วานนี้ (14 ก.ค.) ที่ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร (กทม.) นายพงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์ ปลัดกทม. เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสอบสวนข้อเท็จจริงการรับสินบน 125 ล้านบาท จากบริษัท นิชิมัตสึ คอนสตรัคชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้ชนะประมูลโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว ในช่วงปี 2546 สมัยนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เป็นผู้ว่าฯกทม.ว่า หลังจากที่นายสมศักดิ์ กลั่นพจน์ รองปลัดกทม. ส่งข้อมูลโครงการทั้งหมดมาให้เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา แต่ก็ได้นำกลับไปแก้ไขจัดเรียงลำดับ และเมื่อวานนี้(14ก.ค.) ก็ได้ส่งมาให้ตนพิจารณาข้อมูลอย่างเป็นทางการ
ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดมีประมาณ 1,000 หน้า เริ่มตั้งแต่ความเป็นมาของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินการประกวดราคาทั้งหมด ซึ่งตนพร้อมที่จะนำข้อมูลทั้งหมดส่งและสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ในวันนี้ (15ก.ค.) และคาดว่าในช่วงบ่าย นายอภิรักษ์ จะแถลงข่าวถึงรายละเอียดและข้อเท็จจริงของโครงการ
นายพงศ์ศักติฐ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะมีการส่งข้อมูล ข้อเท็จจริงในส่วนที่ กทม. มีอยู่ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป เนื่องจากป.ป.ช. เป็นองค์กรที่สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบ และหารายละเอียดข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้มากกว่าหน่วยงานของ กทม. ทั้งนี้การตรวจสอบจะดำเนินต่อไปในขั้นไหน อย่างไรต้องรอหารือกับนายอภิรักษ์ ก่อน และผู้ที่จะพิจารณาว่าโครงการถูกหรือผิดก็คือผู้ว่าฯกทม. ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตรวจสอบในส่วนข้าราชการประจำกทม. จะสามารถทำได้จริงจนรู้ตัวบุคคลที่เรียกรับสินบนหรือไม่ นายพงศ์ศักติฐ์ กล่าวว่า ในข้อมูลที่ได้รับ ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าใครเป็นคนรับสินบน และไม่ทราบว่าจะมีจริงอย่างที่หนังสือพิมพ์เกียวโด นิวส์ ประเทศญี่ปุ่นลงข่าวกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งจนถึงขณะนี้ หน่วยงานต่างประเทศที่กทม.ได้ประสานขอข้อมูลไปก็ยังไม่มีการตอบกลับมาแต่อย่างใด หากยังไม่มีความคืบหน้า กทม.คงจะทำหนังสือสอบถามไปอีกครั้ง
ด้านนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สำนักการระบายน้ำ (ผอ.สนน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาโครงการ กล่าวถึงกรณีที่มีการเปิดเผยข้อมูลจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าพบพิรุธในขั้นตอนการพิจารณาผล การต่อรองราคาไปจนถึงการยืนยันราคาของบริษัทเอกชนเกิดขึ้นภายในวันเดียวกันว่า การประกวดราคาโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งถือว่านานมาก แต่เท่าที่ตนจำได้ยืนยันว่าวันที่เปิดซองราคา กับการเรียกบริษัทเอกชนเข้ามาต่อรองราคาไม่น่าจะเป็นวันเดียวกัน แต่ข้อเท็จจริงต่างๆ ขอให้ผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้เปิดเผยเองจะดีกว่า เพราะเอกสารโครงการทุกอย่างได้นำเสนอให้ผู้บริหารไปหมดแล้ว
**กมธ.เรียก"อภิรักษ์-หมัก"ชี้แจง
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ รองประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในวันที่ 16 ก.ค. นี้ คณะกรรมาธิการฯ จะทำหนังสือเชิญ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีต ผู้ว่าฯกทม. และผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงกรณีการประมูลโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว ของกทม. ก่อนที่เป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการเดินทางไปติดตามข้อเท็จจริงเรื่องนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการประสานงานจากอดีตประธานบริษัทนิชิมัตสึ ซึ่งพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการให้เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ที่สำคัญเครือข่ายการปราบปรามทุจริตของญี่ปุ่น พร้อมให้ความร่วมมือในการสอบสวนเรื่องนี้เต็มที่
นอกจากนี้ตนจะสอบถาม นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ช่วยประสานไปยังรัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อขอข้อมูลในโครงการนี้ รวมทั้งจะเข้าหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดในประเด็นสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย และถ้าเป็นไปได้จะเชิญตัวแทนอัยการร่วมเดินทางไปพร้อมกัน
นายชาญชัย กล่าวว่า จากการชี้แจงของนายกฯผ่านรายการสนทนาประสาสมัคร เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา นั้นเป็นการแก้ตัว เป็นการพูดที่ไม่รับผิดชอบ และไม่ปกป้องความเสียหายของประเทศ และตนยังรู้สึกแปลกใจที่นายกฯ มายอมรับสารภาพว่า เกี่ยวข้องทั้ง 2 ส. กับ 1 ธ. พร้อมระบุหมายถึงใคร
ทั้งนี้จากเอกสารที่ได้รวบรวมทั้งหมด 8 เล่ม ทั้งรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการ เอกสารและบันทึกการประชุมของกทม. พบว่า นายสมัคร เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มประมูล แก้แบบ จ้างบริษัทที่ปรึกษา จนถึงการเซ็นสัญญา ส่วนที่นายกฯ ระบุว่า เรื่องนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยแล้วนั้น ข้อเท็จจริงศาลไม่ได้วินิจฉัยเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตสินบนนี้
**"ดีเอสไอ"ยังนิ่งอ้างข้อมูลสับสน!
ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึง กรณีที่สำนักคดีอาญาพิเศษ ขออนุมัติสืบสวนเบื้องต้น กรณีเงินสินบนอุโมงค์ระบายน้ำของกทม. ว่า ได้ลงนามอนุมัติให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ และพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้บัญชาการสำนักกิจการต่างประเทศ และคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ร่วมกันดูแลตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เนื่องจากขณะนี้ มีเพียงข้อมูลจากสำนักพิมพ์แห่งเดียวของญี่ปุ่น ดังนั้นต้องได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นก่อน จึงจะพิจารณาว่าดีเอสไอ จะเข้าไปดำเนินการอย่างไร หรือไม่
ด้านนายธาริต กล่าวว่า พ.ต.อ.ทวีได้อนุมัติให้ตั้งคณะทำงานขึ้นติดตามกรณีเงินสินบนอุโมงค์ระบายน้ำของกทม. โดยการทำงานของดีเอสไอ ไม่ถือเป็นการสืบสวนหรือสอบสวนคดี เพราะกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษมีผลบังคับใช้ แม้จะเป็นคดีฮั้วประมูล แต่ดีเอสไอก็ไม่มีอำนาจเข้าไปดำเนินคดีได้โดยพลการ เว้นแต่คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) จะมีมติให้รับเป็นคดีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม กรณีสินบนอุโมงค์ระบายน้ำแตกต่างจากสินบนที่จ่ายให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ท.ท.ท.) ซึ่งเอฟบีไอ ของสหรัฐอเมริการ้องเรียนมายังดีเอสไอโดยตรง แต่กรณีสินบนอุโมงค์ระบายน้ำ มีเพียงการเสนอข่าวบนเว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น ต่อมามีการนำมาประโคมข่าวในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการประสานข้อมูลใดๆในระดับหน่วยราชการของ 2 ประเทศ เพราะถ้าการจ่ายเงินสินบนเป็นเรื่องจริง เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศญี่ปุ่นคงไม่ปล่อยไว้แน่ ดังนั้นกรณีสินบนอุโมงค์ระบายน้ำจึงยังมีความสับสนในแง่ของข้อเท็จจริง ดีเอสไอ เกรงว่าจะเป็นการดิสเครดิตฝ่ายไทย จึงต้องตรวจสอบให้รอบคอบก่อนที่จะตั้งต้นสืบสวนสอบสวนคดี
ทั้งนี้ ข้อมูลทั้งหมดมีประมาณ 1,000 หน้า เริ่มตั้งแต่ความเป็นมาของโครงการ ขั้นตอนการดำเนินการประกวดราคาทั้งหมด ซึ่งตนพร้อมที่จะนำข้อมูลทั้งหมดส่งและสรุปผลการตรวจสอบเบื้องต้นให้นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯกทม. ในวันนี้ (15ก.ค.) และคาดว่าในช่วงบ่าย นายอภิรักษ์ จะแถลงข่าวถึงรายละเอียดและข้อเท็จจริงของโครงการ
นายพงศ์ศักติฐ์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้จะมีการส่งข้อมูล ข้อเท็จจริงในส่วนที่ กทม. มีอยู่ ไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนหาข้อเท็จจริงต่อไป เนื่องจากป.ป.ช. เป็นองค์กรที่สามารถปฏิบัติงานตรวจสอบ และหารายละเอียดข้อเท็จจริงเพิ่มเติมได้มากกว่าหน่วยงานของ กทม. ทั้งนี้การตรวจสอบจะดำเนินต่อไปในขั้นไหน อย่างไรต้องรอหารือกับนายอภิรักษ์ ก่อน และผู้ที่จะพิจารณาว่าโครงการถูกหรือผิดก็คือผู้ว่าฯกทม. ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจสั่งการ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การตรวจสอบในส่วนข้าราชการประจำกทม. จะสามารถทำได้จริงจนรู้ตัวบุคคลที่เรียกรับสินบนหรือไม่ นายพงศ์ศักติฐ์ กล่าวว่า ในข้อมูลที่ได้รับ ไม่สามารถที่จะระบุได้ว่าใครเป็นคนรับสินบน และไม่ทราบว่าจะมีจริงอย่างที่หนังสือพิมพ์เกียวโด นิวส์ ประเทศญี่ปุ่นลงข่าวกล่าวหาหรือไม่ ซึ่งจนถึงขณะนี้ หน่วยงานต่างประเทศที่กทม.ได้ประสานขอข้อมูลไปก็ยังไม่มีการตอบกลับมาแต่อย่างใด หากยังไม่มีความคืบหน้า กทม.คงจะทำหนังสือสอบถามไปอีกครั้ง
ด้านนายชาญชัย วิทูรปัญญากิจ ผอ.สำนักการระบายน้ำ (ผอ.สนน.) ในฐานะประธานคณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาโครงการ กล่าวถึงกรณีที่มีการเปิดเผยข้อมูลจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ว่าพบพิรุธในขั้นตอนการพิจารณาผล การต่อรองราคาไปจนถึงการยืนยันราคาของบริษัทเอกชนเกิดขึ้นภายในวันเดียวกันว่า การประกวดราคาโครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ซึ่งถือว่านานมาก แต่เท่าที่ตนจำได้ยืนยันว่าวันที่เปิดซองราคา กับการเรียกบริษัทเอกชนเข้ามาต่อรองราคาไม่น่าจะเป็นวันเดียวกัน แต่ข้อเท็จจริงต่างๆ ขอให้ผู้ว่าฯ กทม. เป็นผู้เปิดเผยเองจะดีกว่า เพราะเอกสารโครงการทุกอย่างได้นำเสนอให้ผู้บริหารไปหมดแล้ว
**กมธ.เรียก"อภิรักษ์-หมัก"ชี้แจง
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ส.ส.นครนายก พรรคประชาธิปัตย์ รองประธานคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า ในวันที่ 16 ก.ค. นี้ คณะกรรมาธิการฯ จะทำหนังสือเชิญ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ผู้ว่าฯ กทม. และนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ในฐานะอดีต ผู้ว่าฯกทม. และผู้เกี่ยวข้องมาชี้แจงกรณีการประมูลโครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำคลองแสนแสบ-ลาดพร้าว ของกทม. ก่อนที่เป็นตัวแทนคณะกรรมาธิการเดินทางไปติดตามข้อเท็จจริงเรื่องนี้ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการประสานงานจากอดีตประธานบริษัทนิชิมัตสึ ซึ่งพร้อมให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการให้เอกสาร และหลักฐานต่างๆ ที่สำคัญเครือข่ายการปราบปรามทุจริตของญี่ปุ่น พร้อมให้ความร่วมมือในการสอบสวนเรื่องนี้เต็มที่
นอกจากนี้ตนจะสอบถาม นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ให้ช่วยประสานไปยังรัฐสภาญี่ปุ่น เพื่อขอข้อมูลในโครงการนี้ รวมทั้งจะเข้าหารือกับสำนักงานอัยการสูงสุดในประเด็นสนธิสัญญาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วย และถ้าเป็นไปได้จะเชิญตัวแทนอัยการร่วมเดินทางไปพร้อมกัน
นายชาญชัย กล่าวว่า จากการชี้แจงของนายกฯผ่านรายการสนทนาประสาสมัคร เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา นั้นเป็นการแก้ตัว เป็นการพูดที่ไม่รับผิดชอบ และไม่ปกป้องความเสียหายของประเทศ และตนยังรู้สึกแปลกใจที่นายกฯ มายอมรับสารภาพว่า เกี่ยวข้องทั้ง 2 ส. กับ 1 ธ. พร้อมระบุหมายถึงใคร
ทั้งนี้จากเอกสารที่ได้รวบรวมทั้งหมด 8 เล่ม ทั้งรายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมาธิการ เอกสารและบันทึกการประชุมของกทม. พบว่า นายสมัคร เกี่ยวข้องตั้งแต่เริ่มประมูล แก้แบบ จ้างบริษัทที่ปรึกษา จนถึงการเซ็นสัญญา ส่วนที่นายกฯ ระบุว่า เรื่องนี้ศาลปกครองได้วินิจฉัยแล้วนั้น ข้อเท็จจริงศาลไม่ได้วินิจฉัยเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตสินบนนี้
**"ดีเอสไอ"ยังนิ่งอ้างข้อมูลสับสน!
ด้าน พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) กล่าวถึง กรณีที่สำนักคดีอาญาพิเศษ ขออนุมัติสืบสวนเบื้องต้น กรณีเงินสินบนอุโมงค์ระบายน้ำของกทม. ว่า ได้ลงนามอนุมัติให้ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พ.อ.ปิยะวัฒก์ กิ่งเกตุ ผู้บัญชาการสำนักคดีอาญาพิเศษ และพ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้บัญชาการสำนักกิจการต่างประเทศ และคดีอาชญากรรมระหว่างประเทศ ร่วมกันดูแลตรวจสอบข้อเท็จจริงเบื้องต้น เนื่องจากขณะนี้ มีเพียงข้อมูลจากสำนักพิมพ์แห่งเดียวของญี่ปุ่น ดังนั้นต้องได้ข้อเท็จจริงเบื้องต้นก่อน จึงจะพิจารณาว่าดีเอสไอ จะเข้าไปดำเนินการอย่างไร หรือไม่
ด้านนายธาริต กล่าวว่า พ.ต.อ.ทวีได้อนุมัติให้ตั้งคณะทำงานขึ้นติดตามกรณีเงินสินบนอุโมงค์ระบายน้ำของกทม. โดยการทำงานของดีเอสไอ ไม่ถือเป็นการสืบสวนหรือสอบสวนคดี เพราะกรณีดังกล่าวเกิดขึ้นก่อน พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษมีผลบังคับใช้ แม้จะเป็นคดีฮั้วประมูล แต่ดีเอสไอก็ไม่มีอำนาจเข้าไปดำเนินคดีได้โดยพลการ เว้นแต่คณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) จะมีมติให้รับเป็นคดีพิเศษ
อย่างไรก็ตาม กรณีสินบนอุโมงค์ระบายน้ำแตกต่างจากสินบนที่จ่ายให้กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ท.ท.ท.) ซึ่งเอฟบีไอ ของสหรัฐอเมริการ้องเรียนมายังดีเอสไอโดยตรง แต่กรณีสินบนอุโมงค์ระบายน้ำ มีเพียงการเสนอข่าวบนเว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น ต่อมามีการนำมาประโคมข่าวในประเทศไทย แต่ยังไม่มีการประสานข้อมูลใดๆในระดับหน่วยราชการของ 2 ประเทศ เพราะถ้าการจ่ายเงินสินบนเป็นเรื่องจริง เชื่อว่ากระบวนการยุติธรรมในประเทศญี่ปุ่นคงไม่ปล่อยไว้แน่ ดังนั้นกรณีสินบนอุโมงค์ระบายน้ำจึงยังมีความสับสนในแง่ของข้อเท็จจริง ดีเอสไอ เกรงว่าจะเป็นการดิสเครดิตฝ่ายไทย จึงต้องตรวจสอบให้รอบคอบก่อนที่จะตั้งต้นสืบสวนสอบสวนคดี