กล่าวกันว่าโลกของการออกแบบนั้น ทศวรรษแห่งปี 80’s น่าจะเป็นช่วงเวลาแห่งการออกแบบผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงอย่าง Bob Dylan สมัยที่เครื่องเล่นแผ่นเสียงยังไม่ล้าสมัยนั้น กล่าวกันว่า นักออกแบบชื่อว่า Ettore Sottesass ได้ระดมพรรคพวกมาช่วยดูว่าจะสร้างสรรค์เครื่องเล่น “จานเสียง” ให้มันดูดีขึ้นได้อย่างไร
คนที่มาร่วมล้วนมือดีทั้งนั้น อาทิ ชิโร คูรามาตะ, จาเวียร์ มาริสคาล, โรเบิร์ต เวลตูริ ได้ใช้ไม้รวมทั้งพลาสติกเนื้อดีสร้างสรรค์งานศิลปะ
ผลงานเป็นพวกโพสต์โมเดิร์น และการออกแบบทำให้เราได้เห็นรูปแบบของ Arad Conerete Stereo (ออกปี 1984)
นอกจากเสียงที่ว่าแล้ว นักสร้างสรรค์ยังมีผลงานอื่นๆ อีกหลายชิ้นที่ไม่ใช่เครื่องเสียง อาทิ พวกเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น บ้างก็เป็นโต๊ะหรือเก้าอี้
ถึงปี 1984 บริษัทแอปเปิลมีความคิดว่า คอมพิวเตอร์ไม่ควรเป็นแค่อุปกรณ์ทำงาน แต่น่าจะเป็นงานศิลปะมีสีสันกันบ้าง ดังนั้นคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเครื่องแรกก็ได้รับการออกแบบเพื่อใช้ในบ้าน
ก็เพราะเป็นเครื่องใช้ในบ้าน ไม่ใช่อุปกรณ์ในออฟฟิศนี้แหละ ทำให้มันมีความสวยงาม มองแล้วน่าใช้ จอภาพเป็นแบบ High-Definition ถือได้ว่างานศิลปะเข้าสู่กระบวนการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก
ค่าออกแบบนั้นหนึ่งล้านเหรียญนะครับ
แอปเปิลใช้บริษัท Frog Design เป็นบริษัทในเยอรมนีเป็นผู้ออกแบบให้ บริษัทที่ว่านี้ยังทำงานออกแบบให้กับบริษัทโซนี่และเออีจีด้วย
บริษัท Frog Design ได้งานหลังเปิดสำนักงานสาขาขึ้นที่ซิลิคอน แวลี่ (Silicon Valley) แวลี่ย์นะไม่ใช่วาเลย์ หรือวอลเลย์ที่เรียกกันแบบไทยๆ และผิดๆ
นี่คือที่มาของความงามที่แอปเปิลภูมิใจครับ
ผู้ใช้ก็ใช้งานได้ง่าย ดูไม่รกหูรกตาในบ้าน
กล่าวกันว่าการออกแบบมีส่วนอย่างมากเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ดึงดูดให้ลูกค้าเปลี่ยนยี่ห้อจากไอบีเอ็มมาใช้แอปเปิล เขาว่ากันจริงเท็จอย่างไรผมก็ไม่อยากยืนยันนะครับ
เอาเป็นว่าแอปเปิลแจ้งเกิดเพราะการออกแบบที่งดงามนี่แหละครับ
งานออกแบบต่อมาเป็นของ ไมเคิล เกรฟ ซึ่งเป็นสถาปนิกที่มีผลงานคือเขาออกแบบอาคารในยุค 1980’s ของสำนักงานใหญ่คือ Humana Corporation ในเมืองหลุยส์วิลล์ ที่เคนตั๊กกี้
รวมทั้งออกแบบวิทนีย์ มิวเซียม ออฟอาร์ต (Whitney Museum of Art ในปี 1989เสียดายไม่มีรูปประกอบ)
สัญลักษณ์ของเขาคือรูปโดมทำจากเหล็ก เป็นต้นแบบของเขาเลย
เขายังช่วยออกแบบให้กับบริษัทอเลสซีที่ผลิตกาน้ำและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ส่วนใหญ่บริษัทนี้ผลิตพวกเครื่องใช้ทำจากโลหะประเภทใช้ในบ้าน
สำหรับปี 1988
เป็นปีเปลี่ยนทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์กันเลยครับ
ก่อนหน้านี้พวกนักออกแบบทำงานแบบปิดทองหลังพระ
คือมักจะมีห้องอยู่ด้านใน ไม่ก็อยู่หลังๆ เป็นพวกที่เรียกว่า backroom staffers นั่นแหละครับ คนพวกนี้อยู่กับบริษัทยักษ์ๆ ที่มีชื่อทั้งนั้น
มักเป็นพวก “มือปืนรับจ้าง” ก็เยอะนะครับสำหรับสินค้าที่คนรู้จักกันดี
แต่น้อยคนที่รู้ว่าใครออกแบบ
แต่มาเปลี่ยนเมื่อ Phillippe Starck เด่นดังในวงการหลังจากทำงานตกแต่งไนต์คลับมาร่วม 10 ปี
ถึงปี 1980 เขาตั้งบริษัทผลิตสินค้าเอง เรียกว่าบริษัท Starck Products โดยแรกก็รับจ้างตกแต่งภายในอาคารโรงแรม และออกแบบเฟอร์นิเจอร์
ที่เด่นคือออกแบบโคมไฟ (Ara Lamp) ซึ่งถือกันในวงการว่าเป็นโคมไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จในเชิงการค้าขายมากที่สุด และในด้านการออกแบบด้วย
แถมอีกไม่กี่ปี เขาออกแบบเครื่องคั้นมะนาวด้วยและก็เป็นที่นิยมกันมาก
หลังจากนั้นหลายบริษัทก็แย่งชิงตัวให้เขาไปออกแบบผลิตภัณฑ์กันมากขึ้น ตั้งแต่เก้าอี้ยันผ้ากันเปื้อนบนโต๊ะอาหาร
ปี 1989 เป็นปีสุดท้ายแห่งทศวรรษการออกแบบ คราวนี้ในประเทศอังกฤษ
นักออกแบบไนเจล โคทส์ เริ่มมีชื่อเสียงมาก โดยออกแบบเก้าอี้ Tonque Chair (1989) และเขาออกแบบเฟอร์นิเจอร์อีกหลายชิ้น
น่าแปลกใจที่งานของไนเจลไปดังมากที่ญี่ปุ่น
แต่เขามีอิทธิพลมากในอังกฤษต่อนักออกแบบรุ่นต่อๆ มา เช่น แจสเปอร์ มอริสัน และ แมททิว ฮิลตัน เป็นต้น
งานที่เขาชอบออกแบบ มักเป็นโต๊ะกลางใช้กระจก เพราะมันโปร่งใส ในยุคนั้น โต๊ะแบบนี้ถือว่าทันสมัยที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษที่นิยมโต๊ะไม้ทึบกั้น
ครับ... ยุค 1980’s เป็นยุคแห่งการออกแบบและการเปลี่ยนยุคให้เข้าสู่ความทันสมัยจริงๆ
ผมเขียนเรื่องเบาๆ วันนี้ รับกับความเครียดและเซ็งการเมืองจากรัฐบาลที่ไร้กึ๋นและน้ำยาครับ
เรื่องแรกเกี่ยวข้องกับนักดนตรีผู้มีชื่อเสียงอย่าง Bob Dylan สมัยที่เครื่องเล่นแผ่นเสียงยังไม่ล้าสมัยนั้น กล่าวกันว่า นักออกแบบชื่อว่า Ettore Sottesass ได้ระดมพรรคพวกมาช่วยดูว่าจะสร้างสรรค์เครื่องเล่น “จานเสียง” ให้มันดูดีขึ้นได้อย่างไร
คนที่มาร่วมล้วนมือดีทั้งนั้น อาทิ ชิโร คูรามาตะ, จาเวียร์ มาริสคาล, โรเบิร์ต เวลตูริ ได้ใช้ไม้รวมทั้งพลาสติกเนื้อดีสร้างสรรค์งานศิลปะ
ผลงานเป็นพวกโพสต์โมเดิร์น และการออกแบบทำให้เราได้เห็นรูปแบบของ Arad Conerete Stereo (ออกปี 1984)
นอกจากเสียงที่ว่าแล้ว นักสร้างสรรค์ยังมีผลงานอื่นๆ อีกหลายชิ้นที่ไม่ใช่เครื่องเสียง อาทิ พวกเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น บ้างก็เป็นโต๊ะหรือเก้าอี้
ถึงปี 1984 บริษัทแอปเปิลมีความคิดว่า คอมพิวเตอร์ไม่ควรเป็นแค่อุปกรณ์ทำงาน แต่น่าจะเป็นงานศิลปะมีสีสันกันบ้าง ดังนั้นคอมพิวเตอร์แมคอินทอชเครื่องแรกก็ได้รับการออกแบบเพื่อใช้ในบ้าน
ก็เพราะเป็นเครื่องใช้ในบ้าน ไม่ใช่อุปกรณ์ในออฟฟิศนี้แหละ ทำให้มันมีความสวยงาม มองแล้วน่าใช้ จอภาพเป็นแบบ High-Definition ถือได้ว่างานศิลปะเข้าสู่กระบวนการผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นครั้งแรก
ค่าออกแบบนั้นหนึ่งล้านเหรียญนะครับ
แอปเปิลใช้บริษัท Frog Design เป็นบริษัทในเยอรมนีเป็นผู้ออกแบบให้ บริษัทที่ว่านี้ยังทำงานออกแบบให้กับบริษัทโซนี่และเออีจีด้วย
บริษัท Frog Design ได้งานหลังเปิดสำนักงานสาขาขึ้นที่ซิลิคอน แวลี่ (Silicon Valley) แวลี่ย์นะไม่ใช่วาเลย์ หรือวอลเลย์ที่เรียกกันแบบไทยๆ และผิดๆ
นี่คือที่มาของความงามที่แอปเปิลภูมิใจครับ
ผู้ใช้ก็ใช้งานได้ง่าย ดูไม่รกหูรกตาในบ้าน
กล่าวกันว่าการออกแบบมีส่วนอย่างมากเกินกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ดึงดูดให้ลูกค้าเปลี่ยนยี่ห้อจากไอบีเอ็มมาใช้แอปเปิล เขาว่ากันจริงเท็จอย่างไรผมก็ไม่อยากยืนยันนะครับ
เอาเป็นว่าแอปเปิลแจ้งเกิดเพราะการออกแบบที่งดงามนี่แหละครับ
งานออกแบบต่อมาเป็นของ ไมเคิล เกรฟ ซึ่งเป็นสถาปนิกที่มีผลงานคือเขาออกแบบอาคารในยุค 1980’s ของสำนักงานใหญ่คือ Humana Corporation ในเมืองหลุยส์วิลล์ ที่เคนตั๊กกี้
รวมทั้งออกแบบวิทนีย์ มิวเซียม ออฟอาร์ต (Whitney Museum of Art ในปี 1989เสียดายไม่มีรูปประกอบ)
สัญลักษณ์ของเขาคือรูปโดมทำจากเหล็ก เป็นต้นแบบของเขาเลย
เขายังช่วยออกแบบให้กับบริษัทอเลสซีที่ผลิตกาน้ำและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ด้วย ส่วนใหญ่บริษัทนี้ผลิตพวกเครื่องใช้ทำจากโลหะประเภทใช้ในบ้าน
สำหรับปี 1988
เป็นปีเปลี่ยนทิศทางการออกแบบผลิตภัณฑ์กันเลยครับ
ก่อนหน้านี้พวกนักออกแบบทำงานแบบปิดทองหลังพระ
คือมักจะมีห้องอยู่ด้านใน ไม่ก็อยู่หลังๆ เป็นพวกที่เรียกว่า backroom staffers นั่นแหละครับ คนพวกนี้อยู่กับบริษัทยักษ์ๆ ที่มีชื่อทั้งนั้น
มักเป็นพวก “มือปืนรับจ้าง” ก็เยอะนะครับสำหรับสินค้าที่คนรู้จักกันดี
แต่น้อยคนที่รู้ว่าใครออกแบบ
แต่มาเปลี่ยนเมื่อ Phillippe Starck เด่นดังในวงการหลังจากทำงานตกแต่งไนต์คลับมาร่วม 10 ปี
ถึงปี 1980 เขาตั้งบริษัทผลิตสินค้าเอง เรียกว่าบริษัท Starck Products โดยแรกก็รับจ้างตกแต่งภายในอาคารโรงแรม และออกแบบเฟอร์นิเจอร์
ที่เด่นคือออกแบบโคมไฟ (Ara Lamp) ซึ่งถือกันในวงการว่าเป็นโคมไฟฟ้าที่ประสบความสำเร็จในเชิงการค้าขายมากที่สุด และในด้านการออกแบบด้วย
แถมอีกไม่กี่ปี เขาออกแบบเครื่องคั้นมะนาวด้วยและก็เป็นที่นิยมกันมาก
หลังจากนั้นหลายบริษัทก็แย่งชิงตัวให้เขาไปออกแบบผลิตภัณฑ์กันมากขึ้น ตั้งแต่เก้าอี้ยันผ้ากันเปื้อนบนโต๊ะอาหาร
ปี 1989 เป็นปีสุดท้ายแห่งทศวรรษการออกแบบ คราวนี้ในประเทศอังกฤษ
นักออกแบบไนเจล โคทส์ เริ่มมีชื่อเสียงมาก โดยออกแบบเก้าอี้ Tonque Chair (1989) และเขาออกแบบเฟอร์นิเจอร์อีกหลายชิ้น
น่าแปลกใจที่งานของไนเจลไปดังมากที่ญี่ปุ่น
แต่เขามีอิทธิพลมากในอังกฤษต่อนักออกแบบรุ่นต่อๆ มา เช่น แจสเปอร์ มอริสัน และ แมททิว ฮิลตัน เป็นต้น
งานที่เขาชอบออกแบบ มักเป็นโต๊ะกลางใช้กระจก เพราะมันโปร่งใส ในยุคนั้น โต๊ะแบบนี้ถือว่าทันสมัยที่สุด เฉพาะอย่างยิ่งในอังกฤษที่นิยมโต๊ะไม้ทึบกั้น
ครับ... ยุค 1980’s เป็นยุคแห่งการออกแบบและการเปลี่ยนยุคให้เข้าสู่ความทันสมัยจริงๆ
ผมเขียนเรื่องเบาๆ วันนี้ รับกับความเครียดและเซ็งการเมืองจากรัฐบาลที่ไร้กึ๋นและน้ำยาครับ