ป.ป.ช.ฟันวินัย-อาญา "ดุสิต เต็งนิยม-เยาวลักษณ์ ลิขิตวัฒนานุรักษ์" 2 ผู้บริหารธนาคารกรุงไทย เผยเป็นคดีที่ ธปท.ร้องทุกข์กล่าวโทษข้อหาฝ่าฝืนคำสั่งในการให้สินเชื่อ "สว่าง มั่นคงเจริญ" ผ่าน บงล.ฟินันซ่าเพื่อซื้อลดหนี้ธนบุรีประกอบยนต์วงเงินสูงเกินจริง ทำให้มีคนได้ประโยชน์ 600 ล้าน
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกฯ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. วานนี้ (3 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีกล่าวหา นายดุสิต เต็งนิยม รองกรรมการผู้จัดการสายสินเชื่อภาคใต้ และนครหลวงตะวันออก ธนาคารกรุงไทยจำกัด ( มหาชน ) (KTB) ร่วมกันพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งโดยมิชอบ เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายสินเชื่อเกินกว่าควรจ่ายจริง 600 ล้านบาท
จากการไต่สวนของคณะอนุกรรมการฯ ฟังได้ว่า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นลูกหนี้ธนาคารกรุงไทย เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 บริษัทดังกล่าวกลายเป็นลูกหนี้ผิดนัด ธนาคารฯ จึงได้โอนหนี้ผิดนัดของบริษัทให้แก่สถาบันการเงินแห่งหนึ่งตามนโยบายรัฐบาล
ต่อมานายดุสิตและนางเยาวลักษณ์ ลิขิตวัฒนานุรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานทรัพยากรบุคลและองค์กร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสและผู้บริหาร ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อโครงการ ธนาคารกรุงไทย ได้รับการติดต่อจากบริษัทเอกชนดังกล่าว ในการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อแก้ไขหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการเดิม
หลังจากนั้นได้มีนักธุรกิจเอกชนผู้หนึ่ง เข้าไปเจรจาซื้อลดหนี้ของบริษัทเอกชนดังกล่าวจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยใช้เงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ โดยในการดำเนินการซื้อลดหนี้ดังกล่าวนี้ นายดุสิตและนางเยาวลักษณ์ ได้ร่วมกันพิจารณาสินเชื่อและเบิกจ่ายเงินกู้ให้กับบริษัท เพื่อดำเนินการซื้อลดหนี้ของบริษัทเอกชนดังกล่าวจากสถาบันการเงินเกินกว่าควรจะจ่ายจริง จำนวน 600 ล้านบาท
นายกล้านรงค์ต่อว่า ป.ป.ช.ได้พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของทั้งสองคน มีมูลความผิดทางวินัย และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ม.11
การกระทำของนักธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นนายหน้าติดต่อเข้าร่วมเจรจาต่อรองซื้อลดหนี้ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงานกระทำความผิด ป.ป.ช.ให้ส่งรายงานเอกสาร ความเห็นไปยังธนาคารกรุงไทย เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยกับนางเยาวลักษณ์ และบอกเลิกสัญญาจ้างกับนายดุสิต และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาคดีนี้
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ร้องทุกข์ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจยื่นต่อ ป.ป.ช.เมื่อปี 2548 เป็นการปล่อยกู้ซื้อลดหนี้บริษัทธนบุรีประกอบยนต์
