ผู้จัดการรายวัน- ไรมอน แลนด์ ชี้ กำหนดสัดส่วนถือครองอาคารชุด49% กระตุ้นนักลงทุนระยะสั้นจะกว้านซื้อห้องชุดขายต่อทำกำไรระยะสั้น ปิดกั้นต่างชาติซื้ออยู่ระยะยาว แจงไทยรับผลเสียการแข่งขันระหว่างประเทศ
นายไซมอน เดอร์วิลเล่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ว่า การแก้ไขมาตรการในพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับ 4 (2551) เพื่อปกป้องสิทธิผู้ซื้อที่อยู่อาศัยนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ในบางมาตราที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น มาตราที่ว่าด้วยการถือครองห้องชุดของชาวต่างด้าวซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 49% ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือการซื้อห้องชุดโดยผ่านตัวแทนชาวไทย หรือ นอมินี ซึ่งในพระราชบัญญัติใหม่ได้เพิ่มบทลงโทษการซื้อห้องชุดโดยผ่านตัวแทนชาวไทยในมาตรา 67
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าคิดในไม่ใช่เรื่องของบทลงโทษ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่ผู้กระทำผิดควรได้รับการลงโทษ แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือมาตรานี้จะมีผลต่อผู้ซื้อชาวต่างชาติแล้ว และส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อชาวไทย ซึ่งมาตราดังกล่าวส่งผลให้ผู้ซื้อชาวต่างชาติได้รับผลกระทบในทางตรง เพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการซื้อที่ 49 % ขณะเดียวกันการออกฎหมายฉบับนี้ก็จะเป็นการกระตุ้นให้โควต้าชาวต่างชาติ49% หมดเร็วขึ้น เนื่องจากนักลงทุนระยะสั้นจะกว้านซื้อเพื่อนำไปขายต่อ ทำให้ชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาวหมดสิทธิ์ในการซื้อห้องชุด
ในขณะที่นักลงทุนชาวไทย นั้นในพื้นที่บางแห่ง ความต้องการในการซื้อระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งมีชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อถึง 90% ดังนั้นแนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตคือผู้ซื้อชาวไทยจะซื้ออสังหาฯ ผ่านชาวต่างชาติมากขึ้น เพราะสามารถใช้สิทธิ์ขายต่อให้ชาวต่างชาติที่มีความต้องการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายกว่า เนื่องจากความต้องการในตลาดที่มีมากกว่า อาจมองได้ว่าการกำหนดให้ชาวต่างด้าวถือครองห้องชุดได้ไม่เกิน49% อาจเป็นผลเสียต่อนักลงทุนชาวไทย
ดังนั้น นับเป็นเรื่องที่ดีที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พรบ. ในเรื่องของสิทธิของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย แต่อย่างไรก็ตามมาตราเกี่ยวกับการถือครองห้องชุดต่างด้าวก็ยังเป็นที่น่าจับตามองเพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็นมาตรการสำคัญในการกระตุ้นตลาด ซึ่งหากพิจารณาประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีมาตรการที่สอดคล้องกับการลงทุนของต่างชาติ อาจจะทำให้ประเทศไทยขาดโอกาสทางเศรษฐกิจที่ควรจะได้รับ
นายไซมอน เดอร์วิลเล่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนาบริษัท ไรมอน แลนด์ จำกัด (มหาชน) ว่า การแก้ไขมาตรการในพระราชบัญญัติอาคารชุดฉบับ 4 (2551) เพื่อปกป้องสิทธิผู้ซื้อที่อยู่อาศัยนับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ในบางมาตราที่ยังไม่ได้รับการแก้ไข เช่น มาตราที่ว่าด้วยการถือครองห้องชุดของชาวต่างด้าวซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ 49% ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นในอดีตคือการซื้อห้องชุดโดยผ่านตัวแทนชาวไทย หรือ นอมินี ซึ่งในพระราชบัญญัติใหม่ได้เพิ่มบทลงโทษการซื้อห้องชุดโดยผ่านตัวแทนชาวไทยในมาตรา 67
ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าคิดในไม่ใช่เรื่องของบทลงโทษ เนื่องจากเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลที่ผู้กระทำผิดควรได้รับการลงโทษ แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือมาตรานี้จะมีผลต่อผู้ซื้อชาวต่างชาติแล้ว และส่งผลกระทบต่อผู้ซื้อชาวไทย ซึ่งมาตราดังกล่าวส่งผลให้ผู้ซื้อชาวต่างชาติได้รับผลกระทบในทางตรง เพราะถูกจำกัดสิทธิ์ในการซื้อที่ 49 % ขณะเดียวกันการออกฎหมายฉบับนี้ก็จะเป็นการกระตุ้นให้โควต้าชาวต่างชาติ49% หมดเร็วขึ้น เนื่องจากนักลงทุนระยะสั้นจะกว้านซื้อเพื่อนำไปขายต่อ ทำให้ชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อเพื่ออยู่อาศัยในระยะยาวหมดสิทธิ์ในการซื้อห้องชุด
ในขณะที่นักลงทุนชาวไทย นั้นในพื้นที่บางแห่ง ความต้องการในการซื้อระหว่างคนไทยและชาวต่างชาติมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งมีชาวต่างชาติที่ต้องการซื้อถึง 90% ดังนั้นแนวโน้มที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคตคือผู้ซื้อชาวไทยจะซื้ออสังหาฯ ผ่านชาวต่างชาติมากขึ้น เพราะสามารถใช้สิทธิ์ขายต่อให้ชาวต่างชาติที่มีความต้องการเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้ง่ายกว่า เนื่องจากความต้องการในตลาดที่มีมากกว่า อาจมองได้ว่าการกำหนดให้ชาวต่างด้าวถือครองห้องชุดได้ไม่เกิน49% อาจเป็นผลเสียต่อนักลงทุนชาวไทย
ดังนั้น นับเป็นเรื่องที่ดีที่ได้มีการปรับปรุงแก้ไข พรบ. ในเรื่องของสิทธิของผู้ซื้อที่อยู่อาศัย แต่อย่างไรก็ตามมาตราเกี่ยวกับการถือครองห้องชุดต่างด้าวก็ยังเป็นที่น่าจับตามองเพราะไม่อาจปฏิเสธได้ว่าเป็นมาตรการสำคัญในการกระตุ้นตลาด ซึ่งหากพิจารณาประเทศเพื่อนบ้าน ที่มีมาตรการที่สอดคล้องกับการลงทุนของต่างชาติ อาจจะทำให้ประเทศไทยขาดโอกาสทางเศรษฐกิจที่ควรจะได้รับ