รอยเตอร์/เอเอฟพี - ราคาหุ้นแบงก์เอเชียและยุโรปพากันร่วงระนาววานนี้(15) นำโดยแบงก์เอ็มยูเอฟจี ของญี่ปุ่น และ ฟอร์ติส ของเบลเยียม-ดัตช์ เมื่อนักลงทุนพากันเทหุ้นเหล่านี้ทิ้งเนื่องจากเกิดความกังวลมากขึ้นทุกที ในเรื่องที่ธนาคารในภูมิภาคมีส่วนเกี่ยวข้องพัวพันกับพวกสถาบันสินเชื่อเคหะยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯอย่าง แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค
ตลาดหลักทรัพย์โดยรวมของภูมิภาคเอเชียเมื่อวานนี้ต่างติดลบกันถ้วนทั่ว โดยที่โตเกียวติดลบไป 1.96% ส่วนฮ่องกงก็หล่นฮวบ 3.8% , สิงคโปร์ลบ 2.53%, เซี่ยงไฮ้ลบ 3.43%, มุมไบ(บอมเบย์) ลบ 4.91%, และไต้หวัน ลบ 4.5% สืบเนื่องจากความหวั่นหวาเรื่องปัญหาวิกฤตภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯยังไม่จบ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจอเมริกันโดยรวมอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งนี้ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ต้องเร่งออกประกาศมาตรการฉุกเฉินในคืนวันอาทิตย์(13) ที่จะอัดฉีดสินเชื่อ รวมทั้งอาจเข้าไปถือหุ้นใน "แฟนนี เม" และ "เฟรดดี แมค" 2 ยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯ ซึ่งรวมกันแล้วเป็นผู้ให้สินเชื่อเคหะถึงประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบในอเมริกา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ้นในหมวดการเงินของเอเชียด้วยแล้วยิ่งมีการทรุดฮวบหนักหน่วงเป็นพิเศษ โดยหุ้นการเงินในญี่ปุ่น, จีน, และไต้หวัน ราคาหดหายไประหว่าง 4 ถึง 7% เพราะความหวั่นไหวในเรื่องสุขภาพของบรรดาธนาคารในสหรัฐฯ ถึงแม้ภาคการเงินในเอเชียเองยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ค่อนข้างมีความมั่นคง ทั้งนี้ตามความเห็นของพวกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน
สำหรับหุ้นในหมวดธนาคารของฟากฝั่งยุโรป ก็ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีเมื่อความวิตกแพร่กระจายกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ ในเวลา 10.40 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 17.40 น.เวลาเมืองไทย) วานนี้ ดัชนีหุ้นหมวดธนาคารยุโรปของ ดีเจ สตอกซ์ ลดต่ำลงมา 5.5% นำโดยการทรุดฮวบถึง 18% ของธนาคารฟอร์ติส เนื่องจากการที่หน่วยงานกำกับตรวจสอบเข้าไปสอบสวนแผนการระดมเพิ่มทุนของแบงก์เบลเยียม-ดัตช์แห่งนี้ จึงยิ่งเพิ่มความรู้สึกไม่สบายใจของภาคอุตสาหกรรมนี้
สำหรับแบงก์ยูบีเอส, บีเอ็นพี ปาริบาส์, และ โรยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ ต่างก็มีมูลค่าถอยลงมากว่า 5% เนื่องจากตลาดหวั่นผวาวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทซับไพรม์ในสหรัฐฯยังจะไม่จบลงง่ายๆ จากกรณีของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ซึ่งประสบปัญหาหนักเพราะปัญหาภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯยังไม่มีทีท่าจะบรรเทา และการฟ้องร้องยึดบ้านก็ยังคงเพิ่มขึ้น
"ปัญหาอยู่ที่ว่า ตลาดยังมองไม่เห็นได้ว่าจะมีหน่ออ่อนสีเขียวสดชื่นหน่อแรกงอกโผล่ขึ้นมาให้ชื่นใจ ตลาดกำลังมองว่าปี 2009 ก็อาจจะเป็นแบบเดียวกับปี 2008 อีก" มาร์ก เดอร์ลิ่ง นักวิเคราะห์แห่ง เบรวิน ดอลฟิน บริษัทหลักทรัพย์อังกฤษกล่าว "ตลาดยังคงมีเงาดำมากๆ ครอบงำอยู่"
ทางด้าน เอแลน โคเฮน ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอที่ตั้งฐานอยู่ในสิงคโปร์ ทำหน้าที่ลงทุนให้แก่กิจการด้านธนบดีธนกิจของเจพีมอร์แกน ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนปิดลับทั่วโลกมากกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์ กล่าวว่า เอเชียยังคงรับอารมณ์ความรู้สึกแง่ร้ายที่แผ่ลามมาจากสหรัฐฯ ทั้งที่เศรษฐกิจของทั้งสองภูมิภาคมีการแยกขาดจากกันมากแล้ว
"สิ่งที่ยังไม่ได้แยกขาดจากกัน ก็คือเรื่องอารมณ์ความรู้สึก ความจริงแล้วตลาดเอเชียได้ตกลงมามากจนเลยเถิดเกินสหรัฐฯไปเสียแล้ว นับแต่ที่การทรุดตัวระลอกนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว" โคเฮนบอก
"พวกกิจการภาคการเงินในเอเชียมีสัดส่วนเงินทุนที่แข็งแกร่ง พวกเขามีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับที่เหนือกว่าของพวกแบงก์สหรัฐฯ และเกินไปไกลกว่าที่กำหนดเอาไว้โดยบีไอเอส" เขากล่าวต่อ "งบดุลก็ไม่ได้มีความเสียหายอะไร มันจึงเป็นแค่เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกจริงๆ"
โคเฮนยังคงให้น้ำหนักเกินพิกัดแก่หุ้นเอเชีย แต่ก็กำลังเพิ่มสัดส่วนของหุ้นภาคการเงินสหรัฐฯในพอร์ตของเขา เพราะเชื่อว่าหุ้นอเมริกันเหล่านี้ถูกเทขายมากเกินไปแล้ว
ตามข้อมูลของเฟด พวกธนาคารกลางของต่างประเทศเป็นผู้ถือครองตราสารหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับแฟนนี เม และเฟรดดี แมค รวมทั้งสิ้น 979,000 ล้านดอลลาร์ โดยในปีนี้สูงขึ้นมาประมาณ 18%
สำหรับภาคเอกชนในเอเชียนั้น ธนาคารใหญ่ที่สุดทั้ง 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (เอ็มยูเอฟจี), มิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป, และ สุมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป รวมกันถือตราสารหนี้ของแฟนนีกับเฟรดดีเอาไว้ประมาณ 4.7 ล้านล้านเยน (44,300 ล้านดอลลาร์) ทั้งนี้นับถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ตามคำแถลงของโฆษกของแบงก์เหล่านี้แต่ละแห่งนั้น เฉพาะเอ็มยูเอฟจีถือเอาไว้กว่า 3.3 ล้านล้านเยน ส่วนมิซูโฮ มีตราสารหนี้แบบนี้อยู่ราว 1.2 ล้านล้านเยน ส่วนใหญ่เป็นของ จินนี เม ซึ่งเป็นสถาบันการเงินด้านสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯอีกแห่งหนึ่ง ขณะที่ สุมิโตโม มิตซุย มีการลงทุนในสถาบันการเงินของสหรัฐประเภทนี้รวม 220,000 ล้านเยน ทว่ากระจายไปหลายๆ แห่ง ไม่เฉพาะแฟนนีกับเฟรดดีเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม โคอิชิ โอกาวะ หัวหน้าผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอ แห่ง ไดวา เอสบี อินเวสต์เมนต์ส ในกรุงโตเกียวชี้ว่า ตราสารหนี้เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในประเภทซับไพรม์ ยิ่งเป็นตราสารหนี้ของแฟนนีกับเฟรดดีด้วยแล้ว ต้องถือว่ามั่นคงมากในระดับเท่ากับค้ำประกันโดยรัฐบาลสหรัฐฯทีเดียว
