ผู้จัดการรายวัน-“กมธ.คมนาคม” ตั้งอนุกรรมการฯ ตรวจสอบความโปร่งใส โครงการเช่ารถเอ็นจีวี 6,000 คัน มูลค่า 111,690 ล้านบาท เตรียมประสานคมนาคมชะลอเสนอครม.รอการตรวจสอบเพื่อความรอบคอบ กำหนดตรวจเยี่ยมคมนาคม 9 ก.ค.นี้ ตามงาน บิ๊กโปรเจ๊กต์ รถไฟทางคู่ ท่าเรือเชียงแสน 2 โลจิสติกส์
ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (กมธ.) สภาผู้แทนราษฏร เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ กมธ.คมนาคม จะเดินทางไปกระทรวงคมนาคมเพื่อรับฟังบรรยายโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหลายโครงการที่อยู่ในความสนใจโดยเฉพาะจัดหารถปรับอากาศเครื่องยนต์เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 6,000 คันซึ่งคณะกรรมาธิการคมนาคมได้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาศึกษาความเหมาะสมของโครงการตามที่กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอ ซึ่งจะเร่งให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้
ทั้งกรณีความเป็นไปได้ของโครงการ,ความจำเป็นของการจัดหา, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่, ค่าบริการที่ประชาชนต้องจ่ายในการใช้บริการ เหมาะสมหรือไม่ รวมถึงการที่ขสมก.จะยกเลิกการบริการรถร้อน และให้ผู้ประกอบการเอกชนเป็นผู้บริการนั้นจำนวนรถที่มีจะเพียงพอกับความต้องการของประชาชนซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยหรือไม่
ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์กล่าวว่า คณะกรรมาธิการ การคมนาคมเห็นว่ากระทรวงคมนาคมควรรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผลศึกษาของคณะอนุกรรมการฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งขึ้นก่อนที่จะมีการนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้เพื่อเพื่อความรอบคอบ ซึ่งหากผลศึกษาสรุปว่าแนวทางการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคมยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจนจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทัน
“คณะกรรมาธิการการคมนาคมต้องการมารับฟังรายละเอียดของโครงการทั้งหมดเพื่อนำไปศึกษา โดยเฉพาะประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัย ทั้งหมด ดังนั้น กระทรวงคมนาคมก็ไม่ควรเร่งรีบที่จะเสนอครม.ในระหว่างนี้ ควรรอให้มีข้อมูลที่รอบด้านก่อนและเห็นว่า การที่กรรมาธิการ คมนาคมเข้ามาตรวจสอบความเหมาะสมของโครงการ จะไม่ทำให้โครงการต้องล่าช้าแต่อย่างใดเพราะเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดความรอบคอบ นอกจากนั้น จะประสานไปยังพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอข้อมูลเรื่องดังกล่าวจากนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ด้วย ”ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการการคมนาคมจะสอบถามถึงความคืบหน้าโครงการศึกษาระบบรถไฟทางคู่ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในภาวะน้ำมันแพง เช่นรถไฟทางคู่ จาก จ.ชัยภูมิเชื่อมต่อไปยัง จ.หนองบัวลำภู -จ.เลย และ จ.เพชรบูรณ์ และเส้นทางจาก จ.นครราชสีมาเชื่อมต่อ จ.ในภาคอีสานตอนบน-จ.มุกดาหาร-ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม โครงการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน 2 เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้ากับประเทศจีน ความคืบหน้าการศึกษาสถานีรถไฟต้นแบบที่ จ.หนองคาย และติดตามความคืบหน้าโครงการด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้พลังงาน ในภาคการขนส่ง ทั้งระบบ
ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์กล่าวว่า หากมีเรื่องร้องเรียนการทุจริตในโครงการที่เกี่ยวข้อง กมธ.คมนาคมก็จะดำเนินการตรวจสอบเพื่อแสดงความชัดเจนและจะติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจะรับฟังแนวคิดใหม่ๆ ด้วย
สำหรับแผนการจัดหารถเอ็นจีวี6,000 คันมูลค่า 111,690 ล้านบาท ของ ขสมก.นั้น นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพราะมีรถใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้น มาให้บริการ และช่วยให้ฐานะการเงินของ ขสมก.ดีขึ้น โดยจากที่มีการขาดทุนสะสมถึง 70,000 ล้านบาท จะลดลงกว่า 50% ใน 10 ปีข้างหน้า และคาดว่าหลังจากให้บริการเต็มทั้ง 6,000 คัน 2-3 ปีจะทำให้ ขสมก.มีรายได้เพิ่ม และมีกำไรที่จะสามารถพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตามหากไม่นำแผนฟื้นฟูดกังกล่าวมาใช้เพื่อปรับปรุงกิจการเชื่อว่าภายใน 7-8 ปี ขสมก.จะขาดทุนสะสมสูงกว่า140,000ล้านบาท
นอกจากนี้ในแผนฟื้นฟู ขสมก.นั้นจะมีการยกเลิกระบบรถเมล์ร้อนที่มีอยู่ 3,500 คัน ออกไปทั้งหมด แล้วนำรถปรับอากาศที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 6,000 คัน เข้ามาวิ่งแทน พร้อมทั้งจะปรับลดเส้นทางลงโดยเฉพาะในเส้นทางที่มีการทับซ้อนลงจากเดิมที่มีอยู่กว่า 200 เส้นทาง ให้เหลือเพียง 145 เส้นทาง เพื่อลดปริมาณรถบนท้องถนน ซึ่งทั้ง 145 เส้นทางนั้นจะครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล โดยตั้งเป้าที่จะนำรถเอ็นจีวี 6,000 คันจะสามารถเข้ามาวิ่งได้ภายในวันที่ 1 พ.ค. 2552 นี้
โดยกำหนดจะจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายและอาจทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถใช้บริการได้นั้นนายทรงศักดิ์กล่าวว่า ค่าโดยสารที่กำหนดไว้เบื้องต้น คือ 15 บาทตลอดสาย และตั๋ววัน 30 บาทและตั๋วเดือนราคา 900 บาทนั้น คำนวณจากพฤติกรรมการใช้รถ ซึ่งทุกคนจะต้องใช้ทั้งไปและกลับ เฉลี่ยประชาชนจะเดินทางต่อคน คนละ 2.8 เที่ยว แต่เมื่อนำมาหารเฉลี่ยตลอดวัน 30 บาท ประชาชนจะจ่ายค่าโดยสารในราคาที่ถูกลง และจะมีการให้ส่วนลดกับผู้สูงอายุ 50% นักเรียนชั้นประถม 66% มัธยม 33% เป็นต้น
สหภาพฯ ไม่พอใจ”สมัคร”กล่าวหาพนักงานทุจริต
ในขณะที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 3 แสดงความไม่เห็นด้วยจากกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2551 โดยระบุว่าสาเหตุที่ ขสมก.ต้องมีการเช่ารถโดยสารปรับอากาศ เอ็นจีวี 6,000 คัน และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (E-Ticket) แทนพนักงานเก็บค่าโดยสารนั้น เนื่องจากพนักงานมีการทุจริตลักลอบดูดน้ำมันไปขายและพนักงานเก็บค่าโดยสารทุจริตตั๋วโดยสาร ซึ่งสหภาพฯขสมก.ระบุว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. และ22 มิ.ย.นายกฯได้กล่าวในลักษณะแบบนี้มาแล้ว ถึงทำให้พนักงานเสียหาย และได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกให้ตั้งคณะกรรมการจากทำเนียบรัฐบาลมาตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาเพื่อลงโทษหากพบมีการกระทำผิดจริงดีกว่า กล่าวหากันลอยๆ โดยขาดหลักฐานข้อเท็จจริง และทำให้สังคมเข้าใจผิดคิดว่าการที่พนักงานทุจริตจึงทำให้ขสมก.ขาดทุน ซึ่งสหภาพฯ เห็นว่าการกระทำของนายกฯไม่เหมาะสม โดยจะประชุมเพื่อหามาตรการตอบโต้ต่อไป
นอกจากนี้ สหภาพฯ ยังคัดค้านการยกเลิกเดินรถร้อนและเห็นควรให้ ขสมก. คงรถร้อนและรถปรับอากาศในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อเป็นทางเลือกใช้บริการและช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น
ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์ สุนทรชัย ประธานคณะกรรมาธิการการคมนาคม (กมธ.) สภาผู้แทนราษฏร เปิดเผยว่า ในวันที่ 9 ก.ค.นี้ กมธ.คมนาคม จะเดินทางไปกระทรวงคมนาคมเพื่อรับฟังบรรยายโครงการต่างๆ ของกระทรวงคมนาคม ซึ่งมีหลายโครงการที่อยู่ในความสนใจโดยเฉพาะจัดหารถปรับอากาศเครื่องยนต์เอ็นจีวีขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) จำนวน 6,000 คันซึ่งคณะกรรมาธิการคมนาคมได้ตั้งคณะอนุกรรมการฯ ขึ้นมาศึกษาความเหมาะสมของโครงการตามที่กระทรวงคมนาคมได้นำเสนอ ซึ่งจะเร่งให้ได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้
ทั้งกรณีความเป็นไปได้ของโครงการ,ความจำเป็นของการจัดหา, ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการมีความเหมาะสมหรือไม่, ค่าบริการที่ประชาชนต้องจ่ายในการใช้บริการ เหมาะสมหรือไม่ รวมถึงการที่ขสมก.จะยกเลิกการบริการรถร้อน และให้ผู้ประกอบการเอกชนเป็นผู้บริการนั้นจำนวนรถที่มีจะเพียงพอกับความต้องการของประชาชนซึ่งเป็นผู้มีรายได้น้อยหรือไม่
ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์กล่าวว่า คณะกรรมาธิการ การคมนาคมเห็นว่ากระทรวงคมนาคมควรรับฟังความเห็นจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผลศึกษาของคณะอนุกรรมการฯ ที่คณะกรรมาธิการฯ ได้ตั้งขึ้นก่อนที่จะมีการนำเสนอขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้เพื่อเพื่อความรอบคอบ ซึ่งหากผลศึกษาสรุปว่าแนวทางการดำเนินโครงการของกระทรวงคมนาคมยังมีประเด็นที่ไม่ชัดเจนจะได้ปรับปรุงแก้ไขได้ทัน
“คณะกรรมาธิการการคมนาคมต้องการมารับฟังรายละเอียดของโครงการทั้งหมดเพื่อนำไปศึกษา โดยเฉพาะประเด็นที่ยังเป็นข้อสงสัย ทั้งหมด ดังนั้น กระทรวงคมนาคมก็ไม่ควรเร่งรีบที่จะเสนอครม.ในระหว่างนี้ ควรรอให้มีข้อมูลที่รอบด้านก่อนและเห็นว่า การที่กรรมาธิการ คมนาคมเข้ามาตรวจสอบความเหมาะสมของโครงการ จะไม่ทำให้โครงการต้องล่าช้าแต่อย่างใดเพราะเป้าหมายเพื่อทำให้เกิดความรอบคอบ นอกจากนั้น จะประสานไปยังพรรคประชาธิปัตย์ เพื่อขอข้อมูลเรื่องดังกล่าวจากนายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ด้วย ”ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์กล่าว
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการการคมนาคมจะสอบถามถึงความคืบหน้าโครงการศึกษาระบบรถไฟทางคู่ ซึ่งเป็นโครงการที่มีความจำเป็นในภาวะน้ำมันแพง เช่นรถไฟทางคู่ จาก จ.ชัยภูมิเชื่อมต่อไปยัง จ.หนองบัวลำภู -จ.เลย และ จ.เพชรบูรณ์ และเส้นทางจาก จ.นครราชสีมาเชื่อมต่อ จ.ในภาคอีสานตอนบน-จ.มุกดาหาร-ประเทศลาว และประเทศเวียดนาม โครงการพัฒนาท่าเรือเชียงแสน 2 เพื่อเชื่อมต่อการขนส่งสินค้ากับประเทศจีน ความคืบหน้าการศึกษาสถานีรถไฟต้นแบบที่ จ.หนองคาย และติดตามความคืบหน้าโครงการด้านโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุนและลดการใช้พลังงาน ในภาคการขนส่ง ทั้งระบบ
ว่าที่ร.ต.พงษ์พันธ์กล่าวว่า หากมีเรื่องร้องเรียนการทุจริตในโครงการที่เกี่ยวข้อง กมธ.คมนาคมก็จะดำเนินการตรวจสอบเพื่อแสดงความชัดเจนและจะติดตามการทำงานของรัฐบาลอย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งจะรับฟังแนวคิดใหม่ๆ ด้วย
สำหรับแผนการจัดหารถเอ็นจีวี6,000 คันมูลค่า 111,690 ล้านบาท ของ ขสมก.นั้น นายทรงศักดิ์ ทองศรี รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า จะทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์เพราะมีรถใหม่ที่มีคุณภาพดีขึ้น มาให้บริการ และช่วยให้ฐานะการเงินของ ขสมก.ดีขึ้น โดยจากที่มีการขาดทุนสะสมถึง 70,000 ล้านบาท จะลดลงกว่า 50% ใน 10 ปีข้างหน้า และคาดว่าหลังจากให้บริการเต็มทั้ง 6,000 คัน 2-3 ปีจะทำให้ ขสมก.มีรายได้เพิ่ม และมีกำไรที่จะสามารถพัฒนาองค์กร อย่างไรก็ตามหากไม่นำแผนฟื้นฟูดกังกล่าวมาใช้เพื่อปรับปรุงกิจการเชื่อว่าภายใน 7-8 ปี ขสมก.จะขาดทุนสะสมสูงกว่า140,000ล้านบาท
นอกจากนี้ในแผนฟื้นฟู ขสมก.นั้นจะมีการยกเลิกระบบรถเมล์ร้อนที่มีอยู่ 3,500 คัน ออกไปทั้งหมด แล้วนำรถปรับอากาศที่ใช้ก๊าซเอ็นจีวีเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 6,000 คัน เข้ามาวิ่งแทน พร้อมทั้งจะปรับลดเส้นทางลงโดยเฉพาะในเส้นทางที่มีการทับซ้อนลงจากเดิมที่มีอยู่กว่า 200 เส้นทาง ให้เหลือเพียง 145 เส้นทาง เพื่อลดปริมาณรถบนท้องถนน ซึ่งทั้ง 145 เส้นทางนั้นจะครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งในกรุงเทพและปริมณฑล โดยตั้งเป้าที่จะนำรถเอ็นจีวี 6,000 คันจะสามารถเข้ามาวิ่งได้ภายในวันที่ 1 พ.ค. 2552 นี้
โดยกำหนดจะจัดเก็บค่าโดยสาร 15 บาทตลอดสายและอาจทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถใช้บริการได้นั้นนายทรงศักดิ์กล่าวว่า ค่าโดยสารที่กำหนดไว้เบื้องต้น คือ 15 บาทตลอดสาย และตั๋ววัน 30 บาทและตั๋วเดือนราคา 900 บาทนั้น คำนวณจากพฤติกรรมการใช้รถ ซึ่งทุกคนจะต้องใช้ทั้งไปและกลับ เฉลี่ยประชาชนจะเดินทางต่อคน คนละ 2.8 เที่ยว แต่เมื่อนำมาหารเฉลี่ยตลอดวัน 30 บาท ประชาชนจะจ่ายค่าโดยสารในราคาที่ถูกลง และจะมีการให้ส่วนลดกับผู้สูงอายุ 50% นักเรียนชั้นประถม 66% มัธยม 33% เป็นต้น
สหภาพฯ ไม่พอใจ”สมัคร”กล่าวหาพนักงานทุจริต
ในขณะที่สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) ได้ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 3 แสดงความไม่เห็นด้วยจากกรณีที่นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงในการอภิปรายไม่ไว้วางเมื่อวันที่ 26 มิ.ย. 2551 โดยระบุว่าสาเหตุที่ ขสมก.ต้องมีการเช่ารถโดยสารปรับอากาศ เอ็นจีวี 6,000 คัน และใช้ระบบเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (E-Ticket) แทนพนักงานเก็บค่าโดยสารนั้น เนื่องจากพนักงานมีการทุจริตลักลอบดูดน้ำมันไปขายและพนักงานเก็บค่าโดยสารทุจริตตั๋วโดยสาร ซึ่งสหภาพฯขสมก.ระบุว่า ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 15 มิ.ย. และ22 มิ.ย.นายกฯได้กล่าวในลักษณะแบบนี้มาแล้ว ถึงทำให้พนักงานเสียหาย และได้ยื่นหนังสือเปิดผนึกให้ตั้งคณะกรรมการจากทำเนียบรัฐบาลมาตรวจสอบเพื่อพิสูจน์ข้อกล่าวหาเพื่อลงโทษหากพบมีการกระทำผิดจริงดีกว่า กล่าวหากันลอยๆ โดยขาดหลักฐานข้อเท็จจริง และทำให้สังคมเข้าใจผิดคิดว่าการที่พนักงานทุจริตจึงทำให้ขสมก.ขาดทุน ซึ่งสหภาพฯ เห็นว่าการกระทำของนายกฯไม่เหมาะสม โดยจะประชุมเพื่อหามาตรการตอบโต้ต่อไป
นอกจากนี้ สหภาพฯ ยังคัดค้านการยกเลิกเดินรถร้อนและเห็นควรให้ ขสมก. คงรถร้อนและรถปรับอากาศในสัดส่วนที่เท่ากัน เพื่อเป็นทางเลือกใช้บริการและช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพของประชาชนที่สูงขึ้น