เอเอฟพี – ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก ขยับสู่ระดับ 138 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเมื่อวานนี้(24) ซึ่งใกล้ๆ กับสถิติสูงสุดที่เคยทำกันไว้แล้ว ในขณะที่ผู้ใช้และผู้ผลิตน้ำมันยังเถียงกันไม่เลิกว่าอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันทะยานลิ่วไม่ยอมหยุด โดยประธานกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน(โอเปก) ชาคิบ เคลิล เมินข้อเรียกร้องของประเทศผู้ใช้ที่ให้เพิ่มกำลังการผลิต ด้วยการย้ำว่าเท่าที่ผ่านมา โอเปกได้ทำทุกอย่างเท่าที่จะทำได้แล้ว เพื่อให้ราคาน้ำมันถูกลงมา
“โอเปกได้ทำในสิ่งที่โอเปกจะสามารถจะทำได้ไปแล้ว และราคาก็ไม่ได้ลดลงมา” เคลิลกล่าวขณะที่เดินทางถึงกรุงบรัสเซลล์ของเบลเยี่ยม เพื่อเข้าร่วมการประชุมด้านพลังงานของสหภาพยุโรป
ก่อนหน้าการประชุมสุดยอดระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้น้ำมันที่นครเจดดะห์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโอเปกได้ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 200,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อบรรเทาความกังวลของชาติต่าง ๆทั่วโลกที่ว่าราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นเรื่อย ๆจะทำให้เงินเฟ้อทั้งโลกพุ่งพรวดและดึงให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกอื่น ๆของโอเปกส่วนใหญ่กลับแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มกำลังการผลิต
นอกจากนี้เคลิลซึ่งเป็นประธานโอเปกและเป็นรัฐมนตรีน้ำมันของแอลจีเรียแล้ว อัลดุลเลาะห์ อัล-บาดรี ผู้เป็นเลขาธิการของโอเปกก็ยืนยันว่า “บรรดาประเทศสมาชิกอื่น ๆ ไม่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต พวกเขาได้เน้นย้ำมาหลายครั้งว่าจากมุมมองของโอเปก ตลาดโลกไม่ขาดแคลนน้ำมันแม้แต่น้อย”
อัลบาดรีเป็นผู้ที่ยืนยันตลอดมาว่า “ตลาดเต็มไปด้วยน้ำมัน” และโทษ “ปัจจัยอื่น ๆ” ที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่โรงกลั่นน้ำมันมีความสามารถในการกลั่นเพียงจำกัด เพราะอั้นกันไว้นานเกินไป ตลอดจนพวกเก็งกำไรที่เข้ามาปั่นราคาในตลาดน้ำมันดิบ
ในขณะเดียวกัน กรรมาธิการด้านพลังงานของอียู แอนดริส ไพบัลจ์ส ก็กระตุ้นให้โอเปกยกเลิกเพดานจำกัดการผลิตขึ้นอีกเพื่อผ่อนแรงกดดันในตลาด
“ในความเห็นของผม ตอนนี้ไม่มีเหตุผลที่จะกำหนดเพดานเพื่อจำกัดการผลิตเลย” เขากล่าว “หากว่าไม่มีเพดาน ตลาดจะปรับตัวได้รวดเร็วกว่านี้ และราคาจะลดลงไม่ใช่พุ่งขึ้นตลอดอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้”
ส่วนรัฐมนตรีพลังงานของฝรั่งเศส ฌอง หลุยส์ บอร์ลู เน้นว่าราคาน้ำมันที่แพงมากจะทำให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตมีความกังวลไม่ต่างกัน “เพราะไม่มีการแบ่งข้างกันชัดเจนว่าผู้ผลิตอยู่ข้างหนึ่งและผู้บริโภคอยู่อีกข้างหนึ่ง เราได้เข้าสู่ยุคสมัยที่จะต้องร่วมมือกันด้านพลังงานเนื่องจากผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น”
“เราต้องลดความต้องการใช้พลังงานของเรา ซึ่งประเทศผู้ผลิตก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพราะต้องแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและชัดเจนทั้งในด้านความต้องการใช้และด้านการผลิต” บอร์ลูกล่าวและเสริมอีกด้วยว่าแม้ว่าพวกเก็งกำไรจะทำให้สถานการณ์ในตลาดน้ำมันย่ำแย่ขึ้นไปอีก แม้จะเป็นความจริงที่ว่าพวกในตลาดการเงินโดดเข้าสู่ตลาดน้ำมันกันยกใหญ่เพื่อหากำไร แต่พวกนักเก็งกำไรไม่ได้เป็น “ผู้สร้างสถานการณ์นี้ขึ้น”
