นายสันติ ตั้งรพีพากร
ศูนย์นวัตกรรมความคิดทฤษฎี
สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย
9 พฤษภาคม 2551
3. อำนาจประชาชนที่ยึดมั่นในหลัก “สัมมา”และใช้ “ปัญญา”ชี้นำ
นับตั้งแต่แรกเริ่มของการเคลื่อนไหว “จุดเทียนปัญญา” (โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และคุณสโรชา พรอุดมศักดิ์ ในขณะจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ก่อนที่จะมีการรวมตัวกันเข้าเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549) โดยประกาศ “เอาธรรมนำหน้า” ชูธงกู้ชาติ ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำประเทศไทยกลับสู่สภาวะ “ปลอด”จากการผูกขาดตัดตอนอำนาจของกลุ่มแกนนำพรรคไทยรักไทย แม้ต่อมาเมื่อคณะรัฐประหาร “คมช.” ไม่ได้สานต่อการสลายขั้วอำนาจของกลุ่มทุนใหม่ ยังผลให้กลุ่มทุนใหม่ในนามพรรคพลังประชาชนได้ชัยชนะในการเลือกตั้งใหญ่ 23 ธันวาคม 2550 จัดตั้งเป็นรัฐบาลบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง แต่แนวทางการเคลื่อนไหวมวลชนด้วยการ “จุดเทียนปัญญา” และเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยการ “เอาธรรมนำหน้า” ได้พิสูจน์ถึงความถูกต้องอย่างชัดเจน สามารถนำมาใช้เป็นหลักยึดและชี้นำการเคลื่อนไหวในครั้งต่อไปได้อย่างเป็นจริง
หากเราบอกว่า การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของกลุ่มทุนใหม่นำโดยแกนนำพรรคไทยรักไทยในอดีต และพรรคพลังประชาชนในปัจจุบัน ยึดติดอยู่กับการกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว หนำซ้ำยังมีแนวโน้มควบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัย มุ่งมั่นที่จะใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนแบบเบ็ดเสร็จ เข้าแทนที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชน เพราะพวกเขาไม่มีความชอบธรรม ไม่ยึดความถูกต้อง มุ่งใช้อำนาจบริหารประเทศเอื้ออำนวยผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องของตนเป็นหลัก พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่สวนทางข้อเท็จจริงกับแนวโน้มของโลก กับค่านิยมทางการเมืองยุคใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศย่านเอเชียแปซิฟิกกำลังพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เน้นดำเนินการเมืองการปกครองอย่างโปร่งใส เป็นธรรมาภิบาล ให้การเมืองมีเสถียรภาพที่สุด ประชาชนมีความพอใจสูงสุด ฯลฯ
หากพวกเขายังดึงดันกระทำการต่อไป จะต้องสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่อย่างแน่นอน และเมื่อพวกเขากะเกณฑ์ชาวบ้านมาต่อต้าน ก็รังแต่จะทำให้ประชาชนชาวไทยแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ต่อสู้กันเอง และอาจเกิดการปะทะกันด้วยกำลังถึงขั้นจลาจล จะทำให้ประเทศไทยถลำลงสู่ห้วงวิกฤตใหญ่ และเสียโอกาสครั้งใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชน
อาจกล่าวได้ว่า แนวคิดทั้งหมดของพวกเขาล้วนแต่ตั้งอยู่บนฐานของ “มิจฉา” ทั้งมิจฉาทิฐิ คือคิดคำนึงโดยไม่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง ไม่ใฝ่หาในสิ่งที่จริงที่ชอบ ทั้งมิจฉาวาจาที่เอาแต่ “ตะแบง”มันไปทุกเรื่อง (ด้วย “หลักกู” และด้วยวิธีการ “เอาสีข้างเข้าถู”แบบเข้าข้างตนเอง) และมิจฉาปฏิบัติ ที่ทำซ้ำซากในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ชอบ ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกทำนองคลองธรรม ฯลฯ
โดยนัยนี้ สิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยคิด พูด และทำ ก็ต้องบอกว่าเป็นไปตามหลักแห่ง “สัมมา” เพราะมีลักษณะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับของกลุ่มทุนใหม่ นั่นหมายถึงว่า ขบวนการการเมืองภาคประชาชนของไทยวันนี้ ได้ติดอาวุธทางความคิดที่สุดวิเศษแล้วโดยปริยาย นั่นคือ สัมมาทิฐิ เห็นดีเห็นชอบ ซึ่งก็คือ “เห็นตามจริง” มุ่งสู่สัจธรรมและยึดมั่นในสัจธรรม สัมมาวาจา พูดเจรจาชอบ ตามจริง ถือเอาสัจธรรมเป็นตัวตั้งในการพูดเจรจา สัมมาปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ ตามจริง สอดคล้องกับกฎการพัฒนาของสิ่งของสังคม ไม่ทำในสิ่งที่ขวางโลก สวนทางกับความเป็นจริง
เมื่อคิด พูด ทำ ได้เช่นนี้ ประชาชนก็จะรักและเชื่อมั่น เข้าร่วมและให้การสนับสนุน กลุ่มอำนาจต่างๆ จึงจะยินดีรับฟังความคิดของเรา เปิดทางให้เราเข้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารจัดการประเทศชาติ โดยนัยนี้ ขบวนการการเมืองภาคประชาชนจะไม่เป็นเพียงส่วนเสริมของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ เท่านั้น แต่ยังจะก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์อย่างเป็นอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง แสดงบทบาทเป็นผู้กระทำการให้กระบวนการพัฒนาของประวัติศาสตร์ชาติไทย ดำเนินไปในทิศทางที่เป็นผลดีมีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริงอีกด้วย
4. ทางออกของประเทศ (จึง) ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของขบวนการการเมืองภาคประชาชน (ด้วย)
ทางออกจากวิกฤตที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ มีความเป็นไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ
1. กลุ่มทุนใหม่ประนีประนอมกับกลุ่มทุนดั้งเดิม โดยกลุ่มทุนดั้งเดิมจำต้องยอมรับอำนาจกลุ่มทุนใหม่ ดำเนินประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนแบบเบ็ดเสร็จ ขณะที่กองทัพวางตัวเป็นกลาง ขบวนการการเมืองภาคประชาชนพัฒนาไปตามระบบ ปัญหาความขัดแย้งอันมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะแหลมคมยิ่งขึ้น (กลุ่มทุนใหม่เป็นเจ้าภาพ)
2. ขบวนการการเมืองภาคประชาชนพัฒนาเติบใหญ่ มีลักษณะมวลชนทั่วประเทศ มีการจัดตั้งอย่างเข้มแข็ง มีการนำที่ถูกต้อง เป็นอำนาจใหม่ที่ยิ่งใหญ่ สามารถนำเสนอแนวทางแก้ไขวิกฤตและร่วมกันนำพาประเทศไปสู่อนาคตได้อย่างจะแจ้ง เป็นที่ยอมรับและเห็นพ้องด้วยของกลุ่มทุนดั้งเดิม ขณะที่กองทัพก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ บีบให้กลุ่มทุนใหม่ต้องหันมายึดหลัก “สัมมา” ร่วมขบวนการพัฒนาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ประเทศไทยก็จะหลุดพ้นจากวิกฤต และพัฒนาตนเองไปตามแนวการพัฒนาประเทศที่ยึดถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นประเทศที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง การเมืองโปร่งใส สังคมร่มเย็น ประชาชนเป็นสุข (ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็นเจ้าภาพ)
ข้อควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม
1. ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็นเจ้าภาพ
ณ วันนี้ ประเทศไทยได้ก้าวมาสู่ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 อันเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤตสะสม ที่กลุ่มผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศซึ่งมาจากกลุ่มทหารและกลุ่มทุน ได้ใช้อำนาจไปในทางมิชอบอย่างต่อเนื่อง บั่นทอนบทบาทเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระดับลึก เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป็นแหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จำเป็นจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงใหญ่ เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เกิดพลวัตแห่งพลังชีวิต แสดงบทบาทสร้างสรรค์แก่สังคมไทยและประชาชนชาวไทยได้อย่างเป็นจริง
ในการนี้ พลังรวมของประชาชนชาวไทย ในรูปของขบวนการการเมืองภาคประชาชน คือ “กำลังหลัก” หรือ “พลังแก่นแกน”ในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่แน่นอน นั่นคือเป็นผู้จัดการ กำกับ ให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นไปตามความต้องการของปวงประชามหาชนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อยู่ในฐานะเป็น “เจ้าภาพ” ตัวจริง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูเหตุการณ์ที่นับเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การก้าวขึ้นมาแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ”เปลี่ยนแปลงประเทศไทยของขบวนการการเมืองภาคประชาชนครั้งนี้ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การพัฒนาของการเมืองไทยเป็นอย่างดี เป็นสิ่งที่จะเป็นไปได้และจำต้องเป็นไป โดยไม่มีใครสามารถขัดขวางได้
ทั้งนี้ อิงตามกระบวนการพัฒนาทางการเมืองที่สะท้อนกฎเกณฑ์พัฒนาการของสังคมไทยดังนี้
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กลุ่มเจ้าเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ(สมบูรณาญาสิทธิราชย์) ภายหลังจากนั้น กลุ่มทหาร (เป็นหลัก) เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ(เผด็จการทหารเป็นหลัก) จนกระทั่งเกิดขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำไปสู่เหตุการณ์ “14 ตุลา 16” อำนาจบริหารประเทศส่วนหนึ่งตกไปอยู่ในมือของกลุ่มพ่อค้านายทุน ในรูปของพรรคการเมืองเลือกตั้งในการกำกับของทหาร (เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งแม้จะเกิดเหตุการณ์ “6 ตุลา 19” มีการทำรัฐประหาร แต่กระบวนการดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อไป) จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (17 พ.ค.2535) อำนาจบริหารประเทศตกอยู่ในมือของกลุ่มพ่อค้านายทุน (เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยเต็มใบ) จนกระทั่งเกิดวิกฤตการเงินเอเชีย สาเหตุจากการโจมตีค่าเงินบาทจนกระทั่งมีการลอยตัวค่าเงินบาท กลุ่มทุนสามานย์ฉกฉวยโอกาสรวบอำนาจ ใช้อำนาจบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จ (เข้าสู่ยุคเผด็จการรัฐสภา) เกิดการต่อต้านขึ้นในหมู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง
ขบวนการการเมืองภาคประชาชนระดับชาติได้ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นอำนาจใหม่ในประเทศไทย ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่แท้จริงของปวงชนชาวไทย มีแนวโน้ม (ที่จำต้องเป็นไปและเป็นไปได้) ที่จะก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ ต่อสู้เอาชนะกลุ่มทุนสามานย์ แบกรับภารกิจกำกับหรือกระทั่งเป็นแกนนำการใช้อำนาจบริหารประเทศต่อไป
การเมืองไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคการใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โดยตัวแทนผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนเป็นครั้งแรก (ยุคประชาธิปไตยของประชาชน)
นี่คือเส้นทางสู่เสรีภาพ และประชาธิปไตยที่แท้จริงของปวงชนชาวไทย
2. เอกลักษณ์ คุณสมบัติ วิถีปฏิบัติของขบวนการการเมืองภาคประชาชน
“ความเป็นอิสระ การเอาธรรมนำหน้า ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ ยึดมั่นในหลักสัมมา” คือเอกลักษณ์หรือคุณสมบัติของขบวนการการเมืองภาคประชาชนระดับชาติ (พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เป็นอาทิ) และเป็นเอกลักษณ์ คุณสมบัติ วิถีปฏิบัติของบุคลากรระดับต่างๆ ของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่จะเป็นหลักเป็นแกนในการปฏิบัติภารกิจทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ ทั้งนี้โดยการเปรียบเทียบกับบุคลากรของพรรคการเมืองกลุ่มทุนสามานย์ที่ไม่เป็นอิสระตกอยู่ในอิทธิพลของกลุ่มทุนผูกขาด ไร้คุณธรรม ใช้เงินเป็นอาวุธ และประกอบด้วยมิจฉาเป็นสำคัญ
เส้นแบ่งระหว่างเรากับ “ศัตรู” คือ “ธรรม” กับ “อธรรม” ในทัศนะของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ปัจจุบันสังคมไทยไม่มี “ซ้าย” กับ “ขวา” ไม่มี “ก้าวหน้า” กับ “ล้าหลัง” มีแต่ “ธรรม” กับ “อธรรม”
ศูนย์นวัตกรรมความคิดทฤษฎี
สมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย
9 พฤษภาคม 2551
3. อำนาจประชาชนที่ยึดมั่นในหลัก “สัมมา”และใช้ “ปัญญา”ชี้นำ
นับตั้งแต่แรกเริ่มของการเคลื่อนไหว “จุดเทียนปัญญา” (โดยคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และคุณสโรชา พรอุดมศักดิ์ ในขณะจัดรายการ “เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจร” ก่อนที่จะมีการรวมตัวกันเข้าเป็น “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”ในเดือนกุมภาพันธ์ 2549) โดยประกาศ “เอาธรรมนำหน้า” ชูธงกู้ชาติ ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อนำประเทศไทยกลับสู่สภาวะ “ปลอด”จากการผูกขาดตัดตอนอำนาจของกลุ่มแกนนำพรรคไทยรักไทย แม้ต่อมาเมื่อคณะรัฐประหาร “คมช.” ไม่ได้สานต่อการสลายขั้วอำนาจของกลุ่มทุนใหม่ ยังผลให้กลุ่มทุนใหม่ในนามพรรคพลังประชาชนได้ชัยชนะในการเลือกตั้งใหญ่ 23 ธันวาคม 2550 จัดตั้งเป็นรัฐบาลบริหารประเทศอีกครั้งหนึ่ง แต่แนวทางการเคลื่อนไหวมวลชนด้วยการ “จุดเทียนปัญญา” และเคลื่อนไหวต่อสู้ด้วยการ “เอาธรรมนำหน้า” ได้พิสูจน์ถึงความถูกต้องอย่างชัดเจน สามารถนำมาใช้เป็นหลักยึดและชี้นำการเคลื่อนไหวในครั้งต่อไปได้อย่างเป็นจริง
หากเราบอกว่า การใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของกลุ่มทุนใหม่นำโดยแกนนำพรรคไทยรักไทยในอดีต และพรรคพลังประชาชนในปัจจุบัน ยึดติดอยู่กับการกอบโกยผลประโยชน์เข้าตัว หนำซ้ำยังมีแนวโน้มควบรวมอำนาจเบ็ดเสร็จแบบเปลี่ยนยุคเปลี่ยนสมัย มุ่งมั่นที่จะใช้การปกครองในระบอบประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนแบบเบ็ดเสร็จ เข้าแทนที่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่สอดคล้องอย่างยิ่งกับผลประโยชน์ที่แท้จริงของประเทศชาติและประชาชน เพราะพวกเขาไม่มีความชอบธรรม ไม่ยึดความถูกต้อง มุ่งใช้อำนาจบริหารประเทศเอื้ออำนวยผลประโยชน์ของตนและพวกพ้องของตนเป็นหลัก พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนแต่สวนทางข้อเท็จจริงกับแนวโน้มของโลก กับค่านิยมทางการเมืองยุคใหม่ โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศย่านเอเชียแปซิฟิกกำลังพัฒนาเศรษฐกิจ ที่เน้นดำเนินการเมืองการปกครองอย่างโปร่งใส เป็นธรรมาภิบาล ให้การเมืองมีเสถียรภาพที่สุด ประชาชนมีความพอใจสูงสุด ฯลฯ
หากพวกเขายังดึงดันกระทำการต่อไป จะต้องสร้างความไม่พอใจให้แก่ประชาชนชาวไทยส่วนใหญ่อย่างแน่นอน และเมื่อพวกเขากะเกณฑ์ชาวบ้านมาต่อต้าน ก็รังแต่จะทำให้ประชาชนชาวไทยแตกแยกกันเป็นฝักเป็นฝ่าย ต่อสู้กันเอง และอาจเกิดการปะทะกันด้วยกำลังถึงขั้นจลาจล จะทำให้ประเทศไทยถลำลงสู่ห้วงวิกฤตใหญ่ และเสียโอกาสครั้งใหญ่ในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของประเทศชาติ และความผาสุกของประชาชน
อาจกล่าวได้ว่า แนวคิดทั้งหมดของพวกเขาล้วนแต่ตั้งอยู่บนฐานของ “มิจฉา” ทั้งมิจฉาทิฐิ คือคิดคำนึงโดยไม่ตั้งอยู่บนฐานของความเป็นจริง ไม่ใฝ่หาในสิ่งที่จริงที่ชอบ ทั้งมิจฉาวาจาที่เอาแต่ “ตะแบง”มันไปทุกเรื่อง (ด้วย “หลักกู” และด้วยวิธีการ “เอาสีข้างเข้าถู”แบบเข้าข้างตนเอง) และมิจฉาปฏิบัติ ที่ทำซ้ำซากในสิ่งที่ไม่ถูกไม่ชอบ ไม่ชอบธรรม ไม่ถูกทำนองคลองธรรม ฯลฯ
โดยนัยนี้ สิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทยคิด พูด และทำ ก็ต้องบอกว่าเป็นไปตามหลักแห่ง “สัมมา” เพราะมีลักษณะตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิงกับของกลุ่มทุนใหม่ นั่นหมายถึงว่า ขบวนการการเมืองภาคประชาชนของไทยวันนี้ ได้ติดอาวุธทางความคิดที่สุดวิเศษแล้วโดยปริยาย นั่นคือ สัมมาทิฐิ เห็นดีเห็นชอบ ซึ่งก็คือ “เห็นตามจริง” มุ่งสู่สัจธรรมและยึดมั่นในสัจธรรม สัมมาวาจา พูดเจรจาชอบ ตามจริง ถือเอาสัจธรรมเป็นตัวตั้งในการพูดเจรจา สัมมาปฏิบัติ ปฏิบัติชอบ ตามจริง สอดคล้องกับกฎการพัฒนาของสิ่งของสังคม ไม่ทำในสิ่งที่ขวางโลก สวนทางกับความเป็นจริง
เมื่อคิด พูด ทำ ได้เช่นนี้ ประชาชนก็จะรักและเชื่อมั่น เข้าร่วมและให้การสนับสนุน กลุ่มอำนาจต่างๆ จึงจะยินดีรับฟังความคิดของเรา เปิดทางให้เราเข้ามีส่วนร่วมโดยตรงในการบริหารจัดการประเทศชาติ โดยนัยนี้ ขบวนการการเมืองภาคประชาชนจะไม่เป็นเพียงส่วนเสริมของระบอบประชาธิปไตยแบบไทยๆ เท่านั้น แต่ยังจะก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์อย่างเป็นอิสระ มีความเป็นตัวของตัวเอง แสดงบทบาทเป็นผู้กระทำการให้กระบวนการพัฒนาของประวัติศาสตร์ชาติไทย ดำเนินไปในทิศทางที่เป็นผลดีมีประโยชน์ต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริงอีกด้วย
4. ทางออกของประเทศ (จึง) ขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของขบวนการการเมืองภาคประชาชน (ด้วย)
ทางออกจากวิกฤตที่กำลังเป็นอยู่ขณะนี้ มีความเป็นไปได้ 2 ทางด้วยกัน คือ
1. กลุ่มทุนใหม่ประนีประนอมกับกลุ่มทุนดั้งเดิม โดยกลุ่มทุนดั้งเดิมจำต้องยอมรับอำนาจกลุ่มทุนใหม่ ดำเนินประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนแบบเบ็ดเสร็จ ขณะที่กองทัพวางตัวเป็นกลาง ขบวนการการเมืองภาคประชาชนพัฒนาไปตามระบบ ปัญหาความขัดแย้งอันมาจากความเหลื่อมล้ำทางสังคมจะแหลมคมยิ่งขึ้น (กลุ่มทุนใหม่เป็นเจ้าภาพ)
2. ขบวนการการเมืองภาคประชาชนพัฒนาเติบใหญ่ มีลักษณะมวลชนทั่วประเทศ มีการจัดตั้งอย่างเข้มแข็ง มีการนำที่ถูกต้อง เป็นอำนาจใหม่ที่ยิ่งใหญ่ สามารถนำเสนอแนวทางแก้ไขวิกฤตและร่วมกันนำพาประเทศไปสู่อนาคตได้อย่างจะแจ้ง เป็นที่ยอมรับและเห็นพ้องด้วยของกลุ่มทุนดั้งเดิม ขณะที่กองทัพก็ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ บีบให้กลุ่มทุนใหม่ต้องหันมายึดหลัก “สัมมา” ร่วมขบวนการพัฒนาประเทศไปสู่อนาคตที่ดีกว่า ประเทศไทยก็จะหลุดพ้นจากวิกฤต และพัฒนาตนเองไปตามแนวการพัฒนาประเทศที่ยึดถือเอาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นประเทศที่เศรษฐกิจรุ่งเรือง การเมืองโปร่งใส สังคมร่มเย็น ประชาชนเป็นสุข (ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็นเจ้าภาพ)
ข้อควรทำความเข้าใจเพิ่มเติม
1. ขบวนการการเมืองภาคประชาชนเป็นเจ้าภาพ
ณ วันนี้ ประเทศไทยได้ก้าวมาสู่ระยะหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญที่สุดภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 อันเป็นผลสืบเนื่องจากวิกฤตสะสม ที่กลุ่มผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศซึ่งมาจากกลุ่มทหารและกลุ่มทุน ได้ใช้อำนาจไปในทางมิชอบอย่างต่อเนื่อง บั่นทอนบทบาทเบื้องต้นของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขในระดับลึก เป็นอุปสรรคใหญ่หลวงต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เป็นแหตุแห่งความทุกข์ทั้งหลายทั้งปวงของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จำเป็นจะต้องทำการเปลี่ยนแปลงใหญ่ เพื่อให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เกิดพลวัตแห่งพลังชีวิต แสดงบทบาทสร้างสรรค์แก่สังคมไทยและประชาชนชาวไทยได้อย่างเป็นจริง
ในการนี้ พลังรวมของประชาชนชาวไทย ในรูปของขบวนการการเมืองภาคประชาชน คือ “กำลังหลัก” หรือ “พลังแก่นแกน”ในการนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ มีฐานะทางประวัติศาสตร์ที่แน่นอน นั่นคือเป็นผู้จัดการ กำกับ ให้การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นไปตามความต้องการของปวงประชามหาชนมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อยู่ในฐานะเป็น “เจ้าภาพ” ตัวจริง
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาดูเหตุการณ์ที่นับเนื่องมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การก้าวขึ้นมาแสดงบทบาทเป็น “เจ้าภาพ”เปลี่ยนแปลงประเทศไทยของขบวนการการเมืองภาคประชาชนครั้งนี้ สอดคล้องกับกฎเกณฑ์การพัฒนาของการเมืองไทยเป็นอย่างดี เป็นสิ่งที่จะเป็นไปได้และจำต้องเป็นไป โดยไม่มีใครสามารถขัดขวางได้
ทั้งนี้ อิงตามกระบวนการพัฒนาทางการเมืองที่สะท้อนกฎเกณฑ์พัฒนาการของสังคมไทยดังนี้
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 กลุ่มเจ้าเป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ(สมบูรณาญาสิทธิราชย์) ภายหลังจากนั้น กลุ่มทหาร (เป็นหลัก) เป็นผู้ใช้อำนาจบริหารประเทศ(เผด็จการทหารเป็นหลัก) จนกระทั่งเกิดขบวนการเรียกร้องประชาธิปไตยที่นำไปสู่เหตุการณ์ “14 ตุลา 16” อำนาจบริหารประเทศส่วนหนึ่งตกไปอยู่ในมือของกลุ่มพ่อค้านายทุน ในรูปของพรรคการเมืองเลือกตั้งในการกำกับของทหาร (เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยครึ่งใบ ซึ่งแม้จะเกิดเหตุการณ์ “6 ตุลา 19” มีการทำรัฐประหาร แต่กระบวนการดังกล่าวก็ยังคงดำเนินต่อไป) จนถึงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ (17 พ.ค.2535) อำนาจบริหารประเทศตกอยู่ในมือของกลุ่มพ่อค้านายทุน (เข้าสู่ยุคประชาธิปไตยเต็มใบ) จนกระทั่งเกิดวิกฤตการเงินเอเชีย สาเหตุจากการโจมตีค่าเงินบาทจนกระทั่งมีการลอยตัวค่าเงินบาท กลุ่มทุนสามานย์ฉกฉวยโอกาสรวบอำนาจ ใช้อำนาจบริหารประเทศแบบเบ็ดเสร็จ (เข้าสู่ยุคเผด็จการรัฐสภา) เกิดการต่อต้านขึ้นในหมู่ประชาชนกลุ่มต่างๆ อย่างกว้างขวาง
ขบวนการการเมืองภาคประชาชนระดับชาติได้ก่อตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว กลายเป็นอำนาจใหม่ในประเทศไทย ที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์ที่แท้จริงของปวงชนชาวไทย มีแนวโน้ม (ที่จำต้องเป็นไปและเป็นไปได้) ที่จะก้าวขึ้นสู่เวทีประวัติศาสตร์ ต่อสู้เอาชนะกลุ่มทุนสามานย์ แบกรับภารกิจกำกับหรือกระทั่งเป็นแกนนำการใช้อำนาจบริหารประเทศต่อไป
การเมืองไทยจะก้าวเข้าสู่ยุคการใช้อำนาจเพื่อผลประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ โดยตัวแทนผลประโยชน์ที่แท้จริงของประชาชนเป็นครั้งแรก (ยุคประชาธิปไตยของประชาชน)
นี่คือเส้นทางสู่เสรีภาพ และประชาธิปไตยที่แท้จริงของปวงชนชาวไทย
2. เอกลักษณ์ คุณสมบัติ วิถีปฏิบัติของขบวนการการเมืองภาคประชาชน
“ความเป็นอิสระ การเอาธรรมนำหน้า ใช้ปัญญาเป็นอาวุธ ยึดมั่นในหลักสัมมา” คือเอกลักษณ์หรือคุณสมบัติของขบวนการการเมืองภาคประชาชนระดับชาติ (พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และสมัชชาประชาชนแห่งประเทศไทย เป็นอาทิ) และเป็นเอกลักษณ์ คุณสมบัติ วิถีปฏิบัติของบุคลากรระดับต่างๆ ของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ที่จะเป็นหลักเป็นแกนในการปฏิบัติภารกิจทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญนี้ ทั้งนี้โดยการเปรียบเทียบกับบุคลากรของพรรคการเมืองกลุ่มทุนสามานย์ที่ไม่เป็นอิสระตกอยู่ในอิทธิพลของกลุ่มทุนผูกขาด ไร้คุณธรรม ใช้เงินเป็นอาวุธ และประกอบด้วยมิจฉาเป็นสำคัญ
เส้นแบ่งระหว่างเรากับ “ศัตรู” คือ “ธรรม” กับ “อธรรม” ในทัศนะของขบวนการการเมืองภาคประชาชน ปัจจุบันสังคมไทยไม่มี “ซ้าย” กับ “ขวา” ไม่มี “ก้าวหน้า” กับ “ล้าหลัง” มีแต่ “ธรรม” กับ “อธรรม”