นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ สนทนาประสาสมัคร ถึงเรื่องสุนทรภู่ กวีเอกของไทย ว่า ตามประวัติศาสตร์ 200 ปีก่อน คนดังของไทยที่ขึ้นอันดับโลกคือ สุนทรภู่ ซ฿งผลงานของสุนทรภู่นั้น เป็นงานกลอนเป็นส่วนใหญ่ มีโคลงบ้าง มีกลอนบ้าง ซึ่งเมื่อวันที่ 26 มิ.ย.ที่ผ่านมา ก็มีการสัมมนา ที่วัดเทพธิดาราม เนื่องในวันสุนทรภู่
นายสมัคร กล่าวว่า สุนทรภู่ เป็นคนในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ท่านอายุยืน แล้วความเปลี่ยนแปลงของท่านคือ ว่า ท่านเขียนกลอน เขียนลงบนกระดาษสาที่พับไปพับมาเป็นสมุดข่อย แล้วท่านก็เขียน แล้วเอามาพิมพ์ การถ่ายทอดพิมพ์ กลอนสุนทรภู่นั้น ที่ดังจริง ๆ เรื่องพระอภัยมณี อ่านแล้วก็ต้องคิด เราอ่านแล้วก็สุนทรภู่ ทำไมคิดได้อย่างนี้ เพราะว่าคนดังเขาชื่อ จูลส์ เวิร์น เป็นคนดังของต่างประเทศ เขาเขียนนวนิยาย 150 ปีครับ เขาเขียนหลังสุนทรภู่ ซึ่งสุนทรภู่เขียนก่อนประมาณ 30 ปี เขียนทัศนคติอย่างเดียวกัน เรือดำน้ำต่างๆ เสกไปโน่นไป อะไรต่าง ๆ เรือกัปตันเนโม เรื่อง Twenty Thousand Leagues under The Sea เป็นเรื่องที่คาดคิดว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร สุนทรภู่ ก็เขียนอย่างนั้น ไปอ่านดูท่านจับผสมผสาน
"ผมนั่งดู ก็ดูว่าถ้าดูภาพ 150 ปีประเทศไทยเขายังถ่ายภาพเรือสำเภาจอดเป็นแถวเลย หน้าวัดแจ้ง วัดอรุณราชวราราม เรือสำเภา 3 เสา 4 เสา ความโบราณ แล้วย้อนลงไปสิครับ ตอนสุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ขี้เมา แล้วยังเขียนอะไรต่าง ๆนั้น ท่านต้องได้อะไรมา เขาก็บอกว่าเรื่องอาหรับราตรี พันหนึ่งราตรี นี้นะครับ สุนทรภู่ ต้องได้เคยสนทนากับผู้คน ซึ่งเป็นกะลาสี ต้องมีคนซึ่งต้องพูด ต้องแปลความ ต้องได้เค้าโครงจากพวกยุโรป แล้วดัดแปลงเป็นเรื่องพระอภัยมณี เมื่อ 2 - 3 วัน ปี่พระอภัยมณีหาย ปี่หายครับ พระอภัยมณีปี่ถูกขโมย 2 - 3 วันก็ถูกเอาไปทิ้งไว้ในกองขยะ ต้องทำพิธีกัน เขาต้องแห่ มีรถมา ต้องอัญเชิญปี่ ของเก่าเขาเสียบไว้อย่างไรไม่ทราบได้
" ผมก็ว่าเขาเป็นพระอภัยมณี เมื่อวันที่ 26 ตั้งแต่นั้น เขาเอากลอนของสุนทรภู่มาดัดแปลงอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่เมาเหล้า แต่เราเมารัก เขาเขียนกลอนล้อสุนทรภู่ ผมไม่กล้าล้อหรอกครับ แต่ว่าผมอยากจะคิด คือ อ่านกลอนแล้วก็คิด ผมคิดมาหลายเวทีแล้ว วันนี้มีเวลาพอสมควร การบ้านเมืองไม่ได้ตึงเครียดอะไรนักหนา ก็เลยคิดถึงกลอนสุนทรภู่ ท่านทั้งหลายลองคิดดูนะครับว่า ไม่ใช่ไปจับผิดท่านนะ ผมสงสัยว่าคนคัดลอกนั้นคัดลอกถูกหรือเปล่า จะถามท่านๆ ก็ล่วงลับไปแล้ว 200 กว่าปี