เป็นความมหัศจรรย์ที่ประชาชนยังร่วมชุมนุมกันอยู่ที่สะพานมัฆวานฯ แม้ฝนจะตกลงมาอย่างหนักก็ตาม ในแต่ละวันก็ยังมีผู้บริจาคเงินและสิ่งของช่วยเหลืออย่างไม่ขาดสาย
การชุมนุมครั้งนี้ทำให้ล้มล้างความเชื่อที่ว่า คนไทยไม่สนใจการเมือง และคนไทยไม่บริจาคเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง
การที่คนไทยไม่ค่อยสนใจการเมืองนั้น เป็นเพราะไม่มีพรรคการเมืองที่คอยให้ข้อมูลข่าวสาร และการศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ข่าวที่ลึกๆ จริงๆ แม้หนังสือพิมพ์ก็ไม่ลง กลับมาปรากฏบนเวทีการชุมนุมทำให้คนรอฟังข่าว และการวิเคราะห์เบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆ อย่างใจจดใจจ่อ
ปรากฏการณ์การชุมนุมนี้ สะท้อนถึงช่องว่างและความล้มเหลวในสังคมการเมืองไทยหลายประการคือ
1. ข่าวสารที่วิทยุและโทรทัศน์ที่มีอยู่ตลอดจนรายการวิเคราะห์ข่าวต่างๆ ยังไม่เพียงพอสำหรับความสนใจใคร่รู้ของประชาชน เมื่อมี ASTV จึงแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว
2. รัฐบาลไม่มีความฉับไวพอในการชี้แจงกับประชาชนในปัญหาสำคัญๆ ของชาติ
3. กลไกของระบอบประชาธิปไตย คือ พรรคการเมืองและรัฐสภาไม่มีความคล่องตัวพอในการแก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่เกิดขึ้น
4. ภาวะผู้นำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีความอ่อนแอ และไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนได้
ประชาชนคนไทยนั้นมีความสนใจ และตื่นตัวทางการเมืองสูงหากกลไกล และกิจกรรมที่สามารถสื่อสารโดยตรงกับเขาได้ กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นการเกิดชุมนุมทางการเมืองที่มีเคเบิลทีวีเป็นเครื่องมือสำคัญ การเดินทางไปจัดรายการตามจังหวัดต่างๆ ได้สร้างความผูกพันของกลุ่มประชาชนในจังหวัดเหล่านั้นกับชุมนุมการเมืองใหม่นี้มากขึ้น กลุ่มประชาชนนี้ส่วนมากอยู่ในเขตเทศบาล และใกล้เคียง
ผมเคยเขียนเรื่อง “การเมืองแบบฉับพลัน” ซึ่งมีความหมายว่า ความรู้สึกสำนึกทางการเมืองเกิดขึ้นพร้อมๆ กันอย่างรวดเร็วแน่นอนว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีสื่อครบวงจร คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเคเบิลทีวี และมีการจัดตั้งที่ดี แต่การออกมาชุมนุมของประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ในแต่ละวันนั้น เป็นความรู้สึกร่วมกันที่เกิดขึ้นได้ยาก หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เราเคยคิดว่าการชุมนุมครั้งนั้นคงจะใหญ่ที่สุดแล้ว แต่ความแตกต่างระหว่างการชุมนุมเมื่อปี 2516 กับปัจจุบันก็คือ ปี 2516 เป็นการชุมนุมของนิสิต นักศึกษา แต่การชุมนุมของพันธมิตรฯ มีผู้คนเข้าร่วมหลากหลาย โดยเฉพาะคนวัยกลางคน
จะว่าไปแล้ว การชุมนุมของพันธมิตรฯ ก็สะท้อนลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองไทย คือ เป็น “การเมืองที่ไม่ใช่การเมือง” คนส่วนใหญ่ชิงชังการเมือง และไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองอย่างสมัครใจ พรรคการเมืองไทยไม่มีฐานสนับสนุนจากเงินค่าสมาชิกหรือเงินบริจาคจากประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่การเมืองที่ไม่ใช่การเมืองกลางถนนราชดำเนินนี้ ดูคล้ายๆ มหกรรมที่มีความสนุกสนานผสมอยู่ด้วย คือมีทั้งดนตรี และการปราศรัย ที่สำคัญคือประชาชนรู้สึกและมีส่วนร่วมโดยตรง ในสมัยก่อนพรรคการเมืองเคยปราศรัยใหญ่มีคนมาฟังจำนวนมาก แต่ก็เป็นเพียงผู้ฟังเท่านั้น ปัจจุบันประชาชนมีส่วนร่วมตลอดเวลา
เมื่อคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ผมถือว่าคณบดีผู้นั้นมีความรู้สึกไว ว่าเขาควรทำหน้าที่นักวิชาการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนเรือนหมื่นเรือนแสน ในขณะที่การสอนในคณะรัฐศาสตร์อย่างดีก็มีนิสิตไม่เกิน 300 คน ผมจึงมีความยินดีที่นักวิชาการชั้นดีอย่างศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา ได้เข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวครั้งนี้
นักรัฐศาสตร์ควรสนใจศึกษาปรากฏการณ์นี้ แทนที่จะไปหาว่าคณบดีไม่เป็นกลาง หรือทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม รัฐศาสตร์ไทยมักอาศัยตำราฝรั่ง มาคราวนี้เรามีกรณีศึกษาให้ทำการวิจัยได้แล้ว ก็ไม่ควรเพิกเฉย ไม่นำพา
ในสังคมไทย ประชาชนมีทัศนคติไม่ดีต่อการเมือง เพราะเห็นนักการเมืองฉ้อฉลอย่างต่อเนื่อง การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมือง (แม้อาจารย์สมเกียรติจะไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์แล้ว แต่ก็ยังมีภาพของความเป็นครูมากกว่าภาพนักการเมือง) การเมืองที่ไม่ใช่การเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพราะไม่มีที่ไหนในโลกที่มีการชุมนุมของคนจำนวนมากที่สงบเรียบร้อย และต่อเนื่องยาวนานเหมือนกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
เป็นโชคไม่ดีที่บังเอิญประเทศไทยมีรัฐบาลที่นำโดยคนซึ่งไม่มีคุณภาพ และขาดความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนพฤติกรรมของรัฐมนตรีในการแสดงออกโต้ตอบกับฝ่ายพันธมิตรฯ กลายเป็นเรื่องตลกขบขันอย่างน่าสมเพชเวทนา
ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ หวังที่จะรอด เขาก็น่าจะทบทวนการเลือกตัวบุคคลให้มีน้ำยามากกว่านี้ ลีลาเก่าๆ ของคนที่ทักษิณเลือกให้เข้ามามีบทบาทสำคัญล้าสมัยไปแล้ว และมีคุณภาพต่ำกว่าบุคคลที่เป็นแกนนำของพันธมิตรฯ ก็ได้
ไม่ว่าการชุมนุมจะจบลงอย่างไร กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ได้เปิดทางเลือกใหม่สำหรับการเมืองไทยขึ้นแล้ว และก็เป็นทางเลือกที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ทางเลือกใหม่นั้นก็คือ การเมืองที่ไม่ใช่การเมือง คือ การเมืองที่ไม่ข้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมือง และไม่ผ่านกลไกตัวแทน หากเป็นการเมืองที่มาจากจิตสำนึกสาธารณะ เป็นการเมืองของการให้มากกว่าการรับ และเป็นการเมืองที่ไม่ใช่เรื่องของอำนาจ.
การชุมนุมครั้งนี้ทำให้ล้มล้างความเชื่อที่ว่า คนไทยไม่สนใจการเมือง และคนไทยไม่บริจาคเงินเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง
การที่คนไทยไม่ค่อยสนใจการเมืองนั้น เป็นเพราะไม่มีพรรคการเมืองที่คอยให้ข้อมูลข่าวสาร และการศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ข่าวที่ลึกๆ จริงๆ แม้หนังสือพิมพ์ก็ไม่ลง กลับมาปรากฏบนเวทีการชุมนุมทำให้คนรอฟังข่าว และการวิเคราะห์เบื้องหลังเหตุการณ์ต่างๆ อย่างใจจดใจจ่อ
ปรากฏการณ์การชุมนุมนี้ สะท้อนถึงช่องว่างและความล้มเหลวในสังคมการเมืองไทยหลายประการคือ
1. ข่าวสารที่วิทยุและโทรทัศน์ที่มีอยู่ตลอดจนรายการวิเคราะห์ข่าวต่างๆ ยังไม่เพียงพอสำหรับความสนใจใคร่รู้ของประชาชน เมื่อมี ASTV จึงแพร่หลายออกไปอย่างรวดเร็ว
2. รัฐบาลไม่มีความฉับไวพอในการชี้แจงกับประชาชนในปัญหาสำคัญๆ ของชาติ
3. กลไกของระบอบประชาธิปไตย คือ พรรคการเมืองและรัฐสภาไม่มีความคล่องตัวพอในการแก้ไขปัญหาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองที่เกิดขึ้น
4. ภาวะผู้นำทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีความอ่อนแอ และไม่สามารถสร้างความเชื่อถือให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชนได้
ประชาชนคนไทยนั้นมีความสนใจ และตื่นตัวทางการเมืองสูงหากกลไกล และกิจกรรมที่สามารถสื่อสารโดยตรงกับเขาได้ กรณีพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นการเกิดชุมนุมทางการเมืองที่มีเคเบิลทีวีเป็นเครื่องมือสำคัญ การเดินทางไปจัดรายการตามจังหวัดต่างๆ ได้สร้างความผูกพันของกลุ่มประชาชนในจังหวัดเหล่านั้นกับชุมนุมการเมืองใหม่นี้มากขึ้น กลุ่มประชาชนนี้ส่วนมากอยู่ในเขตเทศบาล และใกล้เคียง
ผมเคยเขียนเรื่อง “การเมืองแบบฉับพลัน” ซึ่งมีความหมายว่า ความรู้สึกสำนึกทางการเมืองเกิดขึ้นพร้อมๆ กันอย่างรวดเร็วแน่นอนว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมีสื่อครบวงจร คือ หนังสือพิมพ์ วิทยุ และเคเบิลทีวี และมีการจัดตั้งที่ดี แต่การออกมาชุมนุมของประชาชนจากจังหวัดต่างๆ ในแต่ละวันนั้น เป็นความรู้สึกร่วมกันที่เกิดขึ้นได้ยาก หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เราเคยคิดว่าการชุมนุมครั้งนั้นคงจะใหญ่ที่สุดแล้ว แต่ความแตกต่างระหว่างการชุมนุมเมื่อปี 2516 กับปัจจุบันก็คือ ปี 2516 เป็นการชุมนุมของนิสิต นักศึกษา แต่การชุมนุมของพันธมิตรฯ มีผู้คนเข้าร่วมหลากหลาย โดยเฉพาะคนวัยกลางคน
จะว่าไปแล้ว การชุมนุมของพันธมิตรฯ ก็สะท้อนลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองไทย คือ เป็น “การเมืองที่ไม่ใช่การเมือง” คนส่วนใหญ่ชิงชังการเมือง และไม่เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองของพรรคการเมืองอย่างสมัครใจ พรรคการเมืองไทยไม่มีฐานสนับสนุนจากเงินค่าสมาชิกหรือเงินบริจาคจากประชาชนอย่างกว้างขวาง แต่การเมืองที่ไม่ใช่การเมืองกลางถนนราชดำเนินนี้ ดูคล้ายๆ มหกรรมที่มีความสนุกสนานผสมอยู่ด้วย คือมีทั้งดนตรี และการปราศรัย ที่สำคัญคือประชาชนรู้สึกและมีส่วนร่วมโดยตรง ในสมัยก่อนพรรคการเมืองเคยปราศรัยใหญ่มีคนมาฟังจำนวนมาก แต่ก็เป็นเพียงผู้ฟังเท่านั้น ปัจจุบันประชาชนมีส่วนร่วมตลอดเวลา
เมื่อคณบดีคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปขึ้นเวทีพันธมิตรฯ ผมถือว่าคณบดีผู้นั้นมีความรู้สึกไว ว่าเขาควรทำหน้าที่นักวิชาการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนเรือนหมื่นเรือนแสน ในขณะที่การสอนในคณะรัฐศาสตร์อย่างดีก็มีนิสิตไม่เกิน 300 คน ผมจึงมีความยินดีที่นักวิชาการชั้นดีอย่างศาสตราจารย์จรัส สุวรรณมาลา ได้เข้าร่วมกับการเคลื่อนไหวครั้งนี้
นักรัฐศาสตร์ควรสนใจศึกษาปรากฏการณ์นี้ แทนที่จะไปหาว่าคณบดีไม่เป็นกลาง หรือทำสิ่งที่ไม่เหมาะสม รัฐศาสตร์ไทยมักอาศัยตำราฝรั่ง มาคราวนี้เรามีกรณีศึกษาให้ทำการวิจัยได้แล้ว ก็ไม่ควรเพิกเฉย ไม่นำพา
ในสังคมไทย ประชาชนมีทัศนคติไม่ดีต่อการเมือง เพราะเห็นนักการเมืองฉ้อฉลอย่างต่อเนื่อง การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นำโดยกลุ่มบุคคลที่ไม่ใช่นักการเมือง (แม้อาจารย์สมเกียรติจะไปอยู่พรรคประชาธิปัตย์แล้ว แต่ก็ยังมีภาพของความเป็นครูมากกว่าภาพนักการเมือง) การเมืองที่ไม่ใช่การเมืองของกลุ่มพันธมิตรฯ จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษา เพราะไม่มีที่ไหนในโลกที่มีการชุมนุมของคนจำนวนมากที่สงบเรียบร้อย และต่อเนื่องยาวนานเหมือนกับการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรฯ
เป็นโชคไม่ดีที่บังเอิญประเทศไทยมีรัฐบาลที่นำโดยคนซึ่งไม่มีคุณภาพ และขาดความเลื่อมใสศรัทธาจากประชาชนพฤติกรรมของรัฐมนตรีในการแสดงออกโต้ตอบกับฝ่ายพันธมิตรฯ กลายเป็นเรื่องตลกขบขันอย่างน่าสมเพชเวทนา
ถ้า พ.ต.ท.ทักษิณ หวังที่จะรอด เขาก็น่าจะทบทวนการเลือกตัวบุคคลให้มีน้ำยามากกว่านี้ ลีลาเก่าๆ ของคนที่ทักษิณเลือกให้เข้ามามีบทบาทสำคัญล้าสมัยไปแล้ว และมีคุณภาพต่ำกว่าบุคคลที่เป็นแกนนำของพันธมิตรฯ ก็ได้
ไม่ว่าการชุมนุมจะจบลงอย่างไร กลุ่มพันธมิตรฯ ก็ได้เปิดทางเลือกใหม่สำหรับการเมืองไทยขึ้นแล้ว และก็เป็นทางเลือกที่ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
ทางเลือกใหม่นั้นก็คือ การเมืองที่ไม่ใช่การเมือง คือ การเมืองที่ไม่ข้องเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว ไม่ใช่สมาชิกพรรคการเมือง และไม่ผ่านกลไกตัวแทน หากเป็นการเมืองที่มาจากจิตสำนึกสาธารณะ เป็นการเมืองของการให้มากกว่าการรับ และเป็นการเมืองที่ไม่ใช่เรื่องของอำนาจ.