รอยเตอร์ / ไชน่านิวส์ – การบินตรงเหมาลำสุดสัปดาห์ระหว่างสองฟากฝั่ง ได้เปิดศักราชใหม่ให้กับความสัมพันธ์ของจีนกับไต้หวัน และเป็นศักราชใหม่ให้กับธุรกิจการบิน ทำให้แต่ละสายการบินไม่ยอมพลาดที่จะใช้รูปแบบต่างๆเพื่อช่วงชิงกลุ่มลูกค้า
ในที่สุดหลังการบินตรงเหมาลำช่วงสุดสัปดาห์ อันเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่หม่า อิงจิ่วประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ได้ชูไว้ช่วงเลือกตั้งก็เป็นจริงขึ้นมา ในวันศุกร์ที่ 4 มิ.ย. โดยวันปฐมฤกษ์นี้ได้ถูกตกลงและลงนามโดยหน่วยงานเจรจาของทั้งสองฟากฝั่งเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา
โดยการบินตรงเหมาลำระหว่างแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันในวันแรกจะมีสายการบินทั้งสิ้น 11 สายการบิน แบ่งเป็นสายการบินแผ่นดินใหญ่ 6 สายการบินอาทิแอร์ ไชน่า, ไชน่า เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์, ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ , ไห่หนันแอร์ไลน์ และซั่งไห่ (เซี่ยงไฮ้) แอร์ไลน์ และจะบินออกจากปักกิ่ง เซี่ยงไอ้ กว่างโจว (กวางเจา) เซี่ยเหมิน และนานกิงไปยังสนนามบินเถาหยวนและซงซันของไต้หวัน ในขณะที่ฝั่งไต้หวันจะมี 5 สายการบินอาทิไชน่า แอร์ไลน์ ,อีวา แอร์ เป็นต้น ที่จะบินจากไทเป ไถจง เกาสง ฮัวเหลียน เผิงหู ไปยังปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจวและเซี่ยเหมิน ซึ่งในวันแรกนี้จะมีเที่ยวบินไปกลับทั้งหมด 18 เที่ยวบิน
นอกจากนั้นเที่ยวบินเหมาลำสุดสัปดาห์ปฐมฤกษ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากที่แต่เดิมจะเป็นเที่ยวบินของแอร์ ไชน่า ที่จะบินออกจากปักกิ่งในเวลา 00.30 น. มาเป็นของสายการบินไชน่า เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์เที่ยวบิน 6.30 น.จากกว่างโจว และถึงเมืองไทเปในไต้หวันเวลาราว 8.0.5 น. และทำให้เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์ กลายเป็นสายการบินแรกที่บินออกจากแผ่นดินใหญ่ และลงจอดในไต้หวันในเที่ยวบินประวัติศาสตร์นี้ ในขณะที่ทางฟากไต้หวันเที่ยวบินเหมาลำสุดสัปดาห์ปฐมฤกษ์เป็นของไชน่า แอร์ไลน์ ออกจากสนามบินนานาชาติเถาหยวนเวลา 7.30 น. และไปถึงเซี่ยงไฮ้ในเวลาประมาณ 10.10 น.
สารพัดวิธีตีชิงตลาด
พร้อมกับการเปิดบินตรงเหมาลำสุดสัปดาห์ ในวันเดียวกันนี้ก็จะเป็นวันเริ่มต้นการที่เปิดให้ทัวร์นักท่องเที่ยวจากจีนไปยังไต้หวัน โดยวันแรกมีทัวร์นักเที่ยวจากแผ่นดินใหญ่ข้ามฝั่งไปเที่ยวทั้งสิ้น 760 คน ซึ่งวันแห่งประวัติศาสตร์นี้ นอกจากจะเป็นการแสดงถึงการเมืองสองฟากฝั่งที่เริ่มเข้าสู่บรรยากาศที่อบอุ่นขึ้น ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่อีกด้วย
เนื่องจากขั้นต่อไปจีนกับไต้หวันยังมีโครงการเดินหน้าที่จะให้มีการบินตรงเหมาลำเพิ่มขึ้นจากศุกร์-จันทร์ในปัจจุบัน เพิ่มเป็นให้มีการบินตรงเหมาลำทุกวัน โอกาสทางการค้านี้จึงเป็นที่จับจ้องของผู้ประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะธุรกิจการบิน
อาทิเช่นการที่สายการบินต่างๆที่พยายามสรรหาอาหารดังท้องถิ่นมาเป็นตัวชูโรง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกินเล่นของไต้หวัน หรืออย่างไชน่า แอร์ไลน์ที่ชูเที่ยวบิน “มื้ออาหารชาววัง” ในขณะที่ไชน่า เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์เสนออาหารรสเด็ดจากทางกวางตุ้ง ส่วนอีวา แอร์ ก็มาแบบแหวกแนว ให้ผู้โดยสารเดินลงจากเครื่องมา ก็มีอาหารรอรับกันเลยทีเดียว
นอกจากอาหารโอชะที่นำมาแข่งขัน อาหารตาก็นับเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะเป็นสีสันในการเดินทาง แต่ละสายการบินได้พยายามเฟ้นหาแอร์โฮสเตสที่หน้าตาสะสวย บุคลิกเป็นกันเองมาคอยให้บริการเพื่อความประทับใจ อีกทั้งยังมีการเสริมบรรยากาศด้วยแอร์โฮสเตสที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นอาทิภาษาฮกเกี้ยน ภาษาเซี่ยงไฮ้ด้วย
“เส้นทางบินตรงสองฟากฝั่งจะกลายเป็นเส้นเลือดสำคัญของบริษัทสายการบิน และเป็นเส้นทางทำเงินอีกด้วย” นายเฉิน เผิงอี่ว์หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสายการบินไชน่า แอร์ไลน์ระบุ
การจองตั๋วเครื่องบิน หลายสายการบินก็ยังมีการให้สิทธิพิเศษให้บริษัททัวร์ที่จำหน่ายตั๋วไม่ต้องจ่ายเงินก่อน หรือถึงกับไม่ต้องมัดจำล่วงหน้า และด้วยกลยุทธทั้งหมดที่มี ทำให้เที่ยวบินในวันนี้ สามารถขายตั๋วได้ตั้งแต่ 90-100% ซึ่งเมื่อเทียบกับภาวะซบเซาของการบินในไต้หวันช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นแล้ว ก็ถือว่าการบินตรงสองฟากฝั่งเป็นตัวช่วยได้ดีทีเดียว
ตลาดในอนาคต
แม้ว่าจะเปิดตัวกันไปอย่างอุ่นหนาฝาคั่งในวันแรก ทว่าผู้ที่อยู่ในวงการก็มองว่า ในอนาคต ไม่ใช่ว่าทุกเที่ยวบินของการเหมาลำบินตรงจะคึกคักทุกเที่ยวทุกเส้นทาง อย่างเช่นเที่ยวบินจากไต้หวันไปกว่างโจว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวจีนมา ในขณะที่ชาวไต้หวันที่จะไปเที่ยวก็น้อย ส่วนนักธุรกิจที่จะไปสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียงก็ยังนิยมไปต่อเครื่องที่ฮ่องกง ซึ่งจะทำให้ยอดจำหน่ายอาจจะไม่หวือหวานัก
ในขณะที่นายโหยว หมิงสงจากเว็บไซต์อี้โหยว เว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดังได้ระบุว่า เส้นทางบินตรงจีน-ไต้หวันถือว่าเป็นตลาดของผู้ขายอย่างเห็นได้ชัด เพราะเมื่อพ้นเดือนก.ค.ซึ่งเป็นเดือนไฮไลท์แล้ว ราคาของการบินตรงก็คงไม่ต่างกับการต่อเครื่องนัก ดังนั้นผู้โดยสารจะได้ประหยัดเวลา แต่ไม่ได้ประหยัดค่าตั๋วโดยสาร
อย่างไรก็ตาม ภายใต้เงื่อนไขที่ในอนาคตอาจจะมีนโยบายเปิดกว้างน่านฟ้าระหว่างสองฟากฝั่ง ให้มีการบินตรงเหมาลำในทุกวัน และอาจมีการเปิดให้มีสายการบินนานาชาติเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสายการบินต่างๆจะต้องแข่งขันกันด้วยศักยภาพที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ ราคาตั๋ว บริการ และความปลอดภัยเป็นต้น
โหยวยังได้ระบุว่า ผู้โดยสารชั้นธุรกิจ มักจะให้ความสำคัญกับเวลาและชื่อเสียของสายการบิน ในขณะที่กลุ่มลูกค้าบริษัททัวร์จะให้ความสำคัญกับราคา อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่คาดเดาได้ในอนาคตคือ ตลาดแห่งนี้จะกลายเป็นตลาดระยะยาวที่มีกลุ่มลูกค้าคือชาวจีนหลายร้อยล้านคน กับชาวไต้หวันที่ต้องการต่อเครื่องไปสหรัฐฯ หรือชาวจีนที่ต้องการต่อเครื่องไปยุโรป
ในที่สุดหลังการบินตรงเหมาลำช่วงสุดสัปดาห์ อันเป็นหนึ่งในนโยบายหลักที่หม่า อิงจิ่วประธานาธิบดีไต้หวันคนใหม่ได้ชูไว้ช่วงเลือกตั้งก็เป็นจริงขึ้นมา ในวันศุกร์ที่ 4 มิ.ย. โดยวันปฐมฤกษ์นี้ได้ถูกตกลงและลงนามโดยหน่วยงานเจรจาของทั้งสองฟากฝั่งเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. ที่ผ่านมา
โดยการบินตรงเหมาลำระหว่างแผ่นดินใหญ่กับไต้หวันในวันแรกจะมีสายการบินทั้งสิ้น 11 สายการบิน แบ่งเป็นสายการบินแผ่นดินใหญ่ 6 สายการบินอาทิแอร์ ไชน่า, ไชน่า เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์, ไชน่า อีสเทิร์น แอร์ไลน์ , ไห่หนันแอร์ไลน์ และซั่งไห่ (เซี่ยงไฮ้) แอร์ไลน์ และจะบินออกจากปักกิ่ง เซี่ยงไอ้ กว่างโจว (กวางเจา) เซี่ยเหมิน และนานกิงไปยังสนนามบินเถาหยวนและซงซันของไต้หวัน ในขณะที่ฝั่งไต้หวันจะมี 5 สายการบินอาทิไชน่า แอร์ไลน์ ,อีวา แอร์ เป็นต้น ที่จะบินจากไทเป ไถจง เกาสง ฮัวเหลียน เผิงหู ไปยังปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ กว่างโจวและเซี่ยเหมิน ซึ่งในวันแรกนี้จะมีเที่ยวบินไปกลับทั้งหมด 18 เที่ยวบิน
นอกจากนั้นเที่ยวบินเหมาลำสุดสัปดาห์ปฐมฤกษ์ ได้มีการเปลี่ยนแปลงจากที่แต่เดิมจะเป็นเที่ยวบินของแอร์ ไชน่า ที่จะบินออกจากปักกิ่งในเวลา 00.30 น. มาเป็นของสายการบินไชน่า เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์เที่ยวบิน 6.30 น.จากกว่างโจว และถึงเมืองไทเปในไต้หวันเวลาราว 8.0.5 น. และทำให้เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์ กลายเป็นสายการบินแรกที่บินออกจากแผ่นดินใหญ่ และลงจอดในไต้หวันในเที่ยวบินประวัติศาสตร์นี้ ในขณะที่ทางฟากไต้หวันเที่ยวบินเหมาลำสุดสัปดาห์ปฐมฤกษ์เป็นของไชน่า แอร์ไลน์ ออกจากสนามบินนานาชาติเถาหยวนเวลา 7.30 น. และไปถึงเซี่ยงไฮ้ในเวลาประมาณ 10.10 น.
สารพัดวิธีตีชิงตลาด
พร้อมกับการเปิดบินตรงเหมาลำสุดสัปดาห์ ในวันเดียวกันนี้ก็จะเป็นวันเริ่มต้นการที่เปิดให้ทัวร์นักท่องเที่ยวจากจีนไปยังไต้หวัน โดยวันแรกมีทัวร์นักเที่ยวจากแผ่นดินใหญ่ข้ามฝั่งไปเที่ยวทั้งสิ้น 760 คน ซึ่งวันแห่งประวัติศาสตร์นี้ นอกจากจะเป็นการแสดงถึงการเมืองสองฟากฝั่งที่เริ่มเข้าสู่บรรยากาศที่อบอุ่นขึ้น ยังเป็นโอกาสทางธุรกิจครั้งใหญ่อีกด้วย
เนื่องจากขั้นต่อไปจีนกับไต้หวันยังมีโครงการเดินหน้าที่จะให้มีการบินตรงเหมาลำเพิ่มขึ้นจากศุกร์-จันทร์ในปัจจุบัน เพิ่มเป็นให้มีการบินตรงเหมาลำทุกวัน โอกาสทางการค้านี้จึงเป็นที่จับจ้องของผู้ประกอบการต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะธุรกิจการบิน
อาทิเช่นการที่สายการบินต่างๆที่พยายามสรรหาอาหารดังท้องถิ่นมาเป็นตัวชูโรง ไม่ว่าจะเป็นอาหารกินเล่นของไต้หวัน หรืออย่างไชน่า แอร์ไลน์ที่ชูเที่ยวบิน “มื้ออาหารชาววัง” ในขณะที่ไชน่า เซาธ์เทิร์น แอร์ไลน์เสนออาหารรสเด็ดจากทางกวางตุ้ง ส่วนอีวา แอร์ ก็มาแบบแหวกแนว ให้ผู้โดยสารเดินลงจากเครื่องมา ก็มีอาหารรอรับกันเลยทีเดียว
นอกจากอาหารโอชะที่นำมาแข่งขัน อาหารตาก็นับเป็นอีกสิ่งสำคัญที่จะเป็นสีสันในการเดินทาง แต่ละสายการบินได้พยายามเฟ้นหาแอร์โฮสเตสที่หน้าตาสะสวย บุคลิกเป็นกันเองมาคอยให้บริการเพื่อความประทับใจ อีกทั้งยังมีการเสริมบรรยากาศด้วยแอร์โฮสเตสที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นอาทิภาษาฮกเกี้ยน ภาษาเซี่ยงไฮ้ด้วย
“เส้นทางบินตรงสองฟากฝั่งจะกลายเป็นเส้นเลือดสำคัญของบริษัทสายการบิน และเป็นเส้นทางทำเงินอีกด้วย” นายเฉิน เผิงอี่ว์หัวหน้าฝ่ายประชาสัมพันธ์ของสายการบินไชน่า แอร์ไลน์ระบุ
การจองตั๋วเครื่องบิน หลายสายการบินก็ยังมีการให้สิทธิพิเศษให้บริษัททัวร์ที่จำหน่ายตั๋วไม่ต้องจ่ายเงินก่อน หรือถึงกับไม่ต้องมัดจำล่วงหน้า และด้วยกลยุทธทั้งหมดที่มี ทำให้เที่ยวบินในวันนี้ สามารถขายตั๋วได้ตั้งแต่ 90-100% ซึ่งเมื่อเทียบกับภาวะซบเซาของการบินในไต้หวันช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะหลังจากที่น้ำมันมีราคาแพงขึ้นแล้ว ก็ถือว่าการบินตรงสองฟากฝั่งเป็นตัวช่วยได้ดีทีเดียว
ตลาดในอนาคต
แม้ว่าจะเปิดตัวกันไปอย่างอุ่นหนาฝาคั่งในวันแรก ทว่าผู้ที่อยู่ในวงการก็มองว่า ในอนาคต ไม่ใช่ว่าทุกเที่ยวบินของการเหมาลำบินตรงจะคึกคักทุกเที่ยวทุกเส้นทาง อย่างเช่นเที่ยวบินจากไต้หวันไปกว่างโจว เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวจะไม่ค่อยมีนักท่องเที่ยวจีนมา ในขณะที่ชาวไต้หวันที่จะไปเที่ยวก็น้อย ส่วนนักธุรกิจที่จะไปสามเหลี่ยมเศรษฐกิจปากแม่น้ำจูเจียงก็ยังนิยมไปต่อเครื่องที่ฮ่องกง ซึ่งจะทำให้ยอดจำหน่ายอาจจะไม่หวือหวานัก
ในขณะที่นายโหยว หมิงสงจากเว็บไซต์อี้โหยว เว็บไซต์ท่องเที่ยวชื่อดังได้ระบุว่า เส้นทางบินตรงจีน-ไต้หวันถือว่าเป็นตลาดของผู้ขายอย่างเห็นได้ชัด เพราะเมื่อพ้นเดือนก.ค.ซึ่งเป็นเดือนไฮไลท์แล้ว ราคาของการบินตรงก็คงไม่ต่างกับการต่อเครื่องนัก ดังนั้นผู้โดยสารจะได้ประหยัดเวลา แต่ไม่ได้ประหยัดค่าตั๋วโดยสาร
อย่างไรก็ตาม ภายใต้เงื่อนไขที่ในอนาคตอาจจะมีนโยบายเปิดกว้างน่านฟ้าระหว่างสองฟากฝั่ง ให้มีการบินตรงเหมาลำในทุกวัน และอาจมีการเปิดให้มีสายการบินนานาชาติเข้ามาร่วมด้วย ดังนั้นสายการบินต่างๆจะต้องแข่งขันกันด้วยศักยภาพที่แท้จริง ไม่ว่าจะเป็นความน่าเชื่อถือ ราคาตั๋ว บริการ และความปลอดภัยเป็นต้น
โหยวยังได้ระบุว่า ผู้โดยสารชั้นธุรกิจ มักจะให้ความสำคัญกับเวลาและชื่อเสียของสายการบิน ในขณะที่กลุ่มลูกค้าบริษัททัวร์จะให้ความสำคัญกับราคา อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่คาดเดาได้ในอนาคตคือ ตลาดแห่งนี้จะกลายเป็นตลาดระยะยาวที่มีกลุ่มลูกค้าคือชาวจีนหลายร้อยล้านคน กับชาวไต้หวันที่ต้องการต่อเครื่องไปสหรัฐฯ หรือชาวจีนที่ต้องการต่อเครื่องไปยุโรป