ผู้จัดการรายวัน - สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย แนะรัฐบาลให้สนใจพัฒนาเยาวชนด้วยการอ่านหนังสือ เตรียมร่างหนังสือถึงกระทรวงการคลัง พิจารณาให้ลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ที่ซื้อหนังสือเพื่อบริจาค หวังยืมมือเอกชน ช่วยกระตุ้นเด็กไทยรักการอ่าน หลังเวียดนามทำสถิติการอ่านหนังสือเลยหน้าไปหลายขุม 60 เล่มต่อคนต่อปี ส่วนเด็กไทยจิ๊บจ๊อยแค่ 2 เล่มต่อคนต่อปี
นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(ส.พ.จ.ท.) เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯเตรียมร่างหนังสือเพื่อยื่นเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงการขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ซื้อหนังสือเพื่อนำไปบริจาค ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือเท่ากับการบริจาคในรูปแบบอื่นๆก็ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะทำให้เด็กไทยมีหนังสืออ่านเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น เพื่อมาจัดซื้อหนังสือและสร้างห้องสมุด ล่าสุดได้ยื่นหนังสือขอเข้าพบนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว. กระทรวงการคลังไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"ในแต่ละปีงบประมาณเพื่อจัดซื้อหนังสือและสร้างห้องสมุดของรัฐบาลมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของไทย ทำให้การอ่านหนังสือของเยาชน และ คนไทย มีการพัฒนาอย่างล่าช้า จะมีการตื่นตัวเรื่องการอ่านก็เพราะสังคมในเมืองหลวงและเมืองใหญ่เท่านั้น ดังนั้น หากรัฐสามารถสร้างแรงจูงใจเชิญชวนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดซื้อหนังสือไปบริจาคให้เด็กในชนบทได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะสามารถเป็นกิจกรรม CSR ที่ทุกองค์กรเอกชนอาจหยิบขึ้นมาดำเนินการ ช่วยพัฒนาเด็กไทยได้อีกแรงหนึ่ง "
นอกจากนั้นยังต้องการให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชนจากการอ่านหนังสือ เพื่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต โดยกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยไม่จำกัดแค่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่ให้หน่วยงานของรัฐบาล ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับประชากรของประเทศ ได้ร่วมดำเนินการและกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อการพัฒนาร่วมกัน เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานเรื่องของสถานพินิจเด็กและเยาวชนด้วย เป็นต้น ซึ่งแนวคิดนี้ก็ได้เสนอ ไปยังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่เดือนเมษายน เช่นกัน
"สถิติการอ่านหนังสือของเด็กไทยต่อปีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียด้วยกันคือเฉลี่ยเพียง 2 เล่มต่อปี โดยสิงคโปร์ มีการอ่านเป็นอันดับ 1 ขณะที่มาเลเซียก็มีการอ่านมากกว่าเรา แม้กระทั่งประเทศเวียดนามซึ่งรัฐบาลเขาเห็นความสำคัญเรื่องการพัฒนาคนด้วยการอ่านหนังสื่อ จึงมีนโยบายสนับสนุนชัดเจน ปัจจุบันเด็กเวียดนามอ่านหนังสือเฉลี่ย 50-60 เล่มต่อปี ดังนั้นรัฐบาลไทยก็น่าที่จะหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้เช่นกัน เพราะเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศที่ควรใส่ใจดูแล"
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการกระตุ้นเด็กไทยให้เข้าถึง และเปิดกว้างทางความรู้ด้วยการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ และการใช้หนังสือเพื่อเป็นเครื่องมือในการก่อเกิดความรู้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จึงได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และ กรุงเทพมหานคร จัดงาน"เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 6" โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 ก.ค.51 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้แนวคิด "สวนสุข สนุกอ่าน" เพื่อให้เกิดความลงตัวระหว่างสื่อการเรียนรู้สมัยโบราณและสมัยใหม่ ที่จะจูงใจให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีผู้เข้าชมงานราว 1 แสนคนต่อวัน ขณะที่ปีนี้ตรงกับช่วงวันหยุดเทศกาลเข้าพรรษา หากครอบครัวใดไม่ได้เดินทางออกไปเที่ยวก็น่าที่จะสนใจมาเที่ยวชมงานนี้ได้มากกว่าปีก่อน ส่วนรูปแบบงาน แบ่งออกเป็น 3 -4 โซน ครอบคลุมเด็กทุกวัย มีการแสดงนิทรรศการของเล่นสมัยคุณปู่ปะทะคอมมิค เฟสติวัล พร้อมกิจกรรมบันเทิงอื่นๆอีกมากมาย
นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(ส.พ.จ.ท.) เปิดเผยว่า ทางสมาคมฯเตรียมร่างหนังสือเพื่อยื่นเสนอต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ถึงการขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาลดหย่อนภาษีให้แก่ผู้ซื้อหนังสือเพื่อนำไปบริจาค ซึ่งอาจจะมากกว่าหรือเท่ากับการบริจาคในรูปแบบอื่นๆก็ได้ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะทำให้เด็กไทยมีหนังสืออ่านเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลไม่ต้องจัดสรรงบประมาณเพิ่มขึ้น เพื่อมาจัดซื้อหนังสือและสร้างห้องสมุด ล่าสุดได้ยื่นหนังสือขอเข้าพบนายแพทย์สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รมว. กระทรวงการคลังไปแล้ว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
"ในแต่ละปีงบประมาณเพื่อจัดซื้อหนังสือและสร้างห้องสมุดของรัฐบาลมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของไทย ทำให้การอ่านหนังสือของเยาชน และ คนไทย มีการพัฒนาอย่างล่าช้า จะมีการตื่นตัวเรื่องการอ่านก็เพราะสังคมในเมืองหลวงและเมืองใหญ่เท่านั้น ดังนั้น หากรัฐสามารถสร้างแรงจูงใจเชิญชวนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดซื้อหนังสือไปบริจาคให้เด็กในชนบทได้ก็จะเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะสามารถเป็นกิจกรรม CSR ที่ทุกองค์กรเอกชนอาจหยิบขึ้นมาดำเนินการ ช่วยพัฒนาเด็กไทยได้อีกแรงหนึ่ง "
นอกจากนั้นยังต้องการให้รัฐบาลหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาเยาวชนจากการอ่านหนังสือ เพื่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต โดยกำหนดให้การอ่านเป็นวาระแห่งชาติ โดยไม่จำกัดแค่อยู่ในความรับผิดชอบของกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น แต่ให้หน่วยงานของรัฐบาล ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับประชากรของประเทศ ได้ร่วมดำเนินการและกำหนดทิศทางการทำงานเพื่อการพัฒนาร่วมกัน เช่น กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงสาธารณสุข รวมถึงกระทรวงยุติธรรม ซึ่งมีหน้าที่ดูแลงานเรื่องของสถานพินิจเด็กและเยาวชนด้วย เป็นต้น ซึ่งแนวคิดนี้ก็ได้เสนอ ไปยังนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตั้งแต่เดือนเมษายน เช่นกัน
"สถิติการอ่านหนังสือของเด็กไทยต่อปีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียด้วยกันคือเฉลี่ยเพียง 2 เล่มต่อปี โดยสิงคโปร์ มีการอ่านเป็นอันดับ 1 ขณะที่มาเลเซียก็มีการอ่านมากกว่าเรา แม้กระทั่งประเทศเวียดนามซึ่งรัฐบาลเขาเห็นความสำคัญเรื่องการพัฒนาคนด้วยการอ่านหนังสื่อ จึงมีนโยบายสนับสนุนชัดเจน ปัจจุบันเด็กเวียดนามอ่านหนังสือเฉลี่ย 50-60 เล่มต่อปี ดังนั้นรัฐบาลไทยก็น่าที่จะหันมาให้ความสำคัญเรื่องนี้เช่นกัน เพราะเยาวชนเป็นทรัพยากรที่มีค่าที่สุดของประเทศที่ควรใส่ใจดูแล"
อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการกระตุ้นเด็กไทยให้เข้าถึง และเปิดกว้างทางความรู้ด้วยการปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน การใช้ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ และการใช้หนังสือเพื่อเป็นเครื่องมือในการก่อเกิดความรู้ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จึงได้ร่วมกับ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) และ กรุงเทพมหานคร จัดงาน"เทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 6" โดยปีนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 ก.ค.51 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ภายใต้แนวคิด "สวนสุข สนุกอ่าน" เพื่อให้เกิดความลงตัวระหว่างสื่อการเรียนรู้สมัยโบราณและสมัยใหม่ ที่จะจูงใจให้เด็ก เยาวชน และผู้ปกครองสนใจเข้าร่วมงานเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีผู้เข้าชมงานราว 1 แสนคนต่อวัน ขณะที่ปีนี้ตรงกับช่วงวันหยุดเทศกาลเข้าพรรษา หากครอบครัวใดไม่ได้เดินทางออกไปเที่ยวก็น่าที่จะสนใจมาเที่ยวชมงานนี้ได้มากกว่าปีก่อน ส่วนรูปแบบงาน แบ่งออกเป็น 3 -4 โซน ครอบคลุมเด็กทุกวัย มีการแสดงนิทรรศการของเล่นสมัยคุณปู่ปะทะคอมมิค เฟสติวัล พร้อมกิจกรรมบันเทิงอื่นๆอีกมากมาย