เดินหน้าเข้าสู่ครึ่งปีหลัง 2551 ภาคธุรกิจ ใจแป้ว กอดคอกันเสี่ยงภัย หลายฝ่ายประเมิน หืดขึ้นคอ น่าเป็นห่วงกว่าครึ่งปีแรก ชี้การบริหารความเสี่ยงเป็นเรื่องสำคัญ สองยักษ์คอนซูเมอร์ "ลีเวอร์-พีแอนด์จี" ส่งสัญญาณหั่นงบโฆษณาครึ่งปีแรกประคองตัว
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 ยังคงไม่น่าไว้วางใจ กับภาวการณ์ต่างๆที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นมา หรือแม้แต่ ปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมานาน รวมไปถึง กำลังซื้อของผู้บริโภคที่หลายฝ่ายประเมินว่า ลดลงอย่างมาก หรือไม่ก็ชะลอการจับจ่ายอันเนื่องมากากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แม้ว่าภาครัฐจะออก 6 มาตรการมาช่วยเหลือก็ไม่อาจช่วยได้มากนัก
แท้ที่จริงแล้วปัจจัยลบเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เป็นเรื่องเดิมที่เศรษฐกิจไทยเราเผชิญหน้ากันมาอย่างต่อเนื่อง 2-3 ปีแล้ว ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น เมื่อปี 2549 ทว่าเป็นปัจจัยลบที่ไม่อาจจะสามารถแก้ไขได้ แน่นอนว่า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาคธุรกิจอย่างมาก ที่ถึงวันนี้ ยังหาทางออกไม่เจอ อย่าหวังว่าจะดิ้นรนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายทั้งยอดขายและกำไรได้อย่างไร ลำพังเพียงแค่ประคองตัวเองให้รอดก็ยากแล้ว
งบการตลาดและงบประชาสัมพันธ์กลายเป็นเป้าหมายที่องค์กรต่างๆจำเป็นต้องพิจารณาอย่างเข้มงวดในการใช้จ่าย หนักที่สุดก็คือ การตัดลดงบลง ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้วในช่วงครึ่งปีแรก
สองยักษ์คอนซูเมอร์หั่นงบโฆษณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์กรใหญ่ๆหลายแห่งได้ปรับลดงบโฆษณาลงหลายราย ล้วนแต่เป็นภาคคอนซูเมอร์ หรือบางแห่งที่ไม่ได้ตัดนั้นก็เพิ่มมาเล็กน้อยเท่านั้นเอง โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ องค์กรข้ามชาติใหญ่ๆอย่าง ยูนิลีเวอร์ ไทยโฮลดิ้งส์ ใช้งบโฆษณารวม 2,312 ล้านบาท ลดลงไปกว่า 400 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ใช้สูงถึง 2,750 ล้านบาท ส่วนอีกค่ายก็เป็นคอนซูเมอร์โปรดักต์ข้ามชาติเช่นกันคือ พีแอนด์จี ที่ใช้ไป 695 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้งบถึง 733 ล้านบาท แม้จะลดไม่มาก แต่ก็สะท้อนได้ว่า ตลาดคอนซูเมอร์นั้นลำบากเหมือนกัน
ปรับตัวรับภัยครึ่งปีหลัง
การปรับตัวในครึ่งปีหลังเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในหลากหลายกระบวนท่า นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ซีอาร์ซี เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้และครึ่งปีหลังยังน่าเป็นห่วงอยู่ กับปัจจัยลบต่างๆที่ยังคงอยู่ ยิ่งค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้อำนาจการจับจ่ายของผู้บริโภคน้อยลง ซึ่งก็จะส่งผลกระทบไปเป็นวงกว้าง แต่ในแง่ของการลงทุนบริษัทฯก็ต้องลงทุนต่อเนื่อง แต่ระมัดระวังมากขึ้น
นายพรวุฒิ สารสิน รองประธาน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมโค้ก น้ำดื่มน้ำทิพย์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจนี้ไปทีละจุดๆก่อน และจำเป็นต้องตัดลดงบประมาณในส่วนที่ไม่สร้างยอดขายลงด้วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุน
ขณะที่ นางสาวสุวรรณา โชคดีอนันต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) ก็กล่าวถึงการปรับตัวของบริษัทฯว่า ขณะนี้บริษัทฯได้ปรับเป้าหมายอัตราการเติบโตด้านรายได้รวมปีนี้ใหม่เหลือแค่ 30% จากเดิมที่เคยตั้งไว้สูงถึง 40% เพราะสภาพเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งการปรับรูปแบบของอีเว้นต์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลง และเลื่อนบางกิจกรรมไปปีหน้าแทน
นายวรุตม์ สถิตธนาสาร ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ในเครือเซ็นทรัล ย้ำว่า ช่วงครึ่งปีหลังคงต้องทำธุรกิจแบบคอนเวอร์เวทีฟมากขึ้น ระมัดระวังอย่างมากกว่าช่วงปรกติ เพราะสถานพารณ์ตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก สิ่งสำคัญของผู้ประกอบการคือ ต้องเน้นการบริหารความเสี่ยงมากกว่าการบริหารกำไร โดยเฉพาะวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า เรื่องสต็อคเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องเสี่ยง เพราะเป็นสินค้าอายุสั้น ราคาตกเร็ว ตกรุ่นเร็วด้วย มีความเสี่ยงมหาศาล
"จริงๆแล้วสภาพรวมของไทยเราไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่นเลย มองว่ากำลังซื้อในตลาดยังพอมีอยู่แต่ผู้บริโภคไม่จับจ่าย ซึ่งภาคส่งออกเราก็ดี จีดีพีในประเทศก็ยังไม่แย่เท่าใด แต่ว่าช่วง 2 ปีหลังนี้ ภาคส่งออกกลับมากกว่าการเติบโตในประเทศ จึงทำให้เราต้องเป็นแบบนี้"
นายพุฒิพงศ์ เทพวรินทร์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ครึ่งปีหลังคาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ซึ่งกระทบกับการทำตลาดของบริษัทฯโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศที่จะชะลอตัวลงจากนี้ โดยหนทางหนึ่งคือ การขยายตลาดและช่องทางการจำหน่าย เครื่องฟอกอากาศสกาน่าไปยังช่องทางอาคารสำนักงาและงานโครงการต่างๆ เพื่อสร้างยอดขาย ซึ่งแผนงานดังกล่าวนี้ถือเป็นปีแรกที่เริ่มทำตลาด เพราะสภาพเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ทำให้ต้องปรับตัว ซึ่งค่อนข้างได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยลูกค้าในกลุ่มดังกล่าวนี้ที่ได้มาแล้วเช่น บริษัทในเครือซีเมนส์ กรุ๊ป, โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลจุฬาฯ
ขณะที่อีกตลาดคือ พัดลม ที่จะแข่งขันรุนแรงจากนี้ ก็จะมีการปรับตัวโดยหาทางขยายตลาดส่งออกต่างประเทศมากขึ้น โดยเจาะไปที่ตลาดย่านอินโดจีนเป็นหลัก
สถานการณ์ทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง 2551 ยังคงไม่น่าไว้วางใจ กับภาวการณ์ต่างๆที่ยังคงเกิดขึ้นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยราคาน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นมา หรือแม้แต่ ปัญหาเรื่องความขัดแย้งทางการเมืองที่มีต่อเนื่องมานาน รวมไปถึง กำลังซื้อของผู้บริโภคที่หลายฝ่ายประเมินว่า ลดลงอย่างมาก หรือไม่ก็ชะลอการจับจ่ายอันเนื่องมากากค่าครองชีพที่สูงขึ้น แม้ว่าภาครัฐจะออก 6 มาตรการมาช่วยเหลือก็ไม่อาจช่วยได้มากนัก
แท้ที่จริงแล้วปัจจัยลบเหล่านี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เป็นเรื่องเดิมที่เศรษฐกิจไทยเราเผชิญหน้ากันมาอย่างต่อเนื่อง 2-3 ปีแล้ว ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเกิดขึ้น เมื่อปี 2549 ทว่าเป็นปัจจัยลบที่ไม่อาจจะสามารถแก้ไขได้ แน่นอนว่า ส่งผลกระทบระยะยาวต่อภาคธุรกิจอย่างมาก ที่ถึงวันนี้ ยังหาทางออกไม่เจอ อย่าหวังว่าจะดิ้นรนเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายทั้งยอดขายและกำไรได้อย่างไร ลำพังเพียงแค่ประคองตัวเองให้รอดก็ยากแล้ว
งบการตลาดและงบประชาสัมพันธ์กลายเป็นเป้าหมายที่องค์กรต่างๆจำเป็นต้องพิจารณาอย่างเข้มงวดในการใช้จ่าย หนักที่สุดก็คือ การตัดลดงบลง ซึ่งเกิดขึ้นมาอย่างชัดเจนแล้วในช่วงครึ่งปีแรก
สองยักษ์คอนซูเมอร์หั่นงบโฆษณา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า องค์กรใหญ่ๆหลายแห่งได้ปรับลดงบโฆษณาลงหลายราย ล้วนแต่เป็นภาคคอนซูเมอร์ หรือบางแห่งที่ไม่ได้ตัดนั้นก็เพิ่มมาเล็กน้อยเท่านั้นเอง โดยช่วง 6 เดือนแรกของปี 2551 นี้ องค์กรข้ามชาติใหญ่ๆอย่าง ยูนิลีเวอร์ ไทยโฮลดิ้งส์ ใช้งบโฆษณารวม 2,312 ล้านบาท ลดลงไปกว่า 400 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันปีที่แล้วที่ใช้สูงถึง 2,750 ล้านบาท ส่วนอีกค่ายก็เป็นคอนซูเมอร์โปรดักต์ข้ามชาติเช่นกันคือ พีแอนด์จี ที่ใช้ไป 695 ล้านบาท จากเดิมที่ใช้งบถึง 733 ล้านบาท แม้จะลดไม่มาก แต่ก็สะท้อนได้ว่า ตลาดคอนซูเมอร์นั้นลำบากเหมือนกัน
ปรับตัวรับภัยครึ่งปีหลัง
การปรับตัวในครึ่งปีหลังเป็นสิ่งที่เลี่ยงไม่ได้ ในหลากหลายกระบวนท่า นายทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด หรือ ซีอาร์ซี เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจในช่วงนี้และครึ่งปีหลังยังน่าเป็นห่วงอยู่ กับปัจจัยลบต่างๆที่ยังคงอยู่ ยิ่งค่าครองชีพที่สูงขึ้น ทำให้อำนาจการจับจ่ายของผู้บริโภคน้อยลง ซึ่งก็จะส่งผลกระทบไปเป็นวงกว้าง แต่ในแง่ของการลงทุนบริษัทฯก็ต้องลงทุนต่อเนื่อง แต่ระมัดระวังมากขึ้น
นายพรวุฒิ สารสิน รองประธาน บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายเครื่องดื่มน้ำอัดลมโค้ก น้ำดื่มน้ำทิพย์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯต้องแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพเศรษฐกิจนี้ไปทีละจุดๆก่อน และจำเป็นต้องตัดลดงบประมาณในส่วนที่ไม่สร้างยอดขายลงด้วยเพื่อลดค่าใช้จ่ายและต้นทุน
ขณะที่ นางสาวสุวรรณา โชคดีอนันต์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มาลีสามพราน จำกัด (มหาชน) ก็กล่าวถึงการปรับตัวของบริษัทฯว่า ขณะนี้บริษัทฯได้ปรับเป้าหมายอัตราการเติบโตด้านรายได้รวมปีนี้ใหม่เหลือแค่ 30% จากเดิมที่เคยตั้งไว้สูงถึง 40% เพราะสภาพเศรษฐกิจครึ่งปีหลังไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งการปรับรูปแบบของอีเว้นต์ต่างๆให้มีขนาดเล็กลง และเลื่อนบางกิจกรรมไปปีหน้าแทน
นายวรุตม์ สถิตธนาสาร ผู้อำนวยการฝ่ายผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัท เซ็นทรัลเทรดดิ้ง จำกัด ในเครือเซ็นทรัล ย้ำว่า ช่วงครึ่งปีหลังคงต้องทำธุรกิจแบบคอนเวอร์เวทีฟมากขึ้น ระมัดระวังอย่างมากกว่าช่วงปรกติ เพราะสถานพารณ์ตอนนี้น่าเป็นห่วงมาก สิ่งสำคัญของผู้ประกอบการคือ ต้องเน้นการบริหารความเสี่ยงมากกว่าการบริหารกำไร โดยเฉพาะวงการเครื่องใช้ไฟฟ้า เรื่องสต็อคเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นเป็นเรื่องเสี่ยง เพราะเป็นสินค้าอายุสั้น ราคาตกเร็ว ตกรุ่นเร็วด้วย มีความเสี่ยงมหาศาล
"จริงๆแล้วสภาพรวมของไทยเราไม่ได้ด้อยกว่าประเทศอื่นเลย มองว่ากำลังซื้อในตลาดยังพอมีอยู่แต่ผู้บริโภคไม่จับจ่าย ซึ่งภาคส่งออกเราก็ดี จีดีพีในประเทศก็ยังไม่แย่เท่าใด แต่ว่าช่วง 2 ปีหลังนี้ ภาคส่งออกกลับมากกว่าการเติบโตในประเทศ จึงทำให้เราต้องเป็นแบบนี้"
นายพุฒิพงศ์ เทพวรินทร์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัท โคซาน อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด ครึ่งปีหลังคาดว่าภาพรวมเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว ซึ่งกระทบกับการทำตลาดของบริษัทฯโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์เครื่องฟอกอากาศที่จะชะลอตัวลงจากนี้ โดยหนทางหนึ่งคือ การขยายตลาดและช่องทางการจำหน่าย เครื่องฟอกอากาศสกาน่าไปยังช่องทางอาคารสำนักงาและงานโครงการต่างๆ เพื่อสร้างยอดขาย ซึ่งแผนงานดังกล่าวนี้ถือเป็นปีแรกที่เริ่มทำตลาด เพราะสภาพเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ทำให้ต้องปรับตัว ซึ่งค่อนข้างได้ผลเป็นที่น่าพอใจ โดยลูกค้าในกลุ่มดังกล่าวนี้ที่ได้มาแล้วเช่น บริษัทในเครือซีเมนส์ กรุ๊ป, โรงพยาบาลสมิติเวช, โรงพยาบาลจุฬาฯ
ขณะที่อีกตลาดคือ พัดลม ที่จะแข่งขันรุนแรงจากนี้ ก็จะมีการปรับตัวโดยหาทางขยายตลาดส่งออกต่างประเทศมากขึ้น โดยเจาะไปที่ตลาดย่านอินโดจีนเป็นหลัก