้ลาออกจากตำแหน่ง จนกระทั่งศาลออกหมายจับ นพ.เหวง และพวก ในคดีหมายเลขดำ ที่ พ.1526/2550 โดยศาลกำหนดเงื่อนไขว่า ห้ามผู้ต้องหาประพฤติตนตามลักษณะในคำร้องของฝากขังอันนำไปสู่การกระทำผิดในทำนองเดียวกันอีก
พฤติกรรมเยี่ยงนี้ของ นพ.เหวง เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ซึ่งการกระทำของ นพ.เหวง ก่อให้เกิดความรุนแรงในสังคม และภายหลังยังให้การสนับสนุนผู้ที่กระทำผิดต่อชีวิตและสุขภาพของประชาชน อันเป็นการขัดต่อหลักการของวิชาชีพแพทย์เป็นอย่างยิ่ง ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางว่า เป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสมกับผู้ที่เป็นแพทย์ นำความเสื่อมเสียมาสู่วงการแพทย์เป็นอย่างมาก