หมู่นี้เราได้ยินคำว่า “การเมืองใหม่” บ่อยๆ ไม่เฉพาะบนเวทีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ในแวดวงนักวิชาการรัฐศาสตร์ก็มีการพูดถึงเรื่องนี้เช่นกัน
ระบอบการเมืองของประเทศต่างๆ ในโลก ต่างใช้รูปแบบของประชาธิปไตยโดยมีตัวแทน นานๆ เข้าหลายประเทศก็พบว่า หลักสำคัญบางอย่างของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการถ่วงดุลระหว่างอำนาจทั้งสามนั้น ก็ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป ความจริงก็คือ ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเฉพาะในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ
รูปแบบการเมืองที่ว่านี้ ใช้กันมาเป็นร้อยปีแล้ว หลายประเทศเริ่มวิจารณ์ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” ว่า ผู้แทนไม่ค่อยจะเป็น “ตัวแทน” ของประชาชนอย่างแท้จริง ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจของประชาชนจำกัดอยู่เฉพาะวันเลือกตั้งซึ่งสี่ปีจะมีครั้งหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้พูดถึง “ประชาธิปไตยทางตรง” และประชาธิปไตยโดยการปรึกษาหารือมากขึ้น ในแคนาดามีขบวนการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของพลเมืองอย่างกว้างขวาง นักวิชาการหันมาเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย ว่ามีมากน้อยเพียงใด
สำหรับประเทศไทยเรา ปัญหาหลักตลอดระยะเวลา 70 กว่าปีที่ผ่านมา คือ ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของกติกาการปกครอง นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญของเรามีบทบัญญัติที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยหลายเรื่อง แต่เมื่อ พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญได้มีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าในอดีต
แม้กระนั้น การเมืองของเราก็ยิ่งมีปัญหาหนักขึ้น จุดสำคัญก็คือ กระบวนการเข้าสู่อำนาจซึ่งแต่เดิมยังมี 2 ลู่คือจากพลังทางสังคม เช่น ระบบราชการ และจากพรรคการเมือง ต่อมาการเข้าสู่อำนาจเหลือเพียงลู่เดียวคือ ผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งของเราต้องใช้เงินมาก การได้อำนาจทางการเมืองจึงต้องทำ 2 สิ่ง คือ หนึ่ง ใช้ตำแหน่งทางการเมืองถอนทุนคืน และสอง ใช้ตำแหน่งทางการเมืองหาเงินเก็บไว้ใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
เราวนเวียนอยู่ในการเมืองแบบนี้มาเป็นเวลานาน และตราบเท่าที่ยังคงใช้วิธีการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองแบบลู่เดียว เราก็จะพบกับปัญหาเก่าๆ แม้รัฐธรรมนูญจะให้มีองค์กรอิสระมากำกับดูแล แต่ก็ไม่เป็นผล เวลานี้จึงเหลือแต่ฝ่ายตุลาการเท่านั้นที่พอจะทัดทานถ่วงดุล ตรวจสอบนักการเมืองได้
“การเมืองใหม่” จึงหมายถึงการทบทวนรูปแบบ และวิธีการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองแบบเดิม แล้วหารูปแบบ วิธีการใหม่ ข้อสำคัญก็คือ รูปแบบและวิธีการใหม่นี้จะต้องได้รับความเห็นชอบ และมีความชอบธรรม
“การเมืองใหม่” มีสองความหมาย คือ ความหมายอย่างแคบ และความหมายอย่างกว้าง อย่างแคบนั้นหมายถึงโครงสร้าง และกระบวนการทางการเมืองอย่างกว้างขวางหมายถึง นโยบายและมาตรการทางการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ และเหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมไทย
โครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง ที่จะต้องมีการทบทวนกันก็คือ การได้มาซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เราจะมีลู่เดียวแบบเดิม คือ ผ่านพรรคการเมือง-การเลือกตั้ง-สภาผู้แทนราษฎร-รัฐบาล หรือจะมีมากกว่าหนึ่งลู่ นั่นคือ ถ้าถือว่าพรรคการเมืองเป็นเพียงองค์กรหนึ่งภายในสังคมเท่านั้น ยังมีกลุ่มประชาชน กลุ่มอื่นๆ ด้วย หากรับความเป็นจริงในสังคมไทยที่ว่า มีกลุ่มที่เข้าร่วมทางการเมืองหลายกลุ่ม ไม่จำเป็นจะต้องถือว่า การเข้าร่วมและจัดตั้งพรรคการเมืองเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองในรัฐสภาและรัฐบาลได้ เราก็น่าจะยอมให้มีตัวแทนของประชาชนที่มิใช่นักการเมืองจากพรรคการเมืองด้วย วิธีการที่จะมีความชอบธรรมก็คือ ให้ตัวแทนจากองค์กรประชาชนเลือกกันเข้ามาเป็นตัวแทนภาคประชาสังคม ส่วนพรรคการเมืองจะแข่งขันกันทางการเมืองก็แข่งกันไป แต่มิใช่ให้พรรคการเมืองเท่านั้นที่ผูกขาดการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง
พรรคการเมืองควรมีผู้แทนในสภาฯ กี่ส่วน จาก 30-70% ถ้าดูพรรคการเมืองในประเทศไทยที่มีฐานมวลชนแคบมากแล้ว 30% ก็น่าจะดี อีก 50% น่าจะมาจากองค์กรปกครองท้องถิ่น และ 20% มาจากองค์กรประชาชน ถ้าเป็นเช่นนี้ หากจะมีการซื้อเสียง ผู้ต้องการได้อำนาจทางการเมืองก็ต้องใช้เงินมากขึ้น วิธีการที่ป้องกันไม่ให้เกิดการซื้อเสียงได้เลย ก็ต้องอาศัยวิธีการสรรหาที่ไม่ใช่การเลือกตั้ง หากกรรมการสรรหาเป็นผู้ซื่อตรงเที่ยงธรรม ซื้อไม่ได้ การสรรหาส่วนหนึ่ง ก็น่าจะแก้ปัญหาโลกแตกได้
การเมืองใหม่ในความหมายกว้างก็คือ การมีแนวนโยบายที่ไม่ปล่อยให้ทุนนิยมเต็มรูปเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจไทย นั่นก็คือ ส่งเสริมวิถีชีวิตทางเลือกอย่างจริงจัง สนับสนุนระบบเศรษฐกิจพอเพียง และไม่เปิดตลาดเสรีมากจนเกินไป
การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนราษฎรได้หรือไม่ คำตอบคือเป็นไปได้ หากเรามีพรรคการเมืองที่เดินแนวทางดังกล่าวข้างต้นอย่างจริงจัง และเกิดการปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่โดยพรรคการเมืองลดการซื้อเสียงลง
ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เราต้องมาช่วยกันคิดว่าทำอย่างไร การเมืองไทยจึงจะพ้นสภาพที่ไม่พึงปรารถนา วิธีการใดจึงจะลด และขจัดการซื้อเสียงได้
ในที่สุด ประเทศไทยก็อาจต้องหันไปหาระบอบ “กึ่งประชาธิปไตย” คือ ให้มีการร่วมกันใช้อำนาจระหว่างนักการเมืองกับพลังอื่นๆ ในสังคม ซึ่งแต่ก่อนคือ ข้าราชการ แต่ในปัจจุบันพลังขององค์กรประชาชนตื่นตัวมาก การร่วมกันใช้อำนาจนี้ก็น่าจะเป็นระหว่างนักการเมือง-ข้าราชการ-ภาคประชาสังคม ส่วนจะจัดกันอย่างไรนั้น ควรมีการพิจารณารายละเอียดกันอีกครั้ง
ในสังคมที่คนรังเกียจการเมือง และมีนักการเมืองแบบนี้สมควรหรือไม่ที่เราจะฝากอนาคตของชาติไว้กับนักการเมืองแต่เพียงกลุ่มเดียว
ระบอบการเมืองของประเทศต่างๆ ในโลก ต่างใช้รูปแบบของประชาธิปไตยโดยมีตัวแทน นานๆ เข้าหลายประเทศก็พบว่า หลักสำคัญบางอย่างของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการถ่วงดุลระหว่างอำนาจทั้งสามนั้น ก็ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป ความจริงก็คือ ฝ่ายบริหารมีอำนาจมากกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ โดยเฉพาะในระบบรัฐสภาแบบอังกฤษ
รูปแบบการเมืองที่ว่านี้ ใช้กันมาเป็นร้อยปีแล้ว หลายประเทศเริ่มวิจารณ์ “ประชาธิปไตยแบบตัวแทน” ว่า ผู้แทนไม่ค่อยจะเป็น “ตัวแทน” ของประชาชนอย่างแท้จริง ในระบอบประชาธิปไตย อำนาจของประชาชนจำกัดอยู่เฉพาะวันเลือกตั้งซึ่งสี่ปีจะมีครั้งหนึ่ง
ด้วยเหตุนี้ จึงมีผู้พูดถึง “ประชาธิปไตยทางตรง” และประชาธิปไตยโดยการปรึกษาหารือมากขึ้น ในแคนาดามีขบวนการส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมของพลเมืองอย่างกว้างขวาง นักวิชาการหันมาเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตย ว่ามีมากน้อยเพียงใด
สำหรับประเทศไทยเรา ปัญหาหลักตลอดระยะเวลา 70 กว่าปีที่ผ่านมา คือ ปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยของกติกาการปกครอง นั่นก็คือ รัฐธรรมนูญของเรามีบทบัญญัติที่ขัดกับหลักประชาธิปไตยหลายเรื่อง แต่เมื่อ พ.ศ. 2540 รัฐธรรมนูญได้มีลักษณะที่เป็นประชาธิปไตยมากกว่าในอดีต
แม้กระนั้น การเมืองของเราก็ยิ่งมีปัญหาหนักขึ้น จุดสำคัญก็คือ กระบวนการเข้าสู่อำนาจซึ่งแต่เดิมยังมี 2 ลู่คือจากพลังทางสังคม เช่น ระบบราชการ และจากพรรคการเมือง ต่อมาการเข้าสู่อำนาจเหลือเพียงลู่เดียวคือ ผ่านพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้งของเราต้องใช้เงินมาก การได้อำนาจทางการเมืองจึงต้องทำ 2 สิ่ง คือ หนึ่ง ใช้ตำแหน่งทางการเมืองถอนทุนคืน และสอง ใช้ตำแหน่งทางการเมืองหาเงินเก็บไว้ใช้ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป
เราวนเวียนอยู่ในการเมืองแบบนี้มาเป็นเวลานาน และตราบเท่าที่ยังคงใช้วิธีการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองแบบลู่เดียว เราก็จะพบกับปัญหาเก่าๆ แม้รัฐธรรมนูญจะให้มีองค์กรอิสระมากำกับดูแล แต่ก็ไม่เป็นผล เวลานี้จึงเหลือแต่ฝ่ายตุลาการเท่านั้นที่พอจะทัดทานถ่วงดุล ตรวจสอบนักการเมืองได้
“การเมืองใหม่” จึงหมายถึงการทบทวนรูปแบบ และวิธีการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองแบบเดิม แล้วหารูปแบบ วิธีการใหม่ ข้อสำคัญก็คือ รูปแบบและวิธีการใหม่นี้จะต้องได้รับความเห็นชอบ และมีความชอบธรรม
“การเมืองใหม่” มีสองความหมาย คือ ความหมายอย่างแคบ และความหมายอย่างกว้าง อย่างแคบนั้นหมายถึงโครงสร้าง และกระบวนการทางการเมืองอย่างกว้างขวางหมายถึง นโยบายและมาตรการทางการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะ และเหมาะสมกับสภาพการณ์ของสังคมไทย
โครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง ที่จะต้องมีการทบทวนกันก็คือ การได้มาซึ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เราจะมีลู่เดียวแบบเดิม คือ ผ่านพรรคการเมือง-การเลือกตั้ง-สภาผู้แทนราษฎร-รัฐบาล หรือจะมีมากกว่าหนึ่งลู่ นั่นคือ ถ้าถือว่าพรรคการเมืองเป็นเพียงองค์กรหนึ่งภายในสังคมเท่านั้น ยังมีกลุ่มประชาชน กลุ่มอื่นๆ ด้วย หากรับความเป็นจริงในสังคมไทยที่ว่า มีกลุ่มที่เข้าร่วมทางการเมืองหลายกลุ่ม ไม่จำเป็นจะต้องถือว่า การเข้าร่วมและจัดตั้งพรรคการเมืองเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมืองในรัฐสภาและรัฐบาลได้ เราก็น่าจะยอมให้มีตัวแทนของประชาชนที่มิใช่นักการเมืองจากพรรคการเมืองด้วย วิธีการที่จะมีความชอบธรรมก็คือ ให้ตัวแทนจากองค์กรประชาชนเลือกกันเข้ามาเป็นตัวแทนภาคประชาสังคม ส่วนพรรคการเมืองจะแข่งขันกันทางการเมืองก็แข่งกันไป แต่มิใช่ให้พรรคการเมืองเท่านั้นที่ผูกขาดการเข้าสู่ตำแหน่งทางการเมือง
พรรคการเมืองควรมีผู้แทนในสภาฯ กี่ส่วน จาก 30-70% ถ้าดูพรรคการเมืองในประเทศไทยที่มีฐานมวลชนแคบมากแล้ว 30% ก็น่าจะดี อีก 50% น่าจะมาจากองค์กรปกครองท้องถิ่น และ 20% มาจากองค์กรประชาชน ถ้าเป็นเช่นนี้ หากจะมีการซื้อเสียง ผู้ต้องการได้อำนาจทางการเมืองก็ต้องใช้เงินมากขึ้น วิธีการที่ป้องกันไม่ให้เกิดการซื้อเสียงได้เลย ก็ต้องอาศัยวิธีการสรรหาที่ไม่ใช่การเลือกตั้ง หากกรรมการสรรหาเป็นผู้ซื่อตรงเที่ยงธรรม ซื้อไม่ได้ การสรรหาส่วนหนึ่ง ก็น่าจะแก้ปัญหาโลกแตกได้
การเมืองใหม่ในความหมายกว้างก็คือ การมีแนวนโยบายที่ไม่ปล่อยให้ทุนนิยมเต็มรูปเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจไทย นั่นก็คือ ส่งเสริมวิถีชีวิตทางเลือกอย่างจริงจัง สนับสนุนระบบเศรษฐกิจพอเพียง และไม่เปิดตลาดเสรีมากจนเกินไป
การเมืองใหม่จะเกิดขึ้นโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการได้มาซึ่งผู้แทนราษฎรได้หรือไม่ คำตอบคือเป็นไปได้ หากเรามีพรรคการเมืองที่เดินแนวทางดังกล่าวข้างต้นอย่างจริงจัง และเกิดการปฏิรูปการเมืองขนานใหญ่โดยพรรคการเมืองลดการซื้อเสียงลง
ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เราต้องมาช่วยกันคิดว่าทำอย่างไร การเมืองไทยจึงจะพ้นสภาพที่ไม่พึงปรารถนา วิธีการใดจึงจะลด และขจัดการซื้อเสียงได้
ในที่สุด ประเทศไทยก็อาจต้องหันไปหาระบอบ “กึ่งประชาธิปไตย” คือ ให้มีการร่วมกันใช้อำนาจระหว่างนักการเมืองกับพลังอื่นๆ ในสังคม ซึ่งแต่ก่อนคือ ข้าราชการ แต่ในปัจจุบันพลังขององค์กรประชาชนตื่นตัวมาก การร่วมกันใช้อำนาจนี้ก็น่าจะเป็นระหว่างนักการเมือง-ข้าราชการ-ภาคประชาสังคม ส่วนจะจัดกันอย่างไรนั้น ควรมีการพิจารณารายละเอียดกันอีกครั้ง
ในสังคมที่คนรังเกียจการเมือง และมีนักการเมืองแบบนี้สมควรหรือไม่ที่เราจะฝากอนาคตของชาติไว้กับนักการเมืองแต่เพียงกลุ่มเดียว