ก็ไม่ได้ คือกระทรวงศึกษาธิการ เอามาทำอาขยาน ผมใช้งานบ่อยครับ กลอนอันนี้ของท่าน เป็นต้นฉบับในการที่สอนให้เขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน " ตรงที่ว่าอาขยานคืบเดียวนะครับ สุดสาครตกเหว ชีเปลือยผลักตกเหว แล้วเอาม้ามังกรไป ตรงนี้อาขยายเขาพูดใครๆ ก็จำได้ คนอื่นก็จำได้ ที่บอกว่า ตกไปอยู่ก้นเหว แล้วโยคีก็มาช่วย พระฤาษีมาช่วยเอาขึ้นไป ว่า บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปยังบรรพต ตรงนี้ละครับ ผมมานั่งอ่านแล้วมันคัดมาถูกหรือเปล่านี่ คือว่าตามภาพที่เห็นก็คือว่า สุดสาครตกนอนอยู่ก้นเหว แล้วเสียงหง่างเหง่งวังเวงแว่ว เสียงระฆังมา สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา กลอนสุนทรภู่นี่เพราะครับ สัมผัสนอกสัมผัสใน บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปยังบรรพต ผมข้องใจตรงนี้ว่า คัดมาถูกหรือเปล่า ทำไมพุ่งออกมา พุ่งออกมาตรงไหน สุดสาครนอนอยู่ก้นเหว พุ่งออกมาจากถ้ำหรือ พุ่งออกมาตรงไหน โยคีขี่รุ้ง รุ้งทำไมจะไปอยู่ตรงพุ่งแล้วออกมา ผมก็คิดของผมง่ายๆ ว่าน่าจะเป็นว่าเห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งลงมา พุ่งลงมาถูกไหมครับ แล้วประคองพาขึ้นไปยังบรรพต นี่ก็เรียกวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดี มีเหตุผลไหมครับ
ผมถึงอยากจะดู ยังหาโอกาสไปดูสมุดข่อยต้นฉบับไม่ได้ว่า เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ว่าสุนทรภู่เขียนไว้ถูกต้องว่าพุ่งลงมา ลงกับออกนี้ ก็ห่างกัน ถ้าบังเอิญคิดว่าถ้าหากว่าเขียนว่า เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ถ้าผมได้เจอท่านสุนภรภู่แล้ว จะถาม แล้วท่านสุนทรภู่ทำไมพุ่งออกมา ออกมาจากตรงไหน ออกมาจากถ้ำใต้ๆ ที่สุดสาครนอนหรือ แล้วจะประคองพาขึ้นไป โยคีขี่รุ้ง ขี่รุ้งๆ ไม่ได้อยู่ใต้ดิน รุ้งอยู่ข้างบนนะครับ ถ้าเจอสุนทรภู่ ก็คงคุยกันสนุกละครับ แต่ว่าก็วานสมาคมนักกลอนด้วย เขาไม่ค่อยหยิบประเด็นนี้มาหรอกครับ ก็นึกถึงสุนทรภู่ ยังมีอีกนะครับ ยังมีอีกครับ เพราะว่าเป็นเรื่องปรัมปรา พูดจาท้าทายอะไรกันต่างๆ นี่ข้อสังเกตชของผมนะครับ นี่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์พอสนุก คือต่อไปเขาบอกว่า สอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ยังไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน มนุษย์นี้ที่รักมีสองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา แม้นใครรักรักบ้างชังๆ ตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี สุนทรภู่ก็เกือบ 200 ปีนะครับ เขียนตรงนี้ แต่ ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ (Lord Baden Powell) 70 - 80 ปี อาจจะกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงเอางานของลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ คือลูกเสือ boy scout ท่านก็เอามาในประเทศไทย ลูกเสือนี่สถิตสถาพรในประเทศไทย
