1. คำนำ
เมื่อปลายปีที่แล้ว (14 ธันวาคม 2550) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีประวัติศาสตร์ ที่สมาพันธ์องค์กรผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้อง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวงพลังงานและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในกรณีให้เพิกถอนการแปรรูป ปตท.
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาไม่เพิกถอนหุ้น ปตท. ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนและประชาชนจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ท่อส่งก๊าซ และท่องส่งน้ำมัน กลับคืนให้กับรัฐบาลเพราะเป็นทรัพย์สินแผ่นดิน
ประเด็นที่ผมสนใจในบทความนี้คือ “การคิดค่าเช่าท่อก๊าซ” ว่ามีความเหมาะสม เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายคือบริษัท ปตท. และประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศหรือไม่
2. ความคืบหน้าการคิดค่าเช่า
ก่อนจะกล่าวถึงความคืบหน้า ขออนุญาตย้อนหลังไปสักนิดครับ คือ
ก่อนจะมีการแปรรูป การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (หรือ ปตท.ซึ่งเป็นของรัฐ 100%) มาเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันเป็นของรัฐเพียง 51.8% นั้น คณะกรรมนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติให้แยกกิจการท่อส่งก๊าซออกมาต่างหากก่อน
มติ ครม. (วันที่ 25 กันยายน 2544) เองก็เห็นชอบกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ แต่อยู่ๆ ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้นจึงไม่ได้มีการแยกเป็นบริษัทท่อส่งก๊าซออกมา
ขณะนี้ (16 พฤษภาคม 2551) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึงคณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สรุปความว่า
(1) ทางกระทรวงการคลัง(โดยกรมธนารักษ์เป็นตัวแทน) และบริษัท ปตท. ร่วมกันร่างสัญญาการใช้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของท่อส่งก๊าซบนสาธารณะสมบัติของชาติเรียบร้อยแล้ว ร่างสัญญาดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
(2) ปตท.ต้องชำระค่าใช้ที่ราชพัสดุ สรุปได้ว่าปีละไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 550 ล้านบาท
3. คำถามที่สงสัย
(1) ก่อนการแปรรูปเงินลงทุนในระบบท่อส่งก๊าซทั้งหมดเป็นเงินของประชาชนทั้ง 100% ใช่หรือไม่
(2) การลงทุนในกิจการท่อส่งก๊าซ ทาง ปตท. (เดิม) นั้น ทาง ปตท. ได้กำหนดอัตราผลตอบแทน (IRR on Equity) เท่ากับ 18% ต่อปี ใช่หรือไม่
(3) จากคู่มือการคำนวณอัตราค่าผ่านท่อ (7 พฤศจิกายน 2539 -จัดทำโดยสำนักงานพลังงานแห่งชาติ) ตารางที่ 12 ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2539 รายได้จากค่าผ่าท่อ(ท่อเส้นแรก ท่อบงกช ท่อคู่ขนาน ท่อวังน้อย ท่อทานตะวัน ท่อไพลิน) ทั้งหมดรวมกัน 6,646.8 ล้านบาท
ตอนปี 2539 นั้น การใช้ก๊าซยังมีปริมาณน้อยเพื่อเทียบกับวันนี้ ตอนนั้นยังไม่มีท่อก๊าซไทย-พม่า (ถึงมีก็ยังไม่ได้ใช้) เรายังสามารถเก็บค่าผ่านท่อได้ถึง 6 พัน 6 ร้อยล้านบาท
ตอนนี้ผมคิดคร่าวๆ ผมคิดว่าค่าผ่านท่อน่าจะมากกว่านี้เยอะ อาจจะกว่า 1 หมื่นล้านบาท ผมขอเวลาอีกสักนิดครับจะคิดต่อไป
แต่ทำไม ทาง บริษัท ปตท. จำกัดและกรมธนารักษ์จึงคิดจะจ่ายค่าใช้ที่ราชพัสดุเพียงปีละ 180 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 550 ล้านบาท
ทำไมใจดำถึงเพียงนี้ครับ
4. สรุป
อนึ่ง ข้อมูลของ ปตท.เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมาก แต่สิ่งที่ผมเขียนมาอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ถ้าผมมองอะไรผิดพลาดไป หรือข้อมูลผมไม่ครบถ้วน ก็สมควรอย่างยิ่งที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องออกมาชี้แจงต่อประชาชน
ประชาชนเป็นผู้พร้อมเสมอที่จะเรียนรู้ครับ
เมื่อปลายปีที่แล้ว (14 ธันวาคม 2550) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาในคดีประวัติศาสตร์ ที่สมาพันธ์องค์กรผู้บริโภคเป็นโจทก์ฟ้อง นายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี กระทรวงพลังงานและบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในกรณีให้เพิกถอนการแปรรูป ปตท.
ตุลาการศาลปกครองสูงสุด มีคำพิพากษาไม่เพิกถอนหุ้น ปตท. ออกจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพราะเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อนักลงทุนและประชาชนจำนวนมาก
อย่างไรก็ตาม ให้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน ท่อส่งก๊าซ และท่องส่งน้ำมัน กลับคืนให้กับรัฐบาลเพราะเป็นทรัพย์สินแผ่นดิน
ประเด็นที่ผมสนใจในบทความนี้คือ “การคิดค่าเช่าท่อก๊าซ” ว่ามีความเหมาะสม เป็นธรรมทั้งสองฝ่ายคือบริษัท ปตท. และประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศหรือไม่
2. ความคืบหน้าการคิดค่าเช่า
ก่อนจะกล่าวถึงความคืบหน้า ขออนุญาตย้อนหลังไปสักนิดครับ คือ
ก่อนจะมีการแปรรูป การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (หรือ ปตท.ซึ่งเป็นของรัฐ 100%) มาเป็นบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งปัจจุบันเป็นของรัฐเพียง 51.8% นั้น คณะกรรมนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติให้แยกกิจการท่อส่งก๊าซออกมาต่างหากก่อน
มติ ครม. (วันที่ 25 กันยายน 2544) เองก็เห็นชอบกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ แต่อยู่ๆ ไม่ทราบเกิดอะไรขึ้นจึงไม่ได้มีการแยกเป็นบริษัทท่อส่งก๊าซออกมา
ขณะนี้ (16 พฤษภาคม 2551) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ทำหนังสือถึงคณะ กรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สรุปความว่า
(1) ทางกระทรวงการคลัง(โดยกรมธนารักษ์เป็นตัวแทน) และบริษัท ปตท. ร่วมกันร่างสัญญาการใช้ที่ดินที่เป็นที่ตั้งของท่อส่งก๊าซบนสาธารณะสมบัติของชาติเรียบร้อยแล้ว ร่างสัญญาดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบของสำนักงานอัยการสูงสุดแล้ว
(2) ปตท.ต้องชำระค่าใช้ที่ราชพัสดุ สรุปได้ว่าปีละไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 550 ล้านบาท
3. คำถามที่สงสัย
(1) ก่อนการแปรรูปเงินลงทุนในระบบท่อส่งก๊าซทั้งหมดเป็นเงินของประชาชนทั้ง 100% ใช่หรือไม่
(2) การลงทุนในกิจการท่อส่งก๊าซ ทาง ปตท. (เดิม) นั้น ทาง ปตท. ได้กำหนดอัตราผลตอบแทน (IRR on Equity) เท่ากับ 18% ต่อปี ใช่หรือไม่
(3) จากคู่มือการคำนวณอัตราค่าผ่านท่อ (7 พฤศจิกายน 2539 -จัดทำโดยสำนักงานพลังงานแห่งชาติ) ตารางที่ 12 ระบุว่า ในปี พ.ศ. 2539 รายได้จากค่าผ่าท่อ(ท่อเส้นแรก ท่อบงกช ท่อคู่ขนาน ท่อวังน้อย ท่อทานตะวัน ท่อไพลิน) ทั้งหมดรวมกัน 6,646.8 ล้านบาท
ตอนปี 2539 นั้น การใช้ก๊าซยังมีปริมาณน้อยเพื่อเทียบกับวันนี้ ตอนนั้นยังไม่มีท่อก๊าซไทย-พม่า (ถึงมีก็ยังไม่ได้ใช้) เรายังสามารถเก็บค่าผ่านท่อได้ถึง 6 พัน 6 ร้อยล้านบาท
ตอนนี้ผมคิดคร่าวๆ ผมคิดว่าค่าผ่านท่อน่าจะมากกว่านี้เยอะ อาจจะกว่า 1 หมื่นล้านบาท ผมขอเวลาอีกสักนิดครับจะคิดต่อไป
แต่ทำไม ทาง บริษัท ปตท. จำกัดและกรมธนารักษ์จึงคิดจะจ่ายค่าใช้ที่ราชพัสดุเพียงปีละ 180 ล้านบาทแต่ไม่เกิน 550 ล้านบาท
ทำไมใจดำถึงเพียงนี้ครับ
4. สรุป
อนึ่ง ข้อมูลของ ปตท.เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ต้องอาศัยข้อมูลจำนวนมาก แต่สิ่งที่ผมเขียนมาอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ถ้าผมมองอะไรผิดพลาดไป หรือข้อมูลผมไม่ครบถ้วน ก็สมควรอย่างยิ่งที่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต้องออกมาชี้แจงต่อประชาชน
ประชาชนเป็นผู้พร้อมเสมอที่จะเรียนรู้ครับ