คุณอาจได้ยินเสียงหัวใจเด็กน้อยเต้น เห็นหน้าอกขยับขึ้น-ลง แต่ทารกเหล่านี้มีไว้ขายทางอินเทอร์เน็ตและไม่มีชีวิต
Reborning หรือทารกแรกเกิด ที่ดูเหมือนมีชีวิตเหมือนทารกจริงเหล่านี้ เป็นงานทำมือจากไวนิลที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนักสะสม ตลอดจนถึงปู่ย่าตายายที่คิดถึงหลานๆ และพ่อแม่ที่โศกเศร้ากับการจากไปของลูกน้อย
ตุ๊กตาที่ผลิตและสะสมโดยชุมชนออนไลน์ของผู้นิยมชมชอบ ถูกลงสีซ้ำหลายรอบเพื่อให้ผิวมีจุดสีเหมือนผิวทารกแรกเกิด นอกจากนั้นยังมีผม ขนตา และน้ำหนักใกล้เคียงกับทารกจริง
ผู้ที่ชื่นชอบตุ๊กตาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และระมัดระวังมากขึ้นที่จะพูดเรื่องนี้นับจาก ‘รีบอร์นนิง’ กลายเป็นที่สนใจของสื่อที่ลงข่าวว่าผู้ซื้อตุ๊กตาคือพ่อแม่ที่สูญเสียลูกน้อยไป ทำให้บางคนมองของสะสมนี้เป็นงานอดิเรกที่น่าขนลุก
แต่สำหรับเว็บไซต์ของ ‘รีบอร์นนิง’ โปรโมทตุ๊กตานี้ว่าเป็นการกอดบำบัด โดยภายในตุ๊กตาสามารถติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เลียนแบบการเต้นของหัวใจและการหายใจของคนจริง
แฮร์รอดส์ ห้างสรรพสินค้าไฮโซของลอนดอนที่มีคำขวัญว่า ‘ทุกสิ่งสำหรับทุกคนทุกหนแห่ง’ โฆษณาว่าตุ๊กตานี้เหมือนมีชีวิต ขณะที่ผู้สะสมเองบอกว่า ‘รีบอร์นนิง’ สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ทั้งผ่อนคลายไปจนถึงรังเกียจ
“ฉันอุ้มตุ๊กตา เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ และกอดไว้เหมือนเป็นเด็กจริงๆ มันทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากๆ” คุณย่าวัย 50 ปีที่ไม่ประสงค์ออกนาม เล่า
ผู้พัฒนา ‘รีบอร์นนิง’ บอกว่างานอดิเรกนี้เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อต้นทศวรรษ 1990 ที่ตุ๊กตามีลักษณะที่เหมือนจริงมากขึ้น การรายงานข่าวของสื่อทำให้ไอเดียนี้แพร่หลายสู่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอังกฤษ และออสเตรเลีย
เคที นิวคอมบี ที่ผลิตและดำเนินการเว็บไซต์ Reborn Babies UK บอกว่านักบำบัดมองว่าการกอด ‘รีบอร์นนิง’ มีประโยชน์ในการเยียวยาจิตใจ และอาจกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนของความรู้สึกดีๆ ออกมามากขึ้นสำหรับบางคน
“แต่บางคนก็อาจรังเกียจ เพราะความที่ตุ๊กตาเหมือนทารกจริง และคนเหล่านี้จึงมองว่ามันเป็นร่างทารกที่ตายแล้ว แต่สำหรับฉันไม่คิดอย่างนั้น เพราะผิวตุ๊กตาดูมีสีสันและเลือดเนื้อมากกว่าเป็นร่างไร้วิญญาณ” ซู วัย 56 ปี ที่เพิ่งซื้อตุ๊กตาตัวแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ยืนยัน
เดเบอราห์ คิง ที่สะสมตุ๊กตานี้เป็นงานอดิเรกมาสามปี และขณะนี้ขายผ่านเว็บไซต์ Reborn Baby เสริมว่าคำว่า ‘รีบอร์นนิง’ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความแตกต่างจากตุ๊กตาสั่งทำที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากจากโรงงาน
“มันเริ่มต้นมาจากลูกสาวฉันอยากมีน้อง แต่ฉันไม่อยากมีลูกอีก ฉันเลยซื้อตุ๊กตานี้ให้แทน” คุณแม่ลูกสองวัย 32 ปี เล่า
เว็บไซต์ของคิงโชว์ภาพถ่ายตุ๊กตาสวมเสื้อคลุมหลวมๆ นอนอยู่บนเตียง ส่วนใหญ่เป็นตุ๊กตาเด็กผู้หญิง พร้อมคำบรรยายใต้ภาพว่า ‘รอผู้อุปการะ’
ตุ๊กตาของเว็บไซต์นี้สนนราคาอยู่ระหว่าง 492-3,146 ดอลลาร์ โดยมียอดสั่งซื้อสัปดาห์ละ 10-15 ตัว
ชุมชน ‘รีบอร์นนิง’ บอกว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นนักสะสม
“สำหรับฉัน นี่เป็นงานศิลป์ ฉันจึงไม่เคยพาตุ๊กตาไปนั่งรถเข็นเล่น” กิลพูดแทนนักสะสมอีกหลายคน
นิวคอมบีจาก Reborn Babies UK สำทับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเธอต้องการสะสมตุ๊กตาเป็นงานศิลปะ และ 10-15% เป็นลูกค้าผู้หญิงที่เสียลูกไป
คิงขานรับว่า ลูกค้ามีเหตุผลทางจิตใจแตกต่างกันในการซื้อ เธอเล่าว่าลูกค้าคนหนึ่งตัดสินใจซื้อให้แม่ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หลังจากสังเกตเห็นว่าแม่ใช้เวลาส่วนใหญ่ดูรูปทารก
เอียน เจมส์ แพทย์จากศูนย์สุขภาพผู้สูงวัยของโรงพยาบาลนิวคาสเซิล เผยว่าใช้ตุ๊กตาทารกเหมือนจริงดูแลคนชราเพื่อช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าวฉุนเฉียว
“มีเหตุผลมากมายที่ทำให้ตุ๊กตานี้มีอิทธิพลอย่างมากในการลดพฤติกรรมการท้าทาย เพราะคนแก่จะรู้สึกสงบและเย็นลง เป็นบทบาทที่คุ้นเคยในอดีตที่พวกเขาเหล่านั้นเคยต้องรับที่ทำให้ทั้งยุ่งเหยิงและมีความสุข” ลอร์นา แมกเคนไซน์ ผู้ช่วยของเจมส์อธิบาย
กระนั้น เจมส์บอกว่า ไม่ว่าตุ๊กตานั้นจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆ แค่ไหนก็ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างมากมายนัก
ลูกค้าส่วนใหญ่ของคิงเป็นนักสะสมและปู่ย่าตายายที่คิดถึงหลานๆ ขณะที่อีกหลายๆ คนแค่อยากอุ้มตุ๊กตาที่เหมือนทารกจริงเท่านั้น
โฆษกของแฮร์รอดขานรับว่า เสน่ห์ดึงดูดที่แท้จริงของตุ๊กตาเหล่านี้คือความเหมือนจริง
“ยิ่งเหมือนจริงเท่าไหร่ ตลาดนี้ยิ่งมีความเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น”
Reborning หรือทารกแรกเกิด ที่ดูเหมือนมีชีวิตเหมือนทารกจริงเหล่านี้ เป็นงานทำมือจากไวนิลที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วจากนักสะสม ตลอดจนถึงปู่ย่าตายายที่คิดถึงหลานๆ และพ่อแม่ที่โศกเศร้ากับการจากไปของลูกน้อย
ตุ๊กตาที่ผลิตและสะสมโดยชุมชนออนไลน์ของผู้นิยมชมชอบ ถูกลงสีซ้ำหลายรอบเพื่อให้ผิวมีจุดสีเหมือนผิวทารกแรกเกิด นอกจากนั้นยังมีผม ขนตา และน้ำหนักใกล้เคียงกับทารกจริง
ผู้ที่ชื่นชอบตุ๊กตาเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง และระมัดระวังมากขึ้นที่จะพูดเรื่องนี้นับจาก ‘รีบอร์นนิง’ กลายเป็นที่สนใจของสื่อที่ลงข่าวว่าผู้ซื้อตุ๊กตาคือพ่อแม่ที่สูญเสียลูกน้อยไป ทำให้บางคนมองของสะสมนี้เป็นงานอดิเรกที่น่าขนลุก
แต่สำหรับเว็บไซต์ของ ‘รีบอร์นนิง’ โปรโมทตุ๊กตานี้ว่าเป็นการกอดบำบัด โดยภายในตุ๊กตาสามารถติดตั้งอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เลียนแบบการเต้นของหัวใจและการหายใจของคนจริง
แฮร์รอดส์ ห้างสรรพสินค้าไฮโซของลอนดอนที่มีคำขวัญว่า ‘ทุกสิ่งสำหรับทุกคนทุกหนแห่ง’ โฆษณาว่าตุ๊กตานี้เหมือนมีชีวิต ขณะที่ผู้สะสมเองบอกว่า ‘รีบอร์นนิง’ สามารถทำให้เกิดความรู้สึกต่างๆ ทั้งผ่อนคลายไปจนถึงรังเกียจ
“ฉันอุ้มตุ๊กตา เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ และกอดไว้เหมือนเป็นเด็กจริงๆ มันทำให้รู้สึกผ่อนคลายมากๆ” คุณย่าวัย 50 ปีที่ไม่ประสงค์ออกนาม เล่า
ผู้พัฒนา ‘รีบอร์นนิง’ บอกว่างานอดิเรกนี้เริ่มต้นขึ้นในสหรัฐฯ เมื่อต้นทศวรรษ 1990 ที่ตุ๊กตามีลักษณะที่เหมือนจริงมากขึ้น การรายงานข่าวของสื่อทำให้ไอเดียนี้แพร่หลายสู่ประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะอังกฤษ และออสเตรเลีย
เคที นิวคอมบี ที่ผลิตและดำเนินการเว็บไซต์ Reborn Babies UK บอกว่านักบำบัดมองว่าการกอด ‘รีบอร์นนิง’ มีประโยชน์ในการเยียวยาจิตใจ และอาจกระตุ้นให้สมองหลั่งฮอร์โมนของความรู้สึกดีๆ ออกมามากขึ้นสำหรับบางคน
“แต่บางคนก็อาจรังเกียจ เพราะความที่ตุ๊กตาเหมือนทารกจริง และคนเหล่านี้จึงมองว่ามันเป็นร่างทารกที่ตายแล้ว แต่สำหรับฉันไม่คิดอย่างนั้น เพราะผิวตุ๊กตาดูมีสีสันและเลือดเนื้อมากกว่าเป็นร่างไร้วิญญาณ” ซู วัย 56 ปี ที่เพิ่งซื้อตุ๊กตาตัวแรกเมื่อเดือนที่แล้ว ยืนยัน
เดเบอราห์ คิง ที่สะสมตุ๊กตานี้เป็นงานอดิเรกมาสามปี และขณะนี้ขายผ่านเว็บไซต์ Reborn Baby เสริมว่าคำว่า ‘รีบอร์นนิง’ ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความแตกต่างจากตุ๊กตาสั่งทำที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมากจากโรงงาน
“มันเริ่มต้นมาจากลูกสาวฉันอยากมีน้อง แต่ฉันไม่อยากมีลูกอีก ฉันเลยซื้อตุ๊กตานี้ให้แทน” คุณแม่ลูกสองวัย 32 ปี เล่า
เว็บไซต์ของคิงโชว์ภาพถ่ายตุ๊กตาสวมเสื้อคลุมหลวมๆ นอนอยู่บนเตียง ส่วนใหญ่เป็นตุ๊กตาเด็กผู้หญิง พร้อมคำบรรยายใต้ภาพว่า ‘รอผู้อุปการะ’
ตุ๊กตาของเว็บไซต์นี้สนนราคาอยู่ระหว่าง 492-3,146 ดอลลาร์ โดยมียอดสั่งซื้อสัปดาห์ละ 10-15 ตัว
ชุมชน ‘รีบอร์นนิง’ บอกว่าผู้ซื้อส่วนใหญ่เป็นนักสะสม
“สำหรับฉัน นี่เป็นงานศิลป์ ฉันจึงไม่เคยพาตุ๊กตาไปนั่งรถเข็นเล่น” กิลพูดแทนนักสะสมอีกหลายคน
นิวคอมบีจาก Reborn Babies UK สำทับว่าลูกค้าส่วนใหญ่ของเธอต้องการสะสมตุ๊กตาเป็นงานศิลปะ และ 10-15% เป็นลูกค้าผู้หญิงที่เสียลูกไป
คิงขานรับว่า ลูกค้ามีเหตุผลทางจิตใจแตกต่างกันในการซื้อ เธอเล่าว่าลูกค้าคนหนึ่งตัดสินใจซื้อให้แม่ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ หลังจากสังเกตเห็นว่าแม่ใช้เวลาส่วนใหญ่ดูรูปทารก
เอียน เจมส์ แพทย์จากศูนย์สุขภาพผู้สูงวัยของโรงพยาบาลนิวคาสเซิล เผยว่าใช้ตุ๊กตาทารกเหมือนจริงดูแลคนชราเพื่อช่วยลดพฤติกรรมความก้าวร้าวฉุนเฉียว
“มีเหตุผลมากมายที่ทำให้ตุ๊กตานี้มีอิทธิพลอย่างมากในการลดพฤติกรรมการท้าทาย เพราะคนแก่จะรู้สึกสงบและเย็นลง เป็นบทบาทที่คุ้นเคยในอดีตที่พวกเขาเหล่านั้นเคยต้องรับที่ทำให้ทั้งยุ่งเหยิงและมีความสุข” ลอร์นา แมกเคนไซน์ ผู้ช่วยของเจมส์อธิบาย
กระนั้น เจมส์บอกว่า ไม่ว่าตุ๊กตานั้นจะดูเหมือนมีชีวิตจริงๆ แค่ไหนก็ไม่ได้ทำให้เกิดความแตกต่างมากมายนัก
ลูกค้าส่วนใหญ่ของคิงเป็นนักสะสมและปู่ย่าตายายที่คิดถึงหลานๆ ขณะที่อีกหลายๆ คนแค่อยากอุ้มตุ๊กตาที่เหมือนทารกจริงเท่านั้น
โฆษกของแฮร์รอดขานรับว่า เสน่ห์ดึงดูดที่แท้จริงของตุ๊กตาเหล่านี้คือความเหมือนจริง
“ยิ่งเหมือนจริงเท่าไหร่ ตลาดนี้ยิ่งมีความเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น”