ผู้จัดการรายวัน/รอยเตอร์ - กระทรวงการคลังและธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จับมือประกาศแผนฉุกเฉินเพื่อช่วยเหลือเสริมสร้างความแข็งแกร่งทางการเงินให้แก่ "แฟนนี เม" และ "เฟรดดี แมค" 2 ยักษ์ใหญ่สถาบันการเงินด้านสินเชื่อเคหะที่กำลังประสบปัญหาหนัก สืบเนื่องจากพิษวิกฤตซับไพรม์ซึ่งทำให้ภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯยังทรุดต่ำลงเรื่อยๆ ขณะที่ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ที่ถือครองสินทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯ รายบิ๊กเบิ้มของโลก แสดงความวิตกหวาดหวั่นภาวะของระบบการเงินโลก ผู้ว่าฯ ธปท.ยันไม่กระทบไทย อย่าแตกตื่นแค่เงินไหลออก-หุ้นตก
การประกาศแผนช่วยเหลือครั้งนี้ มีขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ (13) หลังจากราคาหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมคซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการเคหะภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ดิ่งลงต่อเนื่องรวมกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของบริษัททั้งสอง ภายหลังจากภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯยังคงย่ำแย่นับแต่วิกฤตซับไพรม์ปะทุรุนแรงในปีที่แล้ว
แฟนนีและเฟรดดี มีพอร์ตสินเชื่อเพื่อการเคหะหรือการประกันสินเชื่อเพื่อการเคหะ รวมกันเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งระบบในสหรัฐฯ โดยมีธนาคารกลางและสถาบันการเงินของต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ถือตราสารหนี้ของบริษัททั้งสองอยู่เป็นมูลค่ารวมกว่า 979,000 ล้านดอลลาร์
เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แถลงภายหลังการประกาศมาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัทแฟนนี เมและเฟรดดี แมคเมื่อคืนวันอาทิตย์ว่า ความเข้มแข็งของบริษัททั้งสองเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของระบบการเงินและตลาดเงินของสหรัฐฯ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้โดยเร็ว
ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯแถลงว่า เบื้องต้นจะให้ความช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แม็ค ด้วยการปรับเพิ่มเพดานสินเชื่อให้แก่บริษัททั้งสอง และหากมีความจำเป็นก็อาจพิจารณาเข้าซื้อหุ้นของบริษัททั้งสองด้วย ซึ่งนับเป็นมาตรการที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯไม่เคยใช้มาก่อน แม้ว่าบริษัททั้งสองจะอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลก็ตาม
ปัจจุบันเพดานสินเชื่อของบริษัททั้งสองอยู่ที่ระดับรายละ 2,250 ล้านดอลลาร์ เจ้าหน้าที่กล่าวว่า การเพิ่มเพดานสินเชื่อจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ก็ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ด้วยการเปิดช่องให้บริษัททั้งสองขอสินเชื่อเงินสดเป็นการฉุกเฉินจากธนาคารกลางเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ เช่นเดียวกับที่เคยให้ความช่วยเหลือในการกอบกู้สถานะทางการเงินของพวกวาณิชธนกิจมาแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลังสหรัฐฯเปิดเผยว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แมค จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการจนกว่าจะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา แต่ก็เชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือจากรัฐสภาเป็นอย่างดีแน่นอน
ขณะเดียวกัน กองการโฆษกของ แนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ก็ได้แถลงว่า เปโลซีจะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แมค
มาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัทสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งสอง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯวานนี้แข็งขึ้นทันทีพร้อม ๆ กับราคาหุ้นในตลาดแถบเอเชียจำนวนมากเพิ่มสูงขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯกำลังจะเพิ่มภาระให้แก่ผู้เสียภาษีมากขึ้นอีกในอนาคต
นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลสหรัฐฯครั้งนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟนนี เมและเฟรดดี แมคในอนาคต เหมือนเป็นการส่งสัญญาณต่อตลาดว่า รัฐบาลจะไม่ยอมให้บริษัททั้งสองล้มโดยเด็ดขาด
สัญญาณดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนในตลาดเข้าใจว่า นับแต่นี้ต่อไปหุ้นหรือตราสารใด ๆ ของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค จะมีสภาพไม่ต่างจากพันธบัตรรัฐบาลเท่าไรนัก
ทางด้าน ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น คาซุ สุงิโมโตะ กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงโตเกียวว่า ญี่ปุ่นหวังว่าความเคลื่อนไหวของทางการสหรัฐฯคราวนี้จะสร้างผลกระทบในทางบวกต่อเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม แดนอาทิตย์อุทัยแสดงท่าทีด้วยว่า ความหวังดังกล่าวนี้อยู่ในสภาพที่ระวังระแวงอย่างสูง โดยมีรายงานข่าวอ้างคำพูดของรัฐมนตรีดูแลบริการทางการเงิน ได้กล่าวระหว่างการประชุมหารือระดับรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นวานนี้ว่า ตลาดการเงินของโลก กำลัง "อยู่บนปากเหวแห่งวิกฤต"
สำหรับสิงคโปร์ได้พูดจาตรงไปตรงมายิ่งกว่าทางญี่ปุ่นด้วยซ้ำ โดยทบวงการเงินแห่งสิงคโปร์ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นธนาคารกลางของแดนลอดช่อง ได้ออกคำแถลงระบุว่า "การท้าทายที่สำคัญๆ และความเสี่ยงขาลงต่างๆ ในตลาดการเงินระหว่างประเทศยังคงดำรงอยู่ และสถาบันการเงินตลอดจนนักลงทุนทั้งหลายควรที่จะต้องระมัดระวังรอบคอบ"
ธปท.ชี้แค่เงินไหลออก-หุ้นตก
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในส่วนของสถาบันการเงินไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์น้อยมาก ส่วนกระแสข่าวว่า ธปท.ได้มีการเข้าไปซื้อพันธบัตรของสถาบันการเงินดังกล่าวด้วยนั้น ข้อเท็จจริง ธปท.ไม่ได้เข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตรของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ และ ธปท.นำเงินไปลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น
"ปัญหาซับไพรม์เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายพยายามแก้ปัญหานี้ โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐ ก็เตรียมที่จะเพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับผลพวงจากปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ยอมรับว่าสถานการณ์นี้ทำให้นักลงทุนมีการดึงเงินกลับประเทศสหรัฐบ้าง ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดโลก ทำให้ตลาดหุ้นของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศในแถบภูมิภาคมีดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง"
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบไม่มีอะไรผิดปกติ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังเหลือเยอะ ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนทั้งในพันธบัตรรัฐบาล เงินลงทุนระยะสั้นถึง 5 แสนล้านบาท จึงไม่มีอะไรที่ต่างจากช่วงที่ผ่านมามากนัก ยังไม่เห็นสัญญาณที่ส่อเค้าภาวะเงินฝืด ขณะเดียวกันอัตราส่วนการปล่อยสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 80% ถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่สูง
“แต่หากเงินในระบบหายไปบ้างก็ขึ้นอยู่กับในระยะยาวคนมีความต้องการลงทุนหรือไม่ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมากจนเงินลงทุนในตลาดตราสารหนี้ลดลงหรือไม่ แต่เท่าที่ขณะนี้สภาพคล่องในระบบยังเหลือเฟือไม่ได้หดหายไปแต่อย่างใด” นางธาริษาย้ำ
ส่วน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในแถบเอเชียรวมถึงไทยด้วย บวกกับปัญหาการเมืองไทย อาจกระทบต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศ แต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทย หลังจากได้ออกมาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นปีเชื่อมั่นว่าจะรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นของสหรัฐได้ เพราะรัฐบาลยึดหลักพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นแล้ว ดังนั้นเหตุการณ์ต่างประเทศที่มีปัญหาจะกระทบเศรษฐกิจไทยน้อยลง
ทั้งนี้ การปรับ ครม. 3 ตำแหน่ง คือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่กระทบต่อแผนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงนี้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มสูงขึ้น จนกระทบแหล่งเงินทุนสำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ก็ยังเน้นพึ่งพาการกู้เงินต่างประเทศ เพราะมีต้นทุนต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศ แต่ก็ต้องระวังผลความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ต้องกู้เงินในประเทศด้วย แต่ต้องไม่ให้กระทบต่อสภาพคล่องในระบบการเงินของประเทศ
ทองคำราคาสูงเป็นประวัติการณ์
นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า วานนี้ราคาขายทองคำรูปพรรณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่บาทละ 15,600 บาท เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดในอิหร่าน ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เพราะวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐเข้ายึดกิจการของสถาบันการเงินอินดี แมค ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาทองสูงสุดนับตั้งแต่มีการซื้อขายทองคำ ขณะที่ราคาทองคำในต่างประเทศทรงตัวอยู่ประมาณ 960 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ราคาขายทองคำในประเทศ จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินบาทยังคงอ่อนค่า โดยมีโอกาสทะลุ 16,000 บาทในปีนี้
สำหรับราคาทองคำที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำวานนี้ ราคาทองรูปพรรณรับซื้อที่บาทละ 14,935.60 บาท และขายออกที่ 15,650 บาท ขณะที่ราคาทองคำแท่ง รับซื้อที่บาทละ 15,1500 บาท และขายออกที่ 15,250 บาท
การประกาศแผนช่วยเหลือครั้งนี้ มีขึ้นเมื่อคืนวันอาทิตย์ (13) หลังจากราคาหุ้นของแฟนนี เมและเฟรดดี แมคซึ่งเป็นบริษัทผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการเคหะภายใต้การอุปถัมภ์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ดิ่งลงต่อเนื่องรวมกว่า 40 เปอร์เซ็นต์เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา อันเนื่องมาจากปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงินของบริษัททั้งสอง ภายหลังจากภาคที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯยังคงย่ำแย่นับแต่วิกฤตซับไพรม์ปะทุรุนแรงในปีที่แล้ว
แฟนนีและเฟรดดี มีพอร์ตสินเชื่อเพื่อการเคหะหรือการประกันสินเชื่อเพื่อการเคหะ รวมกันเป็นมูลค่ากว่า 5 ล้านล้านดอลลาร์ หรือเกือบครึ่งหนึ่งของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งระบบในสหรัฐฯ โดยมีธนาคารกลางและสถาบันการเงินของต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย ถือตราสารหนี้ของบริษัททั้งสองอยู่เป็นมูลค่ารวมกว่า 979,000 ล้านดอลลาร์
เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ แถลงภายหลังการประกาศมาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัทแฟนนี เมและเฟรดดี แมคเมื่อคืนวันอาทิตย์ว่า ความเข้มแข็งของบริษัททั้งสองเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการดำรงไว้ซึ่งเสถียรภาพและความเชื่อมั่นของระบบการเงินและตลาดเงินของสหรัฐฯ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องเร่งแก้ไขสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะนี้โดยเร็ว
ก่อนหน้านี้กระทรวงการคลังสหรัฐฯแถลงว่า เบื้องต้นจะให้ความช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แม็ค ด้วยการปรับเพิ่มเพดานสินเชื่อให้แก่บริษัททั้งสอง และหากมีความจำเป็นก็อาจพิจารณาเข้าซื้อหุ้นของบริษัททั้งสองด้วย ซึ่งนับเป็นมาตรการที่รัฐบาลกลางสหรัฐฯไม่เคยใช้มาก่อน แม้ว่าบริษัททั้งสองจะอยู่ในความอุปถัมภ์ของรัฐบาลก็ตาม
ปัจจุบันเพดานสินเชื่อของบริษัททั้งสองอยู่ที่ระดับรายละ 2,250 ล้านดอลลาร์ เจ้าหน้าที่กล่าวว่า การเพิ่มเพดานสินเชื่อจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ขณะเดียวกัน ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ก็ได้ประกาศมาตรการช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แมค ด้วยการเปิดช่องให้บริษัททั้งสองขอสินเชื่อเงินสดเป็นการฉุกเฉินจากธนาคารกลางเพื่อเสริมสภาพคล่องทางการเงินได้ เช่นเดียวกับที่เคยให้ความช่วยเหลือในการกอบกู้สถานะทางการเงินของพวกวาณิชธนกิจมาแล้วเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของกระทรวงการคลังสหรัฐฯเปิดเผยว่า มาตรการให้ความช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แมค จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการจนกว่าจะได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา แต่ก็เชื่อมั่นว่าจะได้รับความร่วมมือจากรัฐสภาเป็นอย่างดีแน่นอน
ขณะเดียวกัน กองการโฆษกของ แนนซี เปโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ก็ได้แถลงว่า เปโลซีจะประสานงานอย่างใกล้ชิดกับประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เกี่ยวกับมาตรการให้ความช่วยเหลือแฟนนี เมและเฟรดดี แมค
มาตรการให้ความช่วยเหลือบริษัทสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งสอง ทำให้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯวานนี้แข็งขึ้นทันทีพร้อม ๆ กับราคาหุ้นในตลาดแถบเอเชียจำนวนมากเพิ่มสูงขึ้น แต่ขณะเดียวกันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ตามมาว่า รัฐบาลกลางสหรัฐฯกำลังจะเพิ่มภาระให้แก่ผู้เสียภาษีมากขึ้นอีกในอนาคต
นักวิเคราะห์หลายคนกล่าวว่า การเข้าแทรกแซงของรัฐบาลสหรัฐฯครั้งนี้ จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับแฟนนี เมและเฟรดดี แมคในอนาคต เหมือนเป็นการส่งสัญญาณต่อตลาดว่า รัฐบาลจะไม่ยอมให้บริษัททั้งสองล้มโดยเด็ดขาด
สัญญาณดังกล่าวจะทำให้นักลงทุนในตลาดเข้าใจว่า นับแต่นี้ต่อไปหุ้นหรือตราสารใด ๆ ของแฟนนี เมและเฟรดดี แมค จะมีสภาพไม่ต่างจากพันธบัตรรัฐบาลเท่าไรนัก
ทางด้าน ผู้ช่วยรัฐมนตรีคลังญี่ปุ่น คาซุ สุงิโมโตะ กล่าวในการแถลงข่าวที่กรุงโตเกียวว่า ญี่ปุ่นหวังว่าความเคลื่อนไหวของทางการสหรัฐฯคราวนี้จะสร้างผลกระทบในทางบวกต่อเศรษฐกิจโลก
อย่างไรก็ตาม แดนอาทิตย์อุทัยแสดงท่าทีด้วยว่า ความหวังดังกล่าวนี้อยู่ในสภาพที่ระวังระแวงอย่างสูง โดยมีรายงานข่าวอ้างคำพูดของรัฐมนตรีดูแลบริการทางการเงิน ได้กล่าวระหว่างการประชุมหารือระดับรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจของญี่ปุ่นวานนี้ว่า ตลาดการเงินของโลก กำลัง "อยู่บนปากเหวแห่งวิกฤต"
สำหรับสิงคโปร์ได้พูดจาตรงไปตรงมายิ่งกว่าทางญี่ปุ่นด้วยซ้ำ โดยทบวงการเงินแห่งสิงคโปร์ ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นธนาคารกลางของแดนลอดช่อง ได้ออกคำแถลงระบุว่า "การท้าทายที่สำคัญๆ และความเสี่ยงขาลงต่างๆ ในตลาดการเงินระหว่างประเทศยังคงดำรงอยู่ และสถาบันการเงินตลอดจนนักลงทุนทั้งหลายควรที่จะต้องระมัดระวังรอบคอบ"
ธปท.ชี้แค่เงินไหลออก-หุ้นตก
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในส่วนของสถาบันการเงินไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาซับไพรม์น้อยมาก ส่วนกระแสข่าวว่า ธปท.ได้มีการเข้าไปซื้อพันธบัตรของสถาบันการเงินดังกล่าวด้วยนั้น ข้อเท็จจริง ธปท.ไม่ได้เข้าไปลงทุนซื้อพันธบัตรของสถาบันการเงินทั้ง 2 แห่งนี้ และ ธปท.นำเงินไปลงทุนเฉพาะพันธบัตรรัฐบาลเท่านั้น
"ปัญหาซับไพรม์เป็นเรื่องที่หลายฝ่ายพยายามแก้ปัญหานี้ โดยประธานธนาคารกลางสหรัฐ ก็เตรียมที่จะเพิ่มทุนให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับผลพวงจากปัญหานี้อย่างต่อเนื่อง ยอมรับว่าสถานการณ์นี้ทำให้นักลงทุนมีการดึงเงินกลับประเทศสหรัฐบ้าง ส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดโลก ทำให้ตลาดหุ้นของทุกประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศในแถบภูมิภาคมีดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวลดลง"
ผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า สภาพคล่องในระบบไม่มีอะไรผิดปกติ เนื่องจากสภาพคล่องในระบบยังเหลือเยอะ ซึ่งธนาคารพาณิชย์มีการลงทุนทั้งในพันธบัตรรัฐบาล เงินลงทุนระยะสั้นถึง 5 แสนล้านบาท จึงไม่มีอะไรที่ต่างจากช่วงที่ผ่านมามากนัก ยังไม่เห็นสัญญาณที่ส่อเค้าภาวะเงินฝืด ขณะเดียวกันอัตราส่วนการปล่อยสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 80% ถือว่าอยู่ในสัดส่วนที่สูง
“แต่หากเงินในระบบหายไปบ้างก็ขึ้นอยู่กับในระยะยาวคนมีความต้องการลงทุนหรือไม่ การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นมากจนเงินลงทุนในตลาดตราสารหนี้ลดลงหรือไม่ แต่เท่าที่ขณะนี้สภาพคล่องในระบบยังเหลือเฟือไม่ได้หดหายไปแต่อย่างใด” นางธาริษาย้ำ
ส่วน นพ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง ยอมรับว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีผลกระทบต่อนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในแถบเอเชียรวมถึงไทยด้วย บวกกับปัญหาการเมืองไทย อาจกระทบต่อการเข้ามาลงทุนในประเทศ แต่พื้นฐานเศรษฐกิจไทย หลังจากได้ออกมาตรการต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงต้นปีเชื่อมั่นว่าจะรองรับปัญหาที่เกิดขึ้นของสหรัฐได้ เพราะรัฐบาลยึดหลักพึ่งพาเศรษฐกิจในประเทศมากขึ้นแล้ว ดังนั้นเหตุการณ์ต่างประเทศที่มีปัญหาจะกระทบเศรษฐกิจไทยน้อยลง
ทั้งนี้ การปรับ ครม. 3 ตำแหน่ง คือ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ก็ไม่กระทบต่อแผนการแก้ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงนี้
ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่เริ่มสูงขึ้น จนกระทบแหล่งเงินทุนสำหรับการก่อสร้างรถไฟฟ้า ก็ยังเน้นพึ่งพาการกู้เงินต่างประเทศ เพราะมีต้นทุนต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศ แต่ก็ต้องระวังผลความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนก็ต้องกู้เงินในประเทศด้วย แต่ต้องไม่ให้กระทบต่อสภาพคล่องในระบบการเงินของประเทศ
ทองคำราคาสูงเป็นประวัติการณ์
นายจิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ กล่าวว่า วานนี้ราคาขายทองคำรูปพรรณสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่บาทละ 15,600 บาท เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับความตึงเครียดในอิหร่าน ประกอบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า เพราะวิตกกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจสหรัฐที่ชะลอตัวลง หลังจากธนาคารกลางสหรัฐเข้ายึดกิจการของสถาบันการเงินอินดี แมค ประกอบกับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ราคาทองสูงสุดนับตั้งแต่มีการซื้อขายทองคำ ขณะที่ราคาทองคำในต่างประเทศทรงตัวอยู่ประมาณ 960 ดอลลาร์ต่อออนซ์ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ราคาขายทองคำในประเทศ จะมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หากเงินบาทยังคงอ่อนค่า โดยมีโอกาสทะลุ 16,000 บาทในปีนี้
สำหรับราคาทองคำที่ประกาศโดยสมาคมค้าทองคำวานนี้ ราคาทองรูปพรรณรับซื้อที่บาทละ 14,935.60 บาท และขายออกที่ 15,650 บาท ขณะที่ราคาทองคำแท่ง รับซื้อที่บาทละ 15,1500 บาท และขายออกที่ 15,250 บาท