กระนั้นก็ตาม ในตลาดหุ้นไทเปเมื่อวานนี้ หุ้นของ คาเธย์ ไฟแนนเชียล ก็ยังตกลงมา 7% หลังจากมีรายงานว่าสถาบันการเงินของรัฐบาลแห่งหนึ่ง ถือครองตราสารหนี้ของแฟนนีกับเฟรดดีเอาไว้กว่า 20,000 ล้านดอลลาร์
ตลาดหลักทรัพย์โดยรวมของภูมิภาคเอเชียเมื่อวานนี้ต่างติดลบกันถ้วนทั่ว โดยที่โตเกียวติดลบไป 1.96% ส่วนฮ่องกงก็หล่นฮวบ 3.8% , สิงคโปร์ลบ 2.53%, เซี่ยงไฮ้ลบ 3.43%, มุมไบ(บอมเบย์) ลบ 4.91%, และไต้หวัน ลบ 4.5% สืบเนื่องจากความหวั่นหวาเรื่องปัญหาวิกฤตภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯยังไม่จบ ซึ่งน่าจะส่งผลกระทบถึงเศรษฐกิจอเมริกันโดยรวมอย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งนี้ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ(เฟด) ต้องเร่งออกประกาศมาตรการฉุกเฉินในคืนวันอาทิตย์(13) ที่จะอัดฉีดสินเชื่อ รวมทั้งอาจเข้าไปถือหุ้นใน "แฟนนี เม" และ "เฟรดดี แมค" 2 ยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯ ซึ่งรวมกันแล้วเป็นผู้ให้สินเชื่อเคหะถึงประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบในอเมริกา
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หุ้นในหมวดการเงินของเอเชียด้วยแล้วยิ่งมีการทรุดฮวบหนักหน่วงเป็นพิเศษ โดยหุ้นการเงินในญี่ปุ่น, จีน, และไต้หวัน ราคาหดหายไประหว่าง 4 ถึง 7% เพราะความหวั่นไหวในเรื่องสุขภาพของบรรดาธนาคารในสหรัฐฯ ถึงแม้ภาคการเงินในเอเชียเองยังมีปัจจัยพื้นฐานที่ค่อนข้างมีความมั่นคง ทั้งนี้ตามความเห็นของพวกนักวิเคราะห์และผู้จัดการกองทุน
สำหรับหุ้นในหมวดธนาคารของฟากฝั่งยุโรป ก็ร่วงลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบ 5 ปีเมื่อความวิตกแพร่กระจายกว้างขวางขึ้นเรื่อยๆ ในเวลา 10.40 น.จีเอ็มที (ตรงกับ 17.40 น.เวลาเมืองไทย) วานนี้ ดัชนีหุ้นหมวดธนาคารยุโรปของ ดีเจ สตอกซ์ ลดต่ำลงมา 5.5% นำโดยการทรุดฮวบถึง 18% ของธนาคารฟอร์ติส เนื่องจากการที่หน่วยงานกำกับตรวจสอบเข้าไปสอบสวนแผนการระดมเพิ่มทุนของแบงก์เบลเยียม-ดัตช์แห่งนี้ จึงยิ่งเพิ่มความรู้สึกไม่สบายใจของภาคอุตสาหกรรมนี้
สำหรับแบงก์ยูบีเอส, บีเอ็นพี ปาริบาส์, และ โรยัล แบงก์ ออฟ สกอตแลนด์ ต่างก็มีมูลค่าถอยลงมากว่า 5% เนื่องจากตลาดหวั่นผวาวิกฤตสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ประเภทซับไพรม์ในสหรัฐฯยังจะไม่จบลงง่ายๆ จากกรณีของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ซึ่งประสบปัญหาหนักเพราะปัญหาภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯยังไม่มีทีท่าจะบรรเทา และการฟ้องร้องยึดบ้านก็ยังคงเพิ่มขึ้น
"ปัญหาอยู่ที่ว่า ตลาดยังมองไม่เห็นได้ว่าจะมีหน่ออ่อนสีเขียวสดชื่นหน่อแรกงอกโผล่ขึ้นมาให้ชื่นใจ ตลาดกำลังมองว่าปี 2009 ก็อาจจะเป็นแบบเดียวกับปี 2008 อีก" มาร์ก เดอร์ลิ่ง นักวิเคราะห์แห่ง เบรวิน ดอลฟิน บริษัทหลักทรัพย์อังกฤษกล่าว "ตลาดยังคงมีเงาดำมากๆ ครอบงำอยู่"
ทางด้าน เอแลน โคเฮน ผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอที่ตั้งฐานอยู่ในสิงคโปร์ ทำหน้าที่ลงทุนให้แก่กิจการด้านธนบดีธนกิจของเจพีมอร์แกน ซึ่งเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนปิดลับทั่วโลกมากกว่า 400,000 ล้านดอลลาร์ กล่าวว่า เอเชียยังคงรับอารมณ์ความรู้สึกแง่ร้ายที่แผ่ลามมาจากสหรัฐฯ ทั้งที่เศรษฐกิจของทั้งสองภูมิภาคมีการแยกขาดจากกันมากแล้ว
"สิ่งที่ยังไม่ได้แยกขาดจากกัน ก็คือเรื่องอารมณ์ความรู้สึก ความจริงแล้วตลาดเอเชียได้ตกลงมามากจนเลยเถิดเกินสหรัฐฯไปเสียแล้ว นับแต่ที่การทรุดตัวระลอกนี้เริ่มต้นขึ้นในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว" โคเฮนบอก
"พวกกิจการภาคการเงินในเอเชียมีสัดส่วนเงินทุนที่แข็งแกร่ง พวกเขามีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงในระดับที่เหนือกว่าของพวกแบงก์สหรัฐฯ และเกินไปไกลกว่าที่กำหนดเอาไว้โดยบีไอเอส" เขากล่าวต่อ "งบดุลก็ไม่ได้มีความเสียหายอะไร มันจึงเป็นแค่เรื่องของอารมณ์ความรู้สึกจริงๆ"
โคเฮนยังคงให้น้ำหนักเกินพิกัดแก่หุ้นเอเชีย แต่ก็กำลังเพิ่มสัดส่วนของหุ้นภาคการเงินสหรัฐฯในพอร์ตของเขา เพราะเชื่อว่าหุ้นอเมริกันเหล่านี้ถูกเทขายมากเกินไปแล้ว
ตามข้อมูลของเฟด พวกธนาคารกลางของต่างประเทศเป็นผู้ถือครองตราสารหนี้ซึ่งเกี่ยวข้องกับแฟนนี เม และเฟรดดี แมค รวมทั้งสิ้น 979,000 ล้านดอลลาร์ โดยในปีนี้สูงขึ้นมาประมาณ 18%
สำหรับภาคเอกชนในเอเชียนั้น ธนาคารใหญ่ที่สุดทั้ง 3 แห่งของญี่ปุ่น ได้แก่ มิตซูบิชิ ยูเอฟเจ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (เอ็มยูเอฟจี), มิซูโฮ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป, และ สุมิโตโม มิตซุย ไฟแนนเชียล กรุ๊ป รวมกันถือตราสารหนี้ของแฟนนีกับเฟรดดีเอาไว้ประมาณ 4.7 ล้านล้านเยน (44,300 ล้านดอลลาร์) ทั้งนี้นับถึงสิ้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
ตามคำแถลงของโฆษกของแบงก์เหล่านี้แต่ละแห่งนั้น เฉพาะเอ็มยูเอฟจีถือเอาไว้กว่า 3.3 ล้านล้านเยน ส่วนมิซูโฮ มีตราสารหนี้แบบนี้อยู่ราว 1.2 ล้านล้านเยน ส่วนใหญ่เป็นของ จินนี เม ซึ่งเป็นสถาบันการเงินด้านสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯอีกแห่งหนึ่ง ขณะที่ สุมิโตโม มิตซุย มีการลงทุนในสถาบันการเงินของสหรัฐประเภทนี้รวม 220,000 ล้านเยน ทว่ากระจายไปหลายๆ แห่ง ไม่เฉพาะแฟนนีกับเฟรดดีเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม โคอิชิ โอกาวะ หัวหน้าผู้จัดการพอร์ตโฟลิโอ แห่ง ไดวา เอสบี อินเวสต์เมนต์ส ในกรุงโตเกียวชี้ว่า ตราสารหนี้เหล่านี้ไม่ได้อยู่ในประเภทซับไพรม์ ยิ่งเป็นตราสารหนี้ของแฟนนีกับเฟรดดีด้วยแล้ว ต้องถือว่ามั่นคงมากในระดับเท่ากับค้ำประกันโดยรัฐบาลสหรัฐฯทีเดียว
กระนั้นก็ตาม ในตลาดหุ้นไทเปเมื่อวานนี้ หุ้นของ คาเธย์ ไฟแนนเชียล ก็ยังตกลงมา 7% หลังจากมีรายงานว่าสถาบันการเงินของรัฐบาลแห่งหนึ่ง ถือครองตราสารหนี้ของแฟนนีกับเฟรดดีเอาไว้กว่า 20,000 ล้านดอลลาร์