มหาสารคาม - ประธานสภาอุตฯ มหาสารคาม แนะทางรอดทำธุรกิจในภาวะเศรษฐกิจฝืดเคืองให้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริประยุกต์ใช้ เพื่อเป็นต้นแบบและสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนให้กับพนักงาน
นายสมพงษ์ พวงเวียง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในสภาพการณ์ปัจจุบัน จากความผันผวนของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นแบบรายวัน และผลกระทบจากค่าจ้างแรงงาน ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด ผู้ประกอบการจึงต้องมีการปรับตัวให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
โดยในส่วนบริษัทที่ตนเองดูแลอยู่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ โดยเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีด้านสังคม และเศรษฐกิจให้แก่พนักงาน ด้วยการรณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข
ขณะเดียวกันก็แนะนำให้พนักงานจัดทำบัญชีครัวเรือน ให้รู้รายรับ-รายจ่าย ซึ่งจะสามารถปรับลดการจ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณโรงงานยังได้ปลูกพืชหลากหลายชนิดที่กินได้ ทั้งไผ่ แก้วมังกร และพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ รวมถึงเลี้ยงกบ ปลา และสุกร รวมถึงการปลูกป่า
โดยผลผลิตที่เหลือจากใช้เป็นอาหารก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ทั้งนี้บริษัทของตนดำเนินการมาแล้ว 5 ปี นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลไปสู่ครอบครัวของพนักงานและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการลดผลกระทบด้านพลังงานก็ได้ให้การสนับสนุนพนักงานเข้ามีส่วนร่วม โดยพนักงานที่ปั่นจักรยานไปกลับระหว่างบ้านกับโรงงานจะมอบเงินเพิ่มให้อีกเดือนละ 100 บาท ปิดเปิดไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นพร้อมทั้งปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสม
ขณะที่การลดต้นทุนค่าขนส่งได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ 3 บริษัท เพื่อบรรทุกชิ้นงานนำส่งบริษัทแม่ที่กรุงเทพฯ ช่วยให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงจากเดิมได้ กว่าร้อยละ 30
“อยากจะให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ให้ปรับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทางปฏิบัติให้ได้ หากสามารถทำได้เชื่อว่าธุรกิจของบริษัทก็อยู่ได้ พนักงานก็อยู่ได้แม้ว่าต้นทุนธุรกิจหรือค่าครองชีพจะปรับขึ้นก็ตาม”
นายสมพงษ์ พวงเวียง ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดมหาสารคาม กล่าวว่า ในสภาพการณ์ปัจจุบัน จากความผันผวนของราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นแบบรายวัน และผลกระทบจากค่าจ้างแรงงาน ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมต่างได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นเพื่อความอยู่รอด ผู้ประกอบการจึงต้องมีการปรับตัวให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด
โดยในส่วนบริษัทที่ตนเองดูแลอยู่ได้น้อมนำปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาปรับใช้ โดยเริ่มจากการสร้างความเข้มแข็งเพื่อเป็นต้นแบบที่ดีด้านสังคม และเศรษฐกิจให้แก่พนักงาน ด้วยการรณรงค์ ลด ละ เลิก อบายมุข
ขณะเดียวกันก็แนะนำให้พนักงานจัดทำบัญชีครัวเรือน ให้รู้รายรับ-รายจ่าย ซึ่งจะสามารถปรับลดการจ่ายที่ไม่จำเป็นลงได้ นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณโรงงานยังได้ปลูกพืชหลากหลายชนิดที่กินได้ ทั้งไผ่ แก้วมังกร และพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ รวมถึงเลี้ยงกบ ปลา และสุกร รวมถึงการปลูกป่า
โดยผลผลิตที่เหลือจากใช้เป็นอาหารก็นำไปจำหน่ายเป็นรายได้เสริม ทั้งนี้บริษัทของตนดำเนินการมาแล้ว 5 ปี นับว่าประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี ใช้เป็นแหล่งเรียนรู้และขยายผลไปสู่ครอบครัวของพนักงานและชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ส่วนการลดผลกระทบด้านพลังงานก็ได้ให้การสนับสนุนพนักงานเข้ามีส่วนร่วม โดยพนักงานที่ปั่นจักรยานไปกลับระหว่างบ้านกับโรงงานจะมอบเงินเพิ่มให้อีกเดือนละ 100 บาท ปิดเปิดไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นพร้อมทั้งปรับวิธีการทำงานให้เหมาะสม
ขณะที่การลดต้นทุนค่าขนส่งได้ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ 3 บริษัท เพื่อบรรทุกชิ้นงานนำส่งบริษัทแม่ที่กรุงเทพฯ ช่วยให้ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายลงจากเดิมได้ กว่าร้อยละ 30
“อยากจะให้ผู้ประกอบการให้ความสนใจในประเด็นต่างๆ เหล่านี้ ให้ปรับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในทางปฏิบัติให้ได้ หากสามารถทำได้เชื่อว่าธุรกิจของบริษัทก็อยู่ได้ พนักงานก็อยู่ได้แม้ว่าต้นทุนธุรกิจหรือค่าครองชีพจะปรับขึ้นก็ตาม”