ผู้จัดการรายวัน – “ศศิธารา” ฟิต รับหมวกใบใหม่ “ประธานบริหารกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยวไทย” ถ่ายอำนาจภาคการเมืองสู่ข้าราชการแต่ต้องบริหารแบบมืออาชีพ เล็งตั้ง แมทชิ่งฟันด์ ปล่อยกู้ สร้างรายได้หนุนรายจ่าย พร้อมปรับโครงสร้างการทำงาน เน้นโปร่งใส หลังกระทรวงการคลังไม่ปลื้มการใช้เงินในอดีต
นาวสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้มีการปรับวิธีการบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยใหม่ ภายใต้ พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2551 ที่เพิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ 1. โครงสร้างการทำงาน ให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวเป็นประธานบริหารกองทุนฯ จากเดิม คือรองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลงานด้านการท่องเที่ยว ส่วนกรรมการบริหารกองทุนจะประกอบด้วยตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งราชการ เอกชน และนักเศรษฐศาสตร์ จากเดิมมีเพียงข้าราชการ เท่านั้น
2.ต้องจัดทำระเบียบการบริหารกองทุน เพื่อวางแผนงานแนวทางการใช้เงิน และ 3.ปรับวิธีการใช้เงินกองทุนฯ จากเดิมที่เป็นเงินอุดหนุนแบบให้เปล่า แต่เงื่อนไขใหม่ จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ อุดหนุนแบบให้เปล่า และ การให้กู้ยืมและคิดอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯภายใต้โครงสร้างใหม่ไปแล้ว 1 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจ ร่วมกันในกรอบการทำงาน พร้อมจัดกระบวนการทำงาน ล่าสุด ได้ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อให้เงินกองทุน ได้แก่ คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการที่จะขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ คณะกรรมการเขียนแผนยุทธศาสตร์ และ คณะกรรมการติดตามประเมินผล เพราะที่ผ่านมา การขอรับเงินกองทุนฯไม่มีระเบียบชัดเจน ไม่มีการติดตามประเมินผล ทำให้หลายโครงการที่นำเงินไปใช้ ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร
“เราต้องทำงานให้มีระบบอย่างมืออาชีพ เพราะขณะนี้ การบริหารกองทุนได้เปลี่ยนมือจากภาคการเมือง มาเป็นภาคข้าราชการ ซึ่งทางเราได้เซ็นรับมอบอำนาจตรงนี้มาจากกระทรวงการคลัง พร้อมคำรับรองว่าจะใช้เงินกองทุนให้คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ จากนี้จะต้องดำเนินการยกร่างระเบียบการใช้เงินกองทุนมาแก้ไขใหม่ โยกลางเดือนสิงหาคมจะมีการประชุมกันเป็นครั้งที่ 2”
สำหรับหลักเกณฑ์การใช้เงินกองทุน กรอบเบื้องต้น คือ ให้หน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่านั้น ที่สามารถขอรับเงิน หากภาคเอกชน หรือสมาคม มีโครงการที่ดี ก็ให้ร่วมกันหน่วยงานภาครัฐดังกล่าว แล้วจึงมาขอรับเงินอุดหนุนได้ ส่วนการให้กู้ยืม มีแนวคิดจัดตั้งเป็นแมทชิ่งฟันด์ ระดมเงินจากกองทุนฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาปล่อยกู้ให้แก่โครงการด้านการท่องเที่ยว ส่วนอัตราดอกเบี้ย อยู่ระหว่างการหารือซี่งมีผู้เสนอว่าจะคิดอัตราที่ 3.5% ซึ่งการประชุมครั้งหน้าจะหาข้อสรุป
“โครงการที่จะขอใช้เงินจากกองทุนจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น การวิจัย การพัฒนา และ การส่งเสริมการตลาด เป็นต้น ภารกิจของเราคือ ทำกติกาให้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินว่า การปล่อยกู้ หรือสนับสนุน จะมีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร คาดว่าจะสรุปได้ในการประชุมครั้งต่อไป ดังนั้นในอนาคต กองทุนก็จะมีทั้งรายจ่ายและรายได้เกิดเงินหมุนเวียน”
ปัจจุบัน กองทุนฯมีเงินประมาณ 400 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากงบประมาณปี 2548-2551 แต่ในปี 2552 จะไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ เพราะ ยังมีเงินเหลืออยู่ในกองทุนฯ และ ต้องมีแผนการทำงานชัดเจนก่อน
นาวสาวศศิธารา พิชัยชาญณรงค์ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้มีการปรับวิธีการบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยใหม่ ภายใต้ พ.ร.บ.นโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2551 ที่เพิ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ ซึ่งมีสาระสำคัญ 3 ประการ กล่าวคือ 1. โครงสร้างการทำงาน ให้ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวเป็นประธานบริหารกองทุนฯ จากเดิม คือรองนายกรัฐมนตรี ที่กำกับดูแลงานด้านการท่องเที่ยว ส่วนกรรมการบริหารกองทุนจะประกอบด้วยตัวแทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งราชการ เอกชน และนักเศรษฐศาสตร์ จากเดิมมีเพียงข้าราชการ เท่านั้น
2.ต้องจัดทำระเบียบการบริหารกองทุน เพื่อวางแผนงานแนวทางการใช้เงิน และ 3.ปรับวิธีการใช้เงินกองทุนฯ จากเดิมที่เป็นเงินอุดหนุนแบบให้เปล่า แต่เงื่อนไขใหม่ จะแบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ อุดหนุนแบบให้เปล่า และ การให้กู้ยืมและคิดอัตราดอกเบี้ย
ทั้งนี้ได้ประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฯภายใต้โครงสร้างใหม่ไปแล้ว 1 ครั้ง เพื่อทำความเข้าใจ ร่วมกันในกรอบการทำงาน พร้อมจัดกระบวนการทำงาน ล่าสุด ได้ตั้งคณะกรรมการ 3 ชุด เพื่อให้เงินกองทุน ได้แก่ คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการที่จะขอรับเงินอุดหนุนจากกองทุนฯ คณะกรรมการเขียนแผนยุทธศาสตร์ และ คณะกรรมการติดตามประเมินผล เพราะที่ผ่านมา การขอรับเงินกองทุนฯไม่มีระเบียบชัดเจน ไม่มีการติดตามประเมินผล ทำให้หลายโครงการที่นำเงินไปใช้ ไม่เกิดประสิทธิภาพเท่าที่ควร
“เราต้องทำงานให้มีระบบอย่างมืออาชีพ เพราะขณะนี้ การบริหารกองทุนได้เปลี่ยนมือจากภาคการเมือง มาเป็นภาคข้าราชการ ซึ่งทางเราได้เซ็นรับมอบอำนาจตรงนี้มาจากกระทรวงการคลัง พร้อมคำรับรองว่าจะใช้เงินกองทุนให้คุ้มค่า โปร่งใส ตรวจสอบได้ จากนี้จะต้องดำเนินการยกร่างระเบียบการใช้เงินกองทุนมาแก้ไขใหม่ โยกลางเดือนสิงหาคมจะมีการประชุมกันเป็นครั้งที่ 2”
สำหรับหลักเกณฑ์การใช้เงินกองทุน กรอบเบื้องต้น คือ ให้หน่วยงานราชการ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เท่านั้น ที่สามารถขอรับเงิน หากภาคเอกชน หรือสมาคม มีโครงการที่ดี ก็ให้ร่วมกันหน่วยงานภาครัฐดังกล่าว แล้วจึงมาขอรับเงินอุดหนุนได้ ส่วนการให้กู้ยืม มีแนวคิดจัดตั้งเป็นแมทชิ่งฟันด์ ระดมเงินจากกองทุนฯและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาปล่อยกู้ให้แก่โครงการด้านการท่องเที่ยว ส่วนอัตราดอกเบี้ย อยู่ระหว่างการหารือซี่งมีผู้เสนอว่าจะคิดอัตราที่ 3.5% ซึ่งการประชุมครั้งหน้าจะหาข้อสรุป
“โครงการที่จะขอใช้เงินจากกองทุนจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ เช่น การวิจัย การพัฒนา และ การส่งเสริมการตลาด เป็นต้น ภารกิจของเราคือ ทำกติกาให้ชัดเจน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้ตัดสินว่า การปล่อยกู้ หรือสนับสนุน จะมีหลักเกณฑ์พิจารณาอย่างไร คาดว่าจะสรุปได้ในการประชุมครั้งต่อไป ดังนั้นในอนาคต กองทุนก็จะมีทั้งรายจ่ายและรายได้เกิดเงินหมุนเวียน”
ปัจจุบัน กองทุนฯมีเงินประมาณ 400 ล้านบาท โดยเป็นเงินจากงบประมาณปี 2548-2551 แต่ในปี 2552 จะไม่ได้รับจัดสรรงบประมาณ เพราะ ยังมีเงินเหลืออยู่ในกองทุนฯ และ ต้องมีแผนการทำงานชัดเจนก่อน