วันก่อนผมถูกเชิญให้ไปร่วมแลกเปลี่ยนสนทนาเรื่อง “อธิปไตย และ ดินแดนปราสาทพระวิหาร...มรดกโลก หรือผลประโยชน์ใคร”
ผมเดินทางไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วยเพราะชอบคำห้อยท้ายที่ว่า มรดกโลก หรือ ผลประโยชน์ของใคร มากกว่าคำว่า อธิปไตย
คำว่า อธิปไตย ทำให้เรามองโลกในมิติที่ค่อนข้างแคบ ติดยึด และมองโลกในกรอบของประเทศและการอ้างสิทธิการครอบครอง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนววัฒนธรรมตะวันตก (เรื่องรัฐชาติ)
เราชาวพุทธจะมองโลกแบบสายวัฒนธรรมตะวันออก ที่ปฏิเสธความเชื่อเรื่องความเป็นเจ้าของ หรือไม่ก็มอง ‘การเป็นเจ้าของ’ ในมิติที่กว้างมากๆ
ผมจึงมีบทสรุปสั้นๆว่า เขาพระวิหารไม่เพียงแต่เป็นของคนขอมและของคนไทยเท่านั้น แต่น่าจะถือว่าเป็นมรดกของคนทั่วโลก และถือได้ว่าเป็นมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่ก่อเกิดขึ้นที่นี่ (ตรงพรมแดนไทย และกัมพูชา) มีคุณค่าอย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องช่วยกันปกป้อง ดูแล และรักษา
ในที่ประชุมสัมมนา มีประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายเรื่อง
ประเด็นแรก คือ เรื่องสัญญาที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนาม ว่าจะก่อผลกระทบต่อการสูญเสียอธิปไตยหรือไม่
คำตอบแบบสั้นๆ คือ น่าจะกระทบต่อเรื่องอธิปไตยในระดับหนึ่ง จุดสำคัญอยู่ตรง แผนที่แนบท้ายตัวสัญญา ที่ลากเส้นครอบคลุมพื้นที่เกินกว่าทั้งตัวเขาพระวิหาร รวมทั้งเป็นแผนที่ที่ผนวกเอาเขตรอบข้างเข้าไปด้วย แต่ประเด็นอธิปไตยนี้ ผมคงขอไม่กล่าวขยายความในที่นี้เพราะมีการอภิปรายเรื่องนี้ทางรัฐสภากันแล้ว
ผมเองไม่ได้ติดใจเรื่องเสียดินแดนมากนัก
ที่ผมรู้สึกติดใจและสงสัยคือ ความไม่ละเอียด และ ไม่รอบคอบของผู้รับผิดชอบ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การตัดสินใจกระทำการอะไรอย่างเร่งรีบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และของท่านนายกฯ เอง โดยไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมและไม่ปรึกษาหารือกับบรรดานักวิชาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ติดตามศึกษาเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด
ความไม่รอบคอบดังกล่าว ได้จุดชนวนความรู้สึกรักชาติ จนกลายเป็นประเด็นปัญหาระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ จนอาจจะลุกลามและส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนกัมพูชา
นี่คือ ความผิดพลาดครั้งสำคัญ
ประเด็นเรื่องนี้จึงไม่ใช่อยู่ที่เรื่องอธิปไตยเท่านั้น แต่น่าจะอยู่ที่ว่า ทำไมต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างรีบร้อน หรือเร่งด่วน ........ เพื่อโชว์ผลงานหรือ? หรือเพราะมีเรื่องผลประโยชน์อื่นๆ อยู่เบื้องหลัง?
งานเขียนนี้ ผมก็จะไม่ขอกล่าวถึงเรื่องผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลังอีกเช่นกัน เพราะได้มีความพยายามเปิดโปงความไม่ค่อยปกตินักของทั้งเรื่องเกาะกงและเรื่องน้ำมันกันมากพอสมควรแล้ว ซึ่งน่าจะถือเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามหาข้อเท็จจริง หรือความจริงมานำเสนอ
ผมพูดในที่สัมมนาว่า
“ที่สำคัญ เราต้องทำความจริงให้ปรากฏชัด...... ไม่เช่นนั้น เราก็จะไปหลงเชื่อเพียงแค่ข่าวที่พูดต่อๆ กันมา หรือข่าวที่เขาเล่าลือกันเท่านั้น”
ผมได้ข้อมูลเพิ่มจากที่ประชุมว่า เรื่องราวการนำเอาเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น เป็นเรื่องที่ทางฝ่ายกัมพูชามีการวางแผนผลักดันกันมายาวนานมากแล้ว และมีการจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันทำหน้าที่ดูแลและผลักดันเรื่องนี้โดยตรง โดยมี ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ให้ทุนจำนวนมากสนับสนุนอยู่ด้วย รวมทั้งน่าจะมีการวางแผนสร้างทางขึ้นใหม่ทางด้านเขมร และจัดวางพื้นที่ก่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในฝั่งเขมร
ปัจจุบัน การท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจในเชิงบริการที่มีความสำคัญมาก และสามารถทำรายได้จำนวนมหาศาลแก่ประเทศกัมพูชา
หลังจากผมรับฟังเรื่องนี้ ผมกลับคิดว่า ถ้าผมเป็นผู้นำกัมพูชาก็คงต้องวางแผนทำอย่างนี้เช่นกัน ซึ่งเราคนไทยน่าจะถือว่าเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันมีชาวต่างประเทศมากมายเดินทางไปเที่ยวที่นครวัด
ถ้ามองในแง่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หลังจากไปเที่ยวนครวัดแล้ว ชาวต่างประเทศคงอยากเดินทางมาเที่ยวที่เขาพระวิหารต่อเพราะโดยความเชื่อทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ‘เขาพระวิหาร’ คือศูนย์กลางของจักรวาล หรือกล่าวได้ว่าคือ เขาพระสุเมรุ ซึ่งดำรงอยู่ที่ใจกลางจักรวาล ตามความเชื่อทางศาสนาฮินดู
ดังนั้น ในแง่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การท่องเที่ยวเฉพาะที่ตัวนครวัดจึงไม่เป็นการเพียงพออย่างยิ่ง
หากมองในแง่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมคิดว่า ทางไทยเองน่าจะคิดวางแผน หาทางประสานประโยชน์ หรือเปิดการคุยเรื่องนี้กันระหว่างไทยกับกัมพูชาให้ชัดเจน เพื่อวางแผนร่วมกัน......เพื่อประโยชน์ในแง่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศได้ด้วย
อย่างเช่น ถ้าชาวต่างประเทศมาเที่ยวเขาพระวิหาร ก็น่าจะมาเที่ยวที่ประเทศไทยต่อ ตามแนวปราสาทอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับเขาพระวิหาร
ในกรณีนี้ ผมได้กล่าวขยายความว่า
ในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแล้ว เราต้องเข้าใจว่า เขาพระวิหารคือใจกลางของจักรวาล ในความเชื่อทางศาสนาฮินดู
ใจกลางของจักรวาลนี้ตั้งอยู่ระหว่างลุ่มแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ ลุ่มแม่น้ำโขง และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ในกรณีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีการสร้างปราสาทอย่างต่อเนื่อง จากเขาพระวิหาร มาที่ปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทหินพิมาย เชื่อมตรงมาที่แนวปราสาทเก่าทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และขึ้นตามสายน้ำไปถึงลพบุรีและสุโขทัย
ศูนย์แห่งจักรวาล หรือเขาพระวิหาร จึงเกี่ยวข้องกับประเทศ 3 ประเทศ คือ กัมพูชา ไทย และลาว
ถ้าเราเดินทางขึ้นไปบนปราสาท จะพบว่าเราสามารถมองเห็นดินแดนทั้งทางฝั่งไทย ฝั่งกัมพูชา และลาวได้ด้วย
ถ้าเราจะทำการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างบูรณาการจริงๆ ทั้ง 3 ประเทศน่าจะมีส่วนร่วมกันวางแผนการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วยกัน
ผมจึงเสนอในที่ประชุมว่า “การขอขึ้นจดทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นไม่เพียงพออย่างยิ่ง ถือว่าเป็นการเข้าใจเรื่องมรดกโลกด้วยการคิดแบบแยกส่วนและตัดทอน อันนำมาซึ่งการช่วงชิงกัน และการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ
ที่ถูกแล้ว เราน่าจะเสนอว่า เขาพระวิหารและแนวปราสาทที่ต่อเชื่อมทั้งหมดตามแนวแม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยาคือ มรดกโลก ร่วมกันของประชาชน 3 ประเทศ”
มองในแง่นี้ เราจะเห็นภาพทั้งหมด และเห็นความยิ่งใหญ่ของชุดวัฒนธรรมประวัติศาสตร์(แบบฮินดู) ที่พัฒนาและกำเนิดขึ้นในดินแดน 2 ลุ่มน้ำ
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด และทั้ง 3 ประเทศก็สามารถวางแผนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ร่วมกันและได้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างบูรณาการ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยกว่ากันในวงสัมมนาคือ ที่ประชุมมีตัวแทนชาวศรีสะเกษมาเข้าร่วมประชุมด้วย
พวกเขาแสดงความไม่เห็นด้วยกับสัญญาฉบับนี้ และพยายามอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ “เขาพระวิหาร” เช่นกัน
ผมเองรู้สึกปีติ ที่เห็นประชาชนไทยปัจจุบันยังรู้สึกผูกพันกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขาโดยตรง
เวลาเราตั้งคำถามว่า “เขาพระวิหารเป็นของใคร”
เราไม่เคยคิดถึงเรื่องสิทธิชุมชนหรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนที่มีวัฒนธรรมโบราณตั้งอยู่ ผมคิดว่า สิทธิชุมชนมีความสำคัญมากและกำลังได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกปัจจุบัน
ผมจึงได้เสนอขึ้นในที่ประชุมว่า
ชาวศรีสะเกษไม่ควรทำเพียงแค่คัดค้านการทำสัญญาของภาครัฐเท่านั้น แต่น่าจะมีข้อเสนอต่อยูเนสโกและรัฐไทยว่า เราชาวศรีสะเกษซึ่งมีชีวิตวัฒนธรรมผูกพันโดยตรงต่อเขาพระวิหารมายาวนาน และถือว่าเขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวัฒนธรรมของเขา ต้องการพัฒนา และรักษาเขาพระวิหารไว้อย่างไร ต้องการ หรือไม่ต้องการที่จะยอมให้เขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นมรดกโลกหรือไม่
ผมขอย้ำว่า นี่คือการแสดงออกในแง่ประชาธิปไตยของชุมชนแบบหนึ่ง
และแนวคิดนี้ ตั้งคำถามต่อชนชั้นนำทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเขมรเอง ที่มักอ้างความเป็นเจ้าของ (ในนามของรัฐ) และมองข้ามสิทธิชุมชน หรือการมีส่วนร่วมของชุมชน
ปัญหานี้ เรา (คนไทย) คงต้องเข้าใจในมิติสิทธิชุมชนที่เปิดกว้างและข้ามพรมแดนด้วย เพราะมีทั้งคนเขมร และคนทางฝั่งไทย ที่อยู่รอบเขาทั้งสองด้าน ซึ่งคนทั้ง 2 ฟากน่าจะมีสิทธิอ้างความผูกพันและความเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่ากัน
เท่าที่ผมทราบ ในช่วงที่ผ่านมา ทาง (รัฐ) กัมพูชาจะอ้างว่าการสร้างปราสาทนั้น ชาวกัมพูชาโบราณได้ปีนขึ้นมาสร้างทางผาสูงชัน หรือทางช่องบันไดหัก ส่วนด้านบันไดนาคที่ถือว่าเป็นทางขึ้นปัจจุบันที่อยู่ทางประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นภายหลัง
ผมคิดว่า การอ้างของทางกัมพูชาแม้จะมีเหตุผลอยู่บ้าง แต่ไม่ว่าจะอ้างอย่างไรก็ตาม ทางขึ้นก็อยู่ฝั่งไทย ซึ่งแสดงว่าปราสาทนี้เกี่ยวพันและแยกไม่ออกจากประชาชนทางฝั่งไทยมายาวนานมาก เช่นกัน
แต่ถ้ามองในมิติที่ข้ามพรมแดน ไม่ว่า‘ทางขึ้น’จะอยู่ด้านไหน บรรดาชุมชนที่อยู่รอบเขาพระวิหาร ไม่ว่าทางฝั่งไทย หรือฝั่งเขมร ก็มีชีวิตวัฒนธรรมร่วมกัน เชื่อมโยงกับตัวปราสาทเขาพระวิหารทั้งคู่ ไม่มาก หรือน้อยกว่ากัน
เวลาเรามองในแง่สิทธิชุมชน จึงน่าจะคลุมไปถึงทั้งชุมชนและผู้คนทางฝั่งไทย และชุมชนกัมพูชาที่อยู่ติดกับเขาพระวิหาร
ดังนั้น ชุมชนทั้ง 2 ฝั่ง น่าจะหาทางพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันโดยตรงแบบข้ามรัฐในเรื่องเขาพระวิหาร
อย่างน้อยการพบปะแลกเปลี่ยนความเห็น ก็น่าจะช่วยลดความขัดแย้งเรื่อง ‘อธิปไตยแห่งชาติ’ (ซึ่งน่าจะหมายถึง อำนาจ และผลประโยชน์ของชนชั้นนำ และนักธุรกิจต่างชาติเท่านั้น) ลงไป
ข้อสำคัญการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชน จะช่วยให้เกิดการวางข้อเสนอในการกำหนดแนวทางการรักษาและพัฒนาเขาพระวิหารร่วมกัน
อย่าปล่อยให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ (นายทุนต่างประเทศ) ที่มองเขาพระวิหารเป็นเรื่องธุรกิจและรายได้เท่านั้น มาเป็นฝ่ายกำหนดเหนือการเปลี่ยนแปลงเขาพระวิหาร
ที่จริงแล้ว ผมคิดว่าการยื่นจดทะเบียนมรดกโลกที่ผ่านมา เป็นเพียงใบเปิดทางในการหาประโยชน์ทางธุรกิจของชนชั้นนำและทุนใหญ่ต่างชาติ หาได้ก่อประโยชน์ที่แท้จริงต่อชุมชน (ชายขอบ) ไม่
ที่สำคัญคือ แผนทั้งหมดในการบูรณะเขาพระวิหาร รวมทั้งนโยบายในการท่องเที่ยวแบบไหน จะส่งผลกระทบต่อชีวิตวัฒนธรรมของบรรดาชุมชนที่อยู่รอบเขาพระวิหารทั้งหมดโดยตรง
พวกเขาควรมีสิทธิโดยตรงที่จะกำหนดชะตาชีวิต และเลือกอนาคตของตัวเอง
แม้ปัจจุบันทางฝ่ายรัฐไทยจะถอนเรื่องการลงนามในสัญญาร่วมไปแล้วก็ตาม ชาวศรีสะเกษไม่ควรนิ่งนอนใจ และต้องแสดงบทบาทการมีส่วนร่วมกันอย่างจริงจัง (ยังมีต่อ)
ผมเดินทางไปร่วมแลกเปลี่ยนด้วยเพราะชอบคำห้อยท้ายที่ว่า มรดกโลก หรือ ผลประโยชน์ของใคร มากกว่าคำว่า อธิปไตย
คำว่า อธิปไตย ทำให้เรามองโลกในมิติที่ค่อนข้างแคบ ติดยึด และมองโลกในกรอบของประเทศและการอ้างสิทธิการครอบครอง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากแนววัฒนธรรมตะวันตก (เรื่องรัฐชาติ)
เราชาวพุทธจะมองโลกแบบสายวัฒนธรรมตะวันออก ที่ปฏิเสธความเชื่อเรื่องความเป็นเจ้าของ หรือไม่ก็มอง ‘การเป็นเจ้าของ’ ในมิติที่กว้างมากๆ
ผมจึงมีบทสรุปสั้นๆว่า เขาพระวิหารไม่เพียงแต่เป็นของคนขอมและของคนไทยเท่านั้น แต่น่าจะถือว่าเป็นมรดกของคนทั่วโลก และถือได้ว่าเป็นมรดกร่วมทางวัฒนธรรมที่ก่อเกิดขึ้นที่นี่ (ตรงพรมแดนไทย และกัมพูชา) มีคุณค่าอย่างยิ่งที่เราทุกคนต้องช่วยกันปกป้อง ดูแล และรักษา
ในที่ประชุมสัมมนา มีประเด็นที่ถูกหยิบยกมาพูดคุยแลกเปลี่ยนกันหลายเรื่อง
ประเด็นแรก คือ เรื่องสัญญาที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไปลงนาม ว่าจะก่อผลกระทบต่อการสูญเสียอธิปไตยหรือไม่
คำตอบแบบสั้นๆ คือ น่าจะกระทบต่อเรื่องอธิปไตยในระดับหนึ่ง จุดสำคัญอยู่ตรง แผนที่แนบท้ายตัวสัญญา ที่ลากเส้นครอบคลุมพื้นที่เกินกว่าทั้งตัวเขาพระวิหาร รวมทั้งเป็นแผนที่ที่ผนวกเอาเขตรอบข้างเข้าไปด้วย แต่ประเด็นอธิปไตยนี้ ผมคงขอไม่กล่าวขยายความในที่นี้เพราะมีการอภิปรายเรื่องนี้ทางรัฐสภากันแล้ว
ผมเองไม่ได้ติดใจเรื่องเสียดินแดนมากนัก
ที่ผมรู้สึกติดใจและสงสัยคือ ความไม่ละเอียด และ ไม่รอบคอบของผู้รับผิดชอบ
สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ การตัดสินใจกระทำการอะไรอย่างเร่งรีบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และของท่านนายกฯ เอง โดยไม่ศึกษาประวัติศาสตร์ทางวัฒนธรรมและไม่ปรึกษาหารือกับบรรดานักวิชาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่ติดตามศึกษาเรื่องเหล่านี้มาโดยตลอด
ความไม่รอบคอบดังกล่าว ได้จุดชนวนความรู้สึกรักชาติ จนกลายเป็นประเด็นปัญหาระดับประเทศ และระดับระหว่างประเทศ จนอาจจะลุกลามและส่งผลต่อความสัมพันธ์ที่ดีงามระหว่างประชาชนไทยกับประชาชนกัมพูชา
นี่คือ ความผิดพลาดครั้งสำคัญ
ประเด็นเรื่องนี้จึงไม่ใช่อยู่ที่เรื่องอธิปไตยเท่านั้น แต่น่าจะอยู่ที่ว่า ทำไมต้องดำเนินการเรื่องนี้อย่างรีบร้อน หรือเร่งด่วน ........ เพื่อโชว์ผลงานหรือ? หรือเพราะมีเรื่องผลประโยชน์อื่นๆ อยู่เบื้องหลัง?
งานเขียนนี้ ผมก็จะไม่ขอกล่าวถึงเรื่องผลประโยชน์ที่อยู่เบื้องหลังอีกเช่นกัน เพราะได้มีความพยายามเปิดโปงความไม่ค่อยปกตินักของทั้งเรื่องเกาะกงและเรื่องน้ำมันกันมากพอสมควรแล้ว ซึ่งน่าจะถือเป็นเรื่องที่เราต้องติดตามหาข้อเท็จจริง หรือความจริงมานำเสนอ
ผมพูดในที่สัมมนาว่า
“ที่สำคัญ เราต้องทำความจริงให้ปรากฏชัด...... ไม่เช่นนั้น เราก็จะไปหลงเชื่อเพียงแค่ข่าวที่พูดต่อๆ กันมา หรือข่าวที่เขาเล่าลือกันเท่านั้น”
ผมได้ข้อมูลเพิ่มจากที่ประชุมว่า เรื่องราวการนำเอาเขาพระวิหารขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกนั้น เป็นเรื่องที่ทางฝ่ายกัมพูชามีการวางแผนผลักดันกันมายาวนานมากแล้ว และมีการจัดตั้งองค์กรหรือสถาบันทำหน้าที่ดูแลและผลักดันเรื่องนี้โดยตรง โดยมี ญี่ปุ่น และฝรั่งเศส ให้ทุนจำนวนมากสนับสนุนอยู่ด้วย รวมทั้งน่าจะมีการวางแผนสร้างทางขึ้นใหม่ทางด้านเขมร และจัดวางพื้นที่ก่อสร้างแหล่งท่องเที่ยวขนาดใหญ่ในฝั่งเขมร
ปัจจุบัน การท่องเที่ยวถือเป็นธุรกิจในเชิงบริการที่มีความสำคัญมาก และสามารถทำรายได้จำนวนมหาศาลแก่ประเทศกัมพูชา
หลังจากผมรับฟังเรื่องนี้ ผมกลับคิดว่า ถ้าผมเป็นผู้นำกัมพูชาก็คงต้องวางแผนทำอย่างนี้เช่นกัน ซึ่งเราคนไทยน่าจะถือว่าเป็นเรื่องปกติอย่างยิ่ง เพราะปัจจุบันมีชาวต่างประเทศมากมายเดินทางไปเที่ยวที่นครวัด
ถ้ามองในแง่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม หลังจากไปเที่ยวนครวัดแล้ว ชาวต่างประเทศคงอยากเดินทางมาเที่ยวที่เขาพระวิหารต่อเพราะโดยความเชื่อทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรม ‘เขาพระวิหาร’ คือศูนย์กลางของจักรวาล หรือกล่าวได้ว่าคือ เขาพระสุเมรุ ซึ่งดำรงอยู่ที่ใจกลางจักรวาล ตามความเชื่อทางศาสนาฮินดู
ดังนั้น ในแง่ประวัติศาสตร์วัฒนธรรม การท่องเที่ยวเฉพาะที่ตัวนครวัดจึงไม่เป็นการเพียงพออย่างยิ่ง
หากมองในแง่การท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ผมคิดว่า ทางไทยเองน่าจะคิดวางแผน หาทางประสานประโยชน์ หรือเปิดการคุยเรื่องนี้กันระหว่างไทยกับกัมพูชาให้ชัดเจน เพื่อวางแผนร่วมกัน......เพื่อประโยชน์ในแง่การท่องเที่ยวระหว่างประเทศของทั้ง 2 ประเทศได้ด้วย
อย่างเช่น ถ้าชาวต่างประเทศมาเที่ยวเขาพระวิหาร ก็น่าจะมาเที่ยวที่ประเทศไทยต่อ ตามแนวปราสาทอื่นๆ ที่เชื่อมต่อกับเขาพระวิหาร
ในกรณีนี้ ผมได้กล่าวขยายความว่า
ในเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมแล้ว เราต้องเข้าใจว่า เขาพระวิหารคือใจกลางของจักรวาล ในความเชื่อทางศาสนาฮินดู
ใจกลางของจักรวาลนี้ตั้งอยู่ระหว่างลุ่มแม่น้ำใหญ่ 2 สาย คือ ลุ่มแม่น้ำโขง และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
ในกรณีลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา มีการสร้างปราสาทอย่างต่อเนื่อง จากเขาพระวิหาร มาที่ปราสาทเขาพนมรุ้งและปราสาทหินพิมาย เชื่อมตรงมาที่แนวปราสาทเก่าทางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง และขึ้นตามสายน้ำไปถึงลพบุรีและสุโขทัย
ศูนย์แห่งจักรวาล หรือเขาพระวิหาร จึงเกี่ยวข้องกับประเทศ 3 ประเทศ คือ กัมพูชา ไทย และลาว
ถ้าเราเดินทางขึ้นไปบนปราสาท จะพบว่าเราสามารถมองเห็นดินแดนทั้งทางฝั่งไทย ฝั่งกัมพูชา และลาวได้ด้วย
ถ้าเราจะทำการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมอย่างบูรณาการจริงๆ ทั้ง 3 ประเทศน่าจะมีส่วนร่วมกันวางแผนการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมด้วยกัน
ผมจึงเสนอในที่ประชุมว่า “การขอขึ้นจดทะเบียนมรดกโลกเฉพาะตัวปราสาทพระวิหารเท่านั้นไม่เพียงพออย่างยิ่ง ถือว่าเป็นการเข้าใจเรื่องมรดกโลกด้วยการคิดแบบแยกส่วนและตัดทอน อันนำมาซึ่งการช่วงชิงกัน และการอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ
ที่ถูกแล้ว เราน่าจะเสนอว่า เขาพระวิหารและแนวปราสาทที่ต่อเชื่อมทั้งหมดตามแนวแม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยาคือ มรดกโลก ร่วมกันของประชาชน 3 ประเทศ”
มองในแง่นี้ เราจะเห็นภาพทั้งหมด และเห็นความยิ่งใหญ่ของชุดวัฒนธรรมประวัติศาสตร์(แบบฮินดู) ที่พัฒนาและกำเนิดขึ้นในดินแดน 2 ลุ่มน้ำ
นอกจากนี้ ทุกฝ่ายและทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด และทั้ง 3 ประเทศก็สามารถวางแผนการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมขนาดใหญ่ร่วมกันและได้ประโยชน์ร่วมกันได้อย่างบูรณาการ
อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจไม่น้อยกว่ากันในวงสัมมนาคือ ที่ประชุมมีตัวแทนชาวศรีสะเกษมาเข้าร่วมประชุมด้วย
พวกเขาแสดงความไม่เห็นด้วยกับสัญญาฉบับนี้ และพยายามอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ “เขาพระวิหาร” เช่นกัน
ผมเองรู้สึกปีติ ที่เห็นประชาชนไทยปัจจุบันยังรู้สึกผูกพันกับประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขาโดยตรง
เวลาเราตั้งคำถามว่า “เขาพระวิหารเป็นของใคร”
เราไม่เคยคิดถึงเรื่องสิทธิชุมชนหรือคนที่ใช้ชีวิตอยู่ในดินแดนที่มีวัฒนธรรมโบราณตั้งอยู่ ผมคิดว่า สิทธิชุมชนมีความสำคัญมากและกำลังได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อยๆ ในโลกปัจจุบัน
ผมจึงได้เสนอขึ้นในที่ประชุมว่า
ชาวศรีสะเกษไม่ควรทำเพียงแค่คัดค้านการทำสัญญาของภาครัฐเท่านั้น แต่น่าจะมีข้อเสนอต่อยูเนสโกและรัฐไทยว่า เราชาวศรีสะเกษซึ่งมีชีวิตวัฒนธรรมผูกพันโดยตรงต่อเขาพระวิหารมายาวนาน และถือว่าเขาพระวิหารเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตวัฒนธรรมของเขา ต้องการพัฒนา และรักษาเขาพระวิหารไว้อย่างไร ต้องการ หรือไม่ต้องการที่จะยอมให้เขาพระวิหารเป็นแหล่งท่องเที่ยว หรือเป็นมรดกโลกหรือไม่
ผมขอย้ำว่า นี่คือการแสดงออกในแง่ประชาธิปไตยของชุมชนแบบหนึ่ง
และแนวคิดนี้ ตั้งคำถามต่อชนชั้นนำทั้งฝ่ายไทยและฝ่ายเขมรเอง ที่มักอ้างความเป็นเจ้าของ (ในนามของรัฐ) และมองข้ามสิทธิชุมชน หรือการมีส่วนร่วมของชุมชน
ปัญหานี้ เรา (คนไทย) คงต้องเข้าใจในมิติสิทธิชุมชนที่เปิดกว้างและข้ามพรมแดนด้วย เพราะมีทั้งคนเขมร และคนทางฝั่งไทย ที่อยู่รอบเขาทั้งสองด้าน ซึ่งคนทั้ง 2 ฟากน่าจะมีสิทธิอ้างความผูกพันและความเป็นเจ้าของไม่น้อยกว่ากัน
เท่าที่ผมทราบ ในช่วงที่ผ่านมา ทาง (รัฐ) กัมพูชาจะอ้างว่าการสร้างปราสาทนั้น ชาวกัมพูชาโบราณได้ปีนขึ้นมาสร้างทางผาสูงชัน หรือทางช่องบันไดหัก ส่วนด้านบันไดนาคที่ถือว่าเป็นทางขึ้นปัจจุบันที่อยู่ทางประเทศไทย ถือได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้นภายหลัง
ผมคิดว่า การอ้างของทางกัมพูชาแม้จะมีเหตุผลอยู่บ้าง แต่ไม่ว่าจะอ้างอย่างไรก็ตาม ทางขึ้นก็อยู่ฝั่งไทย ซึ่งแสดงว่าปราสาทนี้เกี่ยวพันและแยกไม่ออกจากประชาชนทางฝั่งไทยมายาวนานมาก เช่นกัน
แต่ถ้ามองในมิติที่ข้ามพรมแดน ไม่ว่า‘ทางขึ้น’จะอยู่ด้านไหน บรรดาชุมชนที่อยู่รอบเขาพระวิหาร ไม่ว่าทางฝั่งไทย หรือฝั่งเขมร ก็มีชีวิตวัฒนธรรมร่วมกัน เชื่อมโยงกับตัวปราสาทเขาพระวิหารทั้งคู่ ไม่มาก หรือน้อยกว่ากัน
เวลาเรามองในแง่สิทธิชุมชน จึงน่าจะคลุมไปถึงทั้งชุมชนและผู้คนทางฝั่งไทย และชุมชนกัมพูชาที่อยู่ติดกับเขาพระวิหาร
ดังนั้น ชุมชนทั้ง 2 ฝั่ง น่าจะหาทางพูดคุยแลกเปลี่ยนร่วมกันโดยตรงแบบข้ามรัฐในเรื่องเขาพระวิหาร
อย่างน้อยการพบปะแลกเปลี่ยนความเห็น ก็น่าจะช่วยลดความขัดแย้งเรื่อง ‘อธิปไตยแห่งชาติ’ (ซึ่งน่าจะหมายถึง อำนาจ และผลประโยชน์ของชนชั้นนำ และนักธุรกิจต่างชาติเท่านั้น) ลงไป
ข้อสำคัญการแลกเปลี่ยนกันระหว่างชุมชน จะช่วยให้เกิดการวางข้อเสนอในการกำหนดแนวทางการรักษาและพัฒนาเขาพระวิหารร่วมกัน
อย่าปล่อยให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ (นายทุนต่างประเทศ) ที่มองเขาพระวิหารเป็นเรื่องธุรกิจและรายได้เท่านั้น มาเป็นฝ่ายกำหนดเหนือการเปลี่ยนแปลงเขาพระวิหาร
ที่จริงแล้ว ผมคิดว่าการยื่นจดทะเบียนมรดกโลกที่ผ่านมา เป็นเพียงใบเปิดทางในการหาประโยชน์ทางธุรกิจของชนชั้นนำและทุนใหญ่ต่างชาติ หาได้ก่อประโยชน์ที่แท้จริงต่อชุมชน (ชายขอบ) ไม่
ที่สำคัญคือ แผนทั้งหมดในการบูรณะเขาพระวิหาร รวมทั้งนโยบายในการท่องเที่ยวแบบไหน จะส่งผลกระทบต่อชีวิตวัฒนธรรมของบรรดาชุมชนที่อยู่รอบเขาพระวิหารทั้งหมดโดยตรง
พวกเขาควรมีสิทธิโดยตรงที่จะกำหนดชะตาชีวิต และเลือกอนาคตของตัวเอง
แม้ปัจจุบันทางฝ่ายรัฐไทยจะถอนเรื่องการลงนามในสัญญาร่วมไปแล้วก็ตาม ชาวศรีสะเกษไม่ควรนิ่งนอนใจ และต้องแสดงบทบาทการมีส่วนร่วมกันอย่างจริงจัง (ยังมีต่อ)