สทท.ก้นร้อนท่องเที่ยววิกฤต รุดทำดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจท่องเที่ยว ร่อนแบบสอบถามถึงบริษัทเอกชน 200 ราย พบความเชื่อมั่นถดถอยส่งผลต้นปีหน้ารายได้รูด 10-15% หวั่น กลุ่มSME ล้มตาย สา เหตุหลักจากราคาน้ำมันแพง ระบุสัปดาห์หน้าเตรียมหารือ ททท.และกระทรวงการท่องเที่ยวฯหามาตรการรับมือด่วน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า ทาง สทท.ได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจท่องเที่ยว โดยออกเป็นแบบสอบถามส่งไปยังภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และ บริการอื่นๆ จำนวน 200 ราย ทั่วประเทศ สอบถามถึงความเชื่อมั่นที่ภาคเอกชนเหล่านั้นมีต่อธุรกิจท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ครึ่งปีหลังนี้ กับ ช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
ทั้งนี้ผลของการสอบถาม พบว่า ในภาพรวมภาคเอกชนท่องเที่ยวยังเชื่อมั่นว่า ในครึ่งปีหลังนี้ ภาพรวมธุรกิจยังพอไปได้ ในส่วนของรายได้ก็ยังไม่ตกต่ำลงไป มีเพียงเอกชนในภาคเหนือและภาคตะวันออก ที่ตอบกลับมาว่า รายได้ครึ่งปีหลังอาจลดลง 10-15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการ ทำให้ตลาดโอเวอร์ซัพพลาย ช่วงโลวซีซั่นมีการแข่งขันสูง
สำหรับช่วงไตรมาสแรกปีหน้า ภาคเอกชนทุกภาคมองไปในทิศทางเดียวกันว่า รายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะลดลง 10-15% สาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจาก ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้คนชะลอการเดินทางท่องเที่ยว หรือ เลือกเที่ยวในระยะทางใกล้ๆ จำนวนวันพักก็ลดลง
จากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจท่องเที่ยวดังกล่าว สทท.จะนำเสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในสัปาดห์หน้า เพื่อ ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข พร้อมเสนอให้ ททท. เร่งเดินหน้าแผนการเจาะตลาดใหม่ๆให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการณ์เดิม เช่น ตลาด จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง เพราะจะได้ช่วยบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคเอกชนในอุตสากรรมท่องเที่ยว
นอกจากนั้นจะเสนอให้ภาครัฐบาล เร่งหามาตรการช่วยเหลือภาคเอกชนกลุ่ม SME ให้เขาประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ในสถานการณ์เช่นนี้ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี การหาพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทน การจัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น แล้วแต่ว่าใครเดือดร้อนเรื่องอะไร
“ราคาพลังงานที่แพงขึ้น ส่งผลกระทบทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ เดินทางลดลง ขณะที่ภาระต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการสูงขึ้น 15-20% เพราะ ค่าพลังงานที่สูงขึ้น แต่กลับปรับขึ้นอัตราค่าบริการได้เฉลี่ยเพียง 5% เนื่องจากเกรงว่า ถ้าปรับตามต้นทุนที่แท้จะ จริงซ้ำเติมให้นักท่องเที่ยวหดหายไปอีก”
สำหรับตลาดในประเทศต้องการให้ ททท. เร่งส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวกันภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาคที่มีพื้นที่ติดกัน พร้อมเร่งส่งเสริมให้เกิดการเดินทางในรูปแบบจัดประชุมสัมมนา กระจายทั่วทุกภูมิภาค เพื่อกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศให้คึกคัก
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(สทท.) เปิดเผยว่า ทาง สทท.ได้จัดทำดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจท่องเที่ยว โดยออกเป็นแบบสอบถามส่งไปยังภาคเอกชนในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ได้แก่ โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และ บริการอื่นๆ จำนวน 200 ราย ทั่วประเทศ สอบถามถึงความเชื่อมั่นที่ภาคเอกชนเหล่านั้นมีต่อธุรกิจท่องเที่ยว โดยแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ครึ่งปีหลังนี้ กับ ช่วงไตรมาสแรกของปีหน้า
ทั้งนี้ผลของการสอบถาม พบว่า ในภาพรวมภาคเอกชนท่องเที่ยวยังเชื่อมั่นว่า ในครึ่งปีหลังนี้ ภาพรวมธุรกิจยังพอไปได้ ในส่วนของรายได้ก็ยังไม่ตกต่ำลงไป มีเพียงเอกชนในภาคเหนือและภาคตะวันออก ที่ตอบกลับมาว่า รายได้ครึ่งปีหลังอาจลดลง 10-15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สาเหตุจากการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ประกอบการ ทำให้ตลาดโอเวอร์ซัพพลาย ช่วงโลวซีซั่นมีการแข่งขันสูง
สำหรับช่วงไตรมาสแรกปีหน้า ภาคเอกชนทุกภาคมองไปในทิศทางเดียวกันว่า รายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวจะลดลง 10-15% สาเหตุมาจากสภาพเศรษฐกิจโลก และ เศรษฐกิจของประเทศไทย ที่ได้รับผลกระทบจาก ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ผู้คนชะลอการเดินทางท่องเที่ยว หรือ เลือกเที่ยวในระยะทางใกล้ๆ จำนวนวันพักก็ลดลง
จากผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นธุรกิจท่องเที่ยวดังกล่าว สทท.จะนำเสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาในสัปาดห์หน้า เพื่อ ร่วมกันหาแนวทางแก้ไข พร้อมเสนอให้ ททท. เร่งเดินหน้าแผนการเจาะตลาดใหม่ๆให้เร็วขึ้นกว่ากำหนดการณ์เดิม เช่น ตลาด จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง เพราะจะได้ช่วยบรรเทาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับภาคเอกชนในอุตสากรรมท่องเที่ยว
นอกจากนั้นจะเสนอให้ภาครัฐบาล เร่งหามาตรการช่วยเหลือภาคเอกชนกลุ่ม SME ให้เขาประคองธุรกิจให้อยู่รอดได้ในสถานการณ์เช่นนี้ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษี การหาพลังงานทางเลือกเข้ามาทดแทน การจัดสรรเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น แล้วแต่ว่าใครเดือดร้อนเรื่องอะไร
“ราคาพลังงานที่แพงขึ้น ส่งผลกระทบทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างชาติ เดินทางลดลง ขณะที่ภาระต้นทุนการดำเนินงานของผู้ประกอบการสูงขึ้น 15-20% เพราะ ค่าพลังงานที่สูงขึ้น แต่กลับปรับขึ้นอัตราค่าบริการได้เฉลี่ยเพียง 5% เนื่องจากเกรงว่า ถ้าปรับตามต้นทุนที่แท้จะ จริงซ้ำเติมให้นักท่องเที่ยวหดหายไปอีก”
สำหรับตลาดในประเทศต้องการให้ ททท. เร่งส่งเสริมการเดินทางท่องเที่ยวกันภายในภูมิภาค และระหว่างภูมิภาคที่มีพื้นที่ติดกัน พร้อมเร่งส่งเสริมให้เกิดการเดินทางในรูปแบบจัดประชุมสัมมนา กระจายทั่วทุกภูมิภาค เพื่อกระตุ้นตลาดท่องเที่ยวภายในประเทศให้คึกคัก