รายงานพิเศษ
“การสร้างระบบตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ดังเช่น คตส. มิใช่ว่าจะถือกำเนิดและทำได้โดยง่าย เนื่องด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระบบกฎหมาย วัฒนธรรม และความเข้าใจของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ใช้อำนาจรัฐ” ซึ่งทุกประเทศจะมีลักษณะเหมือนๆ กัน คือ ไม่ต้องการให้ใครมาตรวจสอบการกระทำของตนและพยายามทุกวิถีทางที่จะให้หลุดพ้นจากการถูกตรวจสอบ โดยความพยายามเข้าไปควบคุมกลไกอำนาจรัฐ การแทรกแซงองค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม เพื่อขจัดขัดขวางมิให้มีการดำเนินการใดๆ ที่จะเกิดโทษแก่ตน จึงสร้างปัญหาวิกฤติทางการเมือง การโกงกินคอรัปชั่นและเป็นเหตุให้การก่อรัฐประหารปรากฏอยู่หน้าประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมา” เนื้อความตอนหนึ่งจากหนังสือ “ปัจฉิมบทพันธกิจการตรวจสอบแทนประชาชน”
ตลอดเวลา 1 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานโดยรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ บุคคลและนิติบุคคลต่างๆ ที่ทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งจากการตรวจสอบการกระทำทุจริต 13 เรื่อง พบมูลความผิดที่ทำให้รัฐได้รับความเสียหายเป็นเงินกว่า 1.8 แสนล้านบาท รวมทั้งสั่งอายัดทรัพย์สินในสถาบันการเงินต่างๆ รวมกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท
“ปัจฉิมบทพันธกิจการตรวจสอบแทนประชาชน” ซึ่งเป็นหนังสือที่คตส.จะเผยแพร่ในโอกาสครบวาระการทำงานในวันนี้ ( 30 มิ.ย. ) ได้รวบรวมผลการดำเนินงานที่ คตส. ทำการตรวจสอบ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์วิจัย เพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการตรวจสอบทุจริต ความผิดในการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ การทุจริตเชิงนโยบาย การทับซ้อนของผลประโยชน์ การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ภาระภาษีและการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นปัจฉิมบทที่จะเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ใช้อำนาจรัฐในการบริหารประเทศ ให้ระมัดระวังการดำเนินงานตามนโยบายของตนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ
กล้านรงค์ จันทิก กรรมการ คตส. กล่าวถึงการทำงานตรวจสอบคอร์รัปชั่นในเชิงนโยบายว่าเป็นงานค่อนข้างหนักที่จะพิสูจน์ความผิดออกมา โดยเฉพาะการพิสูจน์เรื่องการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายว่า แนวความคิดนโยบายนั้นๆ ส่อไปในทางคอร์รัปชั่นอย่างไร เพราะปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศไทยน่าจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ คือ การบริโภคนิยม และประชานิยมหรือทุนนิยม
“กระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง ซึ่งไม่ได้หมายถึงศาลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพนักงานสอบสวน องค์กรอิสระ อัยการ จนมาถึงศาล การมีอิทธิพลของนักการเมือง และความรู้สึกของประชาชนที่เฉื่อยชาต่อการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ..... ผลงานที่คตส.ฝากไว้ให้แผ่นดินนั้นคนรุ่นหลังจะต้องทราบว่าภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นร้ายแรงอย่างยิ่งและถึงเวลาแล้วที่คนในชาติจะต้องเสียสละและกล้าที่จะต่อสู้และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง....”
ทางด้านคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส. กล่าวว่า การทำงานของคตส. เชื่อว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์รู้เท่าทันการทุจริตคอร์รัปชั่นมีการพัฒนาไปมาก การเลือกนักการเมืองเข้ามาทำหน้าที่แทนประชาชนต้องพิจารณากันให้ดี อย่ามองเพียงนโยบายที่มัวเมาประชาชนให้ฟุ้งเฟ้อ เปลี่ยนวิถีชีวิตประชาชนให้เป็นประชานิยม และมองข้ามความถูกต้อง ประชาชนเลือกนักการเมืองที่ใช้เงินลงทุนในการเลือกตั้งไปมากก็จะมีการคอร์รัปชั่นเพื่อนำเงินคืนกลับไปมากเช่นกัน หรือที่เรียกว่า ถอนทุน
ส่วน แก้วสรร อติโพธิ กรรมการและเลขานุการ คตส. ยกกรณีตัวอย่าง การคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายจากผลการตรวจสอบคดี 3 คดี คือ คดีบ้านเอื้ออาทร, คดีระบบรถไฟเชื่อมกรุงเทพ – สนามบินสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงค์ และคดีอดีต นายกฯทักษิณฯ ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเอื้ออประโยชน์ธุรกิจตนเอง
“สองคดีแรกเป็นตัวอย่างของการโกงกินชนิดออกแบบสร้างช่องทางทุจริตมาตั้งแต่แรก งานที่ได้ก็ไม่ดี รั่วไหลอีกต่างหาก บ้านเอื้ออาทรนั้นตามเงินทุจริตได้กว่า 1,400 ล้านบาท แอร์พอร์ตลิงค์ รัฐจ่ายเกินจริงไปกว่า 1,200 ล้านบาท ครึ่งปีเท่านั้นเงินหายแวบไปเลย เหมือนปล้นกันดีๆ นี่เอง งานที่ได้ก็ไม่ดี คั่งค้างล่าช้า เอาดีไม่ได้ ใครที่เชื่อว่ากินนิดหน่อยไม่ว่าขอผลงานจริงๆ ก็ยอมนั้น ผมว่าคิดผิด และคิดใหม่ได้แล้ว
“ส่วนคดีอดีตนายกฯทักษิณฯ นั้น เป็นปัญหาประโยชน์ทับซ้อนอันเป็นเรื่อง
ใหม่ในบ้านเรา ที่ต้องเริ่มคิดเริ่มมองว่า นักการเมืองนั้นก็เหมือนพระต้องมีทั้งศีลและวินัยคือการครองตัวที่น่าเชื่อถือ เช่น พระวินัยที่ห้ามพระภิกษุอยู่ร่วมห้องร่วมชายคากับสีกา เป็นต้น รูปไหนฝ่าฝืน เจอเมื่อไหร่ก็จับสึกได้เลย โดยไม่ต้องนำสืบว่าล่วงศีลกาเมหรือไม่
“ในทำนองเดียวกันใครเป็นรัฐมนตรีก็ต้องห้ามถือหุ้นสัมปทานหรือมีประโยชน์ได้เสียในราชการที่ตนถืออำนาจอยู่ พบเมื่อไหร่ก็ต้องเป็นผิด ถูกลงโทษ หรือยึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิสมควรได้ ห้ามเถียงว่าไม่รู้ไม่เห็น คดีท่านนายกฯทักษิณ คือคดีประเภทนี้ ที่ คตส.มีหลักฐานเชื่อว่า ท่านมิได้ทิ้งธุรกิจสัมปทานจริง นอกจากไม่ทิ้งแล้วยังมีมาตรการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบเกิดขึ้นแก่ธุรกิจของท่านด้วย หลายหมื่นล้าน” กรรมการและเลขานุการ คตส. ระบุ
บรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการคตส. นักวิชาการด้านนิติศาสตร์จากรั้วมหาวิทยาลัย กล่าวสรุปหลังจากเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริตว่า ก่อนหน้านั้นได้มีการพูดถึงการทุจริตเชิงนโยบายอย่างกว้างขวาง พอได้เข้ามาตรวจสอบแล้วก็เหมือนกับเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่เคยกล่าวกันในเชิงวิชาการนั้นเป็นเรื่องจริง และพบว่าการใช้อำนาจทางการเมืองเป็นรากฐานที่เกี่ยวโยงกับการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย
“จากการตื่นตัวของประชาชนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ คตส. ถือว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างความถูกต้องทางกฎเกณฑ์และอำนาจของเงินตราโดยมีประเทศชาติเป็นเดิมพัน หากสังคมไทยยังคงยึดถืออำนาจทางเงินตราเป็นหลักประเทศไทยคงไม่มีอนาคต ตราบใดที่ใครมีอำนาจใครกุมอำนาจ ใครมีเงินตรานั้นคือความถูกต้อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทยจะแก้ไขไม่ได้ หากประชาธิปไตยยังคงเป็นต้นทุนทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองที่ไม่มีจิตสำนึกต่อประเทศชาติ การทุจริตคอร์รัปชั่นทางการเมืองเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่สุดของการคอร์รัปชั่นทั้งหมด ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงมีความสัมพันธ์กัน
“หากกระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้ ประชาชนคงได้ประจักษ์ว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของสังคมไทยจริงๆ และประชาชนจะได้ทราบว่าใครเกี่ยวข้อง และเป็นการสร้างบรรทัดฐานสำหรับนักการเมืองรุ่นต่อๆไปว่าอำนาจและเงินตราที่ได้มาไม่สามารถมาช่วยลบล้างความผิดได้”
สิ่งที่ บรรเจิด อยากฝากไว้หลังอำลาจากภารกิจ คือ การที่ประชาชนเลือกตัวแทนโดยผ่านทางการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ และมีความชอบธรรมในการกำหนดนโยบาย แต่การกำหนดนโยบายการใช้งบประมาณแผ่นดินไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น ไม่ว่านโยบายนั้นจะเป็นนโยบายประชานิยมหรือไม่ก็ตามจะต้องอยู่ในกรอบขอบเขตของกฎหมายเช่นกันและเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองจะต้องตอบสนองต่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม หากใช้อำนาจทางการเมืองระดับสูงเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง อาจเป็นการ “ทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน”
สำหรับรายงานผลการตรวจสอบของ คตส. ได้สรุปความคืบหน้าคดีต่างๆ ดังนี้
คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล มี 3 คดี คือ (1) กรณีหลีกเลี่ยงภาษีของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้ใกล้ชิดรวม 3 คน ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากร ตามคดีหมายเลขดำที่ อ.1149/2550 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2550 (2) คดีการตรวจสอบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟูฯ (ที่ดินรัชดาฯ) คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและภริยา กระทำความผิดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และ (3) คดีการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 49 คน กระทำความผิดเกี่ยวกับการออกสลากฯ คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550
คดีที่อยู่ในชั้นศาล 2 คดีแรก มีอัยการสูงสูด เป็นโจทก์ ส่วนคดีหลัง คตส. เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง โดยคดีการออกสลากฯ ยังอยู่ในขั้นตอนการรอพิจารณารับคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง เพื่อรอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปัญหาที่ว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมนูญ วินิฉัยว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี นำมาเป็นประเด็นในการต่อสู้ คดีทุจริตต่างๆ ที่คตส. ตรวจสอบ จะมีผลเป็น “โมฆะ” ทั้งหมด
คดีที่คตส.มีมติดำเนินการฟ้องคดีเอง นอกจากคดีการออกสลากพิเศษฯ แล้ว ยังมี คดีเงินกู้เอ็กซิมแบงก์ และคดีกล้ายาง ซึ่งทั้ง 3 คดีนี้ คตส.และอัยการสูงสุด มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องกรณีสำนวนที่ส่งไปมีความไม่สมบูรณ์ กระทั่ง คตส.ต้องให้ทนายความฟ้องคดีเอง
คดีที่ คตส.ส่งอัยการสูงสุดแล้ว คือ คดีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ ซึ่งอัยการสูงสุดเห็นว่า สำนวนไม่สมบูรณ์ขอให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างคตส.และอัยการ พิจารณาคดีเพิ่มเติม, คดีท่อร้อยสายไฟ, คดีธนาคารกรุงไทย, คดีการตรวจสอบอดีตนายกฯ แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 6.5 หมื่นล้าน
นอกจากนั้น คตส. ยังส่งสำนวนคดีแพ่งให้อัยการสูงสุด ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งอัยการสูงสุดยังมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรฟ้องอีกฝ่ายเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์
ส่วนคดีที่กำลังสรุปสำนวน คือ คดีเซ็นทรัลแล็ป, คดีรถดับเพลิง และคดีแอร์พอร์ตลิงค์ ส่วนคดีบ้านเอื้ออาทร คตส.จะส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดในวันนี้ (30 มิ.ย.)
การทำงานของคตส.ที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคปัญหานานัปการ เมื่อครบวาระและสิ้นสุดการทำงานอย่างเป็นทางการ คตส. ยังต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม “โดยลำพังด้วยตนเอง” จากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งอาญา 10 คดี , คดีแพ่ง 7 คดี และถูกแจ้งความร้องทุกข์ 3 คดี รวม 20 คดี ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก คตส.กว่า 1 แสนล้านบาท และยังมีคดีปกครองอีก 1 คดี
สำหรับสิ่งสำคัญที่ คตส. ต้องการฝากไว้ในแผ่นดิน คือการให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักและสำนึกต่อความเป็นเจ้าของประเทศ ที่ย่อมมีสิทธิหวงแหน และช่วยกันดูแลรักษาการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน เพราะ“เงินแผ่นดินนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติ
“การสร้างระบบตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ดังเช่น คตส. มิใช่ว่าจะถือกำเนิดและทำได้โดยง่าย เนื่องด้วยเหตุปัจจัยหลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระบบกฎหมาย วัฒนธรรม และความเข้าใจของคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ผู้ใช้อำนาจรัฐ” ซึ่งทุกประเทศจะมีลักษณะเหมือนๆ กัน คือ ไม่ต้องการให้ใครมาตรวจสอบการกระทำของตนและพยายามทุกวิถีทางที่จะให้หลุดพ้นจากการถูกตรวจสอบ โดยความพยายามเข้าไปควบคุมกลไกอำนาจรัฐ การแทรกแซงองค์กรอิสระและกระบวนการยุติธรรม เพื่อขจัดขัดขวางมิให้มีการดำเนินการใดๆ ที่จะเกิดโทษแก่ตน จึงสร้างปัญหาวิกฤติทางการเมือง การโกงกินคอรัปชั่นและเป็นเหตุให้การก่อรัฐประหารปรากฏอยู่หน้าประวัติศาสตร์ของไทยตลอดมา” เนื้อความตอนหนึ่งจากหนังสือ “ปัจฉิมบทพันธกิจการตรวจสอบแทนประชาชน”
ตลอดเวลา 1 ปี 9 เดือน ที่ผ่านมา คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบโครงการต่างๆ ที่ดำเนินงานโดยรัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรี หน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ เจ้าหน้าที่ของรัฐ รัฐวิสาหกิจ บุคคลและนิติบุคคลต่างๆ ที่ทำผิดก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ ซึ่งจากการตรวจสอบการกระทำทุจริต 13 เรื่อง พบมูลความผิดที่ทำให้รัฐได้รับความเสียหายเป็นเงินกว่า 1.8 แสนล้านบาท รวมทั้งสั่งอายัดทรัพย์สินในสถาบันการเงินต่างๆ รวมกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท
“ปัจฉิมบทพันธกิจการตรวจสอบแทนประชาชน” ซึ่งเป็นหนังสือที่คตส.จะเผยแพร่ในโอกาสครบวาระการทำงานในวันนี้ ( 30 มิ.ย. ) ได้รวบรวมผลการดำเนินงานที่ คตส. ทำการตรวจสอบ เพื่อจะได้เป็นประโยชน์ในการศึกษาวิเคราะห์วิจัย เพื่อพัฒนาปรับปรุงระบบการตรวจสอบทุจริต ความผิดในการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ การทุจริตเชิงนโยบาย การทับซ้อนของผลประโยชน์ การขัดกันของผลประโยชน์ส่วนบุคคลและประโยชน์ส่วนรวม ภาระภาษีและการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งเป็นปัจฉิมบทที่จะเป็นอุทาหรณ์แก่ผู้ใช้อำนาจรัฐในการบริหารประเทศ ให้ระมัดระวังการดำเนินงานตามนโยบายของตนที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประเทศ
กล้านรงค์ จันทิก กรรมการ คตส. กล่าวถึงการทำงานตรวจสอบคอร์รัปชั่นในเชิงนโยบายว่าเป็นงานค่อนข้างหนักที่จะพิสูจน์ความผิดออกมา โดยเฉพาะการพิสูจน์เรื่องการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายว่า แนวความคิดนโยบายนั้นๆ ส่อไปในทางคอร์รัปชั่นอย่างไร เพราะปัญหาการคอร์รัปชั่นในประเทศไทยน่าจะมาจากสาเหตุเหล่านี้ คือ การบริโภคนิยม และประชานิยมหรือทุนนิยม
“กระบวนการยุติธรรมถูกแทรกแซง ซึ่งไม่ได้หมายถึงศาลเพียงอย่างเดียว แต่รวมถึงพนักงานสอบสวน องค์กรอิสระ อัยการ จนมาถึงศาล การมีอิทธิพลของนักการเมือง และความรู้สึกของประชาชนที่เฉื่อยชาต่อการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ..... ผลงานที่คตส.ฝากไว้ให้แผ่นดินนั้นคนรุ่นหลังจะต้องทราบว่าภัยของการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้นร้ายแรงอย่างยิ่งและถึงเวลาแล้วที่คนในชาติจะต้องเสียสละและกล้าที่จะต่อสู้และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง....”
ทางด้านคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา กรรมการ คตส. กล่าวว่า การทำงานของคตส. เชื่อว่าประชาชนจะได้รับประโยชน์รู้เท่าทันการทุจริตคอร์รัปชั่นมีการพัฒนาไปมาก การเลือกนักการเมืองเข้ามาทำหน้าที่แทนประชาชนต้องพิจารณากันให้ดี อย่ามองเพียงนโยบายที่มัวเมาประชาชนให้ฟุ้งเฟ้อ เปลี่ยนวิถีชีวิตประชาชนให้เป็นประชานิยม และมองข้ามความถูกต้อง ประชาชนเลือกนักการเมืองที่ใช้เงินลงทุนในการเลือกตั้งไปมากก็จะมีการคอร์รัปชั่นเพื่อนำเงินคืนกลับไปมากเช่นกัน หรือที่เรียกว่า ถอนทุน
ส่วน แก้วสรร อติโพธิ กรรมการและเลขานุการ คตส. ยกกรณีตัวอย่าง การคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายจากผลการตรวจสอบคดี 3 คดี คือ คดีบ้านเอื้ออาทร, คดีระบบรถไฟเชื่อมกรุงเทพ – สนามบินสุวรรณภูมิ หรือแอร์พอร์ตลิงค์ และคดีอดีต นายกฯทักษิณฯ ถูกกล่าวหาว่าใช้อำนาจเอื้ออประโยชน์ธุรกิจตนเอง
“สองคดีแรกเป็นตัวอย่างของการโกงกินชนิดออกแบบสร้างช่องทางทุจริตมาตั้งแต่แรก งานที่ได้ก็ไม่ดี รั่วไหลอีกต่างหาก บ้านเอื้ออาทรนั้นตามเงินทุจริตได้กว่า 1,400 ล้านบาท แอร์พอร์ตลิงค์ รัฐจ่ายเกินจริงไปกว่า 1,200 ล้านบาท ครึ่งปีเท่านั้นเงินหายแวบไปเลย เหมือนปล้นกันดีๆ นี่เอง งานที่ได้ก็ไม่ดี คั่งค้างล่าช้า เอาดีไม่ได้ ใครที่เชื่อว่ากินนิดหน่อยไม่ว่าขอผลงานจริงๆ ก็ยอมนั้น ผมว่าคิดผิด และคิดใหม่ได้แล้ว
“ส่วนคดีอดีตนายกฯทักษิณฯ นั้น เป็นปัญหาประโยชน์ทับซ้อนอันเป็นเรื่อง
ใหม่ในบ้านเรา ที่ต้องเริ่มคิดเริ่มมองว่า นักการเมืองนั้นก็เหมือนพระต้องมีทั้งศีลและวินัยคือการครองตัวที่น่าเชื่อถือ เช่น พระวินัยที่ห้ามพระภิกษุอยู่ร่วมห้องร่วมชายคากับสีกา เป็นต้น รูปไหนฝ่าฝืน เจอเมื่อไหร่ก็จับสึกได้เลย โดยไม่ต้องนำสืบว่าล่วงศีลกาเมหรือไม่
“ในทำนองเดียวกันใครเป็นรัฐมนตรีก็ต้องห้ามถือหุ้นสัมปทานหรือมีประโยชน์ได้เสียในราชการที่ตนถืออำนาจอยู่ พบเมื่อไหร่ก็ต้องเป็นผิด ถูกลงโทษ หรือยึดทรัพย์ที่ได้มาโดยมิสมควรได้ ห้ามเถียงว่าไม่รู้ไม่เห็น คดีท่านนายกฯทักษิณ คือคดีประเภทนี้ ที่ คตส.มีหลักฐานเชื่อว่า ท่านมิได้ทิ้งธุรกิจสัมปทานจริง นอกจากไม่ทิ้งแล้วยังมีมาตรการเอื้อประโยชน์โดยมิชอบเกิดขึ้นแก่ธุรกิจของท่านด้วย หลายหมื่นล้าน” กรรมการและเลขานุการ คตส. ระบุ
บรรเจิด สิงคะเนติ กรรมการคตส. นักวิชาการด้านนิติศาสตร์จากรั้วมหาวิทยาลัย กล่าวสรุปหลังจากเข้ามาทำหน้าที่ตรวจสอบทุจริตว่า ก่อนหน้านั้นได้มีการพูดถึงการทุจริตเชิงนโยบายอย่างกว้างขวาง พอได้เข้ามาตรวจสอบแล้วก็เหมือนกับเป็นการยืนยันว่าสิ่งที่เคยกล่าวกันในเชิงวิชาการนั้นเป็นเรื่องจริง และพบว่าการใช้อำนาจทางการเมืองเป็นรากฐานที่เกี่ยวโยงกับการทุจริตคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย
“จากการตื่นตัวของประชาชนไม่ว่าจะเป็นฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการทำงานของ คตส. ถือว่าเป็นการต่อสู้ระหว่างความถูกต้องทางกฎเกณฑ์และอำนาจของเงินตราโดยมีประเทศชาติเป็นเดิมพัน หากสังคมไทยยังคงยึดถืออำนาจทางเงินตราเป็นหลักประเทศไทยคงไม่มีอนาคต ตราบใดที่ใครมีอำนาจใครกุมอำนาจ ใครมีเงินตรานั้นคือความถูกต้อง ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นของประเทศไทยจะแก้ไขไม่ได้ หากประชาธิปไตยยังคงเป็นต้นทุนทางการเมืองของกลุ่มนักการเมืองที่ไม่มีจิตสำนึกต่อประเทศชาติ การทุจริตคอร์รัปชั่นทางการเมืองเป็นเส้นเลือดใหญ่ที่สุดของการคอร์รัปชั่นทั้งหมด ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จึงมีความสัมพันธ์กัน
“หากกระบวนการยุติธรรมสามารถดำเนินไปได้ ประชาชนคงได้ประจักษ์ว่ากรณีที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาของสังคมไทยจริงๆ และประชาชนจะได้ทราบว่าใครเกี่ยวข้อง และเป็นการสร้างบรรทัดฐานสำหรับนักการเมืองรุ่นต่อๆไปว่าอำนาจและเงินตราที่ได้มาไม่สามารถมาช่วยลบล้างความผิดได้”
สิ่งที่ บรรเจิด อยากฝากไว้หลังอำลาจากภารกิจ คือ การที่ประชาชนเลือกตัวแทนโดยผ่านทางการเลือกตั้งเข้ามาทำหน้าที่บริหารประเทศ และมีความชอบธรรมในการกำหนดนโยบาย แต่การกำหนดนโยบายการใช้งบประมาณแผ่นดินไปเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์นั้น ไม่ว่านโยบายนั้นจะเป็นนโยบายประชานิยมหรือไม่ก็ตามจะต้องอยู่ในกรอบขอบเขตของกฎหมายเช่นกันและเป็นการใช้อำนาจทางการเมืองจะต้องตอบสนองต่อประโยชน์ของสังคมโดยรวม หากใช้อำนาจทางการเมืองระดับสูงเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง อาจเป็นการ “ทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน”
สำหรับรายงานผลการตรวจสอบของ คตส. ได้สรุปความคืบหน้าคดีต่างๆ ดังนี้
คดีที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล มี 3 คดี คือ (1) กรณีหลีกเลี่ยงภาษีของคุณหญิงพจมาน ชินวัตร ภริยาอดีตนายกรัฐมนตรีและผู้ใกล้ชิดรวม 3 คน ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษีอากร ตามคดีหมายเลขดำที่ อ.1149/2550 เมื่อวันที่ 26 มี.ค. 2550 (2) คดีการตรวจสอบสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินของกองทุนฟื้นฟูฯ (ที่ดินรัชดาฯ) คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550 ฟ้องพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและภริยา กระทำความผิดปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และ (3) คดีการออกสลากพิเศษแบบเลขท้าย 2 ตัวและ 3 ตัว ของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล กล่าวหาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กับพวกรวม 49 คน กระทำความผิดเกี่ยวกับการออกสลากฯ คดีหมายเลขดำที่ อม.1/2550
คดีที่อยู่ในชั้นศาล 2 คดีแรก มีอัยการสูงสูด เป็นโจทก์ ส่วนคดีหลัง คตส. เป็นโจทก์ฟ้องคดีเอง โดยคดีการออกสลากฯ ยังอยู่ในขั้นตอนการรอพิจารณารับคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาทางการเมือง เพื่อรอผลการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในปัญหาที่ว่า ประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศ คปค.ฉบับที่ 30 ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ หากศาลรัฐธรรมนูญ วินิฉัยว่า ประกาศ คปค. ฉบับที่ 30 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ตามที่อดีตนายกรัฐมนตรี นำมาเป็นประเด็นในการต่อสู้ คดีทุจริตต่างๆ ที่คตส. ตรวจสอบ จะมีผลเป็น “โมฆะ” ทั้งหมด
คดีที่คตส.มีมติดำเนินการฟ้องคดีเอง นอกจากคดีการออกสลากพิเศษฯ แล้ว ยังมี คดีเงินกู้เอ็กซิมแบงก์ และคดีกล้ายาง ซึ่งทั้ง 3 คดีนี้ คตส.และอัยการสูงสุด มีความเห็นไม่ตรงกันในเรื่องกรณีสำนวนที่ส่งไปมีความไม่สมบูรณ์ กระทั่ง คตส.ต้องให้ทนายความฟ้องคดีเอง
คดีที่ คตส.ส่งอัยการสูงสุดแล้ว คือ คดีเครื่องตรวจจับวัตถุระเบิด ซีทีเอ็กซ์ ซึ่งอัยการสูงสุดเห็นว่า สำนวนไม่สมบูรณ์ขอให้ตั้งคณะกรรมการร่วมระหว่างคตส.และอัยการ พิจารณาคดีเพิ่มเติม, คดีท่อร้อยสายไฟ, คดีธนาคารกรุงไทย, คดีการตรวจสอบอดีตนายกฯ แปลงค่าสัมปทานเป็นภาษีสรรพสามิต เอื้อประโยชน์ทางธุรกิจให้แก่ตนเองและพวกพ้อง ก่อให้เกิดความเสียหายกว่า 6.5 หมื่นล้าน
นอกจากนั้น คตส. ยังส่งสำนวนคดีแพ่งให้อัยการสูงสุด ขอให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อายัดทรัพย์สิน พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จำนวน 7.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากมีพฤติการณ์ร่ำรวยผิดปกติ ซึ่งอัยการสูงสุดยังมีความเห็นแตกเป็นสองฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเห็นควรฟ้องอีกฝ่ายเห็นว่าสำนวนยังไม่สมบูรณ์
ส่วนคดีที่กำลังสรุปสำนวน คือ คดีเซ็นทรัลแล็ป, คดีรถดับเพลิง และคดีแอร์พอร์ตลิงค์ ส่วนคดีบ้านเอื้ออาทร คตส.จะส่งสำนวนให้อัยการสูงสุดในวันนี้ (30 มิ.ย.)
การทำงานของคตส.ที่ต้องฟันฝ่าอุปสรรคปัญหานานัปการ เมื่อครบวาระและสิ้นสุดการทำงานอย่างเป็นทางการ คตส. ยังต้องเผชิญหน้ากับการต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม “โดยลำพังด้วยตนเอง” จากการถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั้งอาญา 10 คดี , คดีแพ่ง 7 คดี และถูกแจ้งความร้องทุกข์ 3 คดี รวม 20 คดี ฟ้องเรียกค่าเสียหายจาก คตส.กว่า 1 แสนล้านบาท และยังมีคดีปกครองอีก 1 คดี
สำหรับสิ่งสำคัญที่ คตส. ต้องการฝากไว้ในแผ่นดิน คือการให้ประชาชนได้เกิดความตระหนักและสำนึกต่อความเป็นเจ้าของประเทศ ที่ย่อมมีสิทธิหวงแหน และช่วยกันดูแลรักษาการใช้จ่ายเงินแผ่นดิน เพราะ“เงินแผ่นดินนั้นคือเงินของประชาชนทั้งชาติ