ผู้หญิงส่วนใหญ่อยากมีผิวพรรณนวลเนียนและรูปร่างสมส่วนแบบแดเนียล นัลตี้ แต่สำหรับเจ้าตัวแล้ว ทุกครั้งที่ส่องกระจก เธอกลับหวาดผวากับรูปลักษณ์ที่สะท้อนอยู่เบื้องหน้า
บางครั้ง เธอจินตนาการว่าตัวเองผมร่วง และเนื้อหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนอายุ 80 ปี
แดเนียลมีอาการนี้อยู่ 11 ปีกว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Body Dysmorphic Disorder (BBD) หรือโรคหมกมุ่นกับปัญหารูปลักษณ์และคิดเอาเองว่าหน้าตาตนเองไม่สมประกอบ
ปัจจุบัน ในวัย 26 ปี แดเนียลต้องกินยาระงับอาการซึมเศร้าแบบพิเศษสำหรับผู้ป่วยบีบีดี และเริ่มมองเห็นความสวยงามของตัวเองอีกครั้ง
“ในที่สุด ฉันก็เรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเอง” สาวจากสตาฟฟอร์ด อังกฤษ บอก
สัญญาณของโรคบีบีดีปรากฏขึ้นเมื่อแดเนียลเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
“ฉันมีวัยเด็กที่เป็นสุข แต่พอเริ่มแตกเนื้อสาว อยู่ๆ ก็เหมือนว่าฉันเปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน ฉันคิดว่าตัวเองหน้าตาน่าเกลียดทุกครั้งที่ส่องกระจก เพราะฉันเห็นริ้วรอยทั่วทั้งหน้า รอยตีนกา ฉันเหมือนยายแก่อายุ 80”
ก่อนหน้านี้ หมอจ่ายยาโปรแซ็กและเซโรแซตให้แดเนียล แต่อาการของเธอไม่ดีขึ้นเลย
“ตอนอายุ 15 ฉันกลายเป็นคนหมกมุ่นและคิดว่าผมร่วงจนไม่กล้าแม้แต่จะหวี ฉันยังคิดว่าตาตัวเองเล็กเกินไป และพยายามใช้เครื่องสำอางมาแต่งให้ตาโตขึ้น
“ฉันจะออกไปข้างนอกก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะคิดว่าคนอื่นๆ กำลังจ้องมองและวิจารณ์ว่าหน้าตาฉันไม่สมประกอบ”
เธอตัดขาดจากสังคม และเมื่ออายุ 16 ปี แดเนียลเริ่มมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หลังจบมัธยมปลาย เธอเข้าเรียนวิชาความงามบำบัดในวิทยาลัยก่อนเข้าทำงานในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
“ฉันเริ่มหมกมุ่นกับการแต่งหน้าหลังจากใช้เครื่องสำอางเพื่อทำให้หน้าตาดูดีขึ้น และความงามบำบัดเป็นสิ่งเดียวที่ฉันอยากทำในชีวิต
“มานึกตอนนี้ ฉันว่านั่นอาจไม่ใช่ความคิดที่เข้าท่านัก เพราะทำให้ฉันยิ่งหมกมุ่นกับรูปลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น ทุกวัน ฉันมักคิดว่าใครจะมาขอคำแนะนำเรื่องความสวยความงามกับคนหน้าตาอัปลักษณ์อย่างฉัน แม้ว่าสภาพจิตใจจริงๆ ฉันอาจไม่แย่ขนาดนั้น แต่ฉันยังคงเห็นปีศาจจ้องกลับเวลามองกระจก
“ถึงฉันจะเคยมีแฟนคนหนึ่งสมัยวัยรุ่น แต่ก็ยังรู้สึกว่าการออกไปเที่ยวกับผู้ชายเป็นอะไรที่ยากเสียจริง ฉันกระอักกระอ่วนกับความรู้สึกที่มีกับหน้าตาตัวเอง และฉันเกลียดเวลามีคนมองตอนที่ฉันไม่ได้แต่งหน้า”
กระทั่งเดือนเมษายน 2006 แดเนียลได้ดูสารคดีในทีวีเกี่ยวกับโรคบีบีดี เธอจึงเริ่มจับต้นชนปลายอาการของตัวเองถูก
“ทุกคนในสารคดีหน้าตาดีและเป็นปกติเหมือนคนอื่น แต่กลับคิดว่าตัวเองน่าเกลียดอัปลักษณ์ และคงไม่มีใครมารัก ทันทีที่ดูจบฉันบอกกับตัวเองว่า ‘อาการเหมือนฉันไม่มีผิด’”
ขณะนี้ แดเนียลทำงานเป็นพนักงานขายของบริษัทอาหารแห่งหนึ่ง และย้ายไปอยู่กับแฟน แต่ยังมีบางวันที่เธอรู้สึกว่าตัวเองน่าเกลียด
“ฉันรู้ว่าโรคนี้จะอยู่กับฉันไปตลอดชีวิต แต่อย่างน้อยฉันก็ควบคุมมันได้แล้ว”
ดร.เอเดรียน ลอร์ด ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของซิกเน็ต เฮลท์ แคร์ สถานบำบัดทางจิต เผยว่าปัจจุบันมีการตรวจพบผู้ป่วยบีบีดีมากขึ้นทุกปี
“แม้คนส่วนใหญ่ที่เห็นแดเนียลจะไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เธอมีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตัวเอง แต่ผมไม่แปลกใจเลยว่าเธอทุกข์ทรมานมาก”
ฝันร้ายจากบีบีดี
- คน 1 ใน 50 เป็นโรคนี้ โดยชาย-หญิงมีโอกาสเป็นเท่าๆ กัน
- ผลศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคนี้เกือบ 28% พยายามฆ่าตัวตาย และ 1 ใน 3 ติดสารเสพติด เช่น เหล้า หรือยาเสพติด
- บางคนใช้เครื่องสำอางและเสื้อผ้าเพื่อปกปิดข้อบกพร่องที่คิดไปเอง สวมเครื่องประดับพะรุงพะรังเพื่อเบนความสนใจไปจาก ‘ปัญหา’ หรือทำศัลยกรรมพลาสติก
- อาการอื่นๆ ของโรคนี้รวมถึงการควบคุมอาหารและออกกำลังกายมากเกินไป และชอบเก็บเนื้อเก็บตัว
บางครั้ง เธอจินตนาการว่าตัวเองผมร่วง และเนื้อหนังเหี่ยวย่นเหมือนคนอายุ 80 ปี
แดเนียลมีอาการนี้อยู่ 11 ปีกว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค Body Dysmorphic Disorder (BBD) หรือโรคหมกมุ่นกับปัญหารูปลักษณ์และคิดเอาเองว่าหน้าตาตนเองไม่สมประกอบ
ปัจจุบัน ในวัย 26 ปี แดเนียลต้องกินยาระงับอาการซึมเศร้าแบบพิเศษสำหรับผู้ป่วยบีบีดี และเริ่มมองเห็นความสวยงามของตัวเองอีกครั้ง
“ในที่สุด ฉันก็เรียนรู้ที่จะยอมรับตัวเอง” สาวจากสตาฟฟอร์ด อังกฤษ บอก
สัญญาณของโรคบีบีดีปรากฏขึ้นเมื่อแดเนียลเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น
“ฉันมีวัยเด็กที่เป็นสุข แต่พอเริ่มแตกเนื้อสาว อยู่ๆ ก็เหมือนว่าฉันเปลี่ยนไปในชั่วข้ามคืน ฉันคิดว่าตัวเองหน้าตาน่าเกลียดทุกครั้งที่ส่องกระจก เพราะฉันเห็นริ้วรอยทั่วทั้งหน้า รอยตีนกา ฉันเหมือนยายแก่อายุ 80”
ก่อนหน้านี้ หมอจ่ายยาโปรแซ็กและเซโรแซตให้แดเนียล แต่อาการของเธอไม่ดีขึ้นเลย
“ตอนอายุ 15 ฉันกลายเป็นคนหมกมุ่นและคิดว่าผมร่วงจนไม่กล้าแม้แต่จะหวี ฉันยังคิดว่าตาตัวเองเล็กเกินไป และพยายามใช้เครื่องสำอางมาแต่งให้ตาโตขึ้น
