สุราษฎร์ธานี -ประธานสภาอุตฯชี้ เศรษฐกิจสุราษฎร์ ยังยืนอยู่ระดับแถวหน้าของ 14 จว.ใต้ ธุรกิจหลักที่มีอนาคตได้แก่ ท่องเที่ยว-เกษตร-อุตฯ ส่วนด้านพลังงานทดแทนมีนักลงทุนสนใจจ่อคิวลงทุนเป็นจำนวนมาก
นายเพชร ศรีหล่มสัก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผย ถึงภาพรวมเศรษฐกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี 2551 ว่า โดยรวมยังมีการเติบโตที่ดีกว่าหลายๆ จังหวัด และยังเป็นจังหวัดที่มีอัตราการขยายตัวของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต้นๆ ของพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
ทั้งนี้ปัจจัยหลักน่าจะมาจากศักยภาพภายในของจังหวัด ที่มีความหลากหลายด้านทรัพยากรที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีทั้งอาหารทะเลแปรรูป ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ซึ่งที่ผ่านมาทำรายได้ปีละนับหมื่นล้านบาท และที่สำคัญที่เริ่มดำเนินการไปได้ดี คือ ธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน
ในขณะนี้มีกลุ่มนักลงทุนหลายกลุ่ม ลงทุนธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน โดยปัจจุบันปัญหาพลังงานซึ่งมีพื้นฐานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีราคาสูงขึ้นมาก จึงทำให้ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ยังมีโครงการไบโอดีเซล รอลงทุนอีกหลายโครงการ สังเกตได้จากการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจาก ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 2 สุราษฏร์ธานี หรือ บีโอไอ จำนวนหลายสิบโครงการ จึงกล่าวได้ว่าธุรกิจพลังงานจะเป็นธุรกิจหลักอีกหนึ่งธุรกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในส่วนภาคการเกษตร พืชเศรษฐกิจหลัก ยังคงเป็น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และด้วยปัจจัยจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่พืชทั้ง2 ชนิดนี้เป็นพืชที่มีความเกี่ยวพันกับราคาน้ำมัน จึงทำให้ราคาขยับเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับค่าน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับในด้านอุตสาหกรรม คาดว่าจะเป็นการขยายตัวในด้านอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมเดิม ทั้งเพื่อการใช้เศษวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย Bio mass และ Bio gas เพื่อเป็นพลังงานทดแทน เป้าประสงค์หลักคือความพยายามเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน หรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
ในส่วนภาคธุรกิจท่องเที่ยว ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ว่าการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจะไม่มากก็ตาม แต่ในระยะหลังนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากขึ้น คือ ระยะเวลาการพักยาวนานขึ้น ก่อให้เกิดรายได้ที่แน่นอนในระดับหนึ่ง แต่ภาคธุรกิจที่มีปัญหามากในเวลานี้คือภาคการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแข็งค่าของเงินบาท
นายเพชร ศรีหล่มสัก ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี เปิดเผย ถึงภาพรวมเศรษฐกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานีในปี 2551 ว่า โดยรวมยังมีการเติบโตที่ดีกว่าหลายๆ จังหวัด และยังเป็นจังหวัดที่มีอัตราการขยายตัวของภาคธุรกิจอยู่ในระดับต้นๆ ของพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้
ทั้งนี้ปัจจัยหลักน่าจะมาจากศักยภาพภายในของจังหวัด ที่มีความหลากหลายด้านทรัพยากรที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพ และการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการท่องเที่ยว ธุรกิจการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรที่มีทั้งอาหารทะเลแปรรูป ปาล์มน้ำมัน และยางพารา ซึ่งที่ผ่านมาทำรายได้ปีละนับหมื่นล้านบาท และที่สำคัญที่เริ่มดำเนินการไปได้ดี คือ ธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน
ในขณะนี้มีกลุ่มนักลงทุนหลายกลุ่ม ลงทุนธุรกิจเกี่ยวกับพลังงาน โดยปัจจุบันปัญหาพลังงานซึ่งมีพื้นฐานจากเชื้อเพลิงฟอสซิลมีราคาสูงขึ้นมาก จึงทำให้ธุรกิจด้านพลังงานทดแทนได้รับความสนใจจากนักลงทุนเป็นอย่างมาก
นอกจากนี้ยังมีโครงการไบโอดีเซล รอลงทุนอีกหลายโครงการ สังเกตได้จากการยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจาก ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคใต้ 2 สุราษฏร์ธานี หรือ บีโอไอ จำนวนหลายสิบโครงการ จึงกล่าวได้ว่าธุรกิจพลังงานจะเป็นธุรกิจหลักอีกหนึ่งธุรกิจของจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ในส่วนภาคการเกษตร พืชเศรษฐกิจหลัก ยังคงเป็น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และด้วยปัจจัยจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ในขณะที่พืชทั้ง2 ชนิดนี้เป็นพืชที่มีความเกี่ยวพันกับราคาน้ำมัน จึงทำให้ราคาขยับเคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกับค่าน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับในด้านอุตสาหกรรม คาดว่าจะเป็นการขยายตัวในด้านอุตสาหกรรมต่อเนื่องจากอุตสาหกรรมเดิม ทั้งเพื่อการใช้เศษวัสดุให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วย Bio mass และ Bio gas เพื่อเป็นพลังงานทดแทน เป้าประสงค์หลักคือความพยายามเพิ่มรายได้ ลดต้นทุน หรือเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลก
ในส่วนภาคธุรกิจท่องเที่ยว ยังเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้ว่าการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวจะไม่มากก็ตาม แต่ในระยะหลังนี้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพมากขึ้น คือ ระยะเวลาการพักยาวนานขึ้น ก่อให้เกิดรายได้ที่แน่นอนในระดับหนึ่ง แต่ภาคธุรกิจที่มีปัญหามากในเวลานี้คือภาคการส่งออก ซึ่งได้รับผลกระทบโดยตรงจากการแข็งค่าของเงินบาท