"วันนี้วันที่ 29 พรุ่งนี้ 30 มะรืนนี้ 31 วันลูกเสือแห่งชาติ ต้องไปเดินสวนสนาม เห็นไหมครับลูกเสือเขาวันทยหัต เขาต้อง 3 นิ้ว แล้วเขาจะต้องบอกว่า คุณต้องช่วยคนอื่นนะลูกเสือ ลูกเสือต้องช่วยคนอื่น ถ้าตกน้ำลูกเสือต้องโดดน้ำ ต้องว่ายน้ำเป็นครับ ต้องช่วยคนอื่นก่อน ก่อนจะช่วยชีวิตตัวเองต้องช่วยคนอื่น ถ้า ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ มาอ่านสุนทรภู่บอก สุนทรภู่ว่าอย่างนี้ได้อย่างไร รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา แต่รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ถ้าคนเอาตัวรอดหมดวิชาลูกเสือเกิดไม่ได้หรอกครับ ลูกเสือช่วยคนอื่น เห็นไหมครับ
**กลอนสวัสดิรักษาเขียนตอนเมา
มีอีกอันหนึ่งครับ ฝากไปหลายครั้งเขาก็ไม่รับฟัง คือสุนทรภู่ตอนที่ไปบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ข้าง กทม. มีกุฏิสุนทรภู่ มีกาต้มน้ำ เขาเก็บเขาทำไว้ ว่าสุนทรภู่มาบวชอยู่ที่วัดนี้ แล้วเขียนหนังสือพิราบ รำพัน สวัสดิรักษา ก็เขียนที่นี่ สวัสดิรักษาเป็นเรื่องที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับว่า คนเราจะต้องยังไง ๆ ตื่นเช้าต้องล้างหน้า ต้องอะไรต่ออะไรต่างๆ แล้วจะบอกว่า วันจะแต่งตัวจะอะไรสีตามวัน ตามวันถามว่า แล้วสุนทรภู่เขียนสวัสดิรักษาว่าอย่างไรครับ นี่ สีตามวันของไทยของฝรั่งตรงกันครับ วันอาทิตย์สีแดง วันจันทร์สีเหลือง วันอังคารสีชมพู วันพุธสีเขียว วันพฤหัสบดีสีแสด วันศุกร์สีเมฆหมอก สีฟ้า แล้ววันเสาร์สีดำ เขาเชื่อกันอย่างนี้ ฝรั่งก็อย่างนี้ แต่ไปถามกรมศิลปากรสิครับ กรมศิลปากรอ่านสวัสดิรักษา เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาที่เล่นอะไรที่เกี่ยวกับสี 7 วัน กรมศิลปากรทำตามสวัสดิรักษาของสุนทรภู่ แต่ว่าไม่ตรงกับความเชื่อ กำลังนี้ ผมก็ไปเสาะหาว่ามันอย่างไร สวัสดิรักษาเขียนอย่างนี้ครับ
อนึ่งภูผาผ้าทรงณรงค์รบ มีให้ครบเบ็ดเสร็จทั้ง 7 สี วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล วันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว นวลขาวเหลืองเหมือนกันครับ จะยืนยาวชันษาสถาผล แต่งสีเหลืองแล้วอายุยืน อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน ก็ยังม่วง สีม่วงอ่อน ๆ ก็ชมพูละครับ อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยาไม่ราคี เพราะฉะนั้นวันพุธสีเขียวครับ วันพุธสีเขียวตามที่สอบมาคนโบราณเล่าต่อกันมา เขาบอกสุนทรภู่ท่านเป็นอาลักษณ์ขี้เมา เวลาท่านเขียนๆ ไว้บนกระดานชนวน เขียนแล้วก็มาบันทึกลงสมุดข่อย เขาว่าท่านเมาครับ เขียนวันอังคาร อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยา ไม่ราคี พอถึงวันพุธท่านเขียนตอนเมาบอกว่า วันพุธดุษฎีด้วยสีเขียว ไปยืนเยี่ยวข้างฝาเป็นห่าฝน ลูกศิษย์เห็นปั๊บก็ลอกไปทันทีเลย พอได้สีเขียว สุนทรภู่ตื่นขึ้นมา อ้าวเขียนอย่างนี้ได้อย่างไร วันพุธดุษฎีนุ่งสีเขียว ยืนเยี่ยวข้างฝาเป็นห่าฝน ท่านลบออกสิครับ ในสวัสดิรักษาจริงๆ นี้วันพุธไม่ได้สีเขียวนะครับ วันพุธดุษฎีด้วยสีแสดครับ กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี พฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม สีเทาสีฟ้า วันเสาร์ทรงดำดูล้ำเลิศ จะประเสริฐเสี้ยนศึก ยังนึกขาม ทั้งภาคีขี่ขับขยับนามต้องให้ตามสีวันจะกันภัย
ไปดูศิลปากรเล่นอะไรถ้าเปรียบกับ 7 สี วันพุธจะต้องเป็นสีแสด แล้ววันพฤหัสบดีถึงจะเป็นสีเขียวเหลือบ แน่นอนเลยครับ กลอนสวัสดิรักษายังพิมพ์ให้อ่านกันอยู่ แต่ถามสิครับว่า สุนทรภู่บอกวันพุธดุษฎีด้วยสีแสด แล้วทำไมคนไทยทั้งประเทศใช้สีเขียวกัน เรื่องนี้ไม่เจอสุนทรภู่ครับ นึกถึงท่านนะครับ ก็เอามาเล่าให้ฟัง อย่างนั้นเอง แต่ว่ากลอนสุนทรภู่นั้นท่านเขียนสัมผัสจนกระทั่งเจ้านายบางคนรับสั่งไว้ว่าเบื่อสัมผัสของ สุนทรภู่ แต่ว่าท่านสัมผัสยอดจริง ๆ คือสัมผัสแล้วต้องเป็นความภาคภูมิใจเลยว่าบทสัมผัสของเราของกลอนแปด ถ้าเทียบกับกลอนฝรั่งแล้ว ฝรั่งหลุดไปไกลเลยเชียวครับ
**คนระยองโวย"หมัก"ดูถูกสุนทรภู่
นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร กล่าวถึง บทกลอนของสุนทรภู่ ในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" ที่มีการตำหนิการเขียนของสุนทรภู่ว่าไม่ถูกต้อง เขียนตอนเมา ว่า ในฐานะที่ตนเป็นคนจังหวัดระยอง เป็นลูกหลานสุนทรภู่ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีไม่ควรมาตำหนิว่าผิดหรือถูก อย่างไร เพราะขณะนี้สุนทรภู่ได้เป็นกวีเอกของโลกไปแล้ว นายกรัฐมนตรี ควรจะใช้เวลาในรายการพูดถึงการแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่า ซึ่งเมื่อเช้าก็ไม่ได้พูดถึงการปรับ ครม. ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่มีการปรับปรุงตัวแต่อย่างใด นายกรัฐมนตรี คงจะอายุมากแล้ว จำผิดแม้กระทั้งวันลูกเสือโลก ว่าเป็นวันที่ 31 มิ.ย. ทั้งที่จริง เป็นวันที่ 31 ก.ค.
นายสมัคร กล่าวว่า สุนทรภู่ เป็นคนในสมัยรัชกาลที่ 1 ที่ 2 ที่ 3 ท่านอายุยืน แล้วความเปลี่ยนแปลงของท่านคือ ว่า ท่านเขียนกลอน เขียนลงบนกระดาษสาที่พับไปพับมาเป็นสมุดข่อย แล้วท่านก็เขียน แล้วเอามาพิมพ์ การถ่ายทอดพิมพ์ กลอนสุนทรภู่นั้น ที่ดังจริง ๆ เรื่องพระอภัยมณี อ่านแล้วก็ต้องคิด เราอ่านแล้วก็สุนทรภู่ ทำไมคิดได้อย่างนี้ เพราะว่าคนดังเขาชื่อ จูลส์ เวิร์น เป็นคนดังของต่างประเทศ เขาเขียนนวนิยาย 150 ปีครับ เขาเขียนหลังสุนทรภู่ ซึ่งสุนทรภู่เขียนก่อนประมาณ 30 ปี เขียนทัศนคติอย่างเดียวกัน เรือดำน้ำต่างๆ เสกไปโน่นไป อะไรต่าง ๆ เรือกัปตันเนโม เรื่อง Twenty Thousand Leagues under The Sea เป็นเรื่องที่คาดคิดว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร สุนทรภู่ ก็เขียนอย่างนั้น ไปอ่านดูท่านจับผสมผสาน
"ผมนั่งดู ก็ดูว่าถ้าดูภาพ 150 ปีประเทศไทยเขายังถ่ายภาพเรือสำเภาจอดเป็นแถวเลย หน้าวัดแจ้ง วัดอรุณราชวราราม เรือสำเภา 3 เสา 4 เสา ความโบราณ แล้วย้อนลงไปสิครับ ตอนสุนทรภู่เป็นอาลักษณ์ขี้เมา แล้วยังเขียนอะไรต่าง ๆนั้น ท่านต้องได้อะไรมา เขาก็บอกว่าเรื่องอาหรับราตรี พันหนึ่งราตรี นี้นะครับ สุนทรภู่ ต้องได้เคยสนทนากับผู้คน ซึ่งเป็นกะลาสี ต้องมีคนซึ่งต้องพูด ต้องแปลความ ต้องได้เค้าโครงจากพวกยุโรป แล้วดัดแปลงเป็นเรื่องพระอภัยมณี เมื่อ 2 - 3 วัน ปี่พระอภัยมณีหาย ปี่หายครับ พระอภัยมณีปี่ถูกขโมย 2 - 3 วันก็ถูกเอาไปทิ้งไว้ในกองขยะ ต้องทำพิธีกัน เขาต้องแห่ มีรถมา ต้องอัญเชิญปี่ ของเก่าเขาเสียบไว้อย่างไรไม่ทราบได้
" ผมก็ว่าเขาเป็นพระอภัยมณี เมื่อวันที่ 26 ตั้งแต่นั้น เขาเอากลอนของสุนทรภู่มาดัดแปลงอย่างโน้นอย่างนี้ ไม่เมาเหล้า แต่เราเมารัก เขาเขียนกลอนล้อสุนทรภู่ ผมไม่กล้าล้อหรอกครับ แต่ว่าผมอยากจะคิด คือ อ่านกลอนแล้วก็คิด ผมคิดมาหลายเวทีแล้ว วันนี้มีเวลาพอสมควร การบ้านเมืองไม่ได้ตึงเครียดอะไรนักหนา ก็เลยคิดถึงกลอนสุนทรภู่ ท่านทั้งหลายลองคิดดูนะครับว่า ไม่ใช่ไปจับผิดท่านนะ ผมสงสัยว่าคนคัดลอกนั้นคัดลอกถูกหรือเปล่า จะถามท่านๆ ก็ล่วงลับไปแล้ว 200 กว่าปี ก็ไม่ได้ คือกระทรวงศึกษาธิการ เอามาทำอาขยาน ผมใช้งานบ่อยครับ กลอนอันนี้ของท่าน เป็นต้นฉบับในการที่สอนให้เขียนโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน " ตรงที่ว่าอาขยานคืบเดียวนะครับ สุดสาครตกเหว ชีเปลือยผลักตกเหว แล้วเอาม้ามังกรไป ตรงนี้อาขยายเขาพูดใครๆ ก็จำได้ คนอื่นก็จำได้ ที่บอกว่า ตกไปอยู่ก้นเหว แล้วโยคีก็มาช่วย พระฤาษีมาช่วยเอาขึ้นไป ว่า บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปยังบรรพต ตรงนี้ละครับ ผมมานั่งอ่านแล้วมันคัดมาถูกหรือเปล่านี่ คือว่าตามภาพที่เห็นก็คือว่า สุดสาครตกนอนอยู่ก้นเหว แล้วเสียงหง่างเหง่งวังเวงแว่ว เสียงระฆังมา สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา กลอนสุนทรภู่นี่เพราะครับ สัมผัสนอกสัมผัสใน บัดเดี๋ยวดังหง่างเหง่งวังเวงแว่ว สะดุ้งแล้วเหลียวแลชะแง้หา เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ประคองพาขึ้นไปยังบรรพต ผมข้องใจตรงนี้ว่า คัดมาถูกหรือเปล่า ทำไมพุ่งออกมา พุ่งออกมาตรงไหน สุดสาครนอนอยู่ก้นเหว พุ่งออกมาจากถ้ำหรือ พุ่งออกมาตรงไหน โยคีขี่รุ้ง รุ้งทำไมจะไปอยู่ตรงพุ่งแล้วออกมา ผมก็คิดของผมง่ายๆ ว่าน่าจะเป็นว่าเห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งลงมา พุ่งลงมาถูกไหมครับ แล้วประคองพาขึ้นไปยังบรรพต นี่ก็เรียกวิพากษ์วิจารณ์วรรณคดี มีเหตุผลไหมครับ
ผมถึงอยากจะดู ยังหาโอกาสไปดูสมุดข่อยต้นฉบับไม่ได้ว่า เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ว่าสุนทรภู่เขียนไว้ถูกต้องว่าพุ่งลงมา ลงกับออกนี้ ก็ห่างกัน ถ้าบังเอิญคิดว่าถ้าหากว่าเขียนว่า เห็นโยคีขี่รุ้งพุ่งออกมา ถ้าผมได้เจอท่านสุนภรภู่แล้ว จะถาม แล้วท่านสุนทรภู่ทำไมพุ่งออกมา ออกมาจากตรงไหน ออกมาจากถ้ำใต้ๆ ที่สุดสาครนอนหรือ แล้วจะประคองพาขึ้นไป โยคีขี่รุ้ง ขี่รุ้งๆ ไม่ได้อยู่ใต้ดิน รุ้งอยู่ข้างบนนะครับ ถ้าเจอสุนทรภู่ ก็คงคุยกันสนุกละครับ แต่ว่าก็วานสมาคมนักกลอนด้วย เขาไม่ค่อยหยิบประเด็นนี้มาหรอกครับ ก็นึกถึงสุนทรภู่ ยังมีอีกนะครับ ยังมีอีกครับ เพราะว่าเป็นเรื่องปรัมปรา พูดจาท้าทายอะไรกันต่างๆ นี่ข้อสังเกตชของผมนะครับ นี่เป็นข้อวิพากษ์วิจารณ์พอสนุก คือต่อไปเขาบอกว่า สอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด ยังไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน มนุษย์นี้ที่รักมีสองสถาน บิดามารดารักมักเป็นผล ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา แม้นใครรักรักบ้างชังๆ ตอบ ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี สุนทรภู่ก็เกือบ 200 ปีนะครับ เขียนตรงนี้ แต่ ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ (Lord Baden Powell) 70 - 80 ปี อาจจะกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงเอางานของลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ คือลูกเสือ boy scout ท่านก็เอามาในประเทศไทย ลูกเสือนี่สถิตสถาพรในประเทศไทย
"วันนี้วันที่ 29 พรุ่งนี้ 30 มะรืนนี้ 31 วันลูกเสือแห่งชาติ ต้องไปเดินสวนสนาม เห็นไหมครับลูกเสือเขาวันทยหัต เขาต้อง 3 นิ้ว แล้วเขาจะต้องบอกว่า คุณต้องช่วยคนอื่นนะลูกเสือ ลูกเสือต้องช่วยคนอื่น ถ้าตกน้ำลูกเสือต้องโดดน้ำ ต้องว่ายน้ำเป็นครับ ต้องช่วยคนอื่นก่อน ก่อนจะช่วยชีวิตตัวเองต้องช่วยคนอื่น ถ้า ลอร์ด บาเดน เพาเวลล์ มาอ่านสุนทรภู่บอก สุนทรภู่ว่าอย่างนี้ได้อย่างไร รู้อะไรก็ไม่สู้รู้วิชา แต่รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี ถ้าคนเอาตัวรอดหมดวิชาลูกเสือเกิดไม่ได้หรอกครับ ลูกเสือช่วยคนอื่น เห็นไหมครับ
**กลอนสวัสดิรักษาเขียนตอนเมา
มีอีกอันหนึ่งครับ ฝากไปหลายครั้งเขาก็ไม่รับฟัง คือสุนทรภู่ตอนที่ไปบวชอยู่ที่วัดเทพธิดาราม ข้าง กทม. มีกุฏิสุนทรภู่ มีกาต้มน้ำ เขาเก็บเขาทำไว้ ว่าสุนทรภู่มาบวชอยู่ที่วัดนี้ แล้วเขียนหนังสือพิราบ รำพัน สวัสดิรักษา ก็เขียนที่นี่ สวัสดิรักษาเป็นเรื่องที่เขียนเรื่องเกี่ยวกับว่า คนเราจะต้องยังไง ๆ ตื่นเช้าต้องล้างหน้า ต้องอะไรต่ออะไรต่างๆ แล้วจะบอกว่า วันจะแต่งตัวจะอะไรสีตามวัน ตามวันถามว่า แล้วสุนทรภู่เขียนสวัสดิรักษาว่าอย่างไรครับ นี่ สีตามวันของไทยของฝรั่งตรงกันครับ วันอาทิตย์สีแดง วันจันทร์สีเหลือง วันอังคารสีชมพู วันพุธสีเขียว วันพฤหัสบดีสีแสด วันศุกร์สีเมฆหมอก สีฟ้า แล้ววันเสาร์สีดำ เขาเชื่อกันอย่างนี้ ฝรั่งก็อย่างนี้ แต่ไปถามกรมศิลปากรสิครับ กรมศิลปากรอ่านสวัสดิรักษา เพราะฉะนั้นเมื่อเวลาที่เล่นอะไรที่เกี่ยวกับสี 7 วัน กรมศิลปากรทำตามสวัสดิรักษาของสุนทรภู่ แต่ว่าไม่ตรงกับความเชื่อ กำลังนี้ ผมก็ไปเสาะหาว่ามันอย่างไร สวัสดิรักษาเขียนอย่างนี้ครับ
อนึ่งภูผาผ้าทรงณรงค์รบ มีให้ครบเบ็ดเสร็จทั้ง 7 สี วันอาทิตย์สิทธิโชคโฉลกดี เอาเครื่องสีแดงทรงเป็นมงคล วันจันทร์นั้นควรสีนวลขาว นวลขาวเหลืองเหมือนกันครับ จะยืนยาวชันษาสถาผล แต่งสีเหลืองแล้วอายุยืน อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน ก็ยังม่วง สีม่วงอ่อน ๆ ก็ชมพูละครับ อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยาไม่ราคี เพราะฉะนั้นวันพุธสีเขียวครับ วันพุธสีเขียวตามที่สอบมาคนโบราณเล่าต่อกันมา เขาบอกสุนทรภู่ท่านเป็นอาลักษณ์ขี้เมา เวลาท่านเขียนๆ ไว้บนกระดานชนวน เขียนแล้วก็มาบันทึกลงสมุดข่อย เขาว่าท่านเมาครับ เขียนวันอังคาร อังคารม่วงช่วงงามสีครามปน เป็นมงคลขัตติยา ไม่ราคี พอถึงวันพุธท่านเขียนตอนเมาบอกว่า วันพุธดุษฎีด้วยสีเขียว ไปยืนเยี่ยวข้างฝาเป็นห่าฝน ลูกศิษย์เห็นปั๊บก็ลอกไปทันทีเลย พอได้สีเขียว สุนทรภู่ตื่นขึ้นมา อ้าวเขียนอย่างนี้ได้อย่างไร วันพุธดุษฎีนุ่งสีเขียว ยืนเยี่ยวข้างฝาเป็นห่าฝน ท่านลบออกสิครับ ในสวัสดิรักษาจริงๆ นี้วันพุธไม่ได้สีเขียวนะครับ วันพุธดุษฎีด้วยสีแสดครับ กับเหลือบแปดปนประดับสลับสี พฤหัสจัดเครื่องเขียวเหลืองดี วันศุกร์สีเมฆหมอกออกสงคราม สีเทาสีฟ้า วันเสาร์ทรงดำดูล้ำเลิศ จะประเสริฐเสี้ยนศึก ยังนึกขาม ทั้งภาคีขี่ขับขยับนามต้องให้ตามสีวันจะกันภัย
ไปดูศิลปากรเล่นอะไรถ้าเปรียบกับ 7 สี วันพุธจะต้องเป็นสีแสด แล้ววันพฤหัสบดีถึงจะเป็นสีเขียวเหลือบ แน่นอนเลยครับ กลอนสวัสดิรักษายังพิมพ์ให้อ่านกันอยู่ แต่ถามสิครับว่า สุนทรภู่บอกวันพุธดุษฎีด้วยสีแสด แล้วทำไมคนไทยทั้งประเทศใช้สีเขียวกัน เรื่องนี้ไม่เจอสุนทรภู่ครับ นึกถึงท่านนะครับ ก็เอามาเล่าให้ฟัง อย่างนั้นเอง แต่ว่ากลอนสุนทรภู่นั้นท่านเขียนสัมผัสจนกระทั่งเจ้านายบางคนรับสั่งไว้ว่าเบื่อสัมผัสของ สุนทรภู่ แต่ว่าท่านสัมผัสยอดจริง ๆ คือสัมผัสแล้วต้องเป็นความภาคภูมิใจเลยว่าบทสัมผัสของเราของกลอนแปด ถ้าเทียบกับกลอนฝรั่งแล้ว ฝรั่งหลุดไปไกลเลยเชียวครับ
**คนระยองโวย"หมัก"ดูถูกสุนทรภู่
นายสาธิต ปิตุเตชะ รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายสมัคร กล่าวถึง บทกลอนของสุนทรภู่ ในรายการ"สนทนาประสาสมัคร" ที่มีการตำหนิการเขียนของสุนทรภู่ว่าไม่ถูกต้อง เขียนตอนเมา ว่า ในฐานะที่ตนเป็นคนจังหวัดระยอง เป็นลูกหลานสุนทรภู่ เห็นว่า นายกรัฐมนตรีไม่ควรมาตำหนิว่าผิดหรือถูก อย่างไร เพราะขณะนี้สุนทรภู่ได้เป็นกวีเอกของโลกไปแล้ว นายกรัฐมนตรี ควรจะใช้เวลาในรายการพูดถึงการแก้ปัญหาของประชาชนมากกว่า ซึ่งเมื่อเช้าก็ไม่ได้พูดถึงการปรับ ครม. ทั้งที่เป็นเรื่องสำคัญ หลังจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ นายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่มีการปรับปรุงตัวแต่อย่างใด นายกรัฐมนตรี คงจะอายุมากแล้ว จำผิดแม้กระทั้งวันลูกเสือโลก ว่าเป็นวันที่ 31 มิ.ย. ทั้งที่จริง เป็นวันที่ 31 ก.ค.