ส่วนไพบัลจ์สก็บอกว่า เขาไม่เชื่อว่าการเก็งกำไรเพียงอย่างเดียวจะเป็น “ปัจจัยหลัก” ของการที่ราคาน้ำมันทะยานขึ้น
“ความแตกต่างกันโดยพื้นฐานระหว่างพวกเราและโอเปกก็คือ พวกเขาเชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นมาจากการเก็งกำไร แต่ในความคิดของผม ปัจจัยพื้นฐานในตลาดต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ เมื่อมีน้ำมันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ราคาก็เพิ่มขึ้น” เขาพูด
“ตราสารและตลาดการเงินนั้นมีความจำเป็นในแง่ที่แสดงให้เราเห็นว่าควรลงทุนอย่างไรและราคาสินค้าจะเป็นเท่าใดในอนาคต แม้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินในช่วงระยะที่ผ่านมา แต่เราก็ไม่เห็นหลักฐานของการปั่นราคาแม้แต่น้อย”
**ราคาน้ำมันขยับขึ้นต่อ**
สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯเพื่อการส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดวันจันทร์(23) โดยเพิ่มขึ้น 1.38 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 136.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แล้วเมื่อวานนี้ ยังคงไต่ขึ้นต่อ จนในช่วงใกล้เที่ยงที่ลอนดอน อยู่ที่ 137.94 ดอลลาร์ สูงขึ้นมาอีก 1.20 ดอลลาร์
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนสิงหาคมเช่นกัน ปิดวันจันทร์อยู่ที่ 135.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.05 ดอลลาร์ และขยับต่อมาอีก 1.19 ดอลลาร์ อยู่ที่ 137.10 ดอลลาร์ ตอนใกล้เที่ยงที่ลอนดอนวานนี้
นักวิเคราะห์และเทรดเดอร์บอกว่า ตลาดมองเมินไม่ใยดีกับการประกาศเพิ่มการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย และพุ่งความสนใจไปที่ค่าเงินดอลลาร์ซึ่งยังคงอ่อนตัว ตลอดจนประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในเวลานี้มี 2 เรื่อง นั่นคือ ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับฝ่ายตะวันตกในกรณีโครงการนิวเคลียร์ของทางการเตหะราน และอีกเรื่องหนึ่งคือความไม่สงบที่ไนจีเรีย ประเทศส่งออกน้ำมันสำคัญของทวีปแอฟริกา
“โอเปกได้ทำในสิ่งที่โอเปกจะสามารถจะทำได้ไปแล้ว และราคาก็ไม่ได้ลดลงมา” เคลิลกล่าวขณะที่เดินทางถึงกรุงบรัสเซลล์ของเบลเยี่ยม เพื่อเข้าร่วมการประชุมด้านพลังงานของสหภาพยุโรป
ก่อนหน้าการประชุมสุดยอดระหว่างประเทศผู้ผลิตและผู้ใช้น้ำมันที่นครเจดดะห์เมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ซาอุดีอาระเบียซึ่งเป็นประเทศที่ทรงอิทธิพลที่สุดในโอเปกได้ให้คำมั่นว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตอีก 200,000 บาร์เรลต่อวัน เพื่อบรรเทาความกังวลของชาติต่าง ๆทั่วโลกที่ว่าราคาน้ำมันที่ทะยานขึ้นเรื่อย ๆจะทำให้เงินเฟ้อทั้งโลกพุ่งพรวดและดึงให้เศรษฐกิจตกต่ำอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตามประเทศสมาชิกอื่น ๆของโอเปกส่วนใหญ่กลับแสดงความไม่เห็นด้วยกับการเพิ่มกำลังการผลิต
นอกจากนี้เคลิลซึ่งเป็นประธานโอเปกและเป็นรัฐมนตรีน้ำมันของแอลจีเรียแล้ว อัลดุลเลาะห์ อัล-บาดรี ผู้เป็นเลขาธิการของโอเปกก็ยืนยันว่า “บรรดาประเทศสมาชิกอื่น ๆ ไม่ต้องการเพิ่มกำลังการผลิต พวกเขาได้เน้นย้ำมาหลายครั้งว่าจากมุมมองของโอเปก ตลาดโลกไม่ขาดแคลนน้ำมันแม้แต่น้อย”
อัลบาดรีเป็นผู้ที่ยืนยันตลอดมาว่า “ตลาดเต็มไปด้วยน้ำมัน” และโทษ “ปัจจัยอื่น ๆ” ที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่โรงกลั่นน้ำมันมีความสามารถในการกลั่นเพียงจำกัด เพราะอั้นกันไว้นานเกินไป ตลอดจนพวกเก็งกำไรที่เข้ามาปั่นราคาในตลาดน้ำมันดิบ
ในขณะเดียวกัน กรรมาธิการด้านพลังงานของอียู แอนดริส ไพบัลจ์ส ก็กระตุ้นให้โอเปกยกเลิกเพดานจำกัดการผลิตขึ้นอีกเพื่อผ่อนแรงกดดันในตลาด
“ในความเห็นของผม ตอนนี้ไม่มีเหตุผลที่จะกำหนดเพดานเพื่อจำกัดการผลิตเลย” เขากล่าว “หากว่าไม่มีเพดาน ตลาดจะปรับตัวได้รวดเร็วกว่านี้ และราคาจะลดลงไม่ใช่พุ่งขึ้นตลอดอย่างที่เป็นอยู่ในตอนนี้”
ส่วนรัฐมนตรีพลังงานของฝรั่งเศส ฌอง หลุยส์ บอร์ลู เน้นว่าราคาน้ำมันที่แพงมากจะทำให้ทั้งผู้บริโภคและผู้ผลิตมีความกังวลไม่ต่างกัน “เพราะไม่มีการแบ่งข้างกันชัดเจนว่าผู้ผลิตอยู่ข้างหนึ่งและผู้บริโภคอยู่อีกข้างหนึ่ง เราได้เข้าสู่ยุคสมัยที่จะต้องร่วมมือกันด้านพลังงานเนื่องจากผลประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น”
“เราต้องลดความต้องการใช้พลังงานของเรา ซึ่งประเทศผู้ผลิตก็ต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพราะต้องแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใสและชัดเจนทั้งในด้านความต้องการใช้และด้านการผลิต” บอร์ลูกล่าวและเสริมอีกด้วยว่าแม้ว่าพวกเก็งกำไรจะทำให้สถานการณ์ในตลาดน้ำมันย่ำแย่ขึ้นไปอีก แม้จะเป็นความจริงที่ว่าพวกในตลาดการเงินโดดเข้าสู่ตลาดน้ำมันกันยกใหญ่เพื่อหากำไร แต่พวกนักเก็งกำไรไม่ได้เป็น “ผู้สร้างสถานการณ์นี้ขึ้น”
ส่วนไพบัลจ์สก็บอกว่า เขาไม่เชื่อว่าการเก็งกำไรเพียงอย่างเดียวจะเป็น “ปัจจัยหลัก” ของการที่ราคาน้ำมันทะยานขึ้น
“ความแตกต่างกันโดยพื้นฐานระหว่างพวกเราและโอเปกก็คือ พวกเขาเชื่อว่าราคาน้ำมันที่พุ่งขึ้นมาจากการเก็งกำไร แต่ในความคิดของผม ปัจจัยพื้นฐานในตลาดต่างหากที่เป็นประเด็นสำคัญ เมื่อมีน้ำมันไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ ราคาก็เพิ่มขึ้น” เขาพูด
“ตราสารและตลาดการเงินนั้นมีความจำเป็นในแง่ที่แสดงให้เราเห็นว่าควรลงทุนอย่างไรและราคาสินค้าจะเป็นเท่าใดในอนาคต แม้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงในตลาดการเงินในช่วงระยะที่ผ่านมา แต่เราก็ไม่เห็นหลักฐานของการปั่นราคาแม้แต่น้อย”
**ราคาน้ำมันขยับขึ้นต่อ**
สำหรับราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก สัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดไลต์สวีตครูดของสหรัฐฯเพื่อการส่งมอบเดือนสิงหาคม ปิดวันจันทร์(23) โดยเพิ่มขึ้น 1.38 ดอลลาร์ มาอยู่ที่ 136.74 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล แล้วเมื่อวานนี้ ยังคงไต่ขึ้นต่อ จนในช่วงใกล้เที่ยงที่ลอนดอน อยู่ที่ 137.94 ดอลลาร์ สูงขึ้นมาอีก 1.20 ดอลลาร์
ส่วนสัญญาล่วงหน้าน้ำมันดิบชนิดเบรนต์ของลอนดอน เพื่อการส่งมอบเดือนสิงหาคมเช่นกัน ปิดวันจันทร์อยู่ที่ 135.91 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 1.05 ดอลลาร์ และขยับต่อมาอีก 1.19 ดอลลาร์ อยู่ที่ 137.10 ดอลลาร์ ตอนใกล้เที่ยงที่ลอนดอนวานนี้
นักวิเคราะห์และเทรดเดอร์บอกว่า ตลาดมองเมินไม่ใยดีกับการประกาศเพิ่มการผลิตน้ำมันของซาอุดีอาระเบีย และพุ่งความสนใจไปที่ค่าเงินดอลลาร์ซึ่งยังคงอ่อนตัว ตลอดจนประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งในเวลานี้มี 2 เรื่อง นั่นคือ ความตึงเครียดระหว่างอิหร่านกับฝ่ายตะวันตกในกรณีโครงการนิวเคลียร์ของทางการเตหะราน และอีกเรื่องหนึ่งคือความไม่สงบที่ไนจีเรีย ประเทศส่งออกน้ำมันสำคัญของทวีปแอฟริกา