ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังจากที่ผู้สื่อข่าวสวมเสื้อโปโล สีขาว ด้านหลังเขียนข้อความ "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย แจกให้กับสื่อมวชนในทำเนียบรัฐบาลและถ่ายภาพร่วมกันที่บริเวณหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เพื่อแเสดงพลังความสามัคคีของสื่อมวลชน ที่ไม่ต้องการให้ฝ่ายการเมืองคุกคาม การนำเสนอข่าว เนื่องในวันเสรีภาพสื่อโลก เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ที่ผ่านมา และสื่อมวลชนบางคนได้นำเสื้อดังกล่าวมาสวมใส่ตามปกติ เข้ามาทำข่าวภายในทำเนียบรัฐบาล
ปรากฏว่า วานนี้ (23ก.ค.) ได้มีเจ้าหน้าที่กองงานโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน ว่าไม่ให้ใส่เสื้อดังกล่าว เข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาลอีก ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวพยามถามเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องห้าม แต่ทางเจ้าหน้าที่ มีท่าทีกระอักกระอ่วน บอกเพียงว่า"ผู้ใหญ่ ขอความร่วมมือมา" แต่ไม่บอกว่า ผู้ใหญ่ที่ว่านั้น เป็นผู้ใหญ่ระดับไหนของทำเนียบรัฐบาล
ดังนั้น ผู้สื่อข่าวจึงขอให้ทางกองงานโฆษกฯได้ทำหนังสือชี้แจงมายังสื่อมวลชนประจำทำเนียบอย่างเป็นทางการเพื่อทราบทั่วๆกัน แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยง โดยอ้างว่าไม่จำเป็นต้องทำหนังสือ แต่ทางเจ้าหน้าที่จะบอกกล่าว ตักเตือนเป็นรายบุคคล เฉพาะผู้ที่สวมใส่เสื้อ "คุกคามสื่อฯ" เพียงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้เคยพูดในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" กรณีที่สื่อใส่เสื้อดังกล่าวยืนถ่ายรูปร่วมกันหน้าตึกไทยคู่ฟ้า บริเวณประตูรั้วทำเนียบฯ ในทำนองกระทบ กระแทก
นางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รู้สึกแปลกใจที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ถ้าติดใจคำว่า "คุกคามสื่อ" เราก็อยากให้ทุกฝ่ายมองด้วยใจเป็นกลาง เพราะไม่ได้เป็นการกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะขณะนี้สื่อเองก็ทำหน้าที่อยู่ในช่วงบ้านเมืองสับสนวุ่นวาย เปลี่ยนผ่านทางการเมือง การที่สื่อใส่เสื้อสโลแกนอย่างนั้น เขาก็เสี่ยงอยู่แล้ว เพราะหลายครั้งที่ถูกด่าทออย่างไม่เป็นธรรม ถูกกล่าวหาอยู่ตลอด
"การมีคำว่า คุกคามสื่อ คำนี้มันช่วยเตือนใจหลายๆฝ่าย โดยวิชาชีพสื่อ เราก็พยายามทำหน้าที่กันอย่างดีที่สุด ตรงไปตรงมา ก็ต้องเข้าใจกัน แต่ก็แปลกใจอีกเหมือนกันว่าทำไมนายกรัฐมนตรีบอกว่า ไม่ไว้วางใจสื่อ เราก็ดูตัวเองว่า ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งรัฐบาลก็ต้องมอง แล้วก็แยกแยะด้วย และสื่อก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดต่อไป" นางยุวดีกล่าว
นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล และ กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เสื้อตัวดังกล่าวเป็นการรณรงค์ร่วมกับองค์กรยูเนสโกซึ่งกำหนดให้วันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อโลก ซึ่งสื่อมวลชนทั่วโลกก็จะมีการวิธีการรณรงค์อย่างเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นสิทธิเสรีภาพของสื่อ ซึ่งส่วนของฝ่ายสิทธิฯ ก็ได้เข้าร่วมซึ่งในวันนั้นก็ได้มีการจัดเสวนา และมีการออกเสื้อรณรงค์ที่ไม่ได้มีการจงใจ หรือระบุลงไปในเสื้อว่าใครคุกคามสื่อ แต่เป็นเพียงการแสดงพลังเพื่อทางสัญลักษณ์
" ผมขอชี้แจงว่า การใส่เสื้อดังกล่าวไปสัมภาษณ์คนในรัฐบาลไม่ได้เป็นการบอกว่าคนคนนั้นได้คุกคามสื่อ คิดว่าคำสั่งนี้รัฐบาลหรือผู้มีคำสั่งกำลังเข้าใจผิด คงคิดว่าสื่อต่อต้านรัฐบาล ทั้งที่เป็นการร่วมรณรงค์กับองค์กรระดับโลก แต่หากจะห้ามใส่กันจริงๆ ก็ขอให้ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ชี้แจงเหตุผลให้กระจ่าง" นายจีรพงษ์ กล่าว และว่า หากว่าคำว่า "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" มันแสลงใจ รัฐบาลก็อย่ามีพฤติกรรมดังกล่าว เหมือนคนกินปูนร้อนท้อง แต่ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เพราะอย่างล่า สุดกรณีการถอดรายการข่าวหน้า 4 ทางช่องเอ็นบีทีออกไป ทางกองบรรณาธิการก็ระบุว่า เป็นการคุกคามการทำหน้าที่ รวมทั้งผู้นำรัฐบาลเองก็ถูกสื่อส่วนใหญ่มองว่า มีพฤติกรรมลดความน่าเชื่อถือของสื่อลง ด้วยการกล่าวให้ร้ายอย่างเช่น ที่เคยพูดในรายการสนทนาประสาสมัคร อยู่หลายครั้ง แต่สื่อก็ไม่ได้หยุดการทำหน้าที่ เพราะถือว่ารัฐบาลมาแล้วก็จากไป การทำหน้าที่เป็นการติเพื่อก่อ ให้เกิดประโยชน์
"มันก็เหมือนกับที่ท่านกุหลาบ สายประดิษฐ์ แบบอย่างนักหนังสือพิมพ์ที่สื่อให้ความเคารพ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้ารัฐบาลไม่ชอบให้ใครพูดถึงรัฐบาลในสิ่งที่ไม่ดี รัฐบาลก็จะต้องไม่ทำในสิ่งนั้น รัฐบาลต้องแก้การกระทำของรัฐบาลไม่ใช่มาเรียกร้องให้เราแก้การเขียนหนังสือของเราที่เขียนไปตามความเป็นจริง" นายจีรพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานในวันนี้ (24ก.ค.) สื่อทำเนียบรัฐบาลได้นัดกันใส่เสื้อ "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" มาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล
ปรากฏว่า วานนี้ (23ก.ค.) ได้มีเจ้าหน้าที่กองงานโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เข้ามาขอความร่วมมือจากสื่อมวลชน ว่าไม่ให้ใส่เสื้อดังกล่าว เข้ามาภายในทำเนียบรัฐบาลอีก ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวพยามถามเหตุผลว่า ทำไมถึงต้องห้าม แต่ทางเจ้าหน้าที่ มีท่าทีกระอักกระอ่วน บอกเพียงว่า"ผู้ใหญ่ ขอความร่วมมือมา" แต่ไม่บอกว่า ผู้ใหญ่ที่ว่านั้น เป็นผู้ใหญ่ระดับไหนของทำเนียบรัฐบาล
ดังนั้น ผู้สื่อข่าวจึงขอให้ทางกองงานโฆษกฯได้ทำหนังสือชี้แจงมายังสื่อมวลชนประจำทำเนียบอย่างเป็นทางการเพื่อทราบทั่วๆกัน แต่ก็ได้รับการบ่ายเบี่ยง โดยอ้างว่าไม่จำเป็นต้องทำหนังสือ แต่ทางเจ้าหน้าที่จะบอกกล่าว ตักเตือนเป็นรายบุคคล เฉพาะผู้ที่สวมใส่เสื้อ "คุกคามสื่อฯ" เพียงเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้เคยพูดในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" กรณีที่สื่อใส่เสื้อดังกล่าวยืนถ่ายรูปร่วมกันหน้าตึกไทยคู่ฟ้า บริเวณประตูรั้วทำเนียบฯ ในทำนองกระทบ กระแทก
นางยุวดี ธัญญสิริ ผู้สื่อข่าวอาวุโส ประจำทำเนียบรัฐบาล กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า รู้สึกแปลกใจที่มีเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้น ถ้าติดใจคำว่า "คุกคามสื่อ" เราก็อยากให้ทุกฝ่ายมองด้วยใจเป็นกลาง เพราะไม่ได้เป็นการกล่าวหาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เพราะขณะนี้สื่อเองก็ทำหน้าที่อยู่ในช่วงบ้านเมืองสับสนวุ่นวาย เปลี่ยนผ่านทางการเมือง การที่สื่อใส่เสื้อสโลแกนอย่างนั้น เขาก็เสี่ยงอยู่แล้ว เพราะหลายครั้งที่ถูกด่าทออย่างไม่เป็นธรรม ถูกกล่าวหาอยู่ตลอด
"การมีคำว่า คุกคามสื่อ คำนี้มันช่วยเตือนใจหลายๆฝ่าย โดยวิชาชีพสื่อ เราก็พยายามทำหน้าที่กันอย่างดีที่สุด ตรงไปตรงมา ก็ต้องเข้าใจกัน แต่ก็แปลกใจอีกเหมือนกันว่าทำไมนายกรัฐมนตรีบอกว่า ไม่ไว้วางใจสื่อ เราก็ดูตัวเองว่า ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องหรือเปล่า ซึ่งรัฐบาลก็ต้องมอง แล้วก็แยกแยะด้วย และสื่อก็ต้องทำหน้าที่ให้ดีที่สุดต่อไป" นางยุวดีกล่าว
นายจีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง ผู้สื่อข่าวประจำทำเนียบรัฐบาล และ กรรมการฝ่ายสิทธิเสรีภาพสื่อมวลชน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เสื้อตัวดังกล่าวเป็นการรณรงค์ร่วมกับองค์กรยูเนสโกซึ่งกำหนดให้วันที่ 3 พ.ค. ของทุกปี เป็นวันเสรีภาพสื่อโลก ซึ่งสื่อมวลชนทั่วโลกก็จะมีการวิธีการรณรงค์อย่างเช่นเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นสิทธิเสรีภาพของสื่อ ซึ่งส่วนของฝ่ายสิทธิฯ ก็ได้เข้าร่วมซึ่งในวันนั้นก็ได้มีการจัดเสวนา และมีการออกเสื้อรณรงค์ที่ไม่ได้มีการจงใจ หรือระบุลงไปในเสื้อว่าใครคุกคามสื่อ แต่เป็นเพียงการแสดงพลังเพื่อทางสัญลักษณ์
" ผมขอชี้แจงว่า การใส่เสื้อดังกล่าวไปสัมภาษณ์คนในรัฐบาลไม่ได้เป็นการบอกว่าคนคนนั้นได้คุกคามสื่อ คิดว่าคำสั่งนี้รัฐบาลหรือผู้มีคำสั่งกำลังเข้าใจผิด คงคิดว่าสื่อต่อต้านรัฐบาล ทั้งที่เป็นการร่วมรณรงค์กับองค์กรระดับโลก แต่หากจะห้ามใส่กันจริงๆ ก็ขอให้ออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษรและให้ชี้แจงเหตุผลให้กระจ่าง" นายจีรพงษ์ กล่าว และว่า หากว่าคำว่า "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" มันแสลงใจ รัฐบาลก็อย่ามีพฤติกรรมดังกล่าว เหมือนคนกินปูนร้อนท้อง แต่ต้องแสดงจุดยืนที่ชัดเจน ทั้งรูปธรรมและนามธรรม เพราะอย่างล่า สุดกรณีการถอดรายการข่าวหน้า 4 ทางช่องเอ็นบีทีออกไป ทางกองบรรณาธิการก็ระบุว่า เป็นการคุกคามการทำหน้าที่ รวมทั้งผู้นำรัฐบาลเองก็ถูกสื่อส่วนใหญ่มองว่า มีพฤติกรรมลดความน่าเชื่อถือของสื่อลง ด้วยการกล่าวให้ร้ายอย่างเช่น ที่เคยพูดในรายการสนทนาประสาสมัคร อยู่หลายครั้ง แต่สื่อก็ไม่ได้หยุดการทำหน้าที่ เพราะถือว่ารัฐบาลมาแล้วก็จากไป การทำหน้าที่เป็นการติเพื่อก่อ ให้เกิดประโยชน์
"มันก็เหมือนกับที่ท่านกุหลาบ สายประดิษฐ์ แบบอย่างนักหนังสือพิมพ์ที่สื่อให้ความเคารพ เคยกล่าวไว้ว่า ถ้ารัฐบาลไม่ชอบให้ใครพูดถึงรัฐบาลในสิ่งที่ไม่ดี รัฐบาลก็จะต้องไม่ทำในสิ่งนั้น รัฐบาลต้องแก้การกระทำของรัฐบาลไม่ใช่มาเรียกร้องให้เราแก้การเขียนหนังสือของเราที่เขียนไปตามความเป็นจริง" นายจีรพงษ์ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานในวันนี้ (24ก.ค.) สื่อทำเนียบรัฐบาลได้นัดกันใส่เสื้อ "คุกคามสื่อ คุกคามประชาชน" มาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล