ผู้จัดการรายวัน - ดัชนีตลาดหุ้นไทยบวกเกือบ 15 จุด หรือ 2% เหตุนักลงทุนสถาบันไล่เก็บหุ้นราคาถูกเข้าพอร์ต หวังปิดงบไตรมาส 2/51 บวกแรงเก็งกำไรจากการคาดการณ์ "เฟด" คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 2% ด้านโบรกเกอร์มั่นใจตลาดหุ้นวิ่งต่อ แต่ต้องระวังแรงขายทำกำไร แนะจับตาตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ และทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (25 มิ.ย.) นักลงทุนได้ทยอยเข้ามาซื้อหุ้นในช่วงบ่ายส่งผลให้ดัชนีกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 778.85 จุด ต่ำสุด 763.49 จุด ก่อนจะปิดที่ 778.42 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 14.67 จุด คิดเป็น 1.92% มูลค่าการซื้อขาย 18,146.74 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,557.82 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,476.52 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 81.30 ล้านบาท
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 14.67 จุด หรือ 1.92% จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบัน เนื่องจากราคาหุ้นปรับลดลงมาแรงจนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และนักลงทุนสถาบันบางส่วนที่มีการปรับพอร์ตไปก่อนหน้านี้ เมื่อราคาหุ้นปรับลงมาในระดับที่น่าสนใจจึงกลับมาซื้ออีกครั้ง รวมทั้งเป็นช่วงปิดงวดบัญชี หรือ Window Dressing ไตรมาส 2/51 ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาหุ้นขนาดใหญ่ ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นค่อนข้างแรง
ขณะที่ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านวานนี้ไม่มีประเด็นที่มีนัยสำคัญ ทำให้ความเข้มข้นลดลงไป ไม่เหมือนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นไปอย่างสงบ ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เมืองผ่อนคลายลง นอกจากนี้ ตลาดหุ้นภูมิภาคได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังจากดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงไม่แรง และการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ค่อนข้างแน่
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนีจะสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ หากดัชนีดาวโจนส์ไม่ปรับตัวลงแรง โดยจะได้รับแรงหนุนจากการคงอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ 2% แต่ตลาดหุ้นไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรบ้างหากราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น
ส่วนปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมันดิบ แรงขายนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยประเมินแนวรับที่ 760-770 จุด แนวต้านที่ 780-790 จุด
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้รับผลบวกจากแรงซื้อของนักลงทุนที่พบว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงมานานแล้ว รวมถึงปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ขณะที่สถานการณ์การเมืองวานนี้ไม่ค่อยมีน้ำหนัก เมื่อประเด็นการอภิปรายไม่วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านไม่ค่อยแข็งแกร่ง มีเพียงการตอบโต้กันไปมาเท่านั้น ทำให้นักลงทุนให้น้ำหนักกับประเด็นนี้ค่อนข้างน้อย
นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยบวกจากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันที่ทำ Window Dressing ไตรมาส 2/51 และกองทุนต่างๆ ที่ได้รับเงินจากการซื้อหน่วยลงทุนของผู้ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี หลังเห็นว่าตลาดหุ้นปรับตัวลงมาแรงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งกองทุนต่างๆ นำเงินที่ได้นี้กลับเข้ามาซื้อหุ้น เนื่องจากราคาหุ้นปรับลงมาแรงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
ด้านทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่ามีโอกาสปรับขึ้นต่อเนื่อง ตามมติเฟดที่เชื่อว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% โดยมีแนวรับที่ 772 จุด และแนวต้านที่ 780 จุด โดยต้องติดตามเรื่องของสต็อกน้ำมันสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. ตลาดหุ้นต่างประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ เกี่ยวกับผลการอภิปรายและการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ
ส่วนกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนระยะกลาง แนะนำซื้อหุ้นที่ราคาปรับลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เน้นถือลงทุน นักลงทุนระยะสั้น เมื่อดัชนีปรับขึ้นมาอยู่ในกรอบ 780-800 จุด แนะนำขายทำกำไร หลังจากในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาและช่วงต้นสัปดาห์นี้แนะนำเข้าซื้อลงทุนระยะสั้น
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มแบงก์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น มาจากการคาดการณ์ว่าการประชุมของเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ประกอบกับยังมีแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันเพื่อปิดงวดบัญชีในไตรมาส 2/51 จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวบวก
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าดัชนีน่าจะเริ่มมีการพักฐานโดยน่าจะเคลื่อนไหวบริเวณ 770-780 จุด หลังจากที่ตลาดหุ้นรับข่าวดีการทำ Window Dressing และแรงเก็งกำไรการประชุมเฟด จึงต้องรอปัจจัยบวกใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุน
ขณะที่ประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 7 คนจากฝ่ายค้าน ยังคงต้องติดตามรอดูผลการลงมติ ซึ่งจะทราบผลในวันพรุ่งนี้ โดยคาดว่าน่าจะมีข้อสรุปที่ดี ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ทยอยเก็บหุ้นในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มแบงก์ โดยประเมินแนวรับที่ 765-755 จุด และแนวต้านที่ 780 จุด
บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (25 มิ.ย.) นักลงทุนได้ทยอยเข้ามาซื้อหุ้นในช่วงบ่ายส่งผลให้ดัชนีกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 778.85 จุด ต่ำสุด 763.49 จุด ก่อนจะปิดที่ 778.42 จุด เพิ่มขึ้นจากวันก่อน 14.67 จุด คิดเป็น 1.92% มูลค่าการซื้อขาย 18,146.74 ล้านบาท โดยนักลงทุนต่างชาติขายสุทธิ 1,557.82 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 1,476.52 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 81.30 ล้านบาท
นางสาวจิตติมา อังสุวรังษี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟาร์อีสท์ กล่าวว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับเพิ่มขึ้น 14.67 จุด หรือ 1.92% จากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบัน เนื่องจากราคาหุ้นปรับลดลงมาแรงจนอยู่ในระดับที่น่าสนใจ และนักลงทุนสถาบันบางส่วนที่มีการปรับพอร์ตไปก่อนหน้านี้ เมื่อราคาหุ้นปรับลงมาในระดับที่น่าสนใจจึงกลับมาซื้ออีกครั้ง รวมทั้งเป็นช่วงปิดงวดบัญชี หรือ Window Dressing ไตรมาส 2/51 ทำให้มีแรงซื้อเข้ามาหุ้นขนาดใหญ่ ส่งผลให้ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นค่อนข้างแรง
ขณะที่ การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านวานนี้ไม่มีประเด็นที่มีนัยสำคัญ ทำให้ความเข้มข้นลดลงไป ไม่เหมือนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมา และการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่เป็นไปอย่างสงบ ทำให้ความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์เมืองผ่อนคลายลง นอกจากนี้ ตลาดหุ้นภูมิภาคได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นเช่นกัน หลังจากดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงไม่แรง และการคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ค่อนข้างแน่
สำหรับแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ ดัชนีจะสามารถปรับตัวขึ้นต่อได้ หากดัชนีดาวโจนส์ไม่ปรับตัวลงแรง โดยจะได้รับแรงหนุนจากการคงอัตราดอกเบี้ยของเฟดที่ 2% แต่ตลาดหุ้นไทยอาจจะได้รับแรงกดดันจากแรงขายทำกำไรบ้างหากราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้น
ส่วนปัจจัยที่นักลงทุนต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ได้แก่ ทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศ ค่าเงินบาท ราคาน้ำมันดิบ แรงขายนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ โดยประเมินแนวรับที่ 760-770 จุด แนวต้านที่ 780-790 จุด
นายอภิสิทธิ์ ลิมศุภนาค ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย บล.บีฟิท กล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นได้รับผลบวกจากแรงซื้อของนักลงทุนที่พบว่าราคาหุ้นได้ปรับตัวลดลงมานานแล้ว รวมถึงปัจจัยบวกจากการคาดการณ์ว่าเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ขณะที่สถานการณ์การเมืองวานนี้ไม่ค่อยมีน้ำหนัก เมื่อประเด็นการอภิปรายไม่วางใจรัฐบาลของพรรคฝ่ายค้านไม่ค่อยแข็งแกร่ง มีเพียงการตอบโต้กันไปมาเท่านั้น ทำให้นักลงทุนให้น้ำหนักกับประเด็นนี้ค่อนข้างน้อย
นอกจากนี้ ยังได้รับปัจจัยบวกจากแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันที่ทำ Window Dressing ไตรมาส 2/51 และกองทุนต่างๆ ที่ได้รับเงินจากการซื้อหน่วยลงทุนของผู้ต้องการสิทธิประโยชน์ทางภาษี หลังเห็นว่าตลาดหุ้นปรับตัวลงมาแรงในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งกองทุนต่างๆ นำเงินที่ได้นี้กลับเข้ามาซื้อหุ้น เนื่องจากราคาหุ้นปรับลงมาแรงอยู่ในระดับที่น่าสนใจ
ด้านทิศทางตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่ามีโอกาสปรับขึ้นต่อเนื่อง ตามมติเฟดที่เชื่อว่าจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% โดยมีแนวรับที่ 772 จุด และแนวต้านที่ 780 จุด โดยต้องติดตามเรื่องของสต็อกน้ำมันสหรัฐฯ ราคาน้ำมันดิบ ยอดขายบ้านใหม่เดือนพ.ค. ตลาดหุ้นต่างประเทศ และสถานการณ์การเมืองในประเทศ เกี่ยวกับผลการอภิปรายและการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองต่างๆ
ส่วนกลยุทธ์การลงทุน นักลงทุนระยะกลาง แนะนำซื้อหุ้นที่ราคาปรับลงมาต่ำกว่าปัจจัยพื้นฐาน เน้นถือลงทุน นักลงทุนระยะสั้น เมื่อดัชนีปรับขึ้นมาอยู่ในกรอบ 780-800 จุด แนะนำขายทำกำไร หลังจากในช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาและช่วงต้นสัปดาห์นี้แนะนำเข้าซื้อลงทุนระยะสั้น
นางวิริยา ลาภพรหมรัตน ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าวว่า ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหุ้นในกลุ่มแบงก์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น มาจากการคาดการณ์ว่าการประชุมของเฟดจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 2% ประกอบกับยังมีแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันเพื่อปิดงวดบัญชีในไตรมาส 2/51 จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนให้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวบวก
ส่วนแนวโน้มตลาดหุ้นไทยวันนี้ คาดว่าดัชนีน่าจะเริ่มมีการพักฐานโดยน่าจะเคลื่อนไหวบริเวณ 770-780 จุด หลังจากที่ตลาดหุ้นรับข่าวดีการทำ Window Dressing และแรงเก็งกำไรการประชุมเฟด จึงต้องรอปัจจัยบวกใหม่เข้ามาช่วยสนับสนุน
ขณะที่ประเด็นการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีก 7 คนจากฝ่ายค้าน ยังคงต้องติดตามรอดูผลการลงมติ ซึ่งจะทราบผลในวันพรุ่งนี้ โดยคาดว่าน่าจะมีข้อสรุปที่ดี ด้านกลยุทธ์การลงทุน แนะนำให้ทยอยเก็บหุ้นในกลุ่มพลังงาน และกลุ่มแบงก์ โดยประเมินแนวรับที่ 765-755 จุด และแนวต้านที่ 780 จุด