“ฉันจะออกไปข้างนอกก็ต่อเมื่อจำเป็นจริงๆ เท่านั้น เพราะคิดว่าคนอื่นๆ กำลังจ้องมองและวิจารณ์ว่าหน้าตาฉันไม่สมประกอบ”
เธอตัดขาดจากสังคม และเมื่ออายุ 16 ปี แดเนียลเริ่มมีความคิดอยากฆ่าตัวตาย หลังจบมัธยมปลาย เธอเข้าเรียนวิชาความงามบำบัดในวิทยาลัยก่อนเข้าทำงานในห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง
“ฉันเริ่มหมกมุ่นกับการแต่งหน้าหลังจากใช้เครื่องสำอางเพื่อทำให้หน้าตาดูดีขึ้น และความงามบำบัดเป็นสิ่งเดียวที่ฉันอยากทำในชีวิต
“มานึกตอนนี้ ฉันว่านั่นอาจไม่ใช่ความคิดที่เข้าท่านัก เพราะทำให้ฉันยิ่งหมกมุ่นกับรูปลักษณ์ของตัวเองมากขึ้น ทุกวัน ฉันมักคิดว่าใครจะมาขอคำแนะนำเรื่องความสวยความงามกับคนหน้าตาอัปลักษณ์อย่างฉัน แม้ว่าสภาพจิตใจจริงๆ ฉันอาจไม่แย่ขนาดนั้น แต่ฉันยังคงเห็นปีศาจจ้องกลับเวลามองกระจก
“ถึงฉันจะเคยมีแฟนคนหนึ่งสมัยวัยรุ่น แต่ก็ยังรู้สึกว่าการออกไปเที่ยวกับผู้ชายเป็นอะไรที่ยากเสียจริง ฉันกระอักกระอ่วนกับความรู้สึกที่มีกับหน้าตาตัวเอง และฉันเกลียดเวลามีคนมองตอนที่ฉันไม่ได้แต่งหน้า”
กระทั่งเดือนเมษายน 2006 แดเนียลได้ดูสารคดีในทีวีเกี่ยวกับโรคบีบีดี เธอจึงเริ่มจับต้นชนปลายอาการของตัวเองถูก
“ทุกคนในสารคดีหน้าตาดีและเป็นปกติเหมือนคนอื่น แต่กลับคิดว่าตัวเองน่าเกลียดอัปลักษณ์ และคงไม่มีใครมารัก ทันทีที่ดูจบฉันบอกกับตัวเองว่า ‘อาการเหมือนฉันไม่มีผิด’”
ขณะนี้ แดเนียลทำงานเป็นพนักงานขายของบริษัทอาหารแห่งหนึ่ง และย้ายไปอยู่กับแฟน แต่ยังมีบางวันที่เธอรู้สึกว่าตัวเองน่าเกลียด
“ฉันรู้ว่าโรคนี้จะอยู่กับฉันไปตลอดชีวิต แต่อย่างน้อยฉันก็ควบคุมมันได้แล้ว”
ดร.เอเดรียน ลอร์ด ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ของซิกเน็ต เฮลท์ แคร์ สถานบำบัดทางจิต เผยว่าปัจจุบันมีการตรวจพบผู้ป่วยบีบีดีมากขึ้นทุกปี
“แม้คนส่วนใหญ่ที่เห็นแดเนียลจะไม่สามารถเข้าใจได้ว่า เธอมีอะไรต้องกังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์ของตัวเอง แต่ผมไม่แปลกใจเลยว่าเธอทุกข์ทรมานมาก”
ฝันร้ายจากบีบีดี
- คน 1 ใน 50 เป็นโรคนี้ โดยชาย-หญิงมีโอกาสเป็นเท่าๆ กัน
- ผลศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยโรคนี้เกือบ 28% พยายามฆ่าตัวตาย และ 1 ใน 3 ติดสารเสพติด เช่น เหล้า หรือยาเสพติด
- บางคนใช้เครื่องสำอางและเสื้อผ้าเพื่อปกปิดข้อบกพร่องที่คิดไปเอง สวมเครื่องประดับพะรุงพะรังเพื่อเบนความสนใจไปจาก ‘ปัญหา’ หรือทำศัลยกรรมพลาสติก
- อาการอื่นๆ ของโรคนี้รวมถึงการควบคุมอาหารและออกกำลังกายมากเกินไป และชอบเก็บเนื้อเก็บตัว