รอยเตอร์ – คณะนักวิทยาศาสตร์ในญี่ปุ่นค้นพบคำตอบว่าเพราะเหตุใด เมล็ดข้าวถึงดูดซึมสารหนูอย่างมากมายจากพื้นดิน นับเป็นการกรุยทางไปสู่ความพยายามครั้งใหม่เพื่อป้องกันไม่ให้สารพิษดังกล่าวซึมซับเข้าสู่พืชอาหารหลักของชาวเอเชีย
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ระบุในวารสารโพรซีดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันเนล อเคเดมี ออฟ ไซเอินส์ว่า ค้นพบโปรตีน 2 ชนิดในพันธุ์ข้าว ซึ่งเป็นตัวลำเลียงสารหนูจากพื้นดินเข้าสู่เมล็ดข้าว
จากการวิจัยทดลองโดยใช้เมล็ดข้าวกลายพันธุ์ ที่ไม่มีโปรตีน 2 ชนิดที่ว่านี้ คณะนักวิทยาศาสตร์พบว่า สารหนูมีระดับลดลงอย่างเห็นได้ชัด หม่า เจียนเฟิง จากสถาบันวิจัยเพื่อทรัพยากรชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอกายามาของญี่ปุ่นกล่าว
สารหนู (อาร์ซีนิก) เกิดขึ้นตามธรรมชาติท่ามกลางสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยสมัยก่อนถูกนำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อยเพื่อรักษาโรคภัย อาทิ ซิฟิลิส แต่หากสารพิษชนิดนี้ เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ๆ อย่างเช่นปนเปื้อนในน้ำดื่ม ก็อาจจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งที่ปอด, กระเพาะปัสสาวะและผิวหนัง, อาการชาตามร่างกาย, โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด และเบาหวาน
สารพิษอาร์ซีนิกแพร่กระจายอย่างรุนแรงในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ ในบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย
ที่ซึ่งน้ำบาดาลที่ปนเปื้อนสารหนูถูกนำมาใช้เพื่อเพาะปลูกข้าว ส่งผลให้สารพิษดังกล่าวสะสมอยู่ในดินและเมล็ดข้าว
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิทยาศาสตร์ของหม่าพบว่า หากปราศจากโปรตีน 2 ชนิดที่ว่านี้ เมล็ดพันธุ์ข้าวก็จะดูดซับธาตุซิลิคอนจากพื้นดินได้ลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ ซิลิคอน เป็นธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ของต้นข้าว ตลอดจนช่วยป้องกันศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ ด้วย
ความเข้มข้นของธาตุซิลิคอนก็ลดลงเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในอนาคตเราต้องพยายามศึกษาวิธีเพื่อไม่ให้ข้าวดูดซับสารหนูเข้าไป ทว่าก็ยังสามารถลำเลียงธาตุซิลิคอนได้ นี้คือสิ่งที่เราต้องทำต่อไปในอนาคต หม่าให้สัมภาษณ์รอยเตอร์
ทีมนักวิทยาศาสตร์ชุดนี้ระบุในวารสารโพรซีดิงส์ ออฟ เดอะ เนชันเนล อเคเดมี ออฟ ไซเอินส์ว่า ค้นพบโปรตีน 2 ชนิดในพันธุ์ข้าว ซึ่งเป็นตัวลำเลียงสารหนูจากพื้นดินเข้าสู่เมล็ดข้าว
จากการวิจัยทดลองโดยใช้เมล็ดข้าวกลายพันธุ์ ที่ไม่มีโปรตีน 2 ชนิดที่ว่านี้ คณะนักวิทยาศาสตร์พบว่า สารหนูมีระดับลดลงอย่างเห็นได้ชัด หม่า เจียนเฟิง จากสถาบันวิจัยเพื่อทรัพยากรชีวภาพแห่งมหาวิทยาลัยโอกายามาของญี่ปุ่นกล่าว
สารหนู (อาร์ซีนิก) เกิดขึ้นตามธรรมชาติท่ามกลางสภาพแวดล้อมต่าง ๆ โดยสมัยก่อนถูกนำมาใช้ในปริมาณเล็กน้อยเพื่อรักษาโรคภัย อาทิ ซิฟิลิส แต่หากสารพิษชนิดนี้ เข้าสู่ร่างกายในปริมาณมาก ๆ อย่างเช่นปนเปื้อนในน้ำดื่ม ก็อาจจะทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นมะเร็งที่ปอด, กระเพาะปัสสาวะและผิวหนัง, อาการชาตามร่างกาย, โรคหัวใจร่วมหลอดเลือด และเบาหวาน
สารพิษอาร์ซีนิกแพร่กระจายอย่างรุนแรงในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ ในบังกลาเทศและรัฐเบงกอลตะวันตกของอินเดีย
ที่ซึ่งน้ำบาดาลที่ปนเปื้อนสารหนูถูกนำมาใช้เพื่อเพาะปลูกข้าว ส่งผลให้สารพิษดังกล่าวสะสมอยู่ในดินและเมล็ดข้าว
อย่างไรก็ตาม ทีมนักวิทยาศาสตร์ของหม่าพบว่า หากปราศจากโปรตีน 2 ชนิดที่ว่านี้ เมล็ดพันธุ์ข้าวก็จะดูดซับธาตุซิลิคอนจากพื้นดินได้ลดลงเช่นกัน ทั้งนี้ ซิลิคอน เป็นธาตุที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ โดยมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและความอุดมสมบูรณ์ของต้นข้าว ตลอดจนช่วยป้องกันศัตรูพืชและโรคต่าง ๆ ด้วย
ความเข้มข้นของธาตุซิลิคอนก็ลดลงเช่นเดียวกัน ดังนั้น ในอนาคตเราต้องพยายามศึกษาวิธีเพื่อไม่ให้ข้าวดูดซับสารหนูเข้าไป ทว่าก็ยังสามารถลำเลียงธาตุซิลิคอนได้ นี้คือสิ่งที่เราต้องทำต่อไปในอนาคต หม่าให้สัมภาษณ์รอยเตอร์