ผู้จัดการรายวัน- ผู้ประกอบการอสังหาฯ รับสภาพดอกเบี้ยขาขึ้น กระทบการตัดสินใจซื้อบ้าน เพิ่มภาระการผ่อนของลูกค้า แต่ไม่น่ากลัวเท่า “ราคาวัสดุก่อสร้างผันผวน” คำนวณต้นทุนยาก ด้านพฤกษาฯ ชี้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ทันเหตุการณ์ ชี้ขายคอนโดฯมันมืออาจไม่คุ้ม
ในสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อมีการเร่งตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญเกิดจากต้นทุนทางด้านพลังงานเชื้อเพลิง ที่ทำให้ราคาสินค้า ค่าขนส่งต่างๆ มีต้นทุนขยับสูงขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขดัชนีราคาสินค้าในเดือนมิ.ย.51 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 8.9% เป็นอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี แรงกดดันที่มีอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ ได้ทำให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำลังตัดสินใจต่อทิศทางของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 16 มิ.ย.นี้
แต่สิ่งที่จะต้องจับตามองเพิ่มขึ้น คือ “ค่าเงินบาท” ที่เริ่มอ่อนค่าลง (วันจันทร์เงินบาทประมาณ 33.30 บาทต่อดอลลาร์) ทำให้ไทยต้องมีต้นทุนในการนำเข้าเชื้อเพลิงสูงขึ้น และอาจจะลุกลามไปถึงต้นทุน และเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าได้
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำตลาดคอนโดมิเนียม กล่าวยอมรับว่า ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้อยู่ในระยะไม่ปกติ รวมถึงตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบเงินเฟ้อด้วย
ซึ่งแน่นอนว่า ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความสามารถในการผ่อนของผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยทุกประเภท ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทุกๆ 1% ของจำนวนเงิน 1 ล้านบาท จะทำให้ผู้บริโภคต้องมีภาระในการผ่อนส่งค่างวดเพิ่มขึ้น 500 บาทต่อเดือน แต่สิ่งผู้บริโภคกังวลมากที่สุดในขณะนี้ คือ ปัญหาการผันผวนของราคาน้ำมัน ( มีผลต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น ) จนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทำให้ไม่สามารถประมาณการ หรือ คำนวณราคาที่เหมาะสมได้ แต่ถ้าหากทุกอย่างมีความชัดเจนแล้วเชื่อว่า ปัญหาการปรับขึ้นของต้นทุน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปัญหาต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแน่นนอน
สำหรับ ผลกระทบจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง. ต่อผู้ประกอบการอสังหาฯในขณะนี้ มีอยู่ 2 ด้าน คือ ผลกระทบด้านต้นทุนการก่อสร้าง และผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงิน แต่ ทั้ง2 ปัจจัยดังกล่าว ยังไม่น่ากลัวมากนัก เมื่อเทียบกับการปรับตัวของราคาวัสดุก่อสร้าง ที่มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น
“ในระยะสั้น ผู้บริโภคที่ได้รับข่าวการปรับอัตราดอกเบี้ย อาจจะชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไปบ้าง แต่ถ้าโครงการของผู้ประกอบการ ตั้งบนทำเลที่ดี มีรูปแบบการก่อสร้าง การออกแบบ ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ก็เชื่อว่าจะสามารถขายได้อย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัท แอล.พี.เอ็น.ฯ แม้ว่าตลาดโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ แต่เมื่อมาพิจารณายอดขายเฉลี่ยของบริษัทในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ยังมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 51 บริษัทฯมียอดขายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 154 ยูนิต เทียบกับปี50 ที่ผ่านมา ยอดขายเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 150 ยูนิต
“ ยอดขายเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรก สะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดยังมีอยู่ต่อเนื่อง ในภาวะที่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคก็ตาม ”
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า สิ่งสำคัญของผู้ประกอบการในขณะนี้ คือ ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้าและทันกับสถานการณ์ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านเข้ามากระทบ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในส่วนของบริษัทพฤกษาฯได้ชะลอการพัฒนาโครงการคอนโดฯแล้วหันมาบุกโครงการแนวราบ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีโอกาสสร้างความเติบโต ลดความเสี่ยง และสามารถส่งมอบบ้านให้ลูกค้าได้เร็ว ขณะที่โครงการคอนโดฯอาจได้รับความเสี่ยงจากต้นทุนผันผวน
ในสถานการณ์ที่อัตราเงินเฟ้อมีการเร่งตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจัยสำคัญเกิดจากต้นทุนทางด้านพลังงานเชื้อเพลิง ที่ทำให้ราคาสินค้า ค่าขนส่งต่างๆ มีต้นทุนขยับสูงขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขดัชนีราคาสินค้าในเดือนมิ.ย.51 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเพิ่มขึ้น 8.9% เป็นอัตราสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี แรงกดดันที่มีอย่างต่อเนื่องของอัตราเงินเฟ้อ ได้ทำให้ทางธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) กำลังตัดสินใจต่อทิศทางของการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมในวันที่ 16 มิ.ย.นี้
แต่สิ่งที่จะต้องจับตามองเพิ่มขึ้น คือ “ค่าเงินบาท” ที่เริ่มอ่อนค่าลง (วันจันทร์เงินบาทประมาณ 33.30 บาทต่อดอลลาร์) ทำให้ไทยต้องมีต้นทุนในการนำเข้าเชื้อเพลิงสูงขึ้น และอาจจะลุกลามไปถึงต้นทุน และเงินเฟ้อในระยะข้างหน้าได้
นายโอภาส ศรีพยัคฆ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้นำตลาดคอนโดมิเนียม กล่าวยอมรับว่า ปัจจัยเสี่ยงข้างต้น จะทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงนี้อยู่ในระยะไม่ปกติ รวมถึงตลาดการเงินที่ได้รับผลกระทบเงินเฟ้อด้วย
ซึ่งแน่นอนว่า ผลกระทบจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว จะส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความสามารถในการผ่อนของผู้บริโภคที่ต้องการซื้อที่อยู่อาศัยทุกประเภท ทั้งนี้ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยทุกๆ 1% ของจำนวนเงิน 1 ล้านบาท จะทำให้ผู้บริโภคต้องมีภาระในการผ่อนส่งค่างวดเพิ่มขึ้น 500 บาทต่อเดือน แต่สิ่งผู้บริโภคกังวลมากที่สุดในขณะนี้ คือ ปัญหาการผันผวนของราคาน้ำมัน ( มีผลต่อค่าครองชีพที่สูงขึ้น ) จนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตทำให้ไม่สามารถประมาณการ หรือ คำนวณราคาที่เหมาะสมได้ แต่ถ้าหากทุกอย่างมีความชัดเจนแล้วเชื่อว่า ปัญหาการปรับขึ้นของต้นทุน การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย และปัญหาต่างๆ จะไม่ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคแน่นนอน
สำหรับ ผลกระทบจากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของกนง. ต่อผู้ประกอบการอสังหาฯในขณะนี้ มีอยู่ 2 ด้าน คือ ผลกระทบด้านต้นทุนการก่อสร้าง และผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของต้นทุนทางการเงิน แต่ ทั้ง2 ปัจจัยดังกล่าว ยังไม่น่ากลัวมากนัก เมื่อเทียบกับการปรับตัวของราคาวัสดุก่อสร้าง ที่มีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้น
“ในระยะสั้น ผู้บริโภคที่ได้รับข่าวการปรับอัตราดอกเบี้ย อาจจะชะลอการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยออกไปบ้าง แต่ถ้าโครงการของผู้ประกอบการ ตั้งบนทำเลที่ดี มีรูปแบบการก่อสร้าง การออกแบบ ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ก็เชื่อว่าจะสามารถขายได้อย่างต่อเนื่อง”
ทั้งนี้ ในส่วนของบริษัท แอล.พี.เอ็น.ฯ แม้ว่าตลาดโดยรวมจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยต่างๆ แต่เมื่อมาพิจารณายอดขายเฉลี่ยของบริษัทในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ยังมีอัตราการเติบโตใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 51 บริษัทฯมียอดขายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 154 ยูนิต เทียบกับปี50 ที่ผ่านมา ยอดขายเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 150 ยูนิต
“ ยอดขายเฉลี่ยในช่วงครึ่งปีแรก สะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยในตลาดยังมีอยู่ต่อเนื่อง ในภาวะที่มีปัจจัยลบเข้ามากระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคก็ตาม ”
นายประเสริฐ แต่ดุลยสาธิต กรรมการและรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) หรือ PS กล่าวว่า สิ่งสำคัญของผู้ประกอบการในขณะนี้ คือ ต้องรู้จักปรับตัวให้เข้าและทันกับสถานการณ์ เพราะมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้านเข้ามากระทบ ซึ่งจะเห็นได้ว่า ในส่วนของบริษัทพฤกษาฯได้ชะลอการพัฒนาโครงการคอนโดฯแล้วหันมาบุกโครงการแนวราบ ซึ่งจะทำให้บริษัทมีโอกาสสร้างความเติบโต ลดความเสี่ยง และสามารถส่งมอบบ้านให้ลูกค้าได้เร็ว ขณะที่โครงการคอนโดฯอาจได้รับความเสี่ยงจากต้นทุนผันผวน