วอลล์สตรีทเจอร์นัลเอเชีย - วิตกวิกฤตที่กำลังเกิดขึ้นกับ "แฟนนี เม" และ "เฟรดดี แมค" สองสถาบันการเงินยักษ์ด้านสินเชื่อเคหะของสหรัฐฯ จะสร้างความเสียหายอย่างหนักหน่วงต่อภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลกระทบทางอ้อม ซึ่งนอกจากกำลังทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกย่ำแย่และตลาดสินเชื่อตึงตัวหนักแล้ว ยังอาจยิ่งเร่งให้ปัญหาภาคที่อยู่อาศัยของอเมริกายิ่งสาหัสรุนแรง และฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอยเต็มตัว
บรรดาธนาคารกลางและสถาบันการเงินของเอเชียนั้น เป็นผู้ถือครองพวกตราสารหนี้สหรัฐฯเอาไว้จำนวนมากอยู่แล้ว และเชื่อกันว่าตราสารหนี้เหล่านี้ไม่น้อยทีเดียวคือพวกที่ออกโดย แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค
ตามข้อมูลล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ณ เดือนมิถุนายน 2007 ตราสารหนี้ระยะยาวซึ่งออกโดยหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ และยังมิได้มีการไถ่ถอน จำนวนราว 21.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ อยู่ในความครอบครองของต่างชาติ ทั้งนี้ จีนและญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในตราสารประเภทนี้ โดยถือเอาไว้ 376,000 ล้านดอลลาร์ และ 229,000 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ แต่ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดว่า แต่ละประเทศเป็นเจ้าของตราสารหนี้ของ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค กันมากน้อยแค่ไหน
ถึงแม้น่าจะถือครองกันเป็นจำนวนมากทีเดียว แต่ความเชื่อที่มีกันอยู่อย่างกว้างขวางว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินทั้งสองแห่งนี้ต้องประกาศระงับการชำระหนี้ ก็ทำให้ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่ยังคงไม่รู้สึกตื่นตระหนกอะไร เกี่ยวกับผลกระทบโดยตรงของวิกฤตคราวนี้ที่จะมีต่อผู้ถือตราสารหนี้ในเอเชีย นอกจากนั้นหุ้นของสถาบันการเงินด้านสินเชื่อเคหะยักษ์ใหญ่ทั้งสอง ซึ่งถูกกระหน่ำเทขายจนราคาตกฮวบฮาบในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ในเอเชียก็ไม่ได้มีผู้ถือครองอะไรกันมาก
กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาที่ผลกระทบทางอ้อม ที่วิกฤตคราวนี้จะมีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่ามันอาจจะหนักหนาสาหัสก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น ความปั่นป่วนผันผวนในตลาดสินเชื่อสหรัฐฯเท่าที่ผ่านมา ก็ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกอยู่ในอาการติดลบกันมากมายมหาศาลอยู่แล้ว นอกจากนั้น พวกที่คิดจะออกตราสารหนี้ แม้จะอยู่ห่างไกลจากสหรัฐฯมาก อย่างเช่นบริษัททางออสเตรเลีย ก็กำลังประสบปัญหาแหล่งระดมเงินกู้ระหว่างประเทศซึ่งพวกตนคิดจะพึ่งพาอาศัย กลับตกอยู่ในภาวะเหือดแห้งตึงตัว เนื่องจากเหล่านักลงทุนด้านตราสารหนี้ทั้งในสหรัฐฯและฟากยุโรป ต่างอยู่ในอาการเมินความเสี่ยง ทำให้บางบริษัทระดมหาเงินไม่ได้ถึงขั้นใกล้จะตกอยู่ในภาวะล้มละลายทีเดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟนนี เม และ เฟรดดี แมค มีหวังจะทำให้วิกฤตที่เกิดขึ้นอยู่แล้วนี้ยิ่งลุกลามกว้างขวางมากขึ้นอีก "นี่เป็นช่วงขณะที่มีอันตรายอย่างที่สุด" เป็นความเห็นของ แอนดี เซี่ย นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่เวลานี้ทำงานอิสระโดยตั้งฐานอยู่ในฮ่องกง ทั้งนี้เขาเชื่อว่าหากรัฐบาลสหรัฐฯต้องเข้าไปช่วยเหลือกอบกู้ไม่ให้สถาบันการเงิน 2 แห่งนี้ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย มันก็ยังน่าจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงกว่าเดิมอยู่ดี และนี่ย่อมกระทบโดยตรงต่อมูลค่าของหลักทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์จำนวนมหาศาล ซึ่งพวกธนาคารกลางและสถาบันการเงินในเอเชียถือครองอยู่
อย่างไรก็ตาม เอเชียน่าจะเผชิญความเสียหายร้ายแรงที่สุด ถ้าหากวิกฤตของแฟนนีและเฟรดดี กลายเป็นตัวเร่งการทรุดตัวของภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ และจุดชนวนทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอยเต็มตัว โดยต้องไม่ลืมว่าสหรัฐฯนั้นคือตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย
แม้กระทั่งในขณะนี้เอง ประเทศส่งออกยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่างเช่นจีน ก็กำลังเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบจากการอ่อนแอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯแล้ว เท่าที่ผ่านมาในปีนี้ การส่งออกโดยรวมของจีนยังคงอยู่ในระดับที่ไปได้อย่างสมเหตุสมผล โดยเติบโตด้วยอัตรา 21.9% ในครึ่งแรกปีนี้ ทว่าเฉพาะการส่งออกที่ไปยังสหรัฐฯกลับขยายตัวได้เพียงแค่ 8.9% ใน 6 เดือนแรกดังกล่าวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ทางด้านอินเดียก็น่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย จนกระทั่งการลงทุนในต่างแดนเหือดแห้งลง รวมทั้งเม็ดเงินลงทุนที่จะไหลสู่แดนภารตะด้วย
นอกจากนั้น วิกฤตทางการเงินที่กำลังเลวร้ายลงเช่นนี้ ยังกำลังทำให้เกิดความสงสัยข้องใจกันในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน เกี่ยวกับแบบจำลองการเปิดเสรีระบบการเงินแบบอเมริกัน ดังจะเห็นได้ว่าในปีนี้ พวกเจ้าหน้าที่จีนกำลังส่งเสียงอย่างผิดปกติ แสดงความกังวลต่อปัญหาทางการเงินของสหรัฐฯ และการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์อเมริกัน นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีน บอกกับรัฐมนตรีต่างประเทศ คอนโดลิซซา ไรซ์ ของสหรัฐฯ ที่ไปเยือนเมื่อเดือนที่แล้วว่า จีนหวังให้สหรัฐฯหลุดดพ้นจากวิกฤตสินเชื่อได้โดยรวดเร็ว และรักษามูลค่าของดอลลาร์ให้มั่นคง ขณะที่ในการประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจทวิภาคีเมื่อเดือนมิถุนายน โจวเสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนได้บอกว่า จีนซึ่งในอดีตเคยกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิธีบริหารจัดการเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้น เวลานี้ก็กำลังสนใจที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดของอเมริกาด้วย
จีนนั้นกำลังพยายามเดินหน้าอย่างช้าๆ ระมัดระวัง ในเรื่องการนำเอาวิธีแปรสินเชื่อเคหะให้กลายเป็นตราสารหนี้ (mortgage securitization) มาใช้ ตั้งแต่ก่อนอเมริกาจะเผชิญปัญหาวิกฤตหนักหน่วงเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ จีนเพิ่งจะมีการให้เอกชนถือครองกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยกันอย่างกว้างขวางเมื่อสักราวสิบปีมานี้เอง และผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่ก็หาเงินกู้ซื้อบ้านจากพวกธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่ธนาคารพวกนี้ก็ยังคงเก็บสินเชื่อเคหะเหล่านี้เอาไว้ในงบดุลบัญชีของตนเองเป็นส่วนมาก ไม่ได้มีการนำไปแปลงเป็นตราสารหนี้แล้วขายต่อให้แก่พวกนักลงทุน ดังที่นิยมทำกันในอเมริกา
ทางด้านอินเดียก็เช่นกัน กระบวนการแปรสินเชื่อเคหะให้กลายเป็นตราสารหนี้ ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มีหลายๆ ส่วนของเอเชียที่มีการแปรสินเชื่อเคหะให้กลายเป็นตราสารหนี้กันมากแล้ว อาทิเช่น ฮ่องกง, เกาหลีใต้, และมาเลเซีย
บรรดาธนาคารกลางและสถาบันการเงินของเอเชียนั้น เป็นผู้ถือครองพวกตราสารหนี้สหรัฐฯเอาไว้จำนวนมากอยู่แล้ว และเชื่อกันว่าตราสารหนี้เหล่านี้ไม่น้อยทีเดียวคือพวกที่ออกโดย แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค
ตามข้อมูลล่าสุดของกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ณ เดือนมิถุนายน 2007 ตราสารหนี้ระยะยาวซึ่งออกโดยหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาลสหรัฐฯ และยังมิได้มีการไถ่ถอน จำนวนราว 21.4% หรือคิดเป็นมูลค่า 1.3 ล้านล้านดอลลาร์ อยู่ในความครอบครองของต่างชาติ ทั้งนี้ จีนและญี่ปุ่นเป็นนักลงทุนต่างประเทศรายใหญ่ที่สุดในตราสารประเภทนี้ โดยถือเอาไว้ 376,000 ล้านดอลลาร์ และ 229,000 ล้านดอลลาร์ตามลำดับ แต่ยังไม่เป็นที่กระจ่างชัดว่า แต่ละประเทศเป็นเจ้าของตราสารหนี้ของ แฟนนี เม และ เฟรดดี แมค กันมากน้อยแค่ไหน
ถึงแม้น่าจะถือครองกันเป็นจำนวนมากทีเดียว แต่ความเชื่อที่มีกันอยู่อย่างกว้างขวางว่ารัฐบาลสหรัฐฯจะไม่ปล่อยให้สถาบันการเงินทั้งสองแห่งนี้ต้องประกาศระงับการชำระหนี้ ก็ทำให้ผู้สังเกตการณ์ส่วนใหญ่ยังคงไม่รู้สึกตื่นตระหนกอะไร เกี่ยวกับผลกระทบโดยตรงของวิกฤตคราวนี้ที่จะมีต่อผู้ถือตราสารหนี้ในเอเชีย นอกจากนั้นหุ้นของสถาบันการเงินด้านสินเชื่อเคหะยักษ์ใหญ่ทั้งสอง ซึ่งถูกกระหน่ำเทขายจนราคาตกฮวบฮาบในปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ในเอเชียก็ไม่ได้มีผู้ถือครองอะไรกันมาก
กระนั้นก็ตาม หากพิจารณาที่ผลกระทบทางอ้อม ที่วิกฤตคราวนี้จะมีต่อภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกแล้ว นักวิเคราะห์หลายคนบอกว่ามันอาจจะหนักหนาสาหัสก็เป็นได้ ตัวอย่างเช่น ความปั่นป่วนผันผวนในตลาดสินเชื่อสหรัฐฯเท่าที่ผ่านมา ก็ทำให้ราคาหุ้นทั่วโลกอยู่ในอาการติดลบกันมากมายมหาศาลอยู่แล้ว นอกจากนั้น พวกที่คิดจะออกตราสารหนี้ แม้จะอยู่ห่างไกลจากสหรัฐฯมาก อย่างเช่นบริษัททางออสเตรเลีย ก็กำลังประสบปัญหาแหล่งระดมเงินกู้ระหว่างประเทศซึ่งพวกตนคิดจะพึ่งพาอาศัย กลับตกอยู่ในภาวะเหือดแห้งตึงตัว เนื่องจากเหล่านักลงทุนด้านตราสารหนี้ทั้งในสหรัฐฯและฟากยุโรป ต่างอยู่ในอาการเมินความเสี่ยง ทำให้บางบริษัทระดมหาเงินไม่ได้ถึงขั้นใกล้จะตกอยู่ในภาวะล้มละลายทีเดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแฟนนี เม และ เฟรดดี แมค มีหวังจะทำให้วิกฤตที่เกิดขึ้นอยู่แล้วนี้ยิ่งลุกลามกว้างขวางมากขึ้นอีก "นี่เป็นช่วงขณะที่มีอันตรายอย่างที่สุด" เป็นความเห็นของ แอนดี เซี่ย นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังที่เวลานี้ทำงานอิสระโดยตั้งฐานอยู่ในฮ่องกง ทั้งนี้เขาเชื่อว่าหากรัฐบาลสหรัฐฯต้องเข้าไปช่วยเหลือกอบกู้ไม่ให้สถาบันการเงิน 2 แห่งนี้ตกอยู่ในภาวะล้มละลาย มันก็ยังน่าจะทำให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงกว่าเดิมอยู่ดี และนี่ย่อมกระทบโดยตรงต่อมูลค่าของหลักทรัพย์สกุลเงินดอลลาร์จำนวนมหาศาล ซึ่งพวกธนาคารกลางและสถาบันการเงินในเอเชียถือครองอยู่
อย่างไรก็ตาม เอเชียน่าจะเผชิญความเสียหายร้ายแรงที่สุด ถ้าหากวิกฤตของแฟนนีและเฟรดดี กลายเป็นตัวเร่งการทรุดตัวของภาคที่อยู่อาศัยในสหรัฐฯ และจุดชนวนทำให้เศรษฐกิจอเมริกาเข้าสู่ภาวะถดถอยเต็มตัว โดยต้องไม่ลืมว่าสหรัฐฯนั้นคือตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเอเชีย
แม้กระทั่งในขณะนี้เอง ประเทศส่งออกยักษ์ใหญ่ในเอเชียอย่างเช่นจีน ก็กำลังเริ่มรู้สึกถึงผลกระทบจากการอ่อนแอลงของเศรษฐกิจสหรัฐฯแล้ว เท่าที่ผ่านมาในปีนี้ การส่งออกโดยรวมของจีนยังคงอยู่ในระดับที่ไปได้อย่างสมเหตุสมผล โดยเติบโตด้วยอัตรา 21.9% ในครึ่งแรกปีนี้ ทว่าเฉพาะการส่งออกที่ไปยังสหรัฐฯกลับขยายตัวได้เพียงแค่ 8.9% ใน 6 เดือนแรกดังกล่าวเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ทางด้านอินเดียก็น่าจะได้รับผลกระทบเช่นกัน ถ้าหากเศรษฐกิจสหรัฐฯเข้าสู่ภาวะถดถอย จนกระทั่งการลงทุนในต่างแดนเหือดแห้งลง รวมทั้งเม็ดเงินลงทุนที่จะไหลสู่แดนภารตะด้วย
นอกจากนั้น วิกฤตทางการเงินที่กำลังเลวร้ายลงเช่นนี้ ยังกำลังทำให้เกิดความสงสัยข้องใจกันในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจีน เกี่ยวกับแบบจำลองการเปิดเสรีระบบการเงินแบบอเมริกัน ดังจะเห็นได้ว่าในปีนี้ พวกเจ้าหน้าที่จีนกำลังส่งเสียงอย่างผิดปกติ แสดงความกังวลต่อปัญหาทางการเงินของสหรัฐฯ และการอ่อนตัวของเงินดอลลาร์อเมริกัน นายกรัฐมนตรีเวินเจียเป่าของจีน บอกกับรัฐมนตรีต่างประเทศ คอนโดลิซซา ไรซ์ ของสหรัฐฯ ที่ไปเยือนเมื่อเดือนที่แล้วว่า จีนหวังให้สหรัฐฯหลุดดพ้นจากวิกฤตสินเชื่อได้โดยรวดเร็ว และรักษามูลค่าของดอลลาร์ให้มั่นคง ขณะที่ในการประชุมสุดยอดทางเศรษฐกิจทวิภาคีเมื่อเดือนมิถุนายน โจวเสี่ยวชวน ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีนได้บอกว่า จีนซึ่งในอดีตเคยกระตือรือร้นที่จะศึกษาวิธีบริหารจัดการเศรษฐกิจของสหรัฐฯนั้น เวลานี้ก็กำลังสนใจที่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดของอเมริกาด้วย
จีนนั้นกำลังพยายามเดินหน้าอย่างช้าๆ ระมัดระวัง ในเรื่องการนำเอาวิธีแปรสินเชื่อเคหะให้กลายเป็นตราสารหนี้ (mortgage securitization) มาใช้ ตั้งแต่ก่อนอเมริกาจะเผชิญปัญหาวิกฤตหนักหน่วงเสียด้วยซ้ำ ทั้งนี้ จีนเพิ่งจะมีการให้เอกชนถือครองกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยกันอย่างกว้างขวางเมื่อสักราวสิบปีมานี้เอง และผู้ซื้อบ้านส่วนใหญ่ก็หาเงินกู้ซื้อบ้านจากพวกธนาคารที่เป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่ธนาคารพวกนี้ก็ยังคงเก็บสินเชื่อเคหะเหล่านี้เอาไว้ในงบดุลบัญชีของตนเองเป็นส่วนมาก ไม่ได้มีการนำไปแปลงเป็นตราสารหนี้แล้วขายต่อให้แก่พวกนักลงทุน ดังที่นิยมทำกันในอเมริกา
ทางด้านอินเดียก็เช่นกัน กระบวนการแปรสินเชื่อเคหะให้กลายเป็นตราสารหนี้ ยังอยู่ในขั้นเริ่มต้นเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม มีหลายๆ ส่วนของเอเชียที่มีการแปรสินเชื่อเคหะให้กลายเป็นตราสารหนี้กันมากแล้ว อาทิเช่น ฮ่องกง, เกาหลีใต้, และมาเลเซีย