เอเอฟพี –รัฐบาลสหรัฐฯกำลังพิจารณาแผนการเข้าควบคุมกิจการวิสาหกิจสินเชื่อเพื่อการเคหะรายยักษ์ใหญ่ “แฟนนี เม” และ “เฟรดดี แมค” หากปัญหาการเงินในสถาบันการเงินทั้งสองเลวร้ายลงกว่าเดิม ทั้งนี้ตามรายงานของนิวยอร์กไทมส์ และ วอลล์สตรีทเจอร์นัล 2 หนังสือพิมพ์ทรงอิทธิพลของอเมริกา
นิวยอร์กไทมส์รายงานวานนี้(11) โดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวที่ได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ระบุว่า ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเข้าควบคุมกิจการวิสาหกิจดังกล่าวแห่งใดแห่งหนึ่งหรือทั้งสองแห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการเคหะรายอื่นในตลาดล้มครืนตามกันไปเป็นลูกระนาด
“เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการหารือถึงแผนดังกล่าวเน้นย้ำว่า รัฐบาลจะยังไม่เคลื่อนไหวดำเนินการอะไรในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตแต่อย่างใด” รายงานระบุ
อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กไทมส์ชี้ว่า บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการเคหะรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ โดยมียอดปล่อยสินเชื่อและการประกันสินเชื่อรวมกันถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ กำลังประสบปัญหาค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากราคาหุ้นลดต่ำลงและต้นทุนทางการเงินก็เพิ่มสูงขึ้นเพราะตลาดขาดความมั่นใจในสถานะทางการเงินของบริษัท
รายงานระบุว่า ทางเลือกหนึ่งในการเข้าแทรกแซงของรัฐบาล คือการเข้าไปค้ำประกันหนี้มูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัททั้งสอง แต่ก็ถูกหลายฝ่ายมองว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากจะเป็นภาระต่อการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาลเอง
ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล ซึ่งรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของรัฐบาลบุชที่จะเข้าแทรกแซงให้ความช่วยเหลือแฟนนี เม และ เฟรดดี แม็ค เป็นรายแรกเมื่อวันพฤหัสบดี(10) ได้เกาะติดข่าวนี้ต่อวานนี้ โดยระบุว่า บริษัททั้งสองกำลังเผชิญกับแรงกดดันให้เพิ่มทุนครั้งใหม่
“มาตรการเพิ่มทุนถือเป็นการให้ยาแรงและอนาคตก็ยากที่จะทำนาย เพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าสถานการณ์ที่แท้จริงของบริษัทขณะนี้เป็นอย่างไร” วอลสตรีท เจอร์นับระบุ
แฟนนี เม และเฟรดดี แมค เวลานี้มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน รัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้ให้การสนับสนุนใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรมมานานปีแล้ว แม้ว่าตอนก่อตั้งจะมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐก็ตาม บริษัททั้งสองทำหน้าที่ช่วยสร้างสภาพคล่องในตลาดสินเชื่อเพื่อการเคหะ โดยการซื้อสัญญาจำนองอสังหาริมทรัพย์ และนำไปเป็นหลักประกันในการออกตราสารทางการเงินขายให้แก่นักลงทุนในตลาดอีกต่อหนึ่ง
เฟรดดี แมค มีพอร์ตสินเชื่อมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่แฟนนี เม มีพอร์ตสินเชื่อมูลค่ากว่า 7 แสนล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น บริษัททั้งสองยังเป็นผู้ค้ำประกันหนี้อีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งหมดในสหรัฐฯ
เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการการคลังของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดี(10)ว่า บริษัททั้งสองยังมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้ว่าสินเชื่อบางส่วนจะมีปัญหาจากภาวะตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม
นิวยอร์กไทมส์รายงานวานนี้(11) โดยอ้างการเปิดเผยของแหล่งข่าวที่ได้รับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับแผนดังกล่าว ระบุว่า ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช กำลังพิจารณาความเป็นไปได้ที่จะเข้าควบคุมกิจการวิสาหกิจดังกล่าวแห่งใดแห่งหนึ่งหรือทั้งสองแห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจสินเชื่อเพื่อการเคหะรายอื่นในตลาดล้มครืนตามกันไปเป็นลูกระนาด
“เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการหารือถึงแผนดังกล่าวเน้นย้ำว่า รัฐบาลจะยังไม่เคลื่อนไหวดำเนินการอะไรในระยะเวลาอันใกล้นี้ เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์ของแฟนนี เม และเฟรดดี แมค ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตแต่อย่างใด” รายงานระบุ
อย่างไรก็ตาม นิวยอร์กไทมส์ชี้ว่า บริษัททั้งสองซึ่งเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อเพื่อการเคหะรายใหญ่ที่สุดของสหรัฐฯ โดยมียอดปล่อยสินเชื่อและการประกันสินเชื่อรวมกันถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ กำลังประสบปัญหาค่อนข้างรุนแรง เนื่องจากราคาหุ้นลดต่ำลงและต้นทุนทางการเงินก็เพิ่มสูงขึ้นเพราะตลาดขาดความมั่นใจในสถานะทางการเงินของบริษัท
รายงานระบุว่า ทางเลือกหนึ่งในการเข้าแทรกแซงของรัฐบาล คือการเข้าไปค้ำประกันหนี้มูลค่า 5,000 ล้านดอลลาร์ให้แก่บริษัททั้งสอง แต่ก็ถูกหลายฝ่ายมองว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากจะเป็นภาระต่อการบริหารหนี้สาธารณะของรัฐบาลเอง
ทางด้านหนังสือพิมพ์วอลสตรีท เจอร์นัล ซึ่งรายงานข่าวความเคลื่อนไหวของรัฐบาลบุชที่จะเข้าแทรกแซงให้ความช่วยเหลือแฟนนี เม และ เฟรดดี แม็ค เป็นรายแรกเมื่อวันพฤหัสบดี(10) ได้เกาะติดข่าวนี้ต่อวานนี้ โดยระบุว่า บริษัททั้งสองกำลังเผชิญกับแรงกดดันให้เพิ่มทุนครั้งใหม่
“มาตรการเพิ่มทุนถือเป็นการให้ยาแรงและอนาคตก็ยากที่จะทำนาย เพราะไม่มีใครรู้แน่ชัดว่าสถานการณ์ที่แท้จริงของบริษัทขณะนี้เป็นอย่างไร” วอลสตรีท เจอร์นับระบุ
แฟนนี เม และเฟรดดี แมค เวลานี้มีสถานะเป็นบริษัทมหาชน รัฐบาลสหรัฐฯไม่ได้ให้การสนับสนุนใด ๆ อย่างเป็นรูปธรรมมานานปีแล้ว แม้ว่าตอนก่อตั้งจะมีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐก็ตาม บริษัททั้งสองทำหน้าที่ช่วยสร้างสภาพคล่องในตลาดสินเชื่อเพื่อการเคหะ โดยการซื้อสัญญาจำนองอสังหาริมทรัพย์ และนำไปเป็นหลักประกันในการออกตราสารทางการเงินขายให้แก่นักลงทุนในตลาดอีกต่อหนึ่ง
เฟรดดี แมค มีพอร์ตสินเชื่อมูลค่า 1.5 ล้านล้านดอลลาร์ ขณะที่แฟนนี เม มีพอร์ตสินเชื่อมูลค่ากว่า 7 แสนล้านดอลลาร์ นอกจากนั้น บริษัททั้งสองยังเป็นผู้ค้ำประกันหนี้อีกประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ของสินเชื่อเพื่อการเคหะทั้งหมดในสหรัฐฯ
เฮนรี พอลสัน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯแถลงต่อที่ประชุมคณะกรรมาธิการการคลังของสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯเมื่อวันพฤหัสบดี(10)ว่า บริษัททั้งสองยังมีสภาพคล่องเพียงพอที่จะดำเนินกิจการต่อไปได้ แม้ว่าสินเชื่อบางส่วนจะมีปัญหาจากภาวะตกต่ำของตลาดอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม