เอเจนซี - นักวิจัยเตือนการกินอาหารจากถั่วเหลืองแค่วันละมื้อ อาจทำให้จำนวนสเปิร์มของผู้ชายลดลงอย่างชัดเจน โดยเฉพาะหากเป็นคนอ้วน
การศึกษานี้เป็นการศึกษากับคนที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของเชื้ออสุจิกับฮอร์โมนจากพืชที่มีผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ที่ชื่อว่าไฟโตเอสโตรเจนซึ่งอยู่ในอาหารจากถั่วเหลือง
“สิ่งที่เราพบคือ ผู้ชายที่กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองมากที่สุดในการศึกษานี้ จะมีความเข้มข้นของเชื้ออสุจิลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายที่ไม่ได้กินอาหารประเภทนี้” ดร.จอร์จี้ ชาวาร์โร จากฮาร์วาร์ด สกูล ออฟ พับลิก เฮลท์ในบอสตัน กล่าว
ชาวาร์โรเสริมว่า การศึกษากับสัตว์บ่งชี้ความเชื่อมโยงของการกินเอสโตรเจนที่ได้จากพืชที่รู้จักกันในชื่อไอโซฟลาโวน กับการเป็นหมัน แต่ยังมีหลักฐานน้อยมากที่บ่งชี้ถึงผลลัพธ์เดียวกันนี้ในมนุษย์
ทีมนักวิจัยของชาวาร์โรจึงทำการวิเคราะห์ผลจากการกินอาหารจากถั่วเหลือง 15 ประเภทในผู้ชาย 99 คนที่ไปใช้บริการคลินิกเจริญพันธุ์ระหว่างปี 2000-2006
กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวถูกซักถามข้อมูลว่าในช่วงสามเดือนก่อนหน้านั้นเคยกินอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองมากและบ่อยแค่ไหน อาหารเหล่านั้นรวมถึงเต้าหู้ เทมเป้ ไส้กรอก เบคอน และเบอร์เกอร์ถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง ชีส โยเกิร์ต และไอศกรีม และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่นๆ ที่อยู่ในรูปเครื่องดื่ม แป้ง เป็นต้น
เนื่องจากอาหารต่างประเภทมีระดับของไอโซฟลาโฟนต่างกัน นักวิจัยจึงกำหนดมาตรฐานสำหรับปริมาณของอาหารแต่ละประเภท จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มๆ ตามปริมาณการบริโภคถั่วเหลือง กลุ่มที่กินถั่วเหลืองมากที่สุดเฉลี่ยกินวันละครึ่งมื้อ ซึ่งในแง่ของปริมาณไอโซฟลาโวนจะเท่ากับการกินนมถั่วเหลืองหนึ่งถ้วย เต้าหู้หนึ่งมื้อ หรือเบอร์เกอร์ถั่วเหลืองวันเว้นวัน
ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินถั่วเหลืองมากที่สุดมีจำนวนอสุจิน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินอาหารประเภทนี้เลยถึง 41 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร เทียบกับจำนวนอสุจิในระดับปกติคือ 80-120 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร โดยที่จำนวนอสุจิ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรถือว่าต่ำมาก
“ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองอาจส่งผลลบต่อระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตอสุจิ” ชาวาร์โรกล่าว
นักวิจัยยังพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารจากถั่วเหลืองและจำนวนอสุจิที่ลดลงชัดเจนยิ่งขึ้นในกลุ่มผู้ชายที่น้ำหนักเกิน บ่งชี้ว่าฮอร์โมนอาจมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้
“ผู้ชายที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีแนวโน้มที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงกว่าปกติ ซึ่งจะเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนเพศหญิงภายในชั้นไขมัน ดังนั้น ยิ่งมีไขมันมาก ก็จะมีการผลิตเอสโตรเจนในไขมันมากขึ้นไปด้วย”
อย่างไรก็ดี ชาวาร์โรตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายในวารสารฮิวแมน รีโปรดักชันว่าผลการศึกษานี้ไม่เพียงพอที่จะบ่งชี้ว่าการกินถั่วเหลืองมีนัยต่อสุขภาพ เช่น การลดความสามารถในการเจริญพันธุ์ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป
การศึกษานี้เป็นการศึกษากับคนที่ครอบคลุมกว้างขวางที่สุดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพของเชื้ออสุจิกับฮอร์โมนจากพืชที่มีผลเช่นเดียวกับฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน ที่ชื่อว่าไฟโตเอสโตรเจนซึ่งอยู่ในอาหารจากถั่วเหลือง
“สิ่งที่เราพบคือ ผู้ชายที่กินอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองมากที่สุดในการศึกษานี้ จะมีความเข้มข้นของเชื้ออสุจิลดลงเมื่อเทียบกับผู้ชายที่ไม่ได้กินอาหารประเภทนี้” ดร.จอร์จี้ ชาวาร์โร จากฮาร์วาร์ด สกูล ออฟ พับลิก เฮลท์ในบอสตัน กล่าว
ชาวาร์โรเสริมว่า การศึกษากับสัตว์บ่งชี้ความเชื่อมโยงของการกินเอสโตรเจนที่ได้จากพืชที่รู้จักกันในชื่อไอโซฟลาโวน กับการเป็นหมัน แต่ยังมีหลักฐานน้อยมากที่บ่งชี้ถึงผลลัพธ์เดียวกันนี้ในมนุษย์
ทีมนักวิจัยของชาวาร์โรจึงทำการวิเคราะห์ผลจากการกินอาหารจากถั่วเหลือง 15 ประเภทในผู้ชาย 99 คนที่ไปใช้บริการคลินิกเจริญพันธุ์ระหว่างปี 2000-2006
กลุ่มตัวอย่างดังกล่าวถูกซักถามข้อมูลว่าในช่วงสามเดือนก่อนหน้านั้นเคยกินอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองมากและบ่อยแค่ไหน อาหารเหล่านั้นรวมถึงเต้าหู้ เทมเป้ ไส้กรอก เบคอน และเบอร์เกอร์ถั่วเหลือง นมถั่วเหลือง ชีส โยเกิร์ต และไอศกรีม และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอื่นๆ ที่อยู่ในรูปเครื่องดื่ม แป้ง เป็นต้น
เนื่องจากอาหารต่างประเภทมีระดับของไอโซฟลาโฟนต่างกัน นักวิจัยจึงกำหนดมาตรฐานสำหรับปริมาณของอาหารแต่ละประเภท จากนั้นจึงแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มๆ ตามปริมาณการบริโภคถั่วเหลือง กลุ่มที่กินถั่วเหลืองมากที่สุดเฉลี่ยกินวันละครึ่งมื้อ ซึ่งในแง่ของปริมาณไอโซฟลาโวนจะเท่ากับการกินนมถั่วเหลืองหนึ่งถ้วย เต้าหู้หนึ่งมื้อ หรือเบอร์เกอร์ถั่วเหลืองวันเว้นวัน
ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินถั่วเหลืองมากที่สุดมีจำนวนอสุจิน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้กินอาหารประเภทนี้เลยถึง 41 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร เทียบกับจำนวนอสุจิในระดับปกติคือ 80-120 ล้านตัวต่อมิลลิลิตร โดยที่จำนวนอสุจิ 20 ล้านตัวต่อมิลลิลิตรถือว่าต่ำมาก
“ผลการศึกษาบ่งชี้ว่าอาหารที่ทำจากถั่วเหลืองอาจส่งผลลบต่อระบบสืบพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตอสุจิ” ชาวาร์โรกล่าว
นักวิจัยยังพบว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารจากถั่วเหลืองและจำนวนอสุจิที่ลดลงชัดเจนยิ่งขึ้นในกลุ่มผู้ชายที่น้ำหนักเกิน บ่งชี้ว่าฮอร์โมนอาจมีบทบาทสำคัญในเรื่องนี้
“ผู้ชายที่น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีแนวโน้มที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนจะสูงกว่าปกติ ซึ่งจะเปลี่ยนฮอร์โมนเพศชายเป็นฮอร์โมนเพศหญิงภายในชั้นไขมัน ดังนั้น ยิ่งมีไขมันมาก ก็จะมีการผลิตเอสโตรเจนในไขมันมากขึ้นไปด้วย”
อย่างไรก็ดี ชาวาร์โรตั้งข้อสังเกตทิ้งท้ายในวารสารฮิวแมน รีโปรดักชันว่าผลการศึกษานี้ไม่เพียงพอที่จะบ่งชี้ว่าการกินถั่วเหลืองมีนัยต่อสุขภาพ เช่น การลดความสามารถในการเจริญพันธุ์ จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป