สธ.แฉ “ร้านก๋วยเตี๋ยว” ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน พบ 22% เส้นผสมสารกันเสีย ผักปนเปื้อนสารเคมี เครื่องปรุงน้ำส้ม-พริกอันตราย แนะใช้ชาม ตะเกียบ เมลามีนปลอดภัย อายุการใช้งานนาน พร้อมเร่งทำโครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัย จัดเจ้าหน้าที่ออกตรวจ อบรมคนขาย ให้ได้มาตรฐาน
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันมีร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศจำนวน 166,760 แห่ง เป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจำนวน 75,000 แห่ง มีตั้งแต่ระดับรถเข็นข้างถนนไปจนถึงระดับห้างสรรพสินค้า และแฟรนไชส์ ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งบางร้านถูกลักษณะได้มาตรฐาน แต่บางแห่งก็ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยมักพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ในเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะพบสารกันเสียประมาณร้อยละ 22 ส่วนผักที่ใส่เป็นส่วนผสมมีสารเคมีปนเปื้อนร้อยละ 4-11 ขณะที่เครื่องปรุงพบว่ามี การปนเปื้อนใช้น้ำส้มสายชูไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 26 และตรวจพบ อะฟลาทอกซินในพริกป่น และถั่วลิสง ร้อยละ 19
“การตรวจมาตรฐานจะประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยจะให้เริ่มสุ่มตรวจในเขต กทม.ก่อนที่จะขยายวงไปปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ โดยอาศัยกำลังจากอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ ส่วนที่เป็นโรงงาน จะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี เบื้องต้นจะขอความร่วมมือก่อน ที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่หากพบว่ายังไม่ได้มาตรฐานคงต้องมีการสั่งให้หยุดการผลิตต่อไป”นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า นอกจากอาหารที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบ ยังมีเรื่องของภาชนะและอุปกรณ์ เช่น หม้อก๋วยเตี๋ยวต้องได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ชาม และตะเกียบทำด้วยวัสดุที่ไม่ก่อพิษไม่ตกแต่งสี เช่น ชามที่ทำจากเมลามีนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี หากสารเคลือบหลุดลอกก็จะทำให้พลาสติกไม่สามารถทนความร้อนได้ และทำให้มีสารปนเปื้อนได้ ด้านสุขาภิบาลต้องถูกลักษณะ สถานที่ปรุงจำหน่ายอาหารต้องมีความสะอาด สูงกว่าพื้น 60 เซ็นติเมตร อาหารปรุงสุกมีการปกปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค กำจัดเศษอาหารทุกวัน ส่วนผู้ประกอบอาหารต้องแต่งกายสะอาด ตัดเล็บสั้น ไม่ทาเล็บ ผูกผ้ากันเปื้อน และผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาล
“สธ.กำลังจะดำเนินโครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัยส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และผู้ประกอบการแฟรนไชส์ โดยเบื้องต้นกรมอนามัยดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านก๋วยเตี๋ยวที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้น กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะทำการประเมินผลร่วมกัน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของสถานที่จำหน่ายอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว โดยร้านที่ได้มาตรฐานจะได้รับป้ายสัญลักษณ์ก๋วยเตี๋ยวอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วย” นายวิชาญ กล่าว
วันนี้ (11 ส.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) นายวิชาญ มีนชัยนันท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันมีร้านอาหารและแผงลอยทั่วประเทศจำนวน 166,760 แห่ง เป็นร้านอาหารและแผงลอยจำหน่ายก๋วยเตี๋ยวจำนวน 75,000 แห่ง มีตั้งแต่ระดับรถเข็นข้างถนนไปจนถึงระดับห้างสรรพสินค้า และแฟรนไชส์ ทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ ซึ่งบางร้านถูกลักษณะได้มาตรฐาน แต่บางแห่งก็ยังไม่ได้มาตรฐาน โดยมักพบสารปนเปื้อนที่เป็นอันตราย ในเส้นก๋วยเตี๋ยว โดยเฉพาะพบสารกันเสียประมาณร้อยละ 22 ส่วนผักที่ใส่เป็นส่วนผสมมีสารเคมีปนเปื้อนร้อยละ 4-11 ขณะที่เครื่องปรุงพบว่ามี การปนเปื้อนใช้น้ำส้มสายชูไม่ได้มาตรฐานร้อยละ 26 และตรวจพบ อะฟลาทอกซินในพริกป่น และถั่วลิสง ร้อยละ 19
“การตรวจมาตรฐานจะประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ดูแลอย่างใกล้ชิด โดยจะให้เริ่มสุ่มตรวจในเขต กทม.ก่อนที่จะขยายวงไปปริมณฑล และจังหวัดต่างๆ โดยอาศัยกำลังจากอาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในแต่ละพื้นที่ ส่วนที่เป็นโรงงาน จะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้ได้มาตรฐานจีเอ็มพี เบื้องต้นจะขอความร่วมมือก่อน ที่จะใช้มาตรการทางกฎหมายที่มีอยู่หากพบว่ายังไม่ได้มาตรฐานคงต้องมีการสั่งให้หยุดการผลิตต่อไป”นายวิชาญ กล่าว
นายวิชาญ กล่าวต่อว่า นอกจากอาหารที่นำมาใช้เป็นส่วนประกอบ ยังมีเรื่องของภาชนะและอุปกรณ์ เช่น หม้อก๋วยเตี๋ยวต้องได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ชาม และตะเกียบทำด้วยวัสดุที่ไม่ก่อพิษไม่ตกแต่งสี เช่น ชามที่ทำจากเมลามีนจะมีอายุการใช้งานประมาณ 3-5 ปี หากสารเคลือบหลุดลอกก็จะทำให้พลาสติกไม่สามารถทนความร้อนได้ และทำให้มีสารปนเปื้อนได้ ด้านสุขาภิบาลต้องถูกลักษณะ สถานที่ปรุงจำหน่ายอาหารต้องมีความสะอาด สูงกว่าพื้น 60 เซ็นติเมตร อาหารปรุงสุกมีการปกปิด หรือมีการป้องกันสัตว์แมลงนำโรค กำจัดเศษอาหารทุกวัน ส่วนผู้ประกอบอาหารต้องแต่งกายสะอาด ตัดเล็บสั้น ไม่ทาเล็บ ผูกผ้ากันเปื้อน และผ่านการอบรมด้านสุขาภิบาล
“สธ.กำลังจะดำเนินโครงการก๋วยเตี๋ยวอนามัยส่งเสริมคนไทยสุขภาพดี ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างกระทรวงสาธารณสุข และผู้ประกอบการแฟรนไชส์ โดยเบื้องต้นกรมอนามัยดำเนินการอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านก๋วยเตี๋ยวที่เข้าร่วมโครงการ จากนั้น กรมอนามัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จะทำการประเมินผลร่วมกัน โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานของสถานที่จำหน่ายอาหารประเภทก๋วยเตี๋ยว โดยร้านที่ได้มาตรฐานจะได้รับป้ายสัญลักษณ์ก๋วยเตี๋ยวอนามัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคด้วย” นายวิชาญ กล่าว