ธปท.กล่าวโทษนายดุสิตและนางเยาวลักษณ์ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเจ้าพนักงานองค์กรของรัฐแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ และกล่าวโทษ นางสว่าง มั่นคงเจริญ ,นายธงชัย จิระอลงกรณ์ ,นางสุวพร ทองซื่อ บริษัท มาสเตอร์เอนเตอร์ไพรซ์ จำกัด น.ส.สายสวาท ธนศักดิ์เจริญ และ น.ส.นงนุช วิวัฒน์สุนทรกุล ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานกระทำผิด
ธปท.ระบุว่าเป็นให้สินเชื่อโดยมิชอบฝ่าฝืนคำสั่งธปท. ในการให้สินเชื่อแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) ฟินันซ่า เพื่อซื้อลดหนี้บริษัทธนบุรีประกอบยนต์ จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พบว่า เป็นการพิจารณาให้สินเชื่อโดยมิชอบ วงเงินกู้สูงกว่ามูลค่าที่จะนำไปซื้อลดหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ ทำให้มีผู้ได้ประโยชน์จากยอดเงินที่เกินกว่ามูลค่าหนี้ประมาณ 600 ล้านบาท
"ธนาคารกรุงไทยได้มอบให้ บงล.ฟินันซ่า เป็นตัวแทนเจรจาซื้อลดหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ จากธนาคารกรุงเทพ มูลค่าประมาณ 2,250 ล้านบาท บงล.ฟินันซ่ามอบหมายให้นางสว่าง มั่นคงเจริญ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ เป็นผู้ไปเจรจากับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งธนาคารกรุงเทพได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ให้กับนางสว่าง ต่อมานางสว่าง ได้รายงานต่อ บงล.ฟินันซ่า ว่า มูลค่าหนี้ของบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ทั้งหมดประมาณ 2,800 ล้านบาท และบงล.ฟินันซ่าได้ขอกู้เงินจากธนาคารกรุงไทยจำนวน 2,800 ล้านบาท เพื่อขอซื้อลดหนี้จากธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทยก็อนุมัติเงินกู้ตามที่ขอมา"
นายกล้านรงค์ จันทิก กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในฐานะโฆษกฯ แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. วานนี้ (3 ก.ค.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีกล่าวหา นายดุสิต เต็งนิยม รองกรรมการผู้จัดการสายสินเชื่อภาคใต้ และนครหลวงตะวันออก ธนาคารกรุงไทยจำกัด ( มหาชน ) (KTB) ร่วมกันพิจารณาอนุมัติสินเชื่อให้กับบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งโดยมิชอบ เป็นเหตุให้ธนาคารจ่ายสินเชื่อเกินกว่าควรจ่ายจริง 600 ล้านบาท
จากการไต่สวนของคณะอนุกรรมการฯ ฟังได้ว่า บริษัทเอกชนแห่งหนึ่งเป็นลูกหนี้ธนาคารกรุงไทย เมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 บริษัทดังกล่าวกลายเป็นลูกหนี้ผิดนัด ธนาคารฯ จึงได้โอนหนี้ผิดนัดของบริษัทให้แก่สถาบันการเงินแห่งหนึ่งตามนโยบายรัฐบาล
ต่อมานายดุสิตและนางเยาวลักษณ์ ลิขิตวัฒนานุรักษ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานทรัพยากรบุคลและองค์กร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการอาวุโสและผู้บริหาร ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์สินเชื่อโครงการ ธนาคารกรุงไทย ได้รับการติดต่อจากบริษัทเอกชนดังกล่าว ในการขอสินเชื่อจากธนาคาร เพื่อแก้ไขหนี้ของบริษัทตามแผนฟื้นฟูกิจการเดิม
หลังจากนั้นได้มีนักธุรกิจเอกชนผู้หนึ่ง เข้าไปเจรจาซื้อลดหนี้ของบริษัทเอกชนดังกล่าวจากสถาบันการเงินต่างๆ โดยใช้เงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทย เพื่อให้ธนาคารกรุงไทยเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ โดยในการดำเนินการซื้อลดหนี้ดังกล่าวนี้ นายดุสิตและนางเยาวลักษณ์ ได้ร่วมกันพิจารณาสินเชื่อและเบิกจ่ายเงินกู้ให้กับบริษัท เพื่อดำเนินการซื้อลดหนี้ของบริษัทเอกชนดังกล่าวจากสถาบันการเงินเกินกว่าควรจะจ่ายจริง จำนวน 600 ล้านบาท
นายกล้านรงค์ต่อว่า ป.ป.ช.ได้พิจารณาแล้ว มีมติว่า การกระทำของทั้งสองคน มีมูลความผิดทางวินัย และมีมูลความผิดทางอาญา ฐานเป็นพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 ม.11
การกระทำของนักธุรกิจเอกชน ซึ่งเป็นนายหน้าติดต่อเข้าร่วมเจรจาต่อรองซื้อลดหนี้ มีมูลเป็นความผิดทางอาญา ฐานเป็นผู้สนับสนุนพนักงานกระทำความผิด ป.ป.ช.ให้ส่งรายงานเอกสาร ความเห็นไปยังธนาคารกรุงไทย เพื่อพิจารณาโทษทางวินัยกับนางเยาวลักษณ์ และบอกเลิกสัญญาจ้างกับนายดุสิต และไปยังอัยการสูงสุด เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาลซึ่งมีเขตอำนาจพิจารณาคดีนี้
เกี่ยวกับกรณีดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นผู้ร้องทุกข์ต่อสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจยื่นต่อ ป.ป.ช.เมื่อปี 2548 เป็นการปล่อยกู้ซื้อลดหนี้บริษัทธนบุรีประกอบยนต์
ธปท.กล่าวโทษนายดุสิตและนางเยาวลักษณ์ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เป็นเจ้าพนักงานองค์กรของรัฐแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์กร หรือหน่วยงานของรัฐ และกล่าวโทษ นางสว่าง มั่นคงเจริญ ,นายธงชัย จิระอลงกรณ์ ,นางสุวพร ทองซื่อ บริษัท มาสเตอร์เอนเตอร์ไพรซ์ จำกัด น.ส.สายสวาท ธนศักดิ์เจริญ และ น.ส.นงนุช วิวัฒน์สุนทรกุล ฐานเป็นผู้สนับสนุนให้เจ้าพนักงานกระทำผิด
ธปท.ระบุว่าเป็นให้สินเชื่อโดยมิชอบฝ่าฝืนคำสั่งธปท. ในการให้สินเชื่อแก่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) ฟินันซ่า เพื่อซื้อลดหนี้บริษัทธนบุรีประกอบยนต์ จากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) พบว่า เป็นการพิจารณาให้สินเชื่อโดยมิชอบ วงเงินกู้สูงกว่ามูลค่าที่จะนำไปซื้อลดหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ ทำให้มีผู้ได้ประโยชน์จากยอดเงินที่เกินกว่ามูลค่าหนี้ประมาณ 600 ล้านบาท
"ธนาคารกรุงไทยได้มอบให้ บงล.ฟินันซ่า เป็นตัวแทนเจรจาซื้อลดหนี้ตามแผนฟื้นฟูกิจการของบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ จากธนาคารกรุงเทพ มูลค่าประมาณ 2,250 ล้านบาท บงล.ฟินันซ่ามอบหมายให้นางสว่าง มั่นคงเจริญ ผู้ถือหุ้นของบริษัท ธนบุรีประกอบยนต์ เป็นผู้ไปเจรจากับธนาคารกรุงเทพ ซึ่งธนาคารกรุงเทพได้ทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องจากบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ให้กับนางสว่าง ต่อมานางสว่าง ได้รายงานต่อ บงล.ฟินันซ่า ว่า มูลค่าหนี้ของบริษัทธนบุรีประกอบยนต์ทั้งหมดประมาณ 2,800 ล้านบาท และบงล.ฟินันซ่าได้ขอกู้เงินจากธนาคารกรุงไทยจำนวน 2,800 ล้านบาท เพื่อขอซื้อลดหนี้จากธนาคารกรุงเทพ และธนาคารกรุงไทยก็อนุมัติเงินกู้ตามที่